วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564

ราชทัณฑ์ ส่งตัว "เพนกวิน" เข้ารักษา รพ.รามาธิบดีเพื่อให้สารอาหารทางหลอดเลือด และส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร แม่-ทนายเผยศาลมีคำสั่งนัดไต่สวนคำร้องขอประกันตัวของเพนวกวิน และรุ้ง ในวันที่ 6 พ.ค 64

 


ราชทัณฑ์ ส่งตัว "เพนกวิน" เข้ารักษา รพ.รามาธิบดีเพื่อให้สารอาหารทางหลอดเลือด และส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร แม่-ทนายเผยศาลมีคำสั่งนัดไต่สวนคำร้องขอประกันตัวของเพนวกวิน และรุ้ง ในวันที่ 6 พ.ค 64


เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 30 เม.ย. 64 นายธวัชชัย ชัยวัฒน์ รองอธิบดี และโฆษกกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า จากกรณีที่นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน ได้สมัครใจอดอาหาร ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2564 จนถึงปัจจุบัน จนทำให้น้ำหนักตัวลดลงจาก 107 กิโลกรัม เหลือ 94.5 กิโลกรัม นั้น แม้ว่าที่ผ่านมาจะยังไม่มีอาการบ่งชี้ว่าอยู่ในภาวะวิกฤตตามที่กรมราชทัณฑ์ได้มีการชี้แจงไปแล้ว แต่เนื่องจากนายพริษฐ์ฯ ได้อดอาหารเป็นเวลานาน จนร่างกายไม่สามารถฟื้นฟูตัวเองได้


อีกทั้งในวันนี้ (30 เมษายน 2564) นายพริษฐ์ฯ เริ่มดื่มน้ำเกลือแร่ได้น้อยลง และมีอาการปวดบริเวณที่ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำจึงต้องถอดสายน้ำเกลือไว้ก่อน แพทย์และพยาบาลมีความกังวลว่าอาจเกิดภาวะช็อคได้ จึงมีความเห็นว่าควรส่งตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลภายนอกเรือนจำ เพื่อรับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ


ได้ส่งตัวนายพริษฐ์ฯ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยมี รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี รับมอบผู้ป่วยเข้าทำการรักษา ภายใต้การควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์อย่างเคร่งครัด หากนายพริษฐ์ฯ ได้รับการรักษาจนอาการดีขึ้นแล้ว จะดำเนินการส่งตัวกลับเข้ารับการรักษาที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ต่อไป


ต่อมา 17.45 น.  แม่เพนกวินและทนาย ออกมาแถลงข่าว ว่า ศาลมีคำสั่งนัดไต่สวนคำร้องขอประกันตัวของเพนวกวิน และรุ้ง ในวันที่ 6 พ.ค 64


#saveเพนกวิน #คืนสิทธิประกันตัวให้ประชาชน

แม่เพนกวิน โกนหัว เรียกร้องขอความยุติธรรมหน้าศาล คืนสิทธิประกันตัวให้ลูก อาการลูกวิกฤติแล้ว

 


แม่เพนกวิน โกนหัว เรียกร้องขอความยุติธรรมหน้าศาล คืนสิทธิประกันตัวให้ลูก อาการลูกวิกฤติแล้ว

สืบเนื่องจากวานนี้วานนี้ (29 เม.ย. 64) ศาลอาญามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน ทำให้วันนี้ (30 เม.ย. 64) นางสุรีรัตน์ ชิวารักษ์ มารดาของนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน และทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จะเข้ายื่นของปล่อยตัวชั่วคราวนายพริษฐ์อีกครั้ง เพื่อให้นายพริษฐ์ที่อดอาหารประท้วงมาเป็นเวลา 46 วัน ได้ฟื้นฟูร่างกายและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างเหมาะสม


ต่อมาเวลา 15.00 น. ที่หน้าศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ นางสุรีรัตน์ สวมเสื้อยืดสีขาวระบุข้อความ "ให้มันจบที่รุ่นเรา" จากนั้นทำการโกนผมเรียกร้องความเป็นธรรม 


โดยนางสุรีรัตน์กล่าวว่า การโกนผมเป็นเพียงการสละเส้นผมที่เป็นบางส่วนของร่างกายให้กับเพนกวินเท่านั้น และพยายามจะช่วยลูกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งยังกล่าวว่า "ลูกไม่ได้ทำผิด แค่แสดงความคิดเห็นที่แตกต่างออกไปเท่านั้น และไม่ได้ความยุติธรรมในการสู้คดี"


"ลูกดิฉันกำลังเจ็บป่วย น้ำเกลือฉีดเข้าไม่ได้แล้ว เส้นอักเสบ เพนกวินอยู่ได้ด้วยกำลังใจ ร่างกายเขารับไม่ได้แล้ว ขอให้ทุกคนจดจำและต่อสู้ อย่าให้ใครต้องสูญเสียเหมือนครอบครัวของเรา" นางสุรีย์รัตน์กล่าวทั้งน้ำตาหลังโกนผมประท้วงหน้าศาลอาญา รัชดาภิเษก


#saveเพนกวิน #คืนสิทธิประกันตัวให้ประชาชน

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์


ขอบคุณภาพจาก Live เพจราษฎร

แนวร่วมกลุ่มราษฎรและเครือข่าย ยื่นจดหมายถึง 3 สถานทูตให้ติดตามสถานการณ์การเมือง-สิทธิมนุษยชนไทย หวังให้เข้าเยี่ยมราษฎรในเรือนจำ

 


แนวร่วมกลุ่มราษฎรและเครือข่าย ยื่นจดหมายถึง 3 สถานทูตให้ติดตามสถานการณ์การเมือง-สิทธิมนุษยชนไทย หวังให้เข้าเยี่ยมราษฎรในเรือนจำ

 

วันนี้ (30 เม.ย. 64) เวลา 10.00 น. แนวร่วมกลุ่มราษฎร นำโดย สิรภพ อัตโตหิ หรือ แรปเตอร์, ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือ มายด์, จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ หรือ อั๋ว, บอย ธัชพงศ์ แกดำ รวมทั้งสมาชิกจาก แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม, กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย DRG, ศิลปะปลดแอก, เยาวชนปลดแอก, ราษฎร, Root, We Volunteer และเครือข่ายรามคำแหงเพื่อประชาธิปไตย เข้ายื่นหนังสือต่อสถานทูต  3 แห่ง ได้แก่ สถานทูตสหรัฐอเมริกา สถานทูตเยอรมัน และสถานทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจำประเทศไทย เพื่อเรียกร้องให้ทั้ง 3 สถานทูตติดตามสถานการณ์และเข้าเยี่ยมผู้ต้องหาที่ถูกดำเนินคดีในมาตรา 112 และยังไม่ได้รับการประกันตัว โดยเฉพาะ นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน และ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง ซึ่งได้อดอาหารและมีอาการป่วย เกรงว่าจะไม่ได้รับการดูแลอย่างเป็นธรรม

 

โดยบรรยากาศในวันนี้ผู้ชุมนุมได้ถือป้ายข้อความว่า “I’ve lost faith in this broken system”, อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน สิทธิการประกันตัวเป็นของประชาชน, ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ไม่ใช่อาชญากรรม

 

โดยสิรภพ อัตโตหิ หรือ แรปเตอร์ เปิดเผยว่ามีวัตถุประสงค์ ต้องการให้สถานทูตติดตามสถานการทางการเมืองและปัญหาของประเทศไทย ที่มีการเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษทางการเมือง ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนจะต้องได้รับสิทธิประกันตัวและออกมาต่อสู้คดีตามขั้นตอนของกฎหมาย เนื่องจากทั้ง 7 คน ศาลยังไม่ได้ตัดสินว่าเป็นผู้กระทำผิด จึงเกรงว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยเฉพาะ เพนกวินและรุ้ง ที่อดอาหารและมีอาการป่วยจึงอยากให้ตัวแทนสถานทูตได้เข้าเยี่ยมและได้เห็นด้วยสายตาตัวเองในสิ่งที่เกิดขึ้น

 

ในวันนี้เรายื่นจดหมายโดนมีเนื้อความว่า เราอยากให้สถานทูตฯได้ติดตามปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย รวมถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ถูกคุมขังทางการเมืองอยู่ตอนนี้ ซึ่งเนื้อความในจดหมายได้มีการแจ้งถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและสภาพร่างกายของเพนกวินและรุ้ง ปนัสยา ที่วันนี้เพนกวิน อดอาหารเป็นวันที่ 45 และรุ้งครบ 1 เดือนเรียบร้อยแล้ว สภาพร่างกายในตอนนี้ก็ย่ำแย่ ในเนื้อความจดหมายนอกจากจะให้ติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ถูกคุมขังในเรือนจำตอนนี้ ด้วยกฎหมายตาม ม.112 และกฎหมายทางการเมืองต่าง ๆ ยังต้องการให้ท่านทูตได้ไปเยี่ยมเพื่อนของเราที่อยู่ในเรือนจำเพื่อจะได้ทราบสถานการณ์ที่เป็นความจริงด้วยสายตาของตัวท่านเอง” นายสิรภพ กล่าว

.

ด้าน มายด์ ภัสราวลี เปิดเผยว่า เบื้องต้นตนเชื่อมั่นว่าทั้ง 3 ประเทศนี้เห็นแก่เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก ซึ่งรู้สึกว่าตอนนี้ไม่สามารถพึ่งรัฐไทยได้ และตอนนี้รัฐไทยไม่ได้ให้ความเป็นธรรมกับเพื่อนของเราที่อยู่ในเรือนจำและประชาชนที่ถูกจับไปด้วยคดีทางการเมืองเลย ตนจึงอยากจะขยายความ ความจริงที่เกิดขึ้นให้ทั่วโลกได้รับรู้ และช่วยจับตาดูอย่างใกล้ชิดกับคดีทางการเมือง เพราะสถานการณ์โควิด และที่รัฐบาลไทยอยากให้เรื่องนี้ดูเงียบ ๆ ไปด้วย จึงอยากขยายเรื่องนี้ให้ดังอยู่ตลอดเวลา เพราะเพื่อนของเรายังไม่ได้รับความยุติธรรม สำหรับส่วนตัวของภัสราวลีเอง ไม่ได้มีความกังวลที่จะถูกขัง ถ้าหากถูกขังจริง ก็เป็นที่ตอกย้ำให้รู้ว่าประเทศมีความยุติธรรมมากแค่ไหน ทำให้ต่างชาติได้รู้ว่ารัฐไทยได้ใช้กฎหมายปิดกั้นเสรีภาพของประชาชนในการแสดงออกทางการเมือง ซึ่งตนยืนยันสิ่งที่ทำเป็นสิ่งที่ทำได้ตามกฎหมายตามระบอบประชาธิปไตย

 

ทั้งนี้ด้านการดูแลความปลอดภัยนั้นทางตำรวจได้จัดกำลังมาคอยดูแลความเรียบร้อยตามปกติ ไม่มีเหตุการณ์ความวุ่นวายเกิดขึ้นแต่อย่างใด

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์


ประมวลภาพ









แม่รุ้ง-ปนัสยา พร้อมเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง นำหนังสือยื่นอธิบดีกรมราชทัณฑ์ใช้ดุลยพินิจปล่อยตัวชั่วคราว “เพนกวิน-รุ้ง” หลังอดอาหารในเรือนจำมานานจนสภาพร่างกายทรุดโทรม

 


แม่รุ้ง-ปนัสยา พร้อมเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง นำหนังสือยื่นอธิบดีกรมราชทัณฑ์ใช้ดุลยพินิจปล่อยตัวชั่วคราว “เพนกวิน-รุ้ง” หลังอดอาหารในเรือนจำมานานจนสภาพร่างกายทรุดโทรม

 

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 30 เม.ย. 64 ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่กรมราชทัณฑ์ ถนนนนทบุรี ต.สวนใหญ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี นางเปลว สิทธิจิรวัฒนกุล มารดาของ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาคดีการเมือง ได้เดินทางมายังกรมราชทัณฑ์พร้อมด้วยเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองจำนวนหนึ่ง เพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เรื่องขอให้ส่งตัวนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน ไปรักษาตัวในโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน

 

โดยใจความในจดหมายเปิดผนึกระบุว่า หลังจากที่นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน และ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง ซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาคดีการเมือง และถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำนั้น ได้ทำการอดอาหารประท้วงต่อศาลอาญาที่ปฏิเสธสิทธิในการประกันตนมาเป็นเวลา 46 วัน และ 32 วัน ตามลำดับนั้น

 

ทางเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองจึงทำจดหมายเปิดผนึกถึงอธิบดีกรมราชทัณฑ์ให้ใช้อำนาจในการส่งตัวนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน ไปเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลนอกเรือนจำที่มีประวัติการรักษาตัวของนายพริษฐ์ จนกว่าจะแข็งแรงขึ้นพ้นขีดอันตราย เนื่องจากสภาพร่างกายของผู้ที่อดอาหารมาเป็นเวลานานต้องการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่แท้จริงดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อฟื้นฟูให้กลับมารับอาหารได้ตามปกติ อีกทั้งต้องเป็นโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือการแพทย์ที่ดีพอและปลอดภัยจากโรคระบาดไวรัสโควิด

 

ซึ่งการวิงวอนร้องขอให้ส่งนายพริษฐ์ออกไปรักษาตัวในโรงพยาบาลนอกเรือนจำ ไม่ใช่การขอคืนอิสรภาพแต่ประการใด แต่เป็นการร้องขอให้ช่วยรักษาชีวิตของนายพริษฐ์ไวตามหลักมนุษยธรรมต่อเยาวชนคนหนึ่ง อย่าปล่อยให้เขาตายทั้ง ๆ ที่สามารถป้องกันได้ โดยมีรายชื่อนักวิชาการสมาชิกเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองและภาคประชาชนสังคม จำนวน 617 คน แนบรายชื่อท้ายจดหมายเปิดผนึก

 

ทางด้านนางเปลว สิทธิจิรวัฒนกุล มารดาของ น.ส.ปนัสยา หรือ รุ้ง ที่เดินทางมายื่นจดหมายเปิดผนึกด้วยได้เปิดเผยว่า ในวันนี้ตนพร้อมกับนักวิชาการได้นำจดหมายมายื่นกับอธิบดีกรมราชทัณฑ์เพื่อขอให้นำตัวเพนกวินออกจากเรือนจำไปรักษาตัวข้างนอกก่อน ซึ่งมีตัวแทนมามารับจดหมายไป แม้ว่าวันนี้จะยังไม่ได้คำตอบก็ตาม ในวันจันทร์จะเดินทางมารอคำตอบอีกครั้ง ซึ่งก็หวังว่าทางกรมราชทัณฑ์จะให้ความเมตตากับเด็ก ๆ

 

ส่วนอาการของรุ้งในตอนนี้ มีอาการมือชา เท้าชา และตัวชา ทำกิจกรรมไม่ไหวแล้ว ตนเป็นห่วงเด็กทั้งสองคนสุด ๆ ในตอนนี้ เพราะอยู่ในสภาพที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ก็หวังว่าสักวันคงได้รับความเมตตาให้กับเด็ก ๆ ทั้งสองคน แม้ว่าเมื่อวานนี้จะได้พยายามยื่นขอประกันตัวไปแล้วแต่ก็ได้รับคำปฏิเสธเหมือนเดิม ซึ่งตนก็คงต้องพยายามยื่นขอประกันตัวไปเรื่อย ๆ พร้อมกับปรึกษากับทนายความหาแนวทางอื่นต่อไป ในวันนี้อยากขอความเมตตาจากกรมราชทัณฑ์ให้เมตตากับเด็ก ๆ ได้ออกมารักษาข้างนอกก่อน

 

#กรมราชทัณฑ์ #saveเพนกวิน #รุ้งปนัสยา

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์


ประมวลภาพ





"เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง" ยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ขอส่งตัว "เพนกวิน"ไปรักษาในโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานนอกเรือนจำโดยด่วน

 


"เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง" ยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ขอส่งตัว "เพนกวิน"ไปรักษาในโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานนอกเรือนจำโดยด่วน

 

วันนี้ (30 เม.ย.64) ที่กรมราชทัณฑ์ จ.นนทบุรี เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง หรือ คนส. นำโดย รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์, รศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร, อาจารย์ ดร.ภาสกร อินทุมาร, อ. นาตยา อยู่คง, ผศ.ศุภวิทย์ ถาวรบุตร, นายเกรียงกมล เลาหไพโรจน์ กลุ่ม OCTDEM พร้อมด้วยประชาชน เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพื่อให้ ขอให้ส่งตัวนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน ไป รักษาตัวในโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานนอกเรือนจำ โดยเป็นจดหมายที่มีคณาจารย์และภาคประชาสังคม จำนวน 617 คน ได้ร่วมลงชื่อด้วย ทั้งนี้นายวรพงษ์ น้อยสุขเสริม เลขานุการกรมราชทัณฑ์ มาเป็นผู้รับหนังสือแทน

 

ทั้งนี้เนื้อความในจดหมายเปิดผนึกระบุว่า จากกรณีที่นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ (เพนกวิน) และนางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (รุ้ง) ผู้ต้องหาคดีการเมืองได้ประกาศอดอาหารมาเป็นเวลา 46 วัน และ 32 วันตามลำดับ เพื่อประท้วงต่อศาลอาญาที่ปฏิเสธสิทธิในการประกันตนของพวกเขา แม้ว่าทางทนายความและครอบครัวได้พยายามขอยื่นประกันหลายครั้งหลายหน และอธิบายต่อศาลว่าตามหลักรัฐธรรมนูญไทยแล้ว ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และจะปฏิบัติต่อบุคคลดังกล่าวเสมือนผู้กระทำความผิดไม่ได้จนกว่าจะได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดจริง แต่ศาลก็ไม่เคารพต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหาแม้แต่น้อย จนกระทั่งในเย็นวันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา ทนายความที่เข้าเยี่ยมนายพริษฐ์ได้ทราบว่าสุขภาพของนายพริษฐ์ทรุดหนัก มีการถ่ายอุจจาระเป็นชิ้นเนื้อและลิ่มเลือด ผิวหนังเหี่ยวย่น นอนไม่หลับ เหม่อลอย ร่างกายอ่อนเพลียมากจนไม่สามารถเดินเองได้

 

เหตุการณ์ข้างต้นทำให้ครอบครัวของนายพริษฐ์และประชาชนที่รักประชาธิปไตยวิตกกังวลอย่างยิ่งว่าสุขภาพของนายพริษฐ์กำลังตกอยู่ในสภาวะสุ่มเสี่ยง ผนวกกับสภาวะที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพในขณะนี้มีการระบาดของโรคโควิด พวกข้าพเจ้า นักวิชาการในเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.)และภาคประชาสังคม ดังมีรายชื่อแนบท้ายนี้ จึงขอเรียกร้องมายังอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้ใช้อำนาจของท่านส่งตัวนายพริษฐ์ เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลนอกเรือนจำที่มีประวัติการรักษาตัวของนายพริษฐ์ จนกว่านายพริษฐ์จะแข็งแรงขึ้น พ้นขีดอันตราย ทั้งนี้ แม้ว่าทางเรือนจำจะมีโรงพยาบาลราชทัณฑ์ก็ตาม แต่สภาพร่างกายของผู้ที่อดอาหารเป็นเวลานาน ต้องการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่แท้จริงดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อค่อย ๆ ฟื้นฟูให้ร่างกายสามารถกลับมารับอาหารได้ตามปกติ สภาพร่างกายของนายพริษฐ์ในขณะนี้ไม่สามารถฟื้นฟูด้วยวิธีการให้รับอาหารตามปกติโดยไม่มีผู้เชี่ยวชาญดูแลโดยเด็ดขาด อีกทั้งต้องเป็นโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือการแพทย์ที่ดีพอ และปลอดภัยจากโรคระบาดโควิด

 

ทั้งนี้ การวิงวอนร้องขอให้ท่านส่งนายพริษฐ์ไปรักษาตัวในโรงพยาบาลนอกเรือนจำนี้ ไม่ใช่การขอให้ท่านคืนอิสรภาพให้แก่นายพริษฐ์แต่ประการใด เพราะนายพริษฐ์ย่อมไม่สามารถเคลื่อนไหวทางการเมืองใดๆ ได้ และทางเรือนจำสามารถให้เจ้าหน้าที่คอยเฝ้าระวังได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่นี่คือการร้องขอให้ท่านได้ช่วยรักษาชีวิตของนายพริษฐ์ไว้ ได้โปรดคำนึงถึงหลักมนุษยธรรมต่อเยาวชนคนหนึ่ง ที่มีความรักชาติบ้านเมืองไม่น้อยไปกว่าผู้ใดในประเทศนี้ โปรดอย่าปล่อยให้เขาตายทั้ง ๆ ที่ท่านสามารถป้องกันได้เลย

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาหลักมนุษยธรรม

 

ขอแสดงความนับถือ

 

สมาชิกเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองและภาคประชาสังคม จำนวน 617 คน ตามรายชื่อดังนี้

1. กนกวรรณ มะโนรมย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

2. กมลนาถ องค์วรรณดี

3. กรกนก วัฒนภูมิ

4. กรกิต ชุ่มกรานต์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

5. กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

6. กรรณิกา ควรขจร

7. กรรณิการ์ ดวงเนตร

8. กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช Ph.D. Candidate Graduate School of Asian and African Areas Studies Kyoto University

9. กฤตวิทย์ หริมเทพาธิป

10. กฤษฎิ์ ชัยรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

11. กฤษณ์ อริยะพุทธิพงศ์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

12. กศิรัตน์ ประดับเวทย์

13. กษมาพร แสงสุนะธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

14. กังวาฬ ฟองแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

15. การุณ ใสงาน

16. กำพล ปิยะศิริกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

17. กิตตินันท์ ชาวปากน้ำ

18. กิตติพงษ์ หาญเจริญ

19. กิตติศักดิ์ โถวสมบัติ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

20. กิติมา ขุนทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

21. กิรพัฒน์ เขียนทองกุล วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

22. กุลนันทน์ ค้าเจริญ

23. กุลลดา เกษบุญชู-มี๊ด อดีตอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

24. กุศล เลี้ยวสกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

25. กุสุมา กูใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

26. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

27. เกริกเกียรติ ไตรวัฒน์คุณากร

28. เกรียงกมล เลาหไพโรจน์ นักกิจกรรมสังคม

29. เกศริน เตียวสกุล กก. สสส.

30. เกศศิรินทร์ มัธยทรัพย์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

31. เกศินี จิรวณิชชากร นักวิชาการอิสระ

32. ขวัญชนก ไทยนา

33. ขวัญตา ทรัพย์สินบูรณะ

34. เข้ม มฤคพิทักษ์ นักกิจกรรมสังคม

35. เขมชาติ ตนบุญ นักกฎหมายอิสระ

36. เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

37. เข็มทอง วิรุณราพันธ์ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน

38. เขมภัทร ทฤษฎิคุณ นักวิจัยฝ่ายกฎหมายเพื่อการพัฒนา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

39. คงกฤช ไตรยวงค์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

40. คงสัจจา สุวรรณเพ็ชร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

41. คณิต หนูทอง

42. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร

43. คมลักษณ์ ไชยยะ

44. คมสัน กิมาลี

45. คารินา โชติรวี

46. เคท ครั้งพิบูลย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

47. โคทม อารียา

48. ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร นักวิชาการอิสระ

49. งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

50. จงกลกร เลือดทหาร

51. จรรยา เหตะโยธิน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

52. จรัล มานตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

53. จักรกริช ฉิมนอก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

54. จักร์พงษ์ มูลกาวิน Ph.D. Candidate, Kyoto University

55. จักรพันธ์ แสงทอง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

56. จักรพันธุ์ ขวัญมงคล

57. จักรสิน น้อยไร่ภูมิ

58. จักเรศ อิฐรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

59. จันทรัศม์ เหรียญประยูร

60. จันทิมาพร ชีวะสวัสดิ์

61. จารุณี พิมลเสถียร อดีตอาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

62. จารุประภา รักพงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

63. จิรธร สกุลวัฒนะ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

64. จิรวัฒน์ แสงทอง สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

65. จิรวัฒน์ เอื้อสังคมเศรษฐ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร

66. จิรวุฒิ พงษ์โสภณ

67. จิรัฏฐ์ เฉลิมแสนยากร นักเขียน และนักวิชาการด้านวรรณคดีศึกษา

68. จิรันธนิน กิติกา สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

69. จิราพร เหล่าเจริญวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

70. จิราภรณ์ วิหวา

71. จิราภรณ์ สมิธ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

72. จุฑาทิพย์ แซ่กี้

73. จุฑาทิพย์ วิวัฒนาพันธุวงศ์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

74. จุฑามณี สามัคคีนิชย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

75. จุฑามาศ ธรรมเที่ยง

76. จูยิน แซ่จาง สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยบูรพา

77. เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

78. เจษฎากร กาละพงศ์ Ph.D. Candidate, Kyoto University

79. ฉัตรดนัย สมานพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

80. ฉัตรวรุณ เล้าแสงชัยวัฒน์

81. เฉลิมชัย โชติสุทธิ์ นักวิชาการสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

82. เฉลิมชัย พันธุ์เลิศ สถาบันสังคมศึกษา สพฐ.

83. เฉลิมวุฒิ ศรีพรหม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

84. ชญาณิศา ศรีสว่าง

85. ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

86. ชนะพงษ์ ลิ้มเสรี

87. ชนาง อำภารักษ์

88. ชยุตม์ ชำนาญเศรษฐ นักศึกษาปริญญาเอก University of Aberdeen

89. ชยุตม์พงศ์ เอนกธนโชติสกุล

90. ชรวรรณ บุญพร้อมกุล คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์

91. ชลนภา อนุกูล ศูนย์วิชาการเพื่อสังคมเป็นธรรม

92. ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

93. ชลิตา วิริยะจาตุทิศ

94. ชลิพา ดุลยากร กลุ่ม insKru

95. ชวาลิน เศวตนันทน์, Macquarie University (Australia)

96. ชัชฎา กําลังแพทย์

97. ชัชวาล ปุญปัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

98. ชัยพงษ์ สำเนียง มหาวิทยาลัยนเรศวร

99. ชัยพร อินทุวิศาลกุล

100. ชัยยนต์ ทองสุขแก้ง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

101. ชัยรัตน์ พลมุข

102. ชาญชัย ชัยสุขโกศล (นักวิชาการอิสระ)

103. ชาญณรงค์ บุญหนุน ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร

104. ชาตรี ประกิตนนทการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

105. ชานนทร์ เตชะสุนทรวัฒน์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

106. ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

107. ชาริต้า ประสิทธิหิมะ ภาคประขาสังคม

108. ชำนาญ จันทร์เรือง อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

109. ชิดชนก วันฤกษ์ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

110. ชินวร อิ่มเกษม

111. ชุมาพร แต่งเกลี้ยง นักกิจกรรมทางสังคม

112. เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์

113. โชติรส นาคสุทธิ์

114. ไชยันต์ รัชชกูล

115. ซัมซู สาอุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

116. เฌอทะเล สุวรรณพานิช

117. ญาณิน พงศ์สุวรรณ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร

118. ญาดา เกรียงไกรวุฒิกุล

119. ญาเรศ อัครพัฒนานุกูล มหาวิทยาลัยบูรพา

120. ฐานิดา บุญวรรโณ มหาวิทยาลัยนเรศวร

121. ฐานิตา ภูวนาถนรานุบาล

122. ฐิตินันท์ เต็งอำนวย นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

123. ฐิติพงษ์ ด้วงคง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

124. ฐิติยา พจนาพิทักษ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร

125. ฐิติรัตน์ วัณนาวิบูล

126. ณขวัญ ศรีอรุโณทัย

127. ณปนิธิ์ วินิจชีวิต สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยบูรพา

128. ณปภัช ทรีเชค

129. ณปรัชญ์ บุญวาศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

130. ณภัค เสรีรักษ์

131. ณภัทร ปัญกาญจน์

132. ณรงค์ อมรเรืองพิศา นักกิจกรรมสังคม

133. ณรงค์ อาจสมิติ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

134. ณรรธราวุธ เมืองสุข นักสื่อมวลชน

135. ณวรา ทักษยศ

136. ณัชชา อนันตกูล

137. ณัชพล แซ่ตั๊น

138. ณัฏฐเมธร์ ดุลคนิต

139. ณัฏฐา ชื่นวัฒนา นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยโตรอนโต

140. ณัฐธิชา อยู่เกษ

141. ณัฐพล ใจจริง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

142. ณัฐพล พินทุโยธิน คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

143. ณัฐพล มา Ph.D. Candidate Kyoto University

144. ณัฐสุดา อมรสู่สวัสดิ์

145. ณัฐฬส วังวิญญู

146. ณิชภัทร์ กิจเจริญ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

147. ณิชา กลิ่นขจร

148. ณิชา แย้มละม้าย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

149. ณีรนุช แมลงภู่ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

150. ดนัย พลอยพลาย นักวิชาการอิสระ

151. ดลวัฒน์ บัวประดิษฐ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มธ. ลำปาง

152. ดวงใจ พวงแก้ว นักกิจกรรมสังคม

153. ดวงมน จิตร์จำนง

154. ดวงยิหวา อุตรสินธุ์

155. ดวงรักษ์ เลิศมั่งมี

156. ดวงรักษ์ เลิศมั่งมี จาก why i why Foundation

157. ดาริน ลิขิตมาศกุล

158. เดชรัต สุขกำเนิด นักวิชาการอิสระ

159. เดโชพล เหมนาไลย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

160. เด่นพงษ์ แสนคำ นักศึกษาปริญญาโท คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

161. ตฤณ ไอยะรา สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

162. ตวงทิพย์ พรมเขต คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

163. ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

164. ตะวัน วรรณรัตน์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

165. ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

166. ตุลพบ แสนเจริญ

167. เตโชดม ภัทรวรธรรม

168. โตมร อภิวันทนากร

169. ถนอม ชาภักดี นักปฎิบัติการทางศิลปะ khonkaen manifesto

170. ทรงสิริ พุทธงชัย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

171. ทวิภัทร บุณฑริกสวัสดิ์ จาก why i why Foundation

172. ทวีพร คงแก้ว

173. ทวีลักษณ์ พลราชม

174. ทสิตา สุพัฒนรังสรรค์ รัฐศาสตร์ สุโขทัยธรรมาธิราช

175. ทับทิม ทับทิม นักวิชาการอิสระ

176. ทัศนวรรณ บรรจง มูลนิธิการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองไทย

177. ทัศนีย์ เอกศิริ

178. ทิชานนท์ ชุมแวงวาปี

179. ทินกฤต สิรีรัตน์ นักวิชาการอิสระ

180. ทิพย์ตะวัน อุชัย

181. ทิพย์นภา หวนสุริยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

182. ทิพวรรณ ศรีสุวรรณ นักกิจกรรมสังคม

183. เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

184. ไทกร พลสุวรรณ

185. ธงชนะ ถวิลอิทธิพร

186. ธนกร กลางประพันธ์

187. ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

188. ธนภณ เรืองมณฑป

189. ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

190. ธนมาด คุณศรีรักษ์สกุล อักษร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

191. ธนรัตน์ มังคุด สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

192. ธนศักดิ์ สายจำปา สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

193. ธนัญญา ต่อชีพ

194. ธนัท ปรียานนท์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

195. ธนากร ไพรวรรณ์ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

196. ธนาวิ โชติประดิษฐ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

197. ธนิศร์ ตั้งกิจเจริญกุล ศิลปศาสตร์ มจธ

198. ธเนศ ศิรินุมาศ

199. ธเนศวร์ เจริญเมือง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

200. ธรรณพร คชรัตน์ สบายใจ ศูนย์ประสานสิทธิการศึกษาบ้านเรียนและศูนย์การเรียนไทย

201. ธรรมศาสตร์ โสถิตพันธุ์ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

202. ธวัช มณีผ่อง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

203. ธัชพงศ์ ศรีสุวรรณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

204. ธันยพร สว่างศรี

205. ธานินทร์ ชุติศิลป์

206. ธาม บรรณาการ

207. ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ นักประวัติศาสตร์

208. ธิกานต์ ศรีนารา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

209. ธิดา ผลิตผลการพิมพ์

210. ธิดารัตน์ ศักดิ์วีระกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

211. ธีรพจน์ ศิริจันทร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

212. ธีรพล พัฒนภักดี

213. ธีรภัทร รื่นศิริ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

214. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

215. ธีระนันท์ วิชัยดิษฐ คณะมนุษยศาสตร์ มมาวิทยาลัยรามคำแหง

216. ธีระพล อันมัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

217. นงลักษณ์ แก้วโภคา

218. นงลักษณ์ สุขใจเจริญกิจ นักกิจกรรมสังคม

219. นพิน มัณฑะจิตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง

220. นภัสพร ไชยวงค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

221. นราสิทธิ์ วงษ์ประเสริฐ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

222. นรินทร์ จิตต์ปราณีชัย

223. นรินทร์ ประสพภักดี

224. นริศ เจรีรัตน์ มหาวิทยาลัยบูรพา

225. นรุตม์ เจริญศรี คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

226. นฤเบศร จักษุสุวรรณ

227. นฤมล กล้าทุกวัน สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

228. นฤมล ช้างบุญมี ภาควิชานิติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

229. นวภู แซ่ตั้ง นักวิชาการอิสระ

230. นวัต เลิศแสวงกิจ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

231. นักรบ มูลมานัส ศิลปินอิสระ

232. นาฏนภัส เหล็กเพ็ชร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

233. นาตยา อยู่คง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

234. นาวิน โบษกรนัฏ คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์

235. นิชนันท์ สุวรรณา

236. นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ

237. นิธินันท์ ยอแสงรัต

238. นิปัทม์ พิชญโยธิน คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

239. นิพนธ์ รัตนาคม

240. นิพนธ์ ศศิภานุเดช คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์

241. นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย กรุงเทพ

242. นิรัช ตรัยรงคอุบล

243. นิรัช วานิชวัฒนรำลึก

244. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ

245. นิลเนตร ฝั่งชลจิตต์

246. นุชรี วงศ์สมุท วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

247. เนาวรัตน์ ปฏิพัทธ์ภักดี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

248. บงกช ดารารัตน์ นักกฎหมายอิสระ

249. บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี

250. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

251. บัณฑูร ราชมณี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

252. บารมี ชัยรัตน์

253. บาหยัน อิ่มสำราญ นักวิชาการอิสระ

254. บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

255. บุบผาทิพย์ แช่มนิล

256. บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

257. เบญจพล พรหมมาวิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

258. เบญจมาศ บุญฤทธิ์ นักศึกษาปริญญาเอก University of Aberdeen

259. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

260. ปฏิบัติ ปรียาวงศากุล สำนักสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

261. ปฐม ตาคะนานันท์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

262. ปฐมพงศ์ มานะกิจสมบูรณ์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

263. ปฐมฤกษ์ เผือกผุด

264. ปฐวี โชติอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

265. ปณิดา อนุรักษ์อโนชา

266. ปณีต จิตต์นุกุลศิริ

267. ปทิตตา อินทร์ฤดี

268. ปรมตถ ณ ระนอง Singapore University of Technology and Design

269. ประกายดาว คันธะวงศ์

270. ประกาศ สว่างโชติ

271. ประชาธิป กะทา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

272. ประพิมพรรณ สุดชูเกียรติ OctDem

273. ประภัสสร์ ชูวิเชียร คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

274. ประภาวี เหมทัศน์

275. ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

276. ปราการ กลิ่นฟุ้ง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

277. ปราชญ์ ปัญจคุณาธร ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัย Stanford (นักศึกษาปริญญาเอก)

278. ปราโมทย์ ระวิน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

279. ปริวรรต อิ่มสอาด ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

280. ปรีชาพล กำแพงทิพย์

281. ปวัณรัฒน์ บริวเออร์ Western Carolina University

282. ปวีณา แช่มช้อย คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

283. ปัญญา เล็กวิไล มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

284. ปัณณพร นิลเขียว ศูนย์การเรียนบ้านสายรุ้ง

285. ปาริชาติ ฉิมคล้าย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

286. ปาริชาติ ภิญโญศรี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

287. ปาลิตา จุนแสงจันทร์ Assistant Professor, University of Minnesota

288. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

289. ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

290. ปิยฉัตร สินพิมลบูรณ์

291. ปิยนารถ ธรรมวัฒนะ

292. ปิยะกัลย์ สินประเสริฐ

293. ปิยากร เลี่ยนกัตวา

294. ปิยาพัชร บัวชุม กลุ่ม moose จ.พะเยา

295. ผไท วงศ์อนุตรโรจน์

296. เผ่าไทย สินอำพล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

297. พงศ์ธร จันทร์เลื่อน มูลนิธิเอ็มพลัส

298. พงศ์พิสุทธิ์ บุษบารัตน์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

299. พงษ์เทพ บุญกล้า นักวิชาการอิสระ

300. พงษ์ศักดิ์ รัตนวงศ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

301. พชร สุวรรณดิษ จาก why i why Foundation

302. พนิดา อนันตนาคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

303. พนิตา เสือวรรณศรี คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

304. พยอม สมประสงค์ นักกิจกรรมสังคม

305. พรใจ ลี่ทองอิน

306. พรชัย นาคสีทอง มหาวิทยาลัยทักษิณ

307. พรเทพ เบญญาอภิกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

308. พรพรรณ พิริยะสุรวงศ์ มหาวิทยาลัยบูรพา

309. พรเพ็ญ เธียรไพศาล จาก why i why Foundation

310. พรเพ็ญ เธียรไพศาล

311. พรรณพิมล นาคนาวา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

312. พรรณราย โอสถาภิรัตน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

313. พรรษาสิริ กุหลาบ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

314. พรเลิศฤทธิ์ ชุณหธรรม

315. พรอัมรินทร์ พรหมเกิด คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

316. พระชาย วรธัมโม พระสงฆ์ผู้เรียกร้องให้มนุษย์มีมนุษยธรรม

317. พระณรงค์ วุฑฺฒิเมธี ประเทศอินเดีย

318. พริม มณีโชติ

319. พฤกษพรรณ บรรเทาทุกข์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

320. พฤหัส พหลกุลบุตร

321. พลอย ธรรมาภิรานนท์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

322. พลากร จิรโสภณ นักกิจกรรมสังคม

323. พวงทอง ภวัครพันธุ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

324. พศุตม์ ลาศุขะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

325. พสิษฐ์ วงษ์งามดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

326. พัชฌา ชัยชนะ

327. พัชมณ ศรีจามร

328. พัชร์ นิยมศิลป คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

329. พัชราภรณ์ ตฤณวุฒิพงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

330. พัชราภรณ์ หนังสือ คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์

331. พัทธจิต ตั้งสินมั่นคง School of Social Sciences, Waseda University

332. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ สถาบันมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

333. พารวย อภิรักษ์วนาลี

334. พิจักษณ์ ทนันชัยบุตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

335. พิชญ์ จงวัฒนากุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

336. พิชญภณ ศรีนวล

337. พิชญา ปิยจันทร์

338. พิชญา พรรคทองสุข แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

339. พิเชฐ แสงทอง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

340. พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

341. พินัย สิริเกียรติกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

342. พิพัฒน์ คุณวงค์

343. พิพัฒน์ สุยะ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

344. พิมพ์มนัส วิบุลศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

345. พิมพิชา บุญอนันต์

346. พิริยดิศ มานิตย์ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

347. พิไล สุธีจินดารัตน์

348. พิศาล ทวีสุข

349. พิสิทธิ์ กอบบุญ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

350. พีรยา ห้องโสภา นักวิชาการสาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

351. พุทธพล มงคลวรวรรณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

352. พุทธิพงศ์ อึงคะนึงเวช

353. เพชรดา ชุนอ่อน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

354. เพ็ญพิสาข์ ศรีวรนารถ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

355. เพ็ญภาส อุทัชกุล

356. เพ็ญศรี พานิช สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

357. เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์

358. แพร จิตติพลังศรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

359. แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

360. ไพจง ไหลสกุล นักกิจกรรมสังคม

361. ไพบูลย์ บุญประเสริฐ

362. ไพรินทร์ กะทิพรมราช คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

363. ไพรินทร์ เสาะสาย

364. ไพลิน ปิ่นสำอางค์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

365. ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักแปล

366. ภัทณิดา โสดาบัน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

367. ภัทรนันท์ ทักขนนท์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

368. ภัทรพงษ์ แสงไกร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

369. ภัทรพร ภู่ทอง นักวิชาการอิสระ

370. ภัทรัตน์ พันธุ์ประสิทธิ์ Affiliated Researcher, Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University

371. ภัทรี ฉิมนอก ศิลปิน

372. ภาคภูมิ แสงกนกกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

373. ภาณุ ตรัยเวช นักวิชาการอิสระ

374. ภาณุ สุพพัตกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

375. ภาณุพันธ์ จันทร์เฟื่อง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

376. ภารดี ธรรมาภิชัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

377. ภาวดี สายสุวรรณ

378. ภาวิณี ช่วยประคอง คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

379. ภาวิน มาลัยวงศ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

380. ภาสกร อินทุมาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

381. ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

382. ภูเบศ พิรกุลวานิช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

383. ภูมิ ชาญป้อม สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

384. ภูริทัต มาลินีรัตน์

385. มนฑิตา โรจน์ทินกร คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์

386. มนตรา พงษ์นิล มหาวิทยาลัยพะเยา

387. มนตรี จันทวงศ์ กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง

388. มรกต ดิษฐาอภิชัย นักวิชาการ

389. มรรยาท อัครจันทโชติ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

390. มานิตา ปานะถึก

391. มิ่ง ปัญหา คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์

392. มินตรา สนเอี่ยม

393. มูนีเราะฮ์ ยีดำ

394. มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

395. ยงยุทธ บูรณเจริญกิจ

396. ยศ สันตสมบัติ

397. ยศกร เรืองไพศาล

398. ยศธร วัฒนะพิทักษ์สกุล

399. ยอดพล เทพสิทธา ม นเรศวร

400. ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

401. ยุทธกฤต เฉลิมไทย EDeaf: Education for the Deaf

402. ยุรนันท์ ปั้นนอก

403. เยาวนิจ กิตติธรกุล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

404. เยาวเรศ ก้อนทอง

405. รจนา คำดีเกิด คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

406. รชฎ สาตราวุธ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

407. รดิศ กิจกุศล

408. รติกรณ์ ศรีวิชัย

409. รติมา สุระรัตน์ชัย นักกฎหมาย

410. ร่มเกล้า ช้างน้อย

411. รวิตะวัน โสภณพนิช มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

412. ระพีพรรณ ศิริวงษ์ขันธ์

413. รัชกฤช วงษ์วิลาศ คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์

414. รัตนา โตสกุล อดีตอาจารย์คณะสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

415. รับขวัญ ธรรมบุษดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

416. รัศมีจันทร์ เสาวคนธ์

417. ราม ประสานศักดิ์ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลฯ

418. ริน ฮัตเจสสัน

419. รุ่งทิพย์ จันทร์ธนะกุล สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

420. รุ่งธิวา ขลิบเงิน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

421. รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช นักวิชาการอิสระ

422. รุสนันท์ เจ๊ะโซ๊ะ มหาวิทยาลัยมลายา

423. เรวณี ชัยเชาวรัตน์

424. เรวัตร หินอ่อน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

425. ฤกษ์ อุปมัย

426. ลดาวัลย์ ภักดีจอหอ Affiliate Researcher at Technische Universität München

427. ลลิตา หาญวงษ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

428. ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

429. ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์

430. วณิชชา กาญจโนภาส อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

431. วนัสนันท์ ศรีไพศาล จาก why i why Foundation

432. วรเชษฐ แซ่เจีย

433. วรธิดา ไชยปะ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

434. วรพงษ์ เวชมาลีนนท์

435. วรพจน์ สืบประเสริฐกุล ภาควิชานิติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

436. วรภัทร วีรพัฒนคุปต์ กรรมการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)

437. วรรณภา ลีระศิริ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

438. วรรณา แต้มทอง นักกฏหมาย อิสระ

439. วรวัส สบายใจ

440. วรวิทย์ ดุมกลาง

441. วรวุฒิ สุภาพ

442. วรากรณ์ พูลสวัสดิ์ ภาคประชาสังคม

443. วรางคณา ปัญญามี

444. วรานุช ชินวรโสภาค นักวิชาการอิสระ

445. วราพรรณ สีโกเมน

446. วราภรณ์ เรืองศรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

447. วริชญา เจริญสมบัติ

448. วริตตา ศรีรัตนา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

449. วริศ ลิขิตอนุสรณ์

450. วริษา องสุพันธ์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

451. วรุตม์ นิมิตยนต์ จาก Deschooling Game

452. วศิน โกมุท คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

453. วศิน ศักดิ์ประทีปกร ประธานสภาเด็กและเยาวชนเขตบางคอแหลม

454. วสันต์ ยอดศรี

455. วัชรฤทัย บุญธินันท์ สถาบันมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

456. วัชลาวลี คำบุญเรือง นักกฎหมายอิสระ

457. วัฒนชัย วินิจจะกูล

458. วัณณสาส์น นุ่นสุข

459. วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร

460. วันพิชิต ศรีสุข

461. วันรัก สุวรรณวัฒนา

462. ว่าที่ร้อยตรีหญิงสุดารัตน์ ประกอบมัย

463. วารินทร์ สีสุวรรณ นักกิจกรรมสังคม

464. วาสนา ละอองปลิว มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์

465. วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

466. วิกานดา พรหมขุนทอง มหาวิทยาลัยมหิดล

467. วิจักขณ์ พานิช สถาบันวัชรสิทธา

468. วิจิตร ประพงษ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

469. วิชญา อินทวงศ์

470. วิชุดา กมลพันธ์

471. วิทยา อาภรณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

472. วินัย ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

473. วิภาวี พงษ์ปิ่น คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

474. วิรุฬห์ วุฒิฤทธากุล วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

475. วิไลลักษณ์ สุวะโซโน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่

476. วิไลวรรณ จงวิไลเกษม มธ.

477. วิไลวรรณ สุพรรณธริกา นักกิจกรรมสังคม

478. วิศิษย์ ปิ่นทองวิชัยกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

479. วิสสุตา วัณนาวิบูล

480. วีรบูรณ์ วิสารทสกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

481. วีระ สมความคิด

482. เวฬุรีย์ เมธาวีวินิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

483. เวียง-วชิระ บัวสนธ์

484. ศยามล เจริญรัตน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

485. ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

486. ศรัญญู เทพสงเคราะห์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

487. ศรันย์ สมันตรัฐ ภูมิสถาปัตยกรรม มก.

488. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

489. ศศิประภา จันทะวงศ์ อดีตอาจารย์คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

490. ศศิภา พฤกษฎาจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

491. ศักดิ์ณรงค์ มงคล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

492. ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการอิสระ

493. ศานติ ธนธีรโชติ จาก Faakfang Academy

494. ศาสวัต บุญศรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร

495. ศิธรา จุฑารัตน์

496. ศิรดา สิทธิชัย

497. ศิรธันย์ กิตติ์ธนานิธิกุล

498. ศิรประภา ชวะนะญาณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

499. ศิริจิต สุนันต๊ะ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

500. ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ นักวิชาการอิสระ

501. ศิริพร จันทนสกุลวงศ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

502. ศิวพล ชมภูพันธ์ุ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

503. ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

504. ศุภร ชูทรงเดช นักวิชาการอิสระ

505. ศุภวิชช์ สงวนคัมธรณ์ กลุ่ม BlackBox

506. ศุภวิทย์ ถาวรบุตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

507. ศุภสุตา ปรีเปรมใจ

508. เศวต ทินกุูล

509. ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี วิทยาลัยสหวิทยาการ มธ.

510. สกาว กานต์กรกมล

511. สมใจ สังข์แสตมป์ ประชาชน

512. สมนึก จงมีวศิน นักวิชาการอิสระ

513. สมพร อนิจจ์ นักกิจกรรมสังคม

514. สมภัสสร หลิ่วผลวณิชย์

515. สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระ

516. สมศรี หาญอนันทสุข กรรมการสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน

517. สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์ นักวิชาการอิสระ

518. สรชา โกษาแสง Affiliated Researcher at ETH (Switzerland)

519. สรรเสริญ สันติธญะวงศ์ สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

520. สร้อยมาศ รุ่งมณี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

521. สรัญรัตน์ บุญอินทร์

522. สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ

523. สัณห์ธวัช ธัญวงษ์

524. สันติชัย ชายเกตุ ทนายความ

525. สามชาย ศรีสันต์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

526. สายัณห์ ก้อนทอง

527. สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

528. สาวลักษณ์ ด้วงอิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

529. สาวิตรี สุขศรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

530. สิงห์ สุวรรณกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

531. สิตา การย์เกรียงไกร นักกิจกรรมสังคม

532. สิทธารถ ศรีโคตร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

533. สิทธิโชค ชาวไร่เงิน คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

534. สิทธิพล เครือรัฐติกาล วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

535. สิบปีย์ ชยานุสาสนี จันทร์ดอน สำนักปรัชญาอีสาน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

536. สิรีมาศ มาศพงศ์ นักวิชาการอิสระ

537. สุกัญญา เจริญวีรกุล นักวิชาการอิสระ

538. สุกัลยา ตั้งตระกูล

539. สุชาดา จักรพิสุทธิ์ สื่อมวลชนอิสระ

540. สุทธิกานต์ ก้อนทอง

541. สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

542. สุทิตา วัณนาวิบูล

543. สุธาวัลย์ บุญมาก

544. สุธิดา วิมุตติโกศล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

545. สุนันทา สุวรรณเพ็ญ

546. สุนิสา เบาเออร์ ภาควิชานิติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

547. สุมาลี มหณรงค์ชัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

548. สุรพศ ทวีศักดิ์

549. สุรักษ์ ชมกระแสสินธุ์

550. สุรัช คมพจน์ สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

551. สุรัตน์ สกุลคุ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์

552. สุรางคณางค์ สุวรรณา

553. สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

554. สุรินทร์ อ้นพรม

555. สุรินรัตน์ แก้วทอง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

556. สุริยาพร เอี่ยมวิจิตร์ คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์

557. สุไรนี สายนุ้ย คณะรัฐศาสตร์ มอ.ปัตตานี

558. เสฎฐวุฒิ ทองมี สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

559. เสาวณิต จุลวงศ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

560. เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์

561. เสาวนีย์ สุวรรณา

562. เสาวลักษณ์ เขียนนอก

563. เสาวลักษณ์ เขียนนอก จาก why i why Foundation

564. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

565. หทยา อนันต์สุชาติกุล มหาวิทยาลัยแม่โจ้

566. เหมือนมาด มุกข์ประดิษฐ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

567. องค์ บรรจุน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

568. อดิศร เกิดมงคล

569. อติชาต รุ่งสว่าง คณะศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

570. อติศักดิ์ จึงพัฒนาวดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

571. อธิคม คุณาวุฒิ

572. อธิพงษ์ อมรวงศ์ปีติ

573. อนันตชัย โพธิขำ

574. อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

575. อภิญญา เวชยชัย

576. อรดี อินทร์คง PhD candidate, Cornell University

577. อรรฏชณม์ สัจจะพัฒนกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

578. อรรณนพ ชินตะวัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร

579. อรรถพล ปะมะโข คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

580. อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

581. อรวรรณ นารากุล นักกิจกรรมสังคม

582. อรสุธี ชัยทองศรี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

583. อรอนงค์ ทิพย์ฑิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

584. อริน เจียจันทร์พงษ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร

585. อลิสา หะสาเมาะ มหาวิทยาลัยอ.ปัตตานี

586. อสมา มังกรชัย คณะรัฐศาสตร์ มอ ปัตตานี

587. อัครา เมธาสุข

588. อังกฤษ อัจฉริยโสภณ

589. อังกูร หงษ์คณานุเคราะห์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

590. อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

591. อัญชลี อนันตวัฒน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

592. อันธิฌา แสงชัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

593. อันนา คือเบล คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

594. อัมพร หมาดเด็น

595. อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว

596. อัสนันท์ ชุมพลวงษ์

597. อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ

598. อาจินต์ ทองอยู่คง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

599. อาทิตย์ ศรีจันทร์ นิสิตปริญญาเอก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

600. อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยวอชิงตัน

601. อานันท์ กาญจนพันธุ์ คณะสังคศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

602. อานันท์ อุชชิน คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์

603. อาภากร หาญนภาชีวิน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

604. อาภาพร อุษณรัศมี คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

605. อาภาพรรณ แสงเทียน

606. อารียา เอระน้อย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน

607. อินทิรา วิทยสมบูรณ์ เครือข่ายสาธารณศึกษา

608. อิสร์กุล อุณหเกตุ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

609. อุเชนทร์ เชียงเสน สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

610. อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

611. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์

612. อุบลวรรณ มูลกันทา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

613. อุรุพงศ์ รักษาสัตย์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

614. อุฬาชา เหล่าชัย คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ธรรมศาสตร์

615. เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

616. เอื้อการย์ โสภาคดิษฐพงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์

617. เอื้อบุญ จงสมชัย

ทั้งนี้เลขานุการที่ออกมารับหนังสือได้รับปากกับคณาจารย์ว่าจะเร่งรัดในเรื่องนี้เพื่อเสนอถึงผู้บังคับบัญชาให้มีคำสั่งดำเนินการต่อไป

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง #คนส #กรมราชทัณฑ์