"อานนท์" เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐสภายุโรป
ขอบคุณที่ห่วงใยสถานการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
เรียกร้องมีมติยกเลิก-งดวีซ่า ผู้เกี่ยวข้องบังคับใช้ ม.112 โดยไม่เป็นธรรม
วันที่
19 มีนาคม 2568 เฟซบุ๊ก “อานนท์ นำภา”
เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกที่อานนท์เขียนถึงรัฐสภายุโรป ระบุว่า
จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐสภายุโรป
กระผมนายอานนท์
นำภา นักโทษการเมืองประเทศไทย ดคีอาญามาตรา 112 ขอขอบพระคุณท่านที่ห่วงใจสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและได้แสดงออกถึงมาตรการกดดันอันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาการเนรเทศผู้ลี้ภัยและการบังคับใช้กฎหมายอาญา
มาตรา 12 โดยที่มติให้ใช้มาตรการทางเศรษฐกิจและทางการทูตต่อรัฐบาลไทย
ซึ่งต่อมาประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศงดให้หนังสืออนุญาตเดินทางเข้าประเทศแก่เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการเนรเทศผู้ลี้ภัย
สำหรับกรณีการบังคับใช้กฎหมายอาญามาตรา
112 นั้น
กระผมขอเรียนต่อท่านว่าได้มีบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายส่วน
กล่าวคือ มีผู้กล่าวหา ซึ่งมีทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและกลุ่มคนที่เห็นต่างทางการเมือง
พยานในคดีซึ่งมีความเห็นต่างทางการเมือง ซึ่งเป็นบุคคลที่เข้าให้การซ้ำๆในหลายคดี
พนักงานอัยการที่สั่งฟ้องและดำเนินคดี
และศาลซึ่งทำหน้าที่สั่งการในคดีรวมทั้งทำคำพิพากษาตลอดจนผู้บริหารในทุกระดับ
บุคคลเหล่านี้ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนและใช้กฎหมาย
ใช้กระบวนยุติธรรมเป็นเครื่องมือเพื่อจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง
ส่งผลให้มีผู้ถูกดำเนินคดีและถูกขังโดยไม่เป็นธรรมจำนวนมาก
เพื่อเป็นการป้องปรามและจำกัดขอบเขตแห่งการละเมิดสิทธิฯ
มิให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวและอีกหลายคนที่กำลังใช้บทบาทหน้าที่ของตนปฎิบัติการใช้กฎหมายมาตรา
112 อีกต่อไป
กระผมจึงขอเรียกร้องรัฐสภายุโรปได้โปรดมีมติเพิ่มเติมดั่งเช่นประเทศสหรัฐอเมริกามีมติต่อกรณีที่ประเทศไทยเนรเทศผู้ลี้ภัยฯ
ได้โปรดร่วมกันมีมติยกเลิกและงดให้หนังสืออนุญาตเดินทางเข้าประเทศ (Visa) ต่อทั้งผู้กล่าวหา
พยาน อัยการ ศาลและผู้บริหาร ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายอาญามาตรา 112
โดยไม่เป็นธรรม
ทั้งนี้
หากท่านต้องการข้อมูลและรายชื่อกลุ่มบุคคลเพิ่มเติม
กระผมยินดีนำส่งผ่านทนายความของกระผม
หรือหากต้องการเข้าพบกระผมที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
กระผมจะถือเป็นเกียรติและยินดียิ่ง
ขอแสดงความเคารพนับถืออย่างสูง
อานนท์
นำภา
18
มีนาคม 2568
ประเทศไทย
Open
Letter to European Parliament
I
am Arnon Nampa, a political prisoner held on Article 112 cases in Thailand.
Thank you very much for your concern regarding the situation of the violation
of human rights in Thailand and for your resolution regarding the use of
economic and diplomatic measures to address the problem of deportations of
refugees and the enforcement of Article 112. Subsequently, the United States
government announced the cessation of the provision of visas and entry to the
state officials involved in the deportation of refugees.
Regarding
the enforcement of Article 112, I would like to inform you that there are many
individuals involved in the violation of human rights. That is to say, there
are the accusers, who include state officials and groups of individuals with
different political views; witnesses who hold opposing political views and who
repeatedly provide testimony in many cases; prosecution officials who indict
and litigate the cases; the judges who perform the duty of issuing orders in
the cases, including the decisions; and administrative officials at many
levels. All of these individuals have significant roles in the violation of
human rights and the use of the law and the judicial process as instruments to
limit freedom of political expression. The impact of this is that there are a
large number of people unjustly prosecuted and imprisoned.
To
deter and limit the scope of the violation of human rights, and to not allow
the aforementioned individuals and many others to use their role and position
to continue to enforce Article 112, I therefore call on the European Parliament
to make an additional resolution. Similar to the action by the United States,
which issued a resolution in response to Thailand’s deportation of the Uyghur
refugees, I request that you issue a resolution to cancel and cease issuing
visas to the accusers, witnesses, prosecutors, judges, and administrative
officials who are involved in the unjust enforcement of Article 112.
If
you would like additional information and the names of individuals, I would be
happy to send my lawyer. Or if you would like to meet with me at the Bangkok
Remand Prison, it would my honor and pleasure.
With
deepest respect,
Arnon
Nampa
18
March 2025
Thailand