วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2568

ธิดา ถาวรเศรษฐ : ปี 53 สู้กับอำมาตย์ฯ ปัจจุบันก็ยังเหมือนเดิม!!!

 


ธิดา ถาวรเศรษฐ : ปี 53 สู้กับอำมาตย์ฯ ปัจจุบันก็ยังเหมือนเดิม!!!


[ถอดเทป] จากรายการ MatiTalk มติชนสุดสัปดาห์

เผยแพร่เมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2568

ลิ้งค์ยูทูป : https://www.youtube.com/watch?v=FcckB_9Mfmo&t=2s


คำถาม : เดิมทีปี 2553 อาจารย์เองได้นิยามการต่อสู้ว่าเราต้องสู้กับอำมาตย์ อาจารย์บอกบริบทเปลี่ยนไป ตอนนี้นิยามคืออะไร? เราสู้กับอะไรอยู่?


มันก็เหมือนกันแหละ มันก็ยังเหมือนเดิม ระบอบอำมาตยาธิปไตยเนี่ย อาจารย์เอาคำนี้มาจากยุคคณะราษฎร คืออาจารย์ปรีดีเคยบอกว่า ถ้าตราบใดที่วุฒิสมาชิกยังมาจากการแต่งตั้ง ยังไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง นั่นก็คือระบอบอำมาตยาธิปไตย ไม่ใช่ประชาธิปไตย เราเลือกใช้คำว่าระบอบอำมาตย์ฯ เป็นภาษาของตั้งแต่ในสมัยอาจารย์ปรีดี ขณะนี้มันก็ยังอยู่ในแบบเดิม


ทีนี้มันก็มี 2 ทฤษฎี ทฤษฎีหนึ่งก็อาจจะเรียกว่าเป็น Deep State ก็คือตัวระบอบอำมาตย์ฯ อยู่ใน Deep State แต่ถ้าเป็นอีกทฤษฎีหนึ่งซึ่งอาจารย์อยู่ในทฤษฎีหลังที่พูดมาในระบอบอำมาตย์ ก็เป็นเครือข่าย มันอยู่ superstructure มันเห็นกันอยู่นี่แหละ จะเป็นเครือข่ายองค์กรอิสระ เครือข่ายนายทุน หรือเป็นเครือข่ายนักวิชาการ หรือสื่อ เห็น ๆ หน้ากันกระจ่าง มันเป็นทฤษฎีเครือข่ายระบอบอำมาตยาธิปไตย แต่ว่าตัวละครมันเปลี่ยนไป เช่น เมื่อก่อนพรรคการเมืองคือพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแทนของพรรคการเมืองฝั่งระบอบอำมาตย์ฯ แต่ตอนนี้ไม่ใช่ ก็คือมี รทสช. (รวมไทยสร้างชาติ) แล้วก็มีพรรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือพรรคภูมิใจไทย ประชาธิปัตย์ลงไปแล้ว ถูกมั้ย? แล้วก็ฝั่งทางระบอบประชาธิปไตย แกนนำก็ไม่ใช่พรรคเพื่อไทยแล้ว ก็กลายเป็นพรรคประชาชน ส่วนพรรคเพื่อไทย โดยรูปการณ์ในฐานะเป็นแกนนำรัฐบาล ก็จะเรียกว่าเป็นแกนนำฝั่งจารีตก็ได้ เพียงแต่ว่าความเข้มข้นของความเป็นอนุรักษ์นิยมมันยังไม่รุนแรง ยังไม่หนักเท่าแบบเดียวกับพรรคภูมิใจไทยและ รทสช. เท่านั้นเอง ก็ยังเรียกว่ายังกลืนไม่สนิท แต่อาจารย์ก็ไม่คิดว่าเป็น “สามก๊ก” ยังเป็น 2 ขั้ว ยังเป็นระบอบอำมาตย์ที่ปกครองประชาชน แต่ประชาชนเป็นไพร่สมัยใหม่ ไพร่สมัยเดิมเขาสังกัดมูลนาย เจ้าพระยานั่น เจ้าพระยานี่ สมัยนี้ก็ไพร่ประชาชนก็สังกัดเหมือนกัน แต่ว่าไปสังกัดทำนองพรรคการเมือง หรือว่าผู้ที่มีอำนาจที่ให้คุณให้โทษได้


เพราะฉะนั้น ยังเหมือนเดิม เพราะว่ายังมีความขัดแย้งระหว่างขั้วประชาชนที่ต้องการประชาธิปไตย กับขั้วที่ต้องการรักษาโครงสร้างของฝั่งจารีตอำนาจนิยมเอาไว้ ต้องการรักษาอำนาจ พูดตรง ๆ ว่าเขาไม่ยอมคืนอำนาจให้ประชาชน ถ้าเขาคืนอำนาจให้ประชาชน มันก็ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ก็คือเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบสากล นั่นคือคืนอำนาจให้ประชาชน แต่เขาต้องการเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ก็คือมีแค่รัฐสภา แล้วก็มีป้ายเป็นประชาธิปไตย แต่อำนาจยังอยู่ที่ฝั่งอำมาตย์หมด เพียงแต่ตัวละครมันเปลี่ยนไป บางตัวละครไม่ยอมเปลี่ยน เช่น คุณสนธิ (ลิ้ม) ก็ยังเป็นหัวหน้าฝ่ายมวลชนที่แสดงบทบาทในระบอบปัจจุบัน


#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #ธิดาถาวรเศรษฐ #อำมาตยาธิปไตย