“โรม” ลงพื้นที่ด่านคลองลึก อรัญฯ ดูมาตรการเปิด-ปิดด่านไทยกัมพูชา
เห็นจะๆ ฝั่งกัมพูชาปิดประตูฝ่ายเดี่ยว ชี้นักการเมืองไทยซุกเงินในกัมพูชาจริง
เผย 7 คีย์แมนจัดหานำพาคนไปเป็นแก๊งคอลฯ ชาวบ้านร้อง
แก้สถานการณ์ปิดด่านกระทบประชาชนทำมาหากินสุจริตแต่แก๊งคอลเซ็นเตอร์รอด
วันที่
7 กรกฎาคม 2568 คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ
กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ของสภาผู้แทนราษฎร
นำโดยรังสิมันต์ โรม ประธาน กมธ.
เดินทางไปสังเกตการณ์สถานการณ์ที่จุดผ่านแดนบ้านคลองลึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
ก่อนที่
กมธ.มั่นคงฯ จะเดินเข้าด่านผ่านแดน
มีกลุ่มประชาชนดักรอยื่นหนังสือร้องเรียนผลกระทบทางด้านการค้าขายชายแดนจากสถานการณ์การควบคุมด่านชายแดนไทย-กัมพูชา
โดยในหนังสือร้องเรียนกล่าวถึงข้อเรียกร้อง 7 ข้อ
ขอให้ทบทวนมาตรการปิดด่านตามแนวชายแดน ระบุว่าการส่งออกสินค้าชายแดนนั้น
นอกจากประเทศไทยจะส่งออกไปกัมพูชาแล้ว ยังมีการส่งออกไปเวียดนามด้วย
การปิดด่านชายแดนส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตทุกภาคส่วนทั่วประเทศ
ไม่ใช่ผู้ที่อยู่ในจังหวัดชายแดนเท่านั้น ประชาชนทั่วไปที่หากินสุจริตได้รับผลกระทบต่อปากท้อง
ทั้งค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าอาหาร ค่าเล่าเรียนลูก และค่าจิปาถะอื่นๆ
แต่ในทางกลับกัน แก๊งสแกมเมอร์ แก๊งคอลเซ็นเตอร์
มีการปรับตัวตั้งแต่วันแรกที่มีมาตรการแล้ว จึงไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย
คนที่ได้รับผลกระทบกลับกลายเป็นประชาชนที่ทำมาหากินสุจริต
ดังนั้นจึงอยากให้ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบโปรดพิจารณาถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย
"ความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา
ทำให้พี่น้องประชาชนที่ไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งได้รับผลกระทบไปด้วย
เราต้องยอมรับว่าผลกระทบนี้กว้างขวางจริงๆ เพราะการค้าระหว่างไทย-กัมพูชา
มีมูลค่านับแสนล้านบาท เรายอมรับความจริงว่าเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น
ก็ต้องมีการเยียวยาช่วยเหลือจากทางรัฐบาลตามมา ผมในฐานะประธาน กมธ.
ยืนยันกับพี่น้องว่าจะไปหารือเพิ่มขึ้นกับทางรัฐบาล
เพื่อผลักดันให้มีมาตรการรองรับผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนที่เกิดขึ้นไปแล้วและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต"
"ผมไม่ได้มีอำนาจตัดสินใจ เพราะอำนาจตัดสินใจเป็นของรัฐบาล
แต่ผมจะทำอย่างดีที่สุด
เพื่อเอาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนไปหามาตรการแก้ปัญหาต่อไป ยืนยัน"
สุดท้าย
รังสิมันต์ โรม ยืนยันว่าภารกิจหลักที่ กมธ.
มาวันนี้คือการแก้ไขปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แต่เราจะไม่ทำให้การแก้ไขปัญหาหนี่ง
ก่อให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้นมา
นั่นคือการแก้ไขปัญหาคอลเซ็นเตอร์จะต้องไม่ส่งผลให้พี่น้องประชาชนตามแนวชายแดนได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจการค้าชายแดนมากขนาดนี้
หลังจากนั้น
กมธ. มีการประชุมที่ห้องประชุมศุลกากร
เพื่อร่วมพูดคุยกับส่วนราชการในการแก้ไขปัญหาต่อไป
โดยก่อนจะมีการประชุม
รังสิมันต์ โรม ตอบคำถามสื่อมวลชน
ยืนยันว่ามีนักการเมืองไทยซุกทรัพย์สินในธนาคารกัมพูชาจริง
ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับฮุน เซน ด้วย
นอกจากนี้เรายังมีข้อมูลพิกัดศูนย์สแกมเมอร์ในกัมพูชากว่า 60 แห่งอีกด้วย
จากนั้นรังสิมันต์ให้สัมภาษณ์หลังประชุมว่า
เมื่อไทยมีมาตรการควบคุมด่านและกัมพูชาปิดด่าน
เรื่องนี้ไม่มีทางออกนอกจากทั้งสองฝ่ายต้องเจรจากัน
ตนจะไปพูดคุยกับรัฐบาลว่าจะมีแนวทางอย่างไร
เพราะมีปัจจัยทั้งการเมืองในประเทศและเรื่องศาลโลกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
เรื่องการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์
เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นแต่ยังเป็นคนตัวเล็กตัวน้อย
ไม่ได้มีผลต่อโครงสร้างอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งตรงนี้ยังไม่มีการดำเนินการมาก
เบื้องต้นได้ให้ข้อมูลกับกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย
7 คนที่เป็นคีย์แมนจัดหานำพาคนไปเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์
บางคนเป็นเจ้าของพื้นที่เอกชนให้ความช่วยเหลือแก่แก๊งคอลเซ็นเตอร์
อาจต้องใช้กฎหมายฟอกเงินมาจัดการ ทั้งเรื่องเส้นเงิน การยื่นภาษี ฯลฯ
ซึ่งสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ต้องยอมรับว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ทำลายเศรษฐกิจประเทศไทยอย่างรุนแรง
เรื่องการแยกเหยื่อแยกอาชญากร
เรามีการปรับจูนกันทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม ให้กระบวนการมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ปัจจุบันมีคนไทยติดอยู่ที่ปอยเปตขั้นต่ำประมาณ 1,500-2,000 คน
โดยโทษปรับกรณีชาวต่างชาติอยู่ในประเทศเกินกำหนด (overstay) ของกัมพูชาหนักกว่าของไทย
แถมมีขบวนการเรียกเก็บเงินจากคนไทยที่ overstay ด้วย
ซึ่งเช้าวันนี้
มีทีมที่นำโดย รอมฎอน ปันจอร์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน และ กมธ.ความมั่นคงฯ
ได้เก็บภาพและข้อมูลคนที่ลักลอบเข้ามาช่องทางพิเศษซึ่งไม่ใช่แก๊งคอลเซ็นเตอร์
พวกเขาเลือกช่องทางนี้เพราะโดนรีดไถหมดแล้ว ไม่มีเงินจ่ายค่าปรับ
อาจมีคนที่มีปัญหาลักษณะนี้อีกมากที่ติดค้างอยู่ที่ฝั่งกัมพูชา
ซึ่งต้องคุยกับกระทรวงการต่างประเทศเพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป
#UDDnews
#ยูดีดีนิวส์ #กรรมาธิการความมั่นคง #ด่านคลองลึก #ชายแดนไทย #แก๊งคอลเซ็นเตอร์