“กลุ่มเพื่อนบุ้ง” จัดเสวนา “ยุติธรรมที่(ยัง)ไม่มี คดีที่(ยัง)คาใจ ร่วมกันตามหาความจริง ชวนจับตาการไต่สวนการเสียชีวิต 13 ม.ค. 68 นี้ ที่ศาลจังหวัดธัญบุรี
เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2568 เวลา 17.00 น. กลุ่มเพื่อนบุ้ง จัดงานเสวนา “ยุติธรรมที่(ยัง)ไม่มี คดีที่(ยัง)คาใจ: Justice Undone, Case Unsolved” ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) โดยมีวิทยากร ได้แก่
1. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (นักเขียน นักประวัติศาสตร์ และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
2. คุณอังคณา นีละไพจิตร (สมาชิกวุฒิสภา นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน และอดีตสมาชิกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ)
3. คุณกัณวีร์ สืบแสง (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อและเลขาธิการพรรคเป็นธรรม และสมาชิกคณะกรรมาธิการว่าด้วยการส่งเสริมกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศจากสหภาพรัฐสภา (IHL from IPU))
4. คุณฐปณีย์ เอียดศรีไชย (ผู้ก่อตั้งสำนักข่าว The Reporters)
ดำเนินรายการโดย: คุณกิตติธัช ศรีอํารุง
น.ส. ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ กล่าวว่า เนื่องจากศาลจังหวัดธัญบุรีนัดไต่สวนการเสียชีวิตของ “บุ้ง เนติพร” พวกเราเพื่อนบุ้งจึงร่วมกันพูดถึง จดจำ และย้ำเตือนถึงความอยุติธรรมที่เกิดขึ้น พร้อมจับตามองอนาคตของคดีที่ยังคงคาใจและไร้ความยุติธรรมของ บุ้ง เนติพร นักกิจกรรมทางการเมืองที่ “ถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดี” และอดอาหารประท้วงในเรือนจำเพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม จนเสียชีวิตในวันที่ 14 พฤษภาคม 2567
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า หัวข้อที่ตั้งเสวนาในวันนี้คือ ประมาณ 20 ปีที่ผ่านมาคือเรื่องของความยุติธรรมจากระบบยุติธรรมไทยที่ไม่มี ทั้งยังมีคดีที่ค้างคาอยู่ในศาล และที่สำคัญคือค้างคาอยู่ในใจของพวกเราเป็นจำนวนมาก คุ้นเคยคดีของอานนท์ นำภา ผมในฐานะผู้ที่สอนวิชาประวัติศาสตร์ ตนขอออกความเห็นประวัติศาสตร์การเมืองไทย คือการใช้ Comparative Study หรือการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ ตนว่าประเทศไทยกับพม่า เหมือนๆกัน คือ พม่าอยู่ในวงจรอุบาทว์ มีแต่ปฏิวัติรัฐประหาร มีเลือกตั้งหลอก ๆ เล่น ๆ ตนอยากจะเชื่อว่าพม่าจะไปถึงประชาธิปไตยก่อนไทย พวกตนเชื่อว่า รุ่นใหม่จะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงและตนเชื่อว่าบุ้งได้เดินเข้าสู่ประวัติศาสตร์เธอจะต้องถูกจดจำไปนานแสนนาน
“คนที่กำลังต่อสู้อยู่คงจะมีวิธีการหรือวิธีการที่หลากหลาย ตนมองว่าการต่อสู้กับระบบรัฐสภาในแง่ของการเลือกตั้งก็ต้องต่อสู้ ไปในขณะเดียวกันตนมองว่าการลงถนนหรือบนฟุตบาทก็น่าจะทำต่อไป ต้องทำทุกวิถีทาง ตนอายุขนาดนี้แล้วก็ให้กำลังใจคนรุ่นใหม่ แม้ว่าจะถูกเพื่อนรุ่นเดียวกันหรือฝ่ายความมั่นคงมองว่าตนยุแยงตะแคงรั่ว ตนก็จะทำต่อไป” ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ กล่าว
นางอังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า กรณีสิทธิประกันตัวควรจะเป็นของทุกคน ในทรรศนะของตน ความพยายามของกระทรวงยุติธรรมพยายามที่จะให้มีสถานที่ควบคุมตัวให้กับผู้ต้องขังที่ยังอยู่ในชั้นพิจารณาคดี รวมถึงหลักการพักโทษ ตนจึงอยากจะขอให้สังคมไทยอดทนและช่วยกันผลักดันขับเคลื่อนสิทธิขั้นพื้นฐานเหล่านี้ เรื่องของบุ้งจะเป็นบทเรียนของกรมราชทัณฑ์ ที่จริงแล้วการอดอาหารของนักโทษเกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งเป็นเครื่องมือเดียวในการที่จะบอกกับรัฐ
นายกัณวีร์ สืบแสง สส.พรรคเป็นธรรม กล่าวว่า การที่ประเทศไทยได้เป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน จากประสบการณ์ของตนเอง ตนเชื่อในความร่วมมือประเทศว่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลง ประเทศไทยต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงในเรื่องสิทธิถึงมนุษยชนได้อย่างไร กรณีบุ้ง เนติพร เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มีการถูกเลือกปฏิบัติ ทำไมถึงยังมีริดลอนสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ พวกเราต้องร่วมกันเปล่งเสียง และแก้ไขให้ประเทศไทยมีจุดยืนในเวทีระหว่างประเทศ ตนพูดในฐานะภาคประชาสังคม ที่อยากจะให้คนมีชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเอง ประเทศไทยในฐานะเป็นสมาชิกใหม่ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ จะสามารถผลักดันวาระอย่างไร ตนวิพากษ์วิจารณ์องคาพยพทั้งหมด เรายังมองเห็นแสงสว่างในปลายอุโมงค์
”เราอย่าหมดหวังกับกระบวนการยุติธรรม เพราะเป็นสิ่งเดียวที่จะเป็นเกราะคุ้มกันให้กับเรา แต่กระบวนการยุติธรรมที่มีอยู่ในประเทศไทยต้องจำเป็นต้องมีความเปลี่ยนแปลง ขจัดการเลือกปฏิบัติ ถ้ายังมีการเลือกปฏิบัติอยู่ก็จะมองเห็นว่าไม่มีความยุติธรรม สิ่งที่เราทำได้ต้องเร่งผลักดันกฎหมายให้รับใช้คนทุกชนชั้น เพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำ“ นายกัณวีร์ สืบแสง กล่าว
นางสาวฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้ก่อตั้งสำนักข่าว The Reporters กล่าวว่า ถ้าเราไปค้นหาเรื่องคดีไต่สวนของบุ้งจะพบว่าน้อยมาก กรณีแบบนี้ก็ไม่ได้มีการติดตามความคืบหน้าอะไรเลย ซึ่งตนได้มีการสอบถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมว่าไปถึงจุดไหนแล้ว เวลาข่าวของบุ้งที่ออกไป พบมีการนำเสนอที่มีภาพลักษณ์ก้าวร้าว ถูกสังคมตีตรา และกลายเป็นสังคมไม่เคยโอบรับ ตนได้เจอบุ้ง และมองในฐานะสื่อ ในอุดมการณ์ที่ถูกถ่ายทอดมาไม่ได้ถูกสื่อสาร บุ้งเองก็ไม่เคยท้อ ตนเคยสัมภาษณ์บุ้งหลายครั้ง ซึ่งเมื่อวันที่ 6 ตุลา นั่นเป็นครั้งสุดท้ายที่ได้สัมภาษณ์บุ้ง พอวันที่บุ้งเสียชีวิต ตนมองว่ากรณีการตายของบุ้งควรจะเป็นบทเรียนของสื่อว่าคนคนหนึ่งจะตกเป็นเครื่องมือของสังคมด้วยน้ำมือของสื่อ รวมถึงจะเป็นวีรสตรีด้วยเช่นเดียวกันจากสื่อ ซึ่งสะท้อนการทำหน้าที่ของสื่อ
“ความยุติธรรมสำหรับบุ้งอาจจะไม่ได้ออกมาทางกฎหมายที่มันล่าช้า แต่ความยุติธรรมของบุ้งคือความยุติธรรมที่ได้รับจากสังคม
ที่อย่างน้อยตนมองว่าวันที่บุ้งเสียชีวิต บุ้งก็ได้รับความยุติธรรมแล้วที่คนได้จดจำในภาพหรือความทรงจำที่ควรเป็น” นางสาวฐปณีย์ เอียดศรีไชย กล่าว
#ยุติธรรมที่ยังไม่มีคดีที่ยังคาใจ