“ชัยวัฒน์” ชี้ พ.ร.บ.ศูนย์กลางการเงิน ให้อำนาจล้นฟ้ายกเว้นกฎหมาย
หวั่นหากไม่มีมาตรการกำกับดูแลดีพอ
เสี่ยงวิกฤตการเงินและทำไทยเป็นศูนย์กลางอาชญากรรมทางการเงินแทน
วันนี้
(20 ก.พ. 68) นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร
สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน(ปชน.) โพสข้อความระบุว่า
กมธ.
การเงินการคลังฯ 19
ก.พ.68 พิจารณาเรื่อง ร่าง พรบ. Financial
Hub โดยเชิญ รมช.คลัง เผ่าภูมิ มาชี้แจงถึงแนวคิด หลักการ
เจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ แต่ท่านก็ไม่ได้ให้เกียรติมาชี้แจงแม้ประธาน กมธ.
จะเป็นคนพรรคเดียวกันก็ตาม ซึ่งก็เห็นไปให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ออกรายการกรรมกรข่าวสรยุทธแทน
น่าเห็นใจผู้ชี้แจงจาก สศค. และสภาพัฒน์ฯ ที่ต้องมาชี้แจงแทน ทั้ง ๆ
ที่ไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มร่างกฎหมายนี้
การตั้งเป้าเป็น
Financial
Hub เป็นแนวคิดที่ฟังดูน่าสนับสนุน แต่จากที่ได้อ่าน ร่าง พ.ร.บ. Financial
Hub ของพรรคเพื่อไทย ก็เต็มไปด้วยข้อสงสัย
เริ่มตั้งแต่กระบวนการเปิดรับฟังความคิดเห็นที่สั้นแค่เพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น (ในช่วงวันหยุดปีใหม่ 25 ธ.ค.67
- 9 ม.ค.68) ซึ่งสั้นเกินไปสำหรับกฎหมายที่จะส่งผลกระทบสำคัญต่อระบบการเงินของชาติ
คำถามสำคัญ:
“ร่าง พ.ร.บ. นี้ จะทำให้ไทยเป็น Financial Hub ได้จริงหรือ?”
หรือ “จะกลายเป็นความเสี่ยงทางเศรษฐกิจครั้งใหม่?” ลองมาดูสถานะการเป็น Financial Hub ของไทยในปัจจุบัน
จากดัชนีชี้วัดความเป็นศูนย์กลางการเงินโลก (GFCI : Global Financial
Center Index) ปี 2024 กรุงเทพฯ
จัดอยู่ในอันดับที่ 93 ตกต่ำลงจากที่เคยอยู่อันดับ 86
ในปี 2023 สะท้อนให้เห็นว่าไทยมีอุปสรรคสำคัญที่ต้องปรับปรุงเพื่อก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางทางการเงิน
ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคหลักๆ
ได้แก่:
- กระบวนการยุติธรรมที่ขาดหลักนิติธรรม (Rule of Law)
-
ความไม่แน่นอนทางการเมือง (Political Stability)
- ระบบการกำกับดูแลที่ขาดความโปร่งใส (Regulatory Environment)
ธุรกิจการเงินเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องการความน่าเชื่อถือและกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน
นักลงทุนจะเลือกประเทศที่ มีกฎหมายศักดิ์สิทธิ์ โปร่งใส
และการบังคับใช้ที่เป็นธรรมเท่าเทียม
ไม่ใช่ระบบที่เปิดช่องให้คณะกรรมการหรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม
สามารถยกเว้นกฎระเบียบได้ตามใจชอบ ก็ต้องตั้งคำถามว่าร่าง พรบ.
แบบนี้จะทำให้ไทยเป็น Financial
Hub ได้จริงหรือ และก็ต้องขอยกตัวอย่างประเด็นที่เสี่ยงอันตราย
พร้อมกับคำถามว่าประชาชนจะได้รับประโยชน์อย่างไร
ซึ่งเนื้อหาในร่าง
พรบ. ฉบับนี้สวนทางกับการแก้ไขอุปสรรคดังกล่าวโดยสิ้นเชิง
และมีหลายมาตราที่น่ากังวล โดยเฉพาะ มาตรา 35 และ 36 ที่ให้อำนาจ
แบบเบ็ดเสร็จราวกับตีเช็คเปล่าให้แก่
“คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมศูนย์กลางการประกอบธุรกิจทางการเงิน” ที่เรียกว่าเป็น One-Stop
Authority (OSA) มีอำนาจล้นฟ้ายกเว้นกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้กว่า 7
ฉบับ ได้แก่กฎหมาย
-
ธุรกิจสถาบันการเงิน
- ระบบชำระเงิน
- หลักทรัพย์
- ฟิวเจอร์ส
- สินทรัพย์ดิจิทัล
- ประกันชีวิต
- ประกันภัย
ถ้ามองจากมุมของนักลงทุน
OSA เป็นความเสี่ยงที่กระจุกตัวเป็นอย่างมาก
และไม่ทำให้เกิดโครงสร้างการกำกับดูแลที่ดึงดูดการลงทุน
-
มาตรา 50 ให้สิทธิประโยชน์ในการทำธุรกรรม FX
ได้โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา
ก็เหมือนเป็นเดจาวูที่ชวนให้นึกถึง BIBF (Bangkok International Banking
Facility) การผ่อนคลายเกณฑ์ควบคุมซี่งเป็นหนึ่งในสาเหตุวิกฤตต้มยำกุ้งปี
40
คำถามสำคัญที่สุด:
ประชาชนคนไทยจะได้รับประโยชน์อะไรจากกฎหมายนี้?
ไม่มีการพูดถึงเรื่องการจ้างคนไทยและการถ่ายทอด
know-how ประโยชน์จากองค์ความรู้ทางวิชาชีพด้านการเงินที่มืออาชีพระดับโลกจะนำเข้ามาถ่ายทอดจึงไม่มีความชัดเจน
รายได้ภาษีจากธุรกิจเหล่านี้อาจมีไม่มาก
เพราะถ้ามากผู้ประกอบธุรกิจก็คงหนีไปเมืองอื่นที่ตั้งเป้าหรือเป็นศูนย์กลางทางการเงินอยู่แล้ว
เช่น KL ดูไบ ฮ่องกง สิงคโปร์
การเป็น
Financial
Hub หมายถึงเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่จะไหลเวียนเข้าและออกในระบบการเงินของไทย
แต่หากไม่มีการกำกับดูแลที่เหมาะสม
ความเสี่ยงที่ตามมาอาจสูงกว่าผลประโยชน์ที่ได้รับ
แม้ว่าร่าง
พ.ร.บ. ฉบับนี้จะจำกัดให้ทำธุรกรรมได้กับ Non-resident เท่านั้น
แต่ก็เปิดโอกาสให้ Non-resident เหล่านั้นเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาดไทยได้
เช่น
การกู้ยืมระหว่างธนาคาร
การพานักลงทุนไทยไปลงทุนต่างประเทศ
การรับทำประกันภัยต่อ
เป็นต้น ซึ่งย่อมส่งผลกระทบ ทั้งด้านเสถียรภาพของค่าเงินบาท ความผันผวนในราคาสินทรัพย์ต่างๆ โดยเฉพาะสินทรัพย์ดิจิทัล
- ประกอบกับที่ไม่มีกลไกเพิ่มเติมใดๆมารองรับการป้องกันการฟอกเงินแต่อย่างใด โดยได้รับการชี้แจงว่าจะใช้กลไก ปปง. ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งก็ยังคงมีรูรั่วเรื่อง Travel Rule (มาตรการหนึ่งในการกำกับดูแลธุรกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ได้บังคับใช้ไปหมดแล้วแต่ไทยยังไม่ได้ทำ)
ถ้ากฎหมายนี้ผ่านไปโดยไม่มีมาตรการป้องกันที่ดี
ไทยอาจกลายเป็น “Financial
Crime Hub” มากกว่าการเป็น “Financial Hub” ที่แท้จริง
ร่าง
พ.ร.บ. Financial
Hub อาจเป็น โอกาสสำหรับนักลงทุน แต่ในทางกลับกัน
มันอาจเป็นระเบิดเวลาทางเศรษฐกิจของไทย
หากต้องการเป็น Financial Hub ที่แท้จริง ไทยต้องเน้น สร้างธรรมาภิบาลในตลาดเงินตลาดทุน
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ความโปร่งใสยุติธรรมทางกฎหมาย
การและระบบกำกับดูแลที่ได้รับการยอมรับระดับสากล
ไม่ใช่การ
“ยกเว้นกฎหมาย” ให้คณะกรรมการกลุ่มเล็กๆ มีอำนาจล้นฟ้า
ละเว้นมาตรการป้องกันความเสี่ยง
จึงต้องตั้งคำถามกับกฎหมาย“Financial Hub” ควรสร้างโอกาสให้ทุกคน
ไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องมือของกลุ่มทุนหลากสีบางกลุ่ม
#UDDnews
#ยูดีดีนิวส์ #กมธการเงินการคลัง