วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565

"ทนายอานนท์" ยื่นหนังสือ ถึง ก.ต. และอธิบดีศาลอาญา ให้ตรวจสอบรองอธิบดีศาลอาญาออกคำสั่งเเทรกเเซงสั่งตรวจพยานหลักฐานเพิ่มเติมในคดี ม.112 ถือเป็นการก้าวก่ายการทำหน้าที่ตุลาการ และเพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง

 


"ทนายอานนท์" ยื่นหนังสือ ถึง ก.ต. และอธิบดีศาลอาญา ให้ตรวจสอบรองอธิบดีศาลอาญาออกคำสั่งเเทรกเเซงสั่งตรวจพยานหลักฐานเพิ่มเติมในคดี ม.112 ถือเป็นการก้าวก่ายการทำหน้าที่ตุลาการ และเพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง 


วันนี้ (31 ส.ค. 65) เวลา 14.00 น. ที่ศาลอาญา รัชดา ทนายอานนท์ นำภา เดินทางมาพร้อมคณะทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน โดยทนายอานนท์ เป็นจำเลยในคดี หมายเลขดำที่ 1395/2565 ได้ยื่นหนังสือถึง น.ส.ปิยกุล บุญเพิ่ม ประธานศาลฎีกาในฐานะประธานคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม(ประธาน ก.ต.)รวมถึง คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.)เเละ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา


เรื่อง ขอให้สอบสวนและดำเนินการทางวินัยกรณีที่อาจมีการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการพิจารณาคดี เรียน 1. อ้างถึง คดีของศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1395/2565 ระหว่างพนักงานอัยการ สํานักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 8 โจทก์ กับ นายอานนท์ จำเลย 


โดยหนังสือระบุรายละเอียดความว่าตามข้าพเจ้านายอานนท์ นำภา ในฐานะจำเลยในคดีดังกล่าว ขอเรียนมายัง ท่านประธานศาลฎีกา ประธานคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม และ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ในฐานะข้าราชการตุลาการผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในงานของศาลอาญาตาม มาตรา 11 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ท้ายพรบ.ให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 ประกอบด้วยมาตรา 68 พรบ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 เพื่อโปรดพิจารณาข้อเท็จจริงที่ข้าพเจ้าจะได้เรียนให้ท่านได้ทราบ พร้อมด้วยพยานหลักฐานตามที่ระบุในสิ่งที่ ส่งมาด้วยนี้ว่าเป็นกรณีที่ข้าราชการตุลาการเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการพิจารณาคดีของข้าราชการตุลาการ อื่น หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้การพิจารณาพิพากษาคดีของข้าราชการตุลาการอื่นขาดความเป็นอิสระ หรือความยุติธรรม ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 66 แห่งพรบ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาล ยุติธรรม พ.ศ. 2543 หรือไม่ หรือเป็นการกระทำที่ขัดต่อประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการหรือไม่ หรือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยระเบียบหรือกฎหมายด้วยประการอื่นใดหรือไม่ 


โดยมีรายละเอียด ของข้อเท็จจริงและพยานเอกสารที่อ้าง ดังนี้ 


ข้อ 1. เมื่อวันที่ 18 ก.ค.75 ซึ่งเป็นวันนัดพร้อมเพื่อประชุมคดีสอบคำให้การ ตรวจพยานหลักฐาน และกำหนดวันนัดสืบพยาน ในวันดังกล่าว จำเลยได้แถลงแนวทางการต่อสู้คดี ต่อศาล ปรากฏตามคำแถลงแนวทางการต่อสู้ของจำเลย และ คำแถลงของจำเลยต่อศาลในระหว่างการพิจารณาคดีซึ่งศาลได้บันทึกไว้ ศาลมีคำสั่งว่า “พิเคราะห์ชื่อแถลงของโจทก์และแนวทางการต่อสู้คดีของจำเลยแล้ว เห็นสมควรให้กำหนดนัดสืบพยานโจทก์ 1 นัด และนัดสืบพยานจำเลย 6 นัด


2. เจ้าหน้าที่ศาลได้ออกรายงานให้แก่พนักงานอัยการโจทก์และจำเลย ระบุจํานวนพยานฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยจะนำสืบ พร้อมด้วยจำนวนวันนัดสืบพยานของแต่ละฝ่าย 


3. ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 65 นายอรรถการ ฟูเจริญ ในฐานะรองอธิบดีผู้พิพากษา ศาลอาญา ได้ออกคำสั่งท้ายรายงานเจ้าหน้าที่ความว่า “ตรวจสำนวนแล้ว กรณียังมีการกำหนดให้สืบพยาน ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกําหนดประเด็นพิพาทในคดีและพยานความเห็น จึงให้ทำการตรวจพยานหลักฐานเพิ่มเติม หมายแจ้งคู่ความ ปิดหมาย”


และเมื่อวันที่ 4 ส.ค. 65 ศาลได้มีหมายแจ้งคำสั่งมายังจำเลยว่า ศาลได้มีคำสั่งนัดตรวจพยานหลักฐาน เพิ่มเติมในวันที่ 5 ก.ย. 65 โดยหมายแจ้งลงชื่อนายอรรถการ ฟูเจริญ ในฐานะผู้พิพากษา 


ข้อ 3. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 188 บัญญัติไว้ว่า "การพิจารณา พิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาล ซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์ ผู้พิพากษาและตุลาการย่อมมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามรัฐธรรมนูญและ กฎหมายให้เป็นไปโดยรวดเร็ว เป็นธรรม และปราศจากอคติทั้งปวง” เช่นเดียวกับมาตรา 66 แห่งพรบ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ที่บัญญัติว่า “ข้าราชการตุลาการ ต้องไม่เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการพิจารณาคดีของข้าราชการตุลาการอื่น หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุ ให้การพิจารณาพิพากษาคดีของข้าราชการตุลาการอื่นขาดความเป็นอิสระหรือความยุติธรรม 


4. จากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่กล่าวมาข้างต้น ข้าพเจ้าเห็นว่า อำนาจในการพิจารณา พิพากษาคดีเป็นอำนาจของผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะในการพิจารณาคดี โดยคดีนี้ผู้พิพากษาที่เป็น องค์คณะพิจารณาคดีได้พิจารณาสำนวนคดีทั้งหมดแล้วและมีคำสั่งอนุญาตให้สืบพยานตามที่ได้ระบุไว้ใน รายงานกระบวนพิจารณาของศาลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ย่อมต้องถือว่าผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะพิจารณาคดี ได้ใช้ดุลพินิจมีคำสั่งเกี่ยวกับการตรวจพยานหลักฐานเสร็จสิ้นแล้ว อันเป็นอำนาจตามกฎหมายที่เป็นอิสระของ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดี ดังนั้น นายอรรถการ ฟูเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ซึ่งไม่ได้เป็น องค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญาของศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1395/2565 จึงไม่มีอำนาจ ออกคำสั่งให้มีการตรวจพยานเพิ่มเติมภายหลังจากที่ผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะพิจารณาคดีได้มีคำสั่งเกี่ยวกับ การตรวจพยานหลักฐานเสร็จสิ้นแล้ว คำสั่งดังกล่าวของนายอรรถการ ฟูเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา จึงเป็นการออกคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 และรัฐธรรมนูญ 2560 


อันถือได้ว่า อาจจะเข้าข่ายที่ นายอรรถการ ฟูเจริญ ข้าราชการตุลาการดำรงตำแหน่งในระดับรองอธิบดีผู้พิพากษา ศาลอาญาซึ่งเป็นตำแหน่งบริหารเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการพิจารณาคดีของข้าราชการตุลาการอื่น หรือ กระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้การพิจารณาพิพากษาคดีของข้าราชการตุลาการอื่นขาดความเป็นอิสระหรือ ความยุติธรรม ตามที่กำหนดไว้ในพรบ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมฯ มาตรา 66 


การกระทำและการออกคำสั่งดังกล่าวของนายอรรถการ ฟูเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ทำให้ข้าพเจ้าในฐานะจำเลยได้รับความเสียหายและส่งผลกระทบต่อการพิจารณาคดีของข้าพเจ้า เพราะอาจจะทำให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะพิจารณาคดีเกิดความหวั่นไหวในการปฏิบัติหน้าที่ พิจารณาคดี เนื่องจากนายอรรถการ ฟูเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูง ของศาลได้ออกคำสั่งเป็นอย่างอื่นให้ตรวจพยานหลักฐานเพิ่มเติมโดยให้เหตุผลทำนองว่า “ตรวจสำนวนแล้ว กรณียังมีการกำาหนดให้สืบพยานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกำหนดประเด็นพิพาทในคดีและพยานความเห็น จึงให้ทำการตรวจพยานหลักฐานเพิ่มเติม” 


ทั้งที่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนคดีซึ่งเป็นองค์คณะที่นั่งพิจารณา ได้ตรวจดูคำฟ้องของโจทก์ แนวทางคำแถลงของโจทก์ คำแถลงแนวทางการต่อสู้คดีของจำเลย และสำนวนคดี การกระทำและการออกคำสั่งดังกล่าวของนายอรรถการ อาจจะทำให้กระทบกระเทือน ละเมิดต่อหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีอย่างแท้จริงตามรัฐธรรมนูญ ละเมิดต่อหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษาที่ได้รับการรับรองไว้ในกติการะหว่าง ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิพลเมือง (ICCPR) ซึ่งเป็นประเทศได้ลงนามเป็นภาคีมีพันธกรณีต้องปฏิบัติ รวมทั้งกระบวนกระเทือนต่อกระบวนการยุติธรรมอย่างร้ายแรง


จึงเรียนมายังท่านประธานศาลฎีกา ประธานคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม และอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาในฐานะข้าราชการตุลาการ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในงานของศาลอาญา


เพื่อดำเนินการให้มีการสอบสวนข้อเท็จจริง ตามระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวน พ.ศ. 2544 หรือ ดำเนินการอื่นใดในส่วนที่เกี่ยวข้องตามระเบียบและกฎหมายต่อไป 


อนึ่ง เนื่องจากนายอรรถการ ผู้ถูกกล่าวหาในคดีนี้มีตำแหน่งสูงระดับรองอธิบดีผู้พิพากษา ศาลอาญา เพื่อให้การสอบสวนกรณีดังกล่าวเป็นไปอย่างอิสระ โปร่งใส เป็นธรรม จึงขอให้ประธานศาลฎีกา มีคำสั่งโอนย้ายนายอรรถการ ไปช่วยทำงานชั่วคราวในศาลอื่นและตำแหน่งอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ การดำเนินการสอบสวนในกรณีดังกล่าวนี้ด้วย


#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #อานนท์นำภา #ศาลอาญารัชดา




ศาลอาญาไม่ถอนประกัน “ไบร์ท ชินวัตร” นัดรายงานตัวทุก 15 วัน


ศาลอาญาไม่ถอนประกัน “ไบร์ท ชินวัตร” นัดรายงานตัวทุก 15 วัน


วันที่ 31 ส.ค. 2565 เมื่อเวลา 10.00 น. “ไบร์ท” ชินวัตร จันทร์กระจ่าง ได้เดินทางมาศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ซึ่งวันนี้ศาลนัดอ่านคำตัดสินการถอนประกันตัว คดีมาตรา 112 จากการปราศรัยหน้าธนาคารไทยพาณิชย์เมื่อ 25 พ.ย. 64 โดยศปปส. ได้ยื่นคำร้องขอถอนประกัน “ไบร์ท” และศาลได้ไต่สวนคำร้องดังกล่าวไปเมื่อวานนี้ (30 ส.ค.)


โดยวันนี้ “ไบร์ท” เดินทางมาพร้อมภรรยาและลูกน้อย นอกจากนี้ยังมีมวลชนจำนวนหนึ่งมาให้กำลังใจ “ไบร์ท” ด้วย และทนายกฤษฎางค์ นุตจรัส ได้เดินทางมาเป็นผู้ดูแลแทนทนายของ “ไบร์ท” เนื่องจากภรรยาของทนายที่ดูแลคดีของไบร์ทเกิดอุบัติเหตุ


ต่อมาเวลา 10.30 น. ศาลอาญามีคำสั่งไม่ถอนประกัน “ไบร์ท ชินวัต” โดยศาลนัดให้รายงานตัวทุก 15 วัน หลังจากวันที่มีคำสั่ง


#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #TLHR #ไบร์ทชินวัตร





วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ขบวน “ตามหาคนหาย” จำลองคลุมถุงดำอุ้มกลางเมือง หลังเดินแขวนภาพใบหน้าผู้ถูกบังคับให้สูญหาย จากราชประสงค์สู่สยามสแควร์ เนื่องในวันผู้สูญหายสากล

 


ขบวน “ตามหาคนหาย” จำลองคลุมถุงดำอุ้มกลางเมือง หลังเดินแขวนภาพใบหน้าผู้ถูกบังคับให้สูญหาย จากราชประสงค์สู่สยามสแควร์ เนื่องในวันผู้สูญหายสากล

 

วันที่ 30 ส.ค. 2565 เวลา 16.00 น. ผู้ชุมนุมกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ จัดกิจกรรม “ตามหาคนหาย” เดินขบวนเนื่องในวันผู้สูญหายสากล เริ่มต้นจากแยกราชประสงค์ เดินตามถนนพระรามที่ 1 ข้ามถนนหน้าศูนย์การค้า สยาม พารากอน มายังสยามสแควร์

 

จุดเด่นของการเดินขบวนนี้ คือ การห้อยป้ายภาพใบหน้าของบุคคลที่บังคับให้สูญหาย อาทิ พอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ หรือ สุรชัย แซ่ด่าน เด่น คำแหล้ สยาม ธีรวุฒิ และ วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ พร้อมด้วยการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ผ่านการนำถุงดำคลุมศีรษะ และจำลองการอุ้มในช่วงท้ายของกิจกรรม ก่อนยุติกิจกรรมในเวลา 16:56 น.

 

นางสาวแทนอุทัย แท่นรัตน์ หนึ่งในผู้จัดกิจกรรม ปราศรัยว่า เราจะไม่หยุดนิ่ง เราจะไม่อยู่เฉย เราจะมาตามหาคนที่ถูกบังคับสูญหาย ถูกดำเนินคดีอย่างมิชอบโดยรัฐบาลเผด็จการ เราจะมาร่วมทวงความเป็นธรรมตามที่เพื่อนเราทวงอุดมการณ์ไว้

 

“การเดินของเราในวันนี้ คือ การส่งเสียงจากภาคประชาชนทั่วไปว่า ยังมีคนที่ถูกบังคับให้สูญหาย ในขณะที่รัฐบาลเพิกเฉยกับสิ่งที่เกิดขึ้น ใช้วิธีการปิดปากนักกิจกรรม จนการบังคับให้สูญหายเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่รัฐบาลเผด็จการจะทำ”

 

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ เฝ้าระวังสังเกตการณ์อยู่ตลอดเส้นทางการเดินขบวน โดยเฉพาะด้านหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ถนนพระรามที่ 1 เพื่อความสงบเรียบร้อย โดยไม่มีการเผชิญหน้ากันแต่อย่างใด

 

สำหรับวันผู้สูญหายสากล เกิดจากที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ สมัยสามัญ ได้ผ่านมติที่ 65/209 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553 โดยแสดงความกังวลอย่างยิ่งต่อสถิติการถูกบังคับให้สูญหายที่เพิ่มมากขึ้นในหลายภูมิภาคทั่วโลก รวมถึงการจับกุม กักขัง และลักพาตัว อีกทั้งยังมีตัวเลขรายงานการข่มขู่คุกคามพยานหรือครอบครัวผู้เสียหายที่พุ่งสูงขึ้น

 

ซึ่งในมติดังกล่าวนี่เอง อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญ มีผลบังคับใช้จากสมัชชาสหประชาชาติ และประกาศให้วันที่ 30 สิงหาคม เป็นวันผู้สูญหายสากล ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #โมกหลวงริมน้ำ #วันผู้สูญหายสากล















ครม.แก้คำสั่งสำนักนายกฯ ให้อำนาจ “ประวิตร” แต่งตั้ง-ใช้งบ โดยไม่ต้องปรึกษา “ประยุทธ์”


ครม.แก้คำสั่งสำนักนายกฯ ให้อำนาจ “ประวิตร” แต่งตั้ง-ใช้งบ โดยไม่ต้องปรึกษา “ประยุทธ์”

 

เมื่อเวลา 12.15 น. วันที่ 30 สิงหาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงบรรยากาศการประชุม ครม.ว่า รัฐมนตรีบางคนประชุมผ่านออนไลน์ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ทุกสัปดาห์มีเช่นนี้

 

ผู้สื่อข่าวถามว่า จากคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ อาจทำให้บางคนรู้สึกว่าขณะนี้มีสุญญากาศในการบริหารประเทศ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่มีสุญญากาศ วันนี้ตนชี้แจงต่อที่ประชุม ครม.ว่าไม่มีสุญญากาศ ครม.คือ ครม.อำนาจเต็ม ไม่ใช่ ครม.รักษาการ คนรักษาการนายกรัฐมนตรีมีคนเดียวคือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 41 ของ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ที่ระบุว่าถ้านายกรัฐมนตรี ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ตามที่ ครม.มีมติมอบหมาย หากมีรองนายกรัฐมนตรีหลายคน ให้ ครม.เป็นจัดลำดับ หากไม่มีให้ ครม.เลือกรัฐมนตรีขึ้นมา วันนี้ไม่ไปไกลถึงขั้นนั้น เพราะมีการออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีไว้เมื่อปี 2563 จัดลำดับไว้ แต่คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่จัดลำดับไว้ มีการระบุว่าเวลารักษาราชการนั้นสามารถจัดการอะไรได้หมดทุกอย่าง ยกเว้นการแต่งตั้งและเรื่องงบประมาณจะต้องปรึกษานายกรัฐมนตรีเสียก่อน

 

วันนี้มีการเสนอคำสั่งสำนักนายกฯปรับปรุงคำสั่งดังกล่าว เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ พล.อ.ประวิตร เมื่อรักษาการแล้ว หากมีการแต่งตั้งโยกย้ายหรือมีเรื่องงบประมาณจะต้องไปปรึกษา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่อยู่ระหว่างหยุดปฏิบัติหน้าที่ จึงต้องแก้คำสั่งตัดประโยคนี้ออกไปเพื่อให้มีอำนาจเต็ม และมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ 24 สิงหาคม”

 

เมื่อถามว่า ในฐานะนักกฎหมายประเมินไว้หรือไม่ว่าศาลฯ จะใช้เวลาพิจารณาประเด็นระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 8 ปีไว้นานเท่าใด นายวิษณุ กล่าวว่า ตอบไม่ถูก ต้องให้เวลาสำหรับให้ พล.อ.ประยุทธ์ชี้แจง 15 วัน และทราบว่าศาลรัฐธรรมนูญให้คนอื่นชี้แจงด้วยเช่นกัน เมื่อครบ 15 วันแล้ว เมื่อผู้ชี้แจงๆ กันหมดแล้ว จะเริ่มมองเห็นแล้วว่า จะใช้เวลานานเท่าใด ซึ่งไม่ควรจะนาน เพราะไม่มีการสืบพยานในเรื่องนี้

 

ที่มา : มติชนออนไลน์

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #นายกเถื่อน #ประยุทธ์

ศาลแขวงปทุมวันพิพากษา “ยกฟ้อง” คดีพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ของนักกิจกรรมและประชาชนรวม 8 ราย กรณีร่วมกิจกรรมรำลึก “เสธ.แดง” เมื่อ 13 พ.ค. 63

 


ศาลแขวงปทุมวันพิพากษา “ยกฟ้อง” คดีพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ของนักกิจกรรมและประชาชนรวม 8 ราย กรณีร่วมกิจกรรมรำลึก “เสธ.แดง” เมื่อ 13 พ.ค. 63

 

เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2565 ศาลแขวงปทุมวันนัดฟังคำพิพากษาในคดีของ อนุรักษ์ เจนตวนิชย์ หรือ “ฟอร์ด เส้นทางสีแดง” และประชาชนรวม 8 ราย ที่ถูกฟ้องในข้อหา ฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามความใน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง กรณีจัดกิจกรรมรำลึกครบครอบ 10 ปี การเสียชีวิตของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ “เสธ.แดง” เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2563 ที่บริเวณทางขึ้นลงสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสีลม ฝั่งสวนลุมพินี

 

ศาลชี้ในเหตุการณ์ชุมนุม ตำรวจและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพียงตักเตือนว่ามีความเสี่ยงต่อโรค แต่ไม่ได้ห้ามการจัดและจัดหามาตรการป้องกันโรคให้ วิญญูชนย่อมเข้าใจว่าได้รับอนุญาต ประกอบการจัดกิจกรรมมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเหมาะสม มีการคัดกรองอุณหภูมิ เว้นระยะห่าง สวมใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ จึงยังไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน

 

การทำกิจกรรมเป็นไปด้วยความสงบ ไม่มีความรุนแรงหรือทะเลาะวิวาทเกิดขึ้น กิจกรรมใช้ระยะเวลาไม่นาน การทำกิจกรรมดังกล่าว เป็นการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นการทำกิจกรรมอย่างสงบโดยปราศจากอาวุธ เมื่อทำพิธีเสร็จต่างแยกย้ายกันเดินทางกลับ การกระทำของจำเลยทั้ง 8 จึงไม่เป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย

 

หลังออกจากห้องพิจารณาคดีด้วยรอยยิ้ม อนุรักษ์ หรือ ฟอร์ด เส้นทางสีแดง ได้กล่าวว่า “ที่จริงในการจัดกิจกรรมรำลึก เสธ.แดง ทุกครั้ง ถึงแม้จะไม่ถูกฝ่าฝืนหรือดำเนินคดี แต่การจัดกิจกรรมทุกครั้งก็มีความกดดันหลายในหลายๆ ด้าน ในปีที่ถูกจับเป็นปี 2563 เป็นปีที่ 10 ของการจากไปของ เสธ.แดง เรายืนยันว่าจะจัด แม้ว่าจะเป็นช่วงโควิด แน่นอนว่าผมเป็นคนจัด ผมเป็นคนที่ดำเนินการกิจกรรมนี้ ผมได้นำรายละเอียด ข้อมูล ข้อเท็จจริงไปเบิกความต่อศาลอย่างตรงไปตรงมาว่า เพื่อนๆ ที่ถูกดำเนินคดีในคดีนี้ ไม่ได้เป็นผู้ร่วมจัด เพียงแต่เป็นอาสาสมัครที่เข้ามาช่วยงานผมในวันนั้น แต่กลับถูกดำเนินคดีไปด้วย”

 

“กิจกรรมนี้ ผมได้ประสานกับตำรวจท้องที่ และจัดเตรียมมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ผมคิดว่านั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ศาลพิจารณายกฟ้อง” ฟอร์ด กล่าว

 

จำเลยทั้งแปดในคดีนี้ ได้แก่ เสาวนีย์​ สมพิชัย​, ธานี​ สะสม​, สมจิตร​ สอนศรี​, ธัญวลัย ฝรั่งทอง​, นวพร​ เจริญ​ลาภ, วลี​ ญานะหงสา, มณฑา​ แสงเปล่ง และอนุรักษ์ เจนตวนิชย์

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #TLHR #พรกฉุกเฉิน #รำลึกเสธแดง

สิระ อ่วมอีก! ศาล สั่งจำคุก 16 เดือน ไม่รอลงอาญา คดีบุกรุกรพ.สนาม-หมิ่นประมาท

 


สิระ อ่วมอีก! ศาล สั่งจำคุก 16 เดือน ไม่รอลงอาญา คดีบุกรุกรพ.สนาม-หมิ่นประมาท

 

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 29 ส.ค. 2565 ที่ศาลแขวงดอนเมือง ศาลได้อ่านคำพิพากษา คดีหมายเลขดำ อ.594/2564 (คดีหมายเลขแดงที่ อ.1176/2565) ระหว่าง บริษัทมงกุฎวัฒนะ จำกัด ที่ 1 และพล.ต.เหรียญทอง แน่นหนา ที่ 2 โจทก์ ยื่นฟ้อง นายสิระ เจนจาคะ จำเลย อดีตส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ

 

โดยกล่าวหาว่า เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2564 เวลากลางวัน จำเลยนำพรรคพวก 4-5 คน ได้บังอาจเดินล่วงล้ำบุกรุกในเขตก่อสร้างโรงพยาบาลสนาม แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กทม. (ติดกับ รพ.มงกุฎวัฒนะ) อันเป็นอยู่ในความครอบครองของโจทก์ที่ 1 ต่อมาจำเลยนำชาวบ้านประมาณ 20 คน นำป้ายมาเขียนประท้วงการก่อสร้างโรงพยาบาลสนามของโจทก์ที่ 1 และกล่าวใส่ความโจทก์ทั้งสองต่อหน้าผู้คนที่ยืนอยู่บริเวณทางเข้าเขตก่อสร้างโรงพยาบาลสนามดังกล่าว และผู้ชมรายการโทรทัศน์และสื่อสังคมต่างๆ หลายกรรม อันทำให้โจทก์ทั้งสองเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 362, 91

 

พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายมาตรา 326, 362 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตาม ปอ. มาตร 91 ฐานหมิ่นประมาท จำคุก 2 เดือน รวม 5 กระทง และฐานบุกรุกจำคุก 6 เดือน รวมจำคุกมีกำหนด 16 เดือน (ไม่รอลงอาญา)

 

จำเลยยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์ โดยวางเงินสด จำนวน 21,600 บาท เป็นหลักประกัน

 

ที่มา : ข่าวสดออนไลน์

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #สิระเจนจาคะ #หมิ่นประมาท

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2565

"เครือข่ายราษฎร" ออกแถลงการณ์ ย้ำ 3 ข้อเรียกร้อง "ประยุทธ์" ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกฯ ทันที-ศาลรัฐธรรมนูญต้องวินิจฉัยปม 8 ปี เร็วที่สุด -ให้สภาเร่งแก้มาตรา 272 ตัดอำนาจส.ว.

 


"เครือข่ายราษฎร" ออกแถลงการณ์ ย้ำ 3 ข้อเรียกร้อง "ประยุทธ์" ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกฯ ทันที-ศาลรัฐธรรมนูญต้องวินิจฉัยปม 8 ปี เร็วที่สุด -ให้สภาเร่งแก้มาตรา 272 ตัดอำนาจส.ว.


วันนี้ (29 ส.ค. 65) เพจเฟซบุ๊ก "ราษฎร" โพสข้อความ ออกแถลงการณ์ราษฎรและเครือข่าย กรณีคำสั่งหยุดการปฎิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีจนกว่าจะมีคำวินิจฉัย และการขึ้นรักษาการนายกรัฐมนตรี


โดยราษฏรได้ย้ำข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้


1. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังคงต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยทันที


2. ศาลรัฐธรรมนูญต้องวางกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการพิจารณาประเด็นวาระการดำรงตำแหน่ง 8 ปีของนายกรัฐมนตรี และต้องมีคำวินิจฉัยออกมาโดยเร็วที่สุด 


3. ให้รัฐสภาเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 เพื่อตัดอำนาจวุฒิสภาในการเลือกนายกรัฐมนตรีให้เสร็จสมบูรณ์ก่อนการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง

#ราษฎร


สำหรับรายชื่อเครือข่ายที่เข้าร่วม คือ 


1. แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม

2. คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.)

3. พรรคโดมปฏิวัติ

4. ศิลปะปลดแอก

5. ทะลุฟ้า

6. Supporter Thailand (SPT)

7. เฟมินิสต์ปลดแอก

8. ทะลุวัง

9. กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย(DRG)

10. กอผือรื้อเผด็จการ

11. ดึงดิน

12. ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-Move)

13. กลุ่มคบเพลิง (The Torch)

14. สหภาพคนทำงาน

15. เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน

16. FemFoo

17. โมกหลวงริมน้ำ

18. สหภาพไรเดอร์

19. สหภาพแรงงานบาริสต้า เชียงใหม่

20. สหภาพแรงงานสร้างสรรค์ (CUT)

21. เครือข่ายแรงงานจังหวัดฉะเชิงเทรา

22. Nurse Connect

23. หมอไม่ทน

24. เครือข่ายแรงงานชลบุรี - ระยอง

25. เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่

26. มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์

27. ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ (CAN)

28. เครือข่ายประชาชล

29. พิราบขาวเพื่อมวลชน ลำปาง

30. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (อป.อพช.)

31. ดาวดิน สามัญชน

32. ขบวนการอีสานใหม่

33. We Volunteer

34. พรรคชาวดิน

35. Secure Ranger

36. ขอนแก่นพอกันที

37. คณะราชสเปซ

38. กรองข่าวแกง

39. เครือข่ายแรงงานจังหวัดฉะเชิงเทรา

40. ราษฎรไทย

41. สโมสรนักศึกษามหาลัยนอร์ทเชียงใหม่

42. ภาคีไล่หมา ชลบุรี

43. Nu movement

44. เครือข่ายรับสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม (We Fair)

45. สหพันธ์นักเรียนเพชรบูรณ์

46. กลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชนภาคใต้ (Law Long Beach)

47. เครือข่ายสลัม 4 ภาค


#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #นายก8ปี

กลุ่มพลเมืองเพื่อเสรีภาพฯ ยื่นหนังสือต่อ กสทช. ขอให้พิจารณาการควบรวมทรู-ดีแทค หวั่นค่าบริการเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อประชาชน


กลุ่มพลเมืองเพื่อเสรีภาพฯ ยื่นหนังสือต่อ กสทช. ขอให้พิจารณาการควบรวมทรู-ดีแทค หวั่นค่าบริการเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อประชาชน

 

วันที่ 29 ส.ค. 2565 เวลา 10.30 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซอยพหลโยธิน 8 กลุ่มพลเมืองเพื่อเสรีภาพในการสื่อสาร โดย พรหมศร วีระธรรมจารี หรือ ฟ้า, ภาณุพงศ์ จากนอก หรือ ไมค์ และคณะ เดินทางมายื่นหนังสือต่อ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  โดยในวันนี้มี นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ กสทช. เป็นตัวแทนรับหนังสือ

 

ซึ่งระบุว่า ตามที่บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (True) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (Dtac) ได้ประกาศแจ้งต่อสาธารณะว่าจะมีการควบรวมธุรกิจ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา กลุ่มพลเมืองเพื่อเสรีภาพในการสื่อสาร และเครือข่ายภาคประชาชน มีความกังวลต่อการควบรวมธุรกิจดังกล่าว ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

 

จากการที่ กสทช. ได้ท าหนังสือไปที่คณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2565 และคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตอบกลับ กสทช. มาแล้ว เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ว่า ไม่สามารถรับข้อหารือไว้พิจารณาได้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาล และเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 กสทช. ก็ได้มีการทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาถึงอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ในการพิจารณาการควบรวมธุรกิจดังกล่าว ด้วยเนื้อหาเดียวกันซ้ำอีกครั้ง อาจทำให้ประชาชนสับสนและเข้าใจคลาดเคลื่อนไปได้ว่า กสทช.มีความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ โดยยินยอมให้ฝ่าย

บริหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซง และครอบงำการใช้อำนาจของ กสทช. อาจเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 60 และส่งผลให้ นายกรัฐมนตรี มีความเสี่ยงในการปฏิบัติที่ขัดต่อกฎหมายอีกด้วย

 

กสทช. ในฐานะองค์กรอิสระ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 60 ที่มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม เพื่อสนับสนุนการแข่งขันเสรีที่เป็นธรรม ดูแลผลประโยชน์ของประชาชน และประเทศชาติ จึงต้องป้องกันมิให้มีการแสวงหาประโยชน์จากผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม หรือ สร้างภาระต่อผู้บริโภคเกินความจำเป็น ซึ่งการควบรวมครั้งนี้ จะทำให้ผู้บริโภคต้องรับภาระราคาค่าบริการที่เพิ่มขึ้น 2.03-244.50% (อ้างอิงผลการศึกษา กสทช.) หรือไม่มีโอกาสที่จะปรับราคาลดต่ำลงได้ เหมือนเช่นในอดีต ที่มีการแข่งขันสูง

 

การควบรวมครั้งนี้ นอกจากเป็นการลดทางเลือกของผู้บริโภคแล้ว ยังอาจทำให้เกิดการดำเนินธุรกิจแบบ Cross Industry การบริการจะถูกย้ายจากร้านค้าลูกตู้ ไปยังร้านค้าปลีกในเครือ เพราะไม่มีความจำเป็นต้องจ่ายค่านายหน้าในการขายสินค้าให้ร้านค้าอีกต่อไป ส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดขายส่งและขายปลีก Sim card ต่อเนื่องไปถึง Vender/Supplier ผู้ให้เช่าสถานที่ และพนักงาน รวมไปถึงผู้ประกอบการต่าง ๆ ที่ต้องพึ่งพาบริการโทรคมนาคมในการขายสินค้าหรือบริการของตนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย

กลุ่มพลเมืองเพื่อเสรีภาพในการสื่อสาร และเครือข่ายภาคประชาชน หวังเป็นอย่างยิ่งว่า กสทช. จะปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็ง ในฐานะองค์กรอิสระที่มีหน้าที่กำกับดูแลให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ไม่ทำให้เกิดการลดการแข่งขัน อันอาจจะทำให้ผู้บริโภคและประเทศชาติเสียผลประโยชน์ ตามที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

 

ทั้งนี้ เครือข่ายยังเชิญชวนให้ประชาชนลงชื่อผ่าน change.org/truedtac เพื่อสนับสนุนแคมเปญคัดค้านการควบรวมอีกด้วย ปัจจุบันมีผู้ลงชื่อเกือบ 16,000 รายชื่อแล้ว

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #กลุ่มพลเมืองเพื่อเสรีภาพในการสื่อสาร





วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2565

"ตี้ พะเยา - มิ้นท์ นาดสินปฏิวัติ" พร้อมมวลชนอิสระ เดินเท้าจากศาลอาญากรุงเทพใต้ สู่กลางสยาม บอกเล่าผลกระทบผู้ติดกำไล EM เรียกร้องปลดล็อก ทำโพลสำรวจ เห็นด้วยหรือไม่ กับการติดกำไล EM แก่ผู้เห็นต่างทางการเมือง

 


"ตี้ พะเยา - มิ้นท์ นาดสินปฏิวัติ" พร้อมมวลชนอิสระ เดินเท้าจากศาลอาญากรุงเทพใต้ สู่กลางสยาม บอกเล่าผลกระทบผู้ติดกำไล EM เรียกร้องปลดล็อก ทำโพลสำรวจ เห็นด้วยหรือไม่ กับการติดกำไล EM แก่ผู้เห็นต่างทางการเมือง


วันนี้ (28 ส.ค. 65) เวลา 14.00 น. ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ นางสาววรรณวลี ธรรมสัตยา หรือ "ตี้ พะเยา", นางสาวกัลยมน สุนันท์รัตน์ หรือมิ้นท์ นาดสินปฏิวัติ นำมวลชนเดินเท้าเพื่อเรียกร้องปลดล็อกกำไล EM ภายใต้ชื่อ Let’s UNLOCK EM


เวลา 14.30 น. ขบวนเริ่มเคลื่อนออกจากศาลอาญากรุงเทพใต้ ถนนเจริญกรุง โดยยังไม่แจ้งจุดหมายปลายทางว่าเป็นที่ใด ต่อมาหยุดพักที่หน้าห้างโรบินสัน บางรัก ซึ่งมีการสลับกันพูดจาปราศรัยอธิบายถึงเหตุผลที่ต้องมาเดินขบวนในวันนี้ จากนั้นเดินมุ่งหน้าไปจนถึงแยกสุรวงศ์ แยกสี่พระยา จนกระทั่งไปถึงสามย่านมิดทาวน์ ได้มีการหยุดพักอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งระหว่างนี้มีเจ้าหน้าตำรวจมาพูดคุยเพื่อสอบถามผู้จัดกิจกรรมว่าจะเดินไปที่ใด และใช้เวลาถึงเมื่อไหร่ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจขอให้เดินไปแค่ประตูใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ผู้จัดกิจกรรมขอประชุมปรึกษาหารือกันก่อน 


16.40 น.ขบวนเริ่มเคลื่อนต่อ โดยผ่านจุฬาฯ ผ่านโรงเรียนเตรียมอุดม ผ่านมาบุญครอง แล้วเบี่ยงขวาเข้าสยาม


โดยเมื่อถึงสยาม ผู้ร่วมกิจกรรมต่างยืนเรียบแถว โชว์ป้ายข้อความที่ถือร่วมขบวนด้วย อาทิ เสรีภาพที่ถูกลิดรอน เสรีภาพประชาชนที่หายไป, คืน EM ให้ IO รวมถึงป้ายความในใจของผู้ใส่กำไลEM ที่บอกเล่าถึง ผลกระทบกับการดำเนินชีวิตไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือการเรียน


โดยขบวนได้เดินชูป้าย รอบสยาม พร้อมชูสามนิ้ว และใช้โทรโข่งสื่อสารทำความเข้าใจบอกเล่ากิจกรรม รวมทั้งผู้ร่วมกิจกรรมบางรายใช้โซ่พันธนาการขอมือ ข้อเท้า ตลอดระยะเวลาการเดินเพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์สะท้อนการถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพ 


ทั้งนี้ตลอดทางระหว่างที่มีการเดินขบวนมีการจัดทำโพลสอบถามความคิดเห็นผู้สัญจรผ่านไปมาว่า เห็นด้วยหรือไม่ กับการติดกำไล EM แก่ผู้เห็นต่างทางการเมือง โดยได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก โดยยุติกิจกรรมในเวลา ประมาณ18.10น.


#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #ม็อบ28สิงหา #ปลดล็อคEM




วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2565

แอมเนสตี้ฯ ร่วมครย. และมูลนิธิผสานวัฒนธรรม จัดเสวนาวันผู้สูญหายสากล "คนต้องไม่หาย ออกกฎหมายต้องเป็นธรรม" จุดเทียนรำลึกถึงผู้สูญหายและการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน จี้ผลักดันกฎหมาย เพื่อคืนความยุติธรรมให้ครอบครัวผู้สูญหาย

 


แอมเนสตี้ฯ ร่วมครย. และมูลนิธิผสานวัฒนธรรม จัดเสวนาวันผู้สูญหายสากล "คนต้องไม่หาย ออกกฎหมายต้องเป็นธรรม" จุดเทียนรำลึกถึงผู้สูญหายและการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน จี้ผลักดันกฎหมาย เพื่อคืนความยุติธรรมให้ครอบครัวผู้สูญหาย


วันนี้ (27 ส.ค. 65) ที่ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา แยกคอกวัว แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และ คณะราษฎรยกเลิก 112 หรือ ครย. จัดกิจกรรมเนื่องในวันผู้สูญหายสากล ที่จะมีขึ้นในวันที่ 30 สิงหาคม ของทุกปี 

.

16.00 น. ที่ห้องประชุม อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา เริ่มต้นด้วย ปาฐกถาโดย อังคณา นีละไพจิตร คณะทำงานด้านการบังคับสูญหายโดยไม่สมัครใจของสหประชาชาติ UNWGEID


ตามด้วยวงเสวนา “คนต้องไม่หาย ออกกฏหมายต้องเป็นธรรม” ณ ห้องประชุมอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา โดย ส.ส.เบญจา แสงจันทร์, สมยศ พฤกษาเกษมสุข, อัญชนา หีมมีหน๊ะ, ป้าน้อย ภรรยาของ 'สุรชัย แซ่ด่าน' ดำเนินรายการโดย อานนท์ ชวาลาวัณย์ จาก ilaw


ด้านสมยศ ได้เปิดวิดิโอบอกเล่าความรู้สึกของผู้ลี้ภัย พร้อมภาพร่างกลุ่มผู้ลี้ภัยที่ถูกอุ้มหาย รวมถึงภาพต่าง ๆ ที่ระบุว่าสามารถใช้เป็นหลักฐาน ในการอุ้มหายของผู้ลี้ภัย  


พร้อมทั้งกล่าวว่า ลักษณะการอุ้มฆ่าแล้วถ่วงน้ำเกิดตั้งแต่สมัยเผ่า ศรีนานนท์ ซึ่งเหมือนกับกรณีของ 3 ศพที่พบที่แม่น้ำโขง 3 ศพนี้คือผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่สูญหายไปที่ลาวในวันที่ 13 ธันวา และเป็นช่วงเวลาเดียวที่ประยุทธ์ไปร่วมประชุมที่ลาวช่วงเดียวกัน


ขณะที่ เบญจา แสงจันทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ระบุถึง พรบ.ทรมานอุ้มหายฉบับที่ผ่านสภาฯ นี้ อาจไม่ใช่ยาวิเศษทั้งหมด แต่เป็นยาที่ช่วยเยียวยารักษาสำหรับผู้เสียหาย และทำให้เกิดความยุติธรรมในอนาคต การให้ผ่านสภาเป็นชัยชนะยกแรกเท่านั้น เราจะแก้ต้องแก้ที่กระบวนการยุติธรรมทั้งหมด และเราจะต้องสู้ต่อ


สังคมแบบไหนกันที่ปล่อยให้เกิดการทรมานอุ้มหาย ปล่อยให้ผู้ถูกกระทำกับผู้เสียหายต้องสู้โดยลำพังต่อสู้กับอำนาจรัฐอิทธิพลที่มองไม่เห็นจากเจ้าหน้าที่รัฐ แล้วเราต่างทนมองหน้าเพื่อนร่วมชาติ เราทนมองหน้าเพื่อนมนุษย์ ผู้หญิง เด็ก ที่อยู่กับความหวาดกลัวได้อย่างไร ส.ส.เบนจากล่าว


ด้านปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ หรือป้าน้อยภรรยา สุรชัย แซ่ด่าน กล่าวถึง นายสุรชัยได้ลี้ภัยทางการเมือง ในช่วงที่เกิดการรัฐประหาร 2557 ก่อนที่จะหายตัวไป และได้พบศพปริศนา 2 ศพ ที่ลอยมาตามแม่น้ำโขง ในจังหวัดนครพนม โดยได้ระบุถึง วิธีที่ดำเนินการในการตามหา นายสุรชัย และการเสียค่าปรับให้กับศาลจังหวัดพัทยา ในกรณีที่นายสุรชัย ไม่ได้มาศาลจากคดีล้มประชุมอาเซียนในปี 2552 โดยจะต้องผ่อนให้ศาลเดือนละ 3 พันบาท โดยได้ฝากไปถึงรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยว่า อยากให้ปรับเปลี่ยนเรื่องของเงินประกันต่อผู้ที่ลี้ภัยที่ไม่ได้กระทำผิด แต่ไม่สามารถมาศาลได้ และดำเนินการกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบังคับสูญหาย


เราต้องสู้เพื่อความเป็นธรรมเพราะรัฐบาลนี้ไม่มีความจริงใจในการสืบสวนสอบสวน ป้าน้อยกล่าวทิ้งท้าย


อัญชนา หีมมิหน๊ะ ประธานกลุ่มด้วยใจ กล่าวถึง ที่สามจังหวัด มีคำพูดของแม่ที่ออกมาเรียกร้องเพื่อลูกที่สูญหายไป เขาบอกว่า ขอให้ได้รับรู้ว่าเขาเสียชีวิตอย่างไร อยากได้ข้าวของของเขากลับมา และเพื่อนำตัวเขามาทำพิธีทางศาสนา"


ทั้งนี้กัญญา ธีรวุฒิ มารดาของสยาม ธีรวุฒิ ได้กล่าวว่า "แค่การที่ลูกชายไปเล่นละครเจ้าสาวมหาป่า ทำให้เค้าต้องโดนอุ้มหายเลยเหรอ ... เล่นละครมันไปทำให้ใครเจ็บปวดขนาดไหนแม่ไม่รู้ แต่ที่แม่รู้คือลูกแม่ถูกอุ้มหาย"


จากนั้น กลุ่มผู้จัดฯได้ย้ายออกมาจัดกิจกรรมต่อที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา โดยเริ่มด้วยการแสดงจาก "มิ้นท์ นาดสินปฏิวัติ" "คืนความยุติธรรมในเพื่อนเรา"


ต่อมา ขบวนแห่เทียนพร้อมรูปและรายชื่อผู้สูญหายเดินเท้ามาถึงยังอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา จากนั้นได้เปิดเพลงนักสู้ธุลีดิน จุดเทียนและกล่าวรำลึกถึงผู้สูญหาย


ปิดท้ายด้วย ธิษะณา ชุณหะวัณ หรือ แก้วตา ได้กล่าวรำลึกผู้สูญหายตั้งแต่ในอดีต และจบกิจกรรมในเวลา 19.15 น. 


#วันผู้สูญหายสากล #ยูดีดีนิวส์ #UDDnews




แถลงการณ์ร่วม คณะกรรมการนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และคณะกรรมการนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรณี วาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

 


แถลงการณ์ร่วม คณะกรรมการนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และคณะกรรมการนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรณี วาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

 

เรื่อง ข้อเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญเร่งวินิจฉัยให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทันที แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ยกเลิกการให้อำนาจวุฒิสภาในการเลือกนายกรัฐมนตรี ก่อนมีการยุบสภา และให้มีการยุบสภาทันทีหลังจากมีราชกิจจานุเบกษาประกาศแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ

 

สืบเนื่องจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอซา ได้ก่อกบฎทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน และต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557 หากพิจารณาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 170 วรรคสอง มาตรา 158 วรรคสี่ และมาตรา 264 ในบทเฉพาะกาล ความเป็นนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทโอซา ได้สิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา เนื่องจากนายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้

 

ทั้งนี้จากการที่ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องจากพรรคร่วมฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรที่ได้ยื่นคำร้องให้วินิจฉัยกรณีวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอซา หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยขี้ขาดกรณีดังกล่าว

 

นอกจากประเด็นปัญหาทางกฎหมายแล้ว ที่มาของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่มีความชอบธรรมมาตั้งแต่ต้นด้วยการเข้าสู่อำนาจจากการก่อการรัฐประหาร ล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง โดยเมื่อเข้าสู่อำนาจแล้ว พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาและพวกพ้องก็ได้วางกลไกการสืบทอดอำนาจผ่านการแทรกแชงองค์กรอิสระ ออกแบบกฎ

กติกาเลือกตั้งและรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้อำนาจวุฒิสภา 250 คนสามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้ เพื่อกุมความได้เปรียบทางการเมือง คงไว้ซึ่งผลประโยชน์ส่วนตนเอง จนสภาพการเมืองที่ผ่านมาเต็มไปด้วยความปั่นป่วนวุ่นวาย การเลือกปฏิบัติทางกฎหมาย เกิดรัฐบาลที่ไม่มีเสถียรภาพ บริหารงานอย่างไร้วิสัยทัศน์และไร้ความสามารถในการแก้ปัญหา ดังนั้นพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาจึงเป็นนายกรัฐมนตรีภายใต้ระบบการเลือกตั้งที่สร้างมาเพื่อชุบตัวเพียงเท่านั้น ซ้ำร้ายแม้จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างเอง สร้างเอง แต่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาก็ประพฤติตน

ไม่เคารพเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญที่ไม่ต้องการให้ผู้ใดครองอำนาจอยู่ในตำแหน่งนี้มากกว่า 8 ปี อันเป็นการไร้ซึ่งจริยธรรมของนักการเมืองที่ดี ด้วยเหตุนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงไม่คู่ควรและปราศจากความชอบธรรมใด ๆ ที่จะดำรงอยู่ในตำแหน่งนี้ต่อไป

 

ทางคณะกรรมการนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และคณะกรรมการนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเล็งเห็นว่าสถานการณ์ดังกล่าวอาจก่อให้เกิดสภาระสุญญากาศทางการเมือง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริหารประเทศ จึงมีข้อ

เรียกร้อง 3 ประการ ดังต่อไปนี้

 

1. ให้ศาลรัฐธรรมนูญเร่งวินิจฉัยให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทันที

2. แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ยกเลิกการให้อำนาจวุฒิสภาในการเลือกนายกรัฐมนตรี

ก่อนมีการยุบสภา

3. ให้มีการยุบสภาทันทีหลังจากมีราชกิจจานุเบกษาประกาศแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ

 

สุดท้ายนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยคำร้องของพรรคร่วมฝ่ายค้าน โดยใช้และตีความกฎหมายตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญด้วยความเที่ยงธรรมอย่างตรงไปตรงมา ปราศจากอคติส่วนตน ดังที่ผู้ทรงคุณวุฒิและวิญญูชนพึงกระทำ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลจะเล็งเห็นถึงปัญหาที่ตนเองได้ก่อ อย่างการบริหารราชการผิดพลาดจนก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและบริหารราชการผิดพลาดในการรับมือต่อสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 จนก่อให้เกิดความสูญเสียแก่ประชาชน การใช้จ่ายงบประมาณอย่างสิ้นเปลือง จัดสรรงบประมาณโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน ก่อหนี้สาธารณะให้กับประเทศเป็นจำนวนมาก สร้างเครือข่ายองคาพยพต่าง ๆ เพื่อสืบทอดอำนาจ รวมถึงการใช้อำนาจโดยมิชอบคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้เห็นต่าง ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และคณะกรรมการนักศึกษาคณะ

รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งรัฐบาลจะแสดงความรับผิดชอบด้วยการประกาศยุบสภา เพื่อคืนอำนาจให้แก่ประชาชน

 

"อำนาจไมใช่สิ่งยืนยาว หรือทรัพย์สินที่ใครจะครอบครองได้ตลอดไป 8 ปีแห่งความสิ้นหวัง 8 ปีแห่งความท้อแท้ ควรจบสิ้นลงเสียที อย่ารอให้ถึงวันที่ประชาชนจะพิพากษาพวกท่านด้วยตนเอง"

 

ด้วยความไม่เคารพและไม่รัก

 

คณะกรรมการนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

คณะกรรมการนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

26 สิงหาคม 2565

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #8ปีประยุทธ์ #นายกเถื่อน



วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ไม่ให้ประกัน “มานี-จินนี่” สองมวลชนอิสระ คดีดูหมิ่นศาล เหตุจากการปราศรัยหน้าหมู่บ้านศาลอาญากรุงเทพใต้ เรียกร้องปล่อย “บุ้ง-ใบปอ”

 


ไม่ให้ประกัน “มานี-จินนี่” สองมวลชนอิสระ คดีดูหมิ่นศาล เหตุจากการปราศรัยหน้าหมู่บ้านศาลอาญากรุงเทพใต้ เรียกร้องปล่อย “บุ้ง-ใบปอ”

 

วันที่ 26 ส.ค. 2565 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้รายงานผ่านทวิตเตอร์ คืบหน้ากรณี “มานี-จินนี่” มวลชนอิสระ ซึ่งถูกควบคุมตัวจากบ้านพักวานนี้ ในข้อหาดูหมิ่นศาล โดยตามรายงานมีความว่า

 

14.30 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะให้ประกันตัวชั่วคราวในชั้นสอบสวนหรือไม่ กรณี “เงินตา มานี” และ “จิรัชยา จินนี่” ถูกฝากขังครั้งที่ 1 ตามคำขอฝากขังของ สน.ยานนาวา เช้าวันนี้ หลังวานนี้ ทั้งคู่ถูกจับตามหมายจับที่ออกโดยศาลอาญากรุงเทพใต้ ในข้อหาร่วมกันดูหมิ่นศาล

 

ต่อมาเวลาประมาณ 16.20 น. ศูนย์ทนายฯ รายงานเพิ่มเติมว่า “ศาลอาญากรุงเทพใต้ไม่อนุญาตให้ประกัน “เงินตา มานี” และ “จิรัชยา จินนี่” สองมวลชนที่ถูกจับกุมในข้อหาดูหมิ่นศาล เหตุจากการปราศรัยที่หน้าศาล เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 65 ศาลระบุคำสั่งพฤติการณ์ทั้งสองคนถือเป็นภัยอันตรายอย่างร้ายแรงต่อศาลในการปฏิบัติหน้าที่และกระบวนการยุติธรรม”

 

จากกรณีผู้สื่อข่าวรายงานว่า ค่ำวานนี้ (25 ส.ค. 2565) เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าแสดงหมายจับ “เงินตา” และ “จิรัชยา” จากบ้านพักของทั้งสอง ในข้อหาดูหมิ่นศาลและใช้เครื่องขยายเสียง ในการปราศรัยหน้าหมู่บ้านศาลอาญากรุงเทพใต้ ซึ่งมวลชนอิสระได้ตั้งหมู่บ้านบริเวณหน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ มีการปราศรัยและทำกิจกรรมเพื่อเรียกร้องให้กระบวนการยุติธรรมปล่อยตัว “ใบปอ-ผักบุ้ง” และในเวลาต่อมา ทั้งสองคนถูกนำตัวไปที่ กองบัญชาการปรามปรามยาเสพติด (บช.ปส.) ภายในสโมสรตำรวจ ถนนวิภาวดีรังสิต และวันนี้ได้นำตัวมาขอศาลฝากขัง เป็นครั้งที่ 1 และศาลไม่ให้ประกันตามรายงานข่าวข้างต้น

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #ดูหมิ่นศาล

“ไบร์ท ชินวัตร” ได้ประกันตัว วางเงินประกัน 1.5 แสน คาดว่าจะได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ เย็นนี้!

 


“ไบร์ท ชินวัตร” ได้ประกันตัว วางเงินประกัน 1.5 แสน คาดว่าจะได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ เย็นนี้!

 

วันที่ 26 สิงหาคม 2565 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้รายงานผ่านทวิตเตอร์ กรณีการยื่นประกันตัว “ไบร์ท” ชินวัตร จันทร์กระจ่าง นักกิจกรรม จ.นนทบุรี ซึ่งศาลอาญากรุงเทพใต้ได้ไต่สวนคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันตัวไปแล้ว เมื่อวันที่ 24 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยศูนย์ทนายความฯ รายงานว่า

 

“ด่วน! ศาลอุทธรณ์ให้ประกันตัว “ไบร์ท ชินวัตร” คดี ม.112 กรณีปราศรัยขอคืนสิทธิประกันตัวบุ้ง-ใบปอ หน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ วงเงินประกัน 150,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ โดยมีเงื่อนไขห้ามกระทำการในลักษณะเดียวกันกับที่ถูกกล่าวหาและห้ามออกนอกประเทศ เย็นนี้ “ไบร์ท” จึงจะได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ

 

“ไบร์ท ชินวัตร” ถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. ที่ผ่านมา

 

สำหรับ “ไบร์ท ชินวัตร” เขาถูกกล่าวหาในคดีมาตรา 112 คดีนี้นับเป็นคดีที่ 7 แล้ว โดยทุกคดียังอยู่ระหว่างต่อสู้คดี และยังไม่มีคดีในที่ศาลมีคำสั่งพิพากษาเขาจนถึงที่สุด ในส่วนคดีจากการชุมนุม ส่วนใหญ่คดีของ “ไบร์ท ชินวัตร” ก็ยังไม่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด โดยมีคดีชุมนุม #ม็อบ6ธันวา63 ที่ศาลแขวงธนบุรีมีคำพิพากษายกฟ้องในข้อหาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ แต่ลงโทษปรับในข้อหากีดขวางการจราจรและการใช้เครื่องขยายเสียงเท่านั้น

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #TLHR #ไบร์ทชินวัตร #มาตรา112