วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

เข้าใจตรงกันนะ 31 มี.ค. 59

เหลียวหลังแลไปข้างหน้าฯ 31 มี.ค. 59

คิดรอบด้าน 31 มี.ค. 59

ประชาชนได้ผลประโยชน์โดยไม่ต้องเป็นใหญ่ จริงหรือ? : ธิดา ถาวรเศรษฐ

รัฐธรรมนูญที่อ้างว่าเขียนเพื่อผลประโยชน์ประชาชน  แต่ประชาชนไม่ได้เป็นใหญ่ (ไม่มีอำนาจจริง) เป็นเช่นนั้น จริงหรือ?


มีการอ้างถึงคำท่านพุทธทาสเพื่อมารับรองความชอบธรรมการเขียนรัฐธรรมนูญโดยคณะบุคคลที่ถูกแต่งตั้งโดย คสช.  นั่นแสดงถึงความรับรู้ของคณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญที่รู้ว่าที่มาของตนเองไม่ถูกต้อง  จึงต้องอ้างท่านพุทธทาส  ซ้ำเป็นการอ้างที่โมเมผิด ๆ 

ง่าย ๆ เลยถ้าคุณมีชัยเชื่อมั่นว่ารัฐธรรมนูญนี้ดีจริง ๆ  เป็นประโยชน์กับประชาชนตรงไหน?  และโต้ความคิดเห็นต่างอย่างเป็นเหตุผลเป็นรูปธรรมโดยเอาผลประโยชน์สูงสุดให้ประชาชน  ถ้าจริงก็อธิบายไปสิ  ไม่ต้องโหนจีวรท่านพุทธทาสให้ลูกศิษย์ลูกหาต้องออกมาปฏิเสธวุ่นวายไปหมด

คำว่า “ธัมมิกสังคมนิยม” และ “เผด็จการโดยธรรม” นั่นล้ำลึกเกินกว่าที่จะเอาที่มาของเผด็จการทหารกับผลประโยชน์ของคนชั้นนำอนุรักษ์นิยมในสังคมมารวมกัน  แล้วอ้างว่า ทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนโดยที่ประชาชนไม่เป็นใหญ่ ได้นั้น

“หัวร่อไม่ออก  ร้องไห้ไม่ไหว  อุทานแบบไหน...ก็ไม่พอ”

วาทะที่กล่าวว่า “ชนชั้นใด (กลุ่มคนใด) เขียนกฎหมายแล้วไซร์ ย่อมเป็นไปเพื่อ (ผลประโยชน์) ชนชั้น (กลุ่มคน) นั้น”  วาทะนี้ได้ผ่านการรับรองที่เป็นจริงทั่วโลก  และเป็นหลายศตวรรษแล้ว 

ส่วนวาทกรรมของคุณมีชัยนั้น  พูดเอาเองคนเดียว  จะมีคนเชื่อหรือไม่?

เอาแค่ตรรกะธรรมดา  ถ้าชนชั้นนำหรือกลุ่มคนที่ลงมาสู้รบตบมือกับประชาชนบอกว่ายังไม่พร้อมที่จะให้อำนาจประชาชนในระบอบประชาธิปไตยแบบสากลทั่วโลกนั้น  จะเขียนรัฐธรรมนูญให้ผลประโยชน์ประชาชนมากกว่าผลประโยชน์กลุ่มตนได้อย่างไร?

ชัดเจนว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญตามกรอบรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 35 ของ คสช.  ร่างตามคำขอของ คสช. หลายรอบกระทั่งรอบสุดท้าย  เป็นที่มาของบทเฉพาะกาลที่ต้องการให้ คสช. ได้ครองอำนาจและสืบทอดอำนาจต่อโดย ส.ว.แต่งตั้ง 250 คน  มีแม่ทัพนายกองสูงสุดที่เป็นข้าราชการประจำร่วมเป็น ส.ว. ด้วยอย่างน้อย 5 ปี  พร้อมอำนาจและคณะผู้ทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตามรัฐธรรมนูญนี้  แถมด้วยการเป็นนายกฯ คนนอกถ้าพรรคการเมืองตกลงกันไม่ได้

ดังที่ได้กล่าวแล้วว่ารัฐธรรมนูญนี้มีแอก 2 ชั้น (แอกขุนศึกและแอกขุนนาง) 

แอกขุนนางก็เขียนให้เป็นรับข้าราชการ  การแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงทั้งทหาร พลเรือน ตำรวจ  ก็เขียนให้เป็นอิสระไม่ขึ้นกับฝ่ายการเมืองที่เป็นรัฐมนตรี  ซ้ำยังรักษาการเป็นรัฐมนตรีได้ด้วย

องค์กรอิสระ  ศาลรัฐธรรมนูญ  และศาลอื่น ๆ  ล้วนมีบทบาทในการควบคุม ลงโทษ จัดการกับนักการเมือง พรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนจนทำให้ 3 อำนาจ (นิติบัญญัติ, บริหาร, ตุลาการ) ล้วนไม่เป็นจริงในฐานะประชาชนเป็นใหญ่อีกต่อไป  รัฐธรรมนูญนี้ถูกทำให้แก้ไขไม่ได้

ดังนั้น  การเขียนรัฐธรรมนูญนี้ที่อ้างว่าปราบโกง  แท้ ๆ คือ  รัฐธรรมนูญปราบนักการเมืองไม่ให้มีอำนาจในฐานะตัวแทนประชาชน  เท่ากับยอมรับว่าประชาชนไม่เป็นใหญ่  แต่อย่าตกใจ  พวกผมคนดีมีคุณธรรมจะเขียนรัฐธรรมนูญให้ผลประโยชน์ประชาชนเอง

ถามว่าใครจะเชื่อ?  เป็นตรรกะพิสดารที่สุด  เพราะเป็นไปไม่ได้


น่าจะเป็นอะไรที่  “คนและควายเมิน”  เหมือนภาพที่ควายไม่ยอมกินหญ้าที่ท่านผู้นำป้อนให้นั่นแหละ!!!

ธิดา  ถาวรเศรษฐ
31 มีนาคม 2559

เดินหน้าต่อไป 31 มี.ค. 59

เปิดปมสู่ปฏิรูป 31 มี.ค. 59

มองไกล 31 มี.ค. 59

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

เข้าใจตรงกันนะ 30 มี.ค. 59

เหลียวหลังแลไปข้างหน้าฯ 30 มี.ค. 59

เดินหน้าต่อไป 30 มี.ค. 59

คิดรอบด้าน 30 มี.ค. 59

เปิดปมสู่ปฏิรูป 30 มี.ค. 59

มองไกล 30 มี.ค. 59

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559

เข้าใจตรงกันนะ 29 มี.ค. 59

เหลียวหลังแลไปข้างหน้าฯ 29 มี.ค. 59

เศรษฐกิจการเมือง 29 มี.ค. 59

เดินหน้าต่อไป 29 มี.ค. 59

เปิดปมสู่ปฏิรูป 29 มี.ค. 59

มองไกล 29 มี.ค. 59

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

เข้าใจตรงกันนะ 28 มี.ค. 59

เหลียวหลังแลไปข้างหน้าฯ 28 มี.ค. 59

เดินหน้าต่อไป 28 มี.ค. 59

เศรษฐกิจการเมือง 28 มี.ค. 59

มองไกล 28 มี.ค. 59

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559

คนกลางคลอง 27 มี.ค. 59

ทิศทางประเทศไทย 27 มี.ค. 59

มองไกล 27 มี.ค. 59

วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559

คนกลางคลอง 26 มี.ค. 59

ทิศทางประเทศไทย 26 มี.ค. 59

มองไกล 26 มี.ค. 59

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

เข้าใจตรงกันนะ 25 มี.ค. 59

เหลียวหลังแลไปข้างหน้าฯ 25 มี.ค. 59

คิดรอบด้าน 25 มี.ค. 59

เดินหน้าต่อไป 25 มี.ค. 59

ยุคสมัยการสืบทอดอำนาจทหารไทย : อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ

ยุคสมัยการสืบทอดอำนาจทหารไทย

ยุคที่ 1
                 จาก พ.ศ. 2475 เริ่มต้นจากพลเอกพระยาพหล พลพยุหเสนา  ผู้ก่อการสายทหารของคณะราษฎรส่งทอดให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม  แม้จะมีการทำรัฐประหารในปี 2490 แล้วทำให้เกิดรัฐธรรมนูญล้าหลัง  นำประเทศสู่อนุรักษ์นิยมจนเป็นเผด็จการทหารเต็มรูปแบบ  ส่งต่อมายังการทำรัฐประหารครั้งสำคัญในปี พ.ศ. 2500  ได้จอมพล สฤษดิ์  ธนะรัชต์ เป็นเผด็จการทหารสำคัญของประเทศ  แล้วก็ส่งต่อมายังจอมพล ถนอม  กิตติขจร จนถึงปี พ.ศ. 2516

การสืบทอดเผด็จการทหารจึงสิ้นสุดยุคแรกของการสืบทอดอำนาจของผู้บัญชาการทหารบก  แม้จะมีนายกรัฐมนตรีพลเรือนบ้างก็เป็นเวลาสั้น ๆ  แต่อำนาจการปกครองยังอยู่ในมือทหารเป็นลำดับมา  นับเวลาได้ประมาณ 40 ปี

ยุคที่ 2
                 เริ่มจากการทำรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519  โดย พลเรือเอก สงัด  ชลออยู่ ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด แต่อำนาจยังอยู่ที่กองทัพบก  มีพลเอก เกรียงศักดิ์  ชมะนันทน์ และพลเอก เปรม  ติณสูลานนท์ สืบทอดอำนาจจาก 2519 ถึง 2531  นับเป็นเวลาประมาณ 12 ปี ที่เปลี่ยนจากเผด็จการทหารเต็มรูปแบบมาเป็นการสืบทอดอำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรีทหารที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)  เรียกกันว่าประชาธิปไตยครึ่งใบ

ยุคที่ 3
                 เป็นยุคสั้น ๆ  มีการทำรัฐประหารในปี พ.ศ. 2534  แต่ผู้ทำรัฐประหารไม่เป็นนายกรัฐมนตรีเอง  อย่างไรก็ตามหลังการได้รัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหารฉบับปี 2534  เมื่อมีความพยายามจะสืบทอดอำนาจแบบเดิม  ก็ถูกประชาชนเดินขบวนขับไล่จนเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญก้าวหน้าในปี 2540  เพื่อเข้าสู่ประชาธิปไตยเต็มใบ  ไม่มีนายกฯ ทหาร  ไม่มี ส.ว.แต่งตั้ง  เป็นระบอบประชาธิปไตยเกือบเต็มใบที่ยังมีอำนาจรัฐอนุรักษ์นิยมและทหารอำนาจนิยมซ้อนทับอยู่

ยุคที่ 4  ยุคสุดท้าย!
                 การทำรัฐประหารในปี 2549 เพื่อกำจัดพรรคการเมืองและนักการเมืองของทุนใหม่โดยเฉพาะ คือ ดร.ทักษิณ  ชินวัตร  ที่ได้รับการสนับสนุนชนะการเลือกตั้งถล่มทลายเป็นประวัติการณ์ของประเทศ  โดยอาศัยข้อดีของรัฐธรรมนูญ 2540 ที่มุ่งสร้างพรรคการเมืองมีมาตรฐานขนาดใหญ่  เพื่อควบคุมนักการเมืองท้องถิ่นและอิสระที่มุ่งซื้อขายตำแหน่งและผลประโยชน์แบบเดิมที่ไม่สามารถตั้งรัฐบาลเข้มแข็งเพื่อบริหารประเทศแบบเดียวกับประเทศเสรีประชาธิปไตยทั้งหลาย 

แต่ชัยชนะของพรรคการเมืองนายทุนใหม่เช่นนี้เป็นการปะทะอำนาจนำของชนชั้นนำอนุรักษ์นิยมเดิม  อดีตข้าราชการระดับสูงทั้งทหารและพลเรือน  รวมทั้งอำนาจรัฐข้าราชการไทย  การทำรัฐประหารปี 2549 กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกลุ่มอนุรักษ์นิยมทางเดียวที่เหลืออยู่  นอกไปจากใช้อำนาจตุลาการและองค์กรอิสระที่ไม่ควรจะมีการทำรัฐประหารในประเทศไทยอีก  เมื่อคำนึงถึงพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่ไม่ใช่ประเทศยากจนอีกแล้ว  เมื่อคำนึงถึงรายได้เฉลี่ยและ GDP ของประเทศในยุคทุนนิยมโลกาภิวัตน์  และแม้จะมีการทำรัฐประหาร 2549 โดยผู้บัญชาการทหารบกชื่อ พลเอก สนธิ  บุญยรัตนกลิน และการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับอนุรักษ์นิยม 2550 แทนที่รัฐธรรมนูญก้าวหน้าในปี 2540  ก็ยับยั้งความนิยมของประชาชนไม่ได้อยู่ดีสำหรับพรรคการเมืองของ ดร.ทักษิณ  ชินวัตร  ที่ต้องลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ

                 การทำรัฐประหารอีกครั้งในปี 2557 โดย พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา จึงเกิดขึ้นอีกครั้ง  เพราะพรรคการเมืองอนุรักษ์นิยมไม่สามารถเอาชนะพรรคนายทุนใหม่ที่ไม่ใช่พวกอนุรักษ์นิยมในวิถีทางรัฐสภาและระบอบประชาธิปไตย  การทำรัฐประหารครั้งใหม่ล่าสุดในปี 2557  คณะรัฐประหาร คสช. ได้ใช้ยุทธศาสตร์ใหม่และกลยุทธ์ใหม่  ไม่ทำแบบสองครั้งก่อนหน้านี้ที่ส่งมอบอำนาจให้กลุ่มขุนนางพลเรือนอนุรักษ์นิยมขึ้นครองอำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรี  แต่จงใจสืบทอดอำนาจและครองอำนาจเสียเอง  โดยเลื่อน ROAD MAP การคืนอำนาจให้ประชาธิปไตยไปเรื่อย ๆ  และการเขียนรัฐธรรมนูญด้วยการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 2 คนแล้ว  ท่ามกลางการถกเถียงถึงความล้าหลังของรัฐธรรมนูญฉบับ คสช. และการเขียนบทเฉพาะกาลเพื่อครองอำนาจอีกยาวนาน

                 รัฐธรรมนูญฉบับนี้พยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ได้พรรคการเมืองขนาดกลาง ขนาดเล็ก โดยทำให้พรรคใหญ่ถูกทอนกำลัง  และควบคุมอำนาจพรรคการเมือง-นักการเมืองที่ถูกเลือกตั้ง  โดยฝ่ายอนุรักษ์นิยมพลเรือนออกแบบรัฐธรรมนูญให้อำนาจองค์กรอิสระ ศาลรัฐธรรมนูญ  มีอำนาจควบคุมอำนาจจากประชาชนจนไม่สามารถทำการบริหารประเทศ  ออกกฎหมาย  รวมทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ  แต่อนุรักษ์นิยมและอำนาจนิยมฝ่ายทหารต้องการออกแบบให้ได้ ส.ว.แต่งตั้งและมีนายกรัฐมนตรีจากคนภายนอก (หมายถึงฝ่ายอนุรักษ์นิยมทหารหรือพลเรือนที่ไม่ได้มาจากพรรคการเมือง)  โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีบทเฉพาะกาลที่ คสช.และคณะสามารถสืบทอดอำนาจได้ยาวนาน  โดยเทียบเคียงกับคณะรัฐประหารก่อนหน้านี้ไม่ว่าจะเป็น จอมพล ป. พิบูลสงคราม, จอมพล สฤษดิ์  ธนะรัชต์ และพลเอก เปรม  ติณสูลานนท์

                 นั่นก็หมายความว่า  ระยะเวลาสืบทอดอำนาจของคณะ คสช. ต้องการเวลายาวนานอาจนับสิบปี  โดยเรียกมันว่าเป็นระยะเวลาเปลี่ยนผ่านที่จำเป็นก่อนจะเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบสากล  ก็คือเป็นประชาธิปไตยแบบ (ทหาร) ไทยมากกว่า 

นี่อาจเป็นคู่แข่งสำคัญกับระบอบทหารของประเทศพม่าทีเดียว!

ธิดา  ถาวรเศรษฐ
24 มีนาคม 2559

มองไกล 25 มี.ค. 59

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

เข้าใจตรงกันนะ 24 มี.ค. 59

เหลียวหลังแลไปข้างหน้าฯ 24 มี.ค. 59

คิดรอบด้าน 24 มี.ค. 59

เดินหน้าต่อไป 24 มี.ค. 59

เปิดปมสู่ปฏิรูป 24 มี.ค. 59

มองไกล 24 มี.ค. 59

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

เข้าใจตรงกันนะ 23 มี.ค. 59

เหลียวหลังแลไปข้างหน้าฯ 23 มี.ค. 59


รายการ  "เหลียวหลังแลไปข้างหน้าเพื่อประชาธิปไตย"  ทางสถานี PEACE TV  ออกอากาศทุกวันจันทร์ - ศุกร์  เวลา 17.05 - 18.00 น. ดำเนินรายการโดย  อ.ธิดา  ถาวรเศรษฐ  สำหรับเทปนี้เป็นการออกอากาศประจำวันพุธที่ 23 มีนาคม 2559  ประเด็น  "บทเรียนรัฐบาลที่ใช้ฐานเป็น ส.ว.สรรหา"

เทปนี้เป็นการสนทนาถึงบทเรียนรัฐบาลที่ใช้ฐานเป็นวุฒิสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งหรือ ส.ว.สรรหา นั่นก็คือสมัย พล.อ.เกรียงศักดิ์  ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรีรอบที่ 2  สุดท้ายแล้วก็ไม่สามารถบริหารประเทศได้เพราะอะไรเป็นปัจจัยชี้ขาด  ติดตามรายละเอียดได้จากคลิปรายการข้างต้นค่ะ

สไลด์ประกอบในรายการฯ  










คิดรอบด้าน 23 มี.ค. 59

เดินหน้าต่อไป 23 มี.ค. 59

เปิดปมสู่ปฏิรูป 23 มี.ค. 59


รายการ  "เปิดปมสู่ปฏิรูป"  ทางสถานี  PEACE TV  ออกอากาศทุกวันอังคาร - วันพฤหัสบดี  เวลา 12.25 - 13.20 น.  พบกับวิทยากรประจำรายการ  คุณนิสิต  สินธุไพร  และคุณธนาวุฒิ  วิชัยดิษฐ  ดำเนินรายการโดย  คุณชุติมา  กุมาร  สำหรับเทปนี้เป็นการออกอากาศประจำวันพุธที่ 23 มีนาคม 2559

ติดตามการสนทนาและการแสดงความคิดเห็นของวิทยากรประจำรายการ  ผ่านรายการ "เปิดปมสู่ปฏิรูป" ได้จากคลิปรายการข้างต้นครับ 

มองไกล 23 มี.ค. 59


รายการ  "มองไกล"  ทางสถานี PEACE TV ONLINE ออกอากาศทุกวันจันทร์ - วันอาทิตย์  เวลา 10.00 - 11.00 น.  ดำเนินรายการโดย คุณจตุพร  พรหมพันธุ์  สำหรับเทปนี้เป็นการออกอากาศประจำวันพุธที่ 23 มีนาคม 2559

ติดตามหลากหลายเรื่องราวที่คุณจตุพรได้นำมาสนทนาอธิบายความและแสดงความคิดเห็นต่อท่านผู้ชมผ่านทางรายการ "มองไกล" ได้จากคลิปรายการข้างต้นครับ



วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

เข้าใจตรงกันนะ 22 มี.ค. 59

เหลียวหลังแลไปข้างหน้าฯ 22 มี.ค. 59

เศรษฐกิจการเมือง 22 มี.ค. 59


รายการ  "เศรษฐกิจการเมือง"  ทางสถานี  PEACE TV  ออกอากาศทุกวันจันทร์ - วันอังคาร  เวลา 15.50 - 16.45 น.  พบกับวิทยากรประจำรายการ  คุณสมหวัง  อัสราษี และคุณบุญลือ  นุ้ยเมือง  ดำเนินรายการโดย  คุณณิชชนันทน์  แจ่มดวง สำหรับเทปนี้เป็นการออกอากาศประจำวันอังคารที่ 22 มีนาคม 2559

ติดตามการสนทนาและการแสดงความคิดเห็นของวิทยากรประจำรายการผ่านรายการ "เศรษฐกิจการเมือง" ได้จากคลิปรายการข้างต้นครับ  

เดินหน้าต่อไป 22 มี.ค. 59

เปิดปมสู่ปฏิรูป 22 มี.ค. 59

มองไกล 22 มี.ค. 59

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559

เข้าใจตรงกันนะ 21 มี.ค. 59