เครือข่ายประชาชนจาก
19 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำเท ปลาหมอคางดำกว่า
5 ตัน ประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล
ทวงถามนายกฯ จะแก้ปัญหาชาตินี้หรือชาติหน้า
วันนี้
(18 มีนาคม 2568) เวลา 10.00 น.
ที่หน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือข่ายประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปลาหมอคางดำเดินทางมารวมตัวเพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี
ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของรัฐบาลต้องแสดงความรับผิดชอบต่อปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ
ซึ่งถือเป็นหายนะต่อระบบนิเวศที่ร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์สิ่งแวดล้อมของไทย
ก่อนหน้านี้ในวันที่ 18 มกราคม 2568 ผู้ได้รับผลกระทบเคยยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลแล้วแต่ไม่ได้รับการตอบรับจึงต้องมาอีกครั้งในวันนี้
สำหรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบกระจายไปในอย่างน้อย 19 จังหวัด
โดยที่จังหวัดสมุทรสงคราม
ปัญหาปลาหมอคางดำขยายตัวกว้างจนทำให้สูญเสียอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์ประมงชายฝั่ง
บ้างต้องขายที่ดินทำกิน
เวลา
12.40 น. กลุ่มผู้ชุมนุมเครือข่ายประชาชนจาก 19 จังหวัด
ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ได้ทำการเท ปลาหมอคางดำ จำนวนกว่า 2
ตัน บริเวณประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล
หลังจากไม่ได้รับการตอบรับจาก นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
และได้รับการประสานจากเจ้าหน้าที่ตำรวจในการขอความร่วมมือไม่ชุมนุมโดยรอบทำเนียบรัฐบาล
ในระยะ 50 เมตร พร้อมได้ทำเผาพริกเผาเกลือ
เพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์
ก่อนเจ้าหน้าที่ตำรวจกระชับพื้นที่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมกลับไปปักหลักบริเวณหน้าองค์การสหประชาติ
ทั้งนี้เพื่อให้รัฐบาล
แก้ปัญหาปลาหมอคางดำเนินไปอย่างจริงจัง มีการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
ฟื้นฟูระบบนิเวศ และป้องปรามไม่ให้เกิดเหตุร้ายแรงเช่นนี้เกิดขึ้นอีก
เครือข่ายองค์กรประชาชนจึงเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาดาเนินการ ดังต่อไปนี้
1)
ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนอิสระเพื่อสืบสวน สอบสวน
หาผู้กระทาความผิดในการทำให้เกิดการระบาดของปลาหมอคางดา
โดยต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
ทั้งนี้ผู้ดำรงตาแหน่งประธาน และคณะกรรมการ ต้องมีอิสระ ไม่มีส่วนได้เสีย
และต้องไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลของบริษัทเอกชน
โดยอย่างน้อยกึ่งหนึ่งให้แต่งตั้งจากรายชื่อของนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญอิสระที่เสนอชื่อโดยเครือข่ายฯ
2)
ขอให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเร่งรัดดำเนินการให้มีการเยียวยาเกษตรกรและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของปลาหมอคางดำเป็นการด่วนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
ในพื้นที่ซึ่งกรมประมงได้ประกาศเป็นพื้นที่การระบาดแล้วรวม 19 จังหวัด (หรือมากกว่าหากเกิดการระบาดเพิ่ม)
โดยขอให้จังหวัดเร่งประกาศเขตภัยพิบัติ
ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
กรณีฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๖๒ และ/หรือตามหลักเกณฑ์อื่นใดที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
3)
ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติ
และคณะทำงานระดับจังหวัดเพื่อขจัดปลาหมอคางดำ ฟื้นฟูระบบนิเวศ
และฟื้นฟูอาชีพของเกษตรกรและประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
โดยตั้งเป้าหมายให้ขจัดปลาหมอคางดาให้เป็นศูนย์ภายใน 1 ปี
จัดหางบประมาณให้เพียงพอต่อภารกิจดังกล่าว
โดยงบประมาณเฉพาะการขจัดปลาหมอคางดำต้องไม่ต่ากว่า 3 เท่าของงบประมาณต่อปีที่ใช้กาจัดผักตบชวา
คณะกรรมการระดับชาติต้องมีตัวแทนเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากทุกจังหวัดเข้าร่วม
และต้องกระจายอำนาจและงบประมาณให้คณะทำงานระดับจังหวัดสามารถดำเนินการได้เองโดยไม่รวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลาง
4)
เมื่อผลการสอบสวนสืบสวนของคณะกรรมการในข้อ 1 แล้วเสร็จและพบผู้กระทำความผิด
นายกรัฐมนตรี/คณะรัฐมนตรีต้องมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่หรือเกี่ยวข้องฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย
เพื่อให้ผู้ก่อปัญหาต้องชดใช้ เยียวยาความเสียหาย และฟื้นฟูระบบนิเวศให้กลับมาคงเดิม
ตามหลักการที่ผู้ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมต้องเป็นผู้รับผิดชอบและเป็นผู้จ่าย
และเพื่อไม่เป็นการเบียดบังงบประมาณที่มาจากภาษีของประชาชนทั้งประเทศ
ทั้งนี้ภายหลังที่นายวิโรจน์
ลักขณาอดิศร สส. กรุงเทพฯ จากพรรคประชาชน ในฐานะผู้แทนฝ่ายค้าน
เดินทางมารับหนังสือข้อเรียกร้องจากผู้ชุมนุม ก่อนที่จะยุติชุมนุมและแยกย้าย
#UDDnews
#ยูดีดีนิวส์ #ปลาหมอคางดำ