ประชุมครม.
วันนี้ นายกฯ ลั่น หาต้นเหตุตึกถล่มให้ได้!
วันนี้
(1 เมษายน 2568) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
สั่งการในการประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 13/2568 ดังนี้
เพื่อให้มีมาตรการที่ชัดเจนในการรับมือ
อุบัติภัย ภัยพิบัติต่าง ๆ
กระทรวงมหาดไทย
-
จัดทำแผน และมาตรการในการป้องกันภัยพิบัติ
โดยแบ่งหน้าที่และขั้นตอนอย่างชัดเจน (Flowchart) เสนอภายในสิ้นเดือนนี้
-
ปภ. หามาตรการประสาน กับ DE กรมอุตุนิยมวิทยา
และ กสทช. ในการส่งข้อความเตือนภัย ที่ชัดเจน และรวดเร็วมากขึ้น ให้มีการใช้ระบบ Virtual
cell broadcast กับอุปกรณ์โทรศัพท์ทุกรูปแบบ ระหว่างรอระบบ Cell
broadcast ที่จะเสร็จสมบูรณ์ในเดือน กรกฎาคม นี้
-
กรมโยธาธิการฯ เร่งออกมาตรการตรวจสอบอาคารสูงทุกอาคารให้ได้มาตรฐาน
กระทรวงการต่างประเทศ
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศที่มีความพร้อมในระบบเตือนภัย
เช่น ญี่ปุ่น ยุโรป นิวซีแลนด์ และ อิสราเอล โดยประสานผ่านสถานทูต เชิญมาประชุม
กับผู้ที่เกี่ยวข้องของไทย เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับประเทศไทยให้เร็วที่สุด
กระทรวงสาธารณสุข
วางแผนรับมือทั้งแพทย์ฉุกเฉิน
เตียงสนาม ให้เพียงพอ รวมถึงจิตแพทย์ที่จะดูแลฟื้นฟูผู้ที่รับผลกระทบ
กระทรวงท่องเที่ยวฯ
เร่งสื่อสารกับนักท่องเที่ยว
หรือต่างชาติที่ทำงานในไทย ให้ได้รับข้อความเตือนภัย
และแผนรับมือเหตุการณ์ได้อย่างชัดเจน
กระทรวงทรัพยากรฯ
ระดมนักวิชาการทางด้านธรณีวิทยา
เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในมาตรการรับมือที่ถูกต้อง และป้องกันภัยได้อย่างรัดกุมที่สุด
รวมถึงตรวจระบบเตือนภัยต่าง ๆ ที่เคยมีอยู่ ให้สามารถใช้งานได้อย่างปกติ เช่น
ระบบเตือนภัยสึนามิ ตลอดจนการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้มากขึ้น
กระทรวงศึกษาธิการ
เร่งเพิ่มเติมหลักสูตร
แผนการรับมือภัยธรรมชาติ ในทุกรูปแบบให้กับนักเรียนนักศึกษาทุกระดับ
กระทรวงคมนาคม
เร่งตรวจสอบเส้นทางคมนาคม
ทุกมิติ ให้พร้อมบริการประชาชน รวมถึงตรวจสอบงานก่อสร้างขนาดใหญ่ให้ได้มาตรฐาน
รองรับภัยธรรมชาติต่าง ๆ ได้
สำนักนายกรัฐมนตรี
ร่วมมือกับ
ปภ. เร่งสรุปมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยเร็ว
กรมประชาสัมพันธ์
เป็นศูนย์กลางในการกระจายข่าวสารที่ถูกต้อง
อย่างทั่วถึง ครบถ้วน รวมทั้งประสานเอกชน ที่มีป้ายโฆษณาขนาดใหญ่
ที่สามารถขึ้นภาพได้ทันที
กรณีอาคาร
สตง.ถล่ม
ให้
คกก. เร่งสืบหาข้อเท็จจริงภายใน 7 วัน
หากมีความผิดต้องดำเนินการตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด
โดย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รายงานว่า DSI ได้รับเป็นคดีพิเศษเพื่อติดตามตรวจสอบการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวที่พบว่ามี
นอมินี มากถึง 17 บริษัท ขณะที่ ก.พาณิชย์
พบว่าบริษัทดังกล่าวรับงานส่วนราชการไปทั้งหมด 11 งาน 10
งานอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
ส่วนงานที่แล้วเสร็จเป็นอาคารเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่ง
ซึ่งจะเข้าดำเนินการตรวจสอบต่อไป ด้าน ก.อุตสาหกรรม
รายงานผลการตรวจสอบเหล็กพบว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐาน โดยจะส่งข้อมูลให้พนักงานสอบสวน
เพื่อประกอบสำนวนต่อไป
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #แพทองธาร #อาคารสตงถล่ม #แผ่นดินไหว #สตง