“พิชัย”
เผย 3 มาตรการแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ สัปดาห์หน้า ชาวนาได้แน่ ไม่ต่ำกว่า 8,000 บาท/ตัน
เมื่อวันที่
20 กุมภาพันธ์ 2568 นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการตลาด
เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำ โดยมีนายนภินทร ศรีสรรพางค์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิ โรงสี, สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย
และกลุ่มชาวนา เข้าร่วมประชุมด้วย
นายพิชัยเผยหลังการประชุมว่า
ได้ข้อสรุปเป็นแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวมี 3 มาตรการ คือ
มาตรการแรก
สินเชื่อชะลอนาปรัง ช่วยค่าฝากเก็บ 1,500 บาท/ตัน
หากเกษตรกรเก็บไว้ในยุ้งฉางของตัวเอง และได้ 1,000 บาท/ตัน
หากเก็บที่สหกรณ์ โดยสหกรณ์ได้ 500 บาท/ตัน
ซึ่งต้องเก็บข้าวไว้ 1-5 เดือน เป้าหมาย 1.5 ล้านตัน
มาตรการที่สอง
ชดเชยดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการโรงสี 6% โดยต้องเก็บสต๊อกไว้ 2-6
เดือน และต้องซื้อข้าวสูงกว่าราคาตลาด 200 บาทต่อตันขึ้นไป
โดยมีเป้าหมาย 2 ล้านตัน
มาตรการที่สาม
เปิดจุดรับซื้อข้าวเปลือก โดยรัฐสนับสนุนค่าบริหารจัดการ 500 บาท/ตัน
และผู้ประกอบการต้องรับซื้อข้าวสูงกว่าตลาด 300 บาท/ตัน
เป้าหมาย 3 แสนตัน
ทั้งนี้
จะใช้งบประมาณทั้งสิ้นรวมกว่า 1,893 ล้านบาท
โดยมาตรการดังกล่าวจะนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ
(นบข.) ภายในสัปดาห์หน้า และเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรัฐ (ครม.) ต่อไป
นายนภินทร
ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า
มาตรการที่ออกมาจะช่วยให้เกษตรกรขายข้าวได้ไม่ต่ำกว่า 8,000 บาท/ตัน
ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของเกษตรกร ส่วนข้อเสนอที่เกษตรกรขอให้ชดเชยเรื่องต้นทุนและ
เรื่องการไม่เผาฟางข้าว
เป็นเรื่องคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวด้านการผลิตจะต้องพิจารณา
นายปราโมทย์
เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า
มีความพอใจกับมาตรการดังกล่าวที่ออกมาระดับหนึ่ง โดยชาวนาอยากขายข้าว
ในราคาไม่ต่ำกว่า 8,000 บาทต่อตัน
เพราะเป็นราคาที่รับได้ ซึ่งต้นทุนราคาปลูกข้าวขณะนี้เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5,500
- 6,000 บาท/ตัน
นอกจากนี้
นายวิทยากร มณีเนตร อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า “นายพิชัย นริพทะพันธุ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ได้สั่งการให้กรมการค้าภายในติดตามสถานการณ์ราคาข้าวและเร่งดำเนินการออกมาตรการช่วยเหลือพี่น้องเกษตร
ตามที่สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ได้ยื่นหนังสือให้ดำเนินการช่วยเหลือ
โดยในเบื้องต้นทางสมาคมฯ ได้ขอสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการฟางข้าว 500 บาท/ไร่
และช่วยเหลือเกษตรกรนาปรัง 500 บาท/ไร่
และควบคุมปัจจัยการผลิต ปุ๋ย ยา และน้ำมันให้มีราคาถูกลงด้วย