“ชยพล” จี้กองทัพเรือตอบให้ชัด จะกู้เรือหลวงสุโขทัยหรือไม่
หลังเรือล่มมาปีกว่า ถามเหตุใดไม่ให้สหรัฐฯ ช่วยกู้ทั้งลำ กลับจบแค่การปลดอาวุธ
ย้ำต้องกู้เรือเท่านั้น ประชาชนจึงจะเห็นความจริง
วันที่
26 กุมภาพันธ์ 2567 ชยพล สท้อนดี สส.กรุงเทพฯ เขต 8
พรรคก้าวไกล แถลง Policy Watch หัวข้อ
“นิราศ(เรือหลวง)สุโขทัย: จากเรือรบสู่ประการังเทียม?” ที่อาคารอนาคตใหม่
พรรคก้าวไกล โดยชยพล ได้ไล่ไทม์ไลน์ของเรือหลวงสุโขทัยที่อับปางลงตั้งแต่วันที่ 18
ธันวาคม 2565 พร้อมกับกำลังพลอีก 106 นาย ซึ่งขณะนั้นกองทัพเรือได้เดินเรือออกจากฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี
มุ่งหน้าไปร่วมงานเทิดพระเกียรติพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เนื่องในวันครบรอบ 100
ปี วันคล้ายวันประสูติขององค์พระบิดาของกองทัพเรือไทย
พร้อมกันนี้
ชยพล ได้ยกการอภิปรายของอดีต สส.ก้าวไกลอย่าง พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์
ที่เคยอภิปรายถึงประเด็นการล่มของเรือหลวงสุโขทัยไว้ ว่าประกอบด้วยปัญหา 3 ประการ
ไม่ว่าจะเป็น (1) สภาพอากาศ
ในวันเกิดเหตุรายงานพยากรณ์อากาศของกองทัพเรือได้รายงานไว้ว่าคลื่มลมจะสูงประมาณ 2.5
เมตร และรายงานของเอกชนระบุไว้ว่าคลื่นจะสูงถึง 6 เมตร
ถึงอย่างนั้นหากเรือหลวงสุโขทัยถูกบำรุงรักษาอย่างถูกต้องตามงบประมาณที่ขอไป
ก็ไม่มีทางที่จะล่มได้อย่างแน่นอน (2) สภาพความพร้อมของเรือ
เช่น สมอเรือ มอเตอร์ยังมีอาการขัดข้อง มาตรวัดในเรือใช้งานไม่ได้
เครื่องจักรสั่นสะเทือนผิดปกติ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าใช้งานได้ 3 จาก 4 เครื่อง และ (3) ความผิดพลาดของการสั่งการซึ่งจุดที่เรือหลวงสุโขทัยล่ม
จะใกล้กับท่าเรือบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์
แต่เหตุใดถึงพยายามเดินเรือกลับไปสัตหีบจนอับปางในที่สุด
นอกจากนี้
ยังมีปัญหาการซ่อมบำรุงของเรือหลวงสุโขทัย
เช่นเรื่องการซ่อมบำรุงแผ่นเหล็กที่ถูกกร่อนจนบางต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งซ่อมไปเพียง 5 จุดจาก
13 จุดที่มีปัญหา แล้วไปซ่อมอีก 10 จุดที่ไม่ได้มีปัญหาอะไร
และมีคิวรอการซ่อมอยู่ถึง 19 รายการ
หลังเกิดเหตุการณ์
ตนอยากให้พี่น้องประชาชนลองคิดดูว่ากองทัพเรือนั้นคิดอย่างไร
ถึงมีท่าทีทั้งขัดแย้งกันไปมาอยู่เสมอ เช่น
หลังเกิดเหตุมีการเริ่มกระบวนการสอบสวนข้อเท็จจริง และเมื่อวันที่ 11 มกราคม
2566 กองทัพเรือได้เริ่มเปิดให้บริษัทได้ยื่นซองประมูลโครงการกู้เรือหลวงสุโขทัยเป็นครั้งแรก
ผ่านไปเป็นเวลา 2 เดือนหลังจากวันที่เรือล่ม กองทัพเรือได้แจ้งว่าผลการสอบสวนมีความคืบหน้าไปกว่า
90% ซึ่งก็คือเสร็จกระบวนการในขั้นตอนของการสอบปากคำพยานทั้งหมดเกือบ
300 คน โดยเหลือเพียงแค่การกู้เรือเพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบ
ซึ่งทางกองทัพเรือได้ให้ข่าวว่า
คาดว่าจะเริ่มกู้เรือกันได้ในเดือนเมษายนปี 2566 เป็นอย่างช้า
หลังจากผ่านไปกว่า 7 เดือน ในช่วงเดือนกันยายนปี 2566
จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ สส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล
ในฐานะกรรมาธิการการทหาร
ได้ตั้งข้อสังเกตว่ามีการล็อคสเปคในการจัดซื้อจัดจ้างหรือไม่ ทำให้ สุทิน คลังแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต้องออกมาขอสอบสวนหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
และในระหว่างวันที่
21 กันยายน 2566 กองทัพเรือก็เริ่มต้นกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างใหม่ทั้งหมด
โดยให้เหตุผลว่าเอกสารไม่ครบ ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่ค้านสายตาคนรอบข้างมาก จน
กมธ.การทหาร ต้องเชิญกองทัพเรือเข้าชี้แจง โดยชยพลตั้งคำถามว่า
กองทัพเรือเองก็ย้ำมาตลอดว่าการกู้เรือเป็นภารกิจด่วน แล้วเหตุใดจึงล้มกระดานเสียเอง
ทำให้ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่จากการเริ่มยื่นซองกันในช่วงเดือนตุลาคม 2566
ขัดกับที่กองทัพกล่าวไว้แต่แรก
ว่าพร้อมเริ่มกู้เรือตั้งแต่เดือนเมษายน 2566
ชยพล
กล่าวต่อว่า กระทั่งวันที่ 19 มกราคม 2567 ตนได้เปิดเอกสารจาก
JUSMAGTHAI 2 ฉบับ
ซึ่งมีเนื้อหาคือการทวงถามรายงานข้อเท็จจริงในกรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปาง
และการเตือนว่าตามสัญญาการใช้ยุทโธปกรณ์จากสหรัฐอเมริกา
ก่อนจะให้บุคคลที่สามมายุ่งกับยุทโธปกรณ์ของสหรัฐได้
ต้องได้รับคำยินยอมจากรัฐบาลของสหรัฐฯ ก่อน และ JUSMAG ก็ได้ส่งหนังสือมาแจ้งกองทัพเรือไทย
ให้ทำตามข้อตกลงการใช้อาวุธ โดยส่งหนังสือมาครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 แจ้งให้ส่งรายงานโดยระบุข้อมูลคือ
“วันที่เกิดเหตุ ข้อเท็จจริงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การแก้ไขข้อผิดพลาดโดยกองทัพเรือ
และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์”
ทางสหรัฐฯ
รอคำตอบจากกองทัพเรือไทยมาเกือบปี ซึ่งหมายความว่าตลอด 1 ปี
กองทัพเรือเตะถ่วงเรื่องการกู้เรือและล่าช้าในเรื่องการสรุปข้อเท็จจริงที่ควรต้องชี้แจงให้ประชาชนและประเทศคู่ค้าด้วย
ขณะที่ในวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมา ผบ.ทร.
ได้ให้สัมภาษณ์ถึงความร่วมมือกับกองทัพเรือสหรัฐฯ
ว่าจะร่วมมือกันลงไปสำรวจซากเรือหลวงสุโขทัย ลงไปถ่ายรูปสำรวจเก็บหลักฐาน
พร้อมตามหาผู้สูญหายอีก 5 นายและปลดอาวุธเรือ
แต่พอพูดถึงเรื่องการกู้เรือ กลับไม่มีระบุว่ากองทัพเรือสหรัฐฯ
จะร่วมการกู้เรือครั้งนี้ หรือจะยังคงมีการกู้เรืออยู่หรือไม่
ทั้งที่กองทัพเรือได้เข้ามาชี้แจงในสภาฯ
หลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าใน กมธ.การทหาร และกมธ.งบประมาณ 2567 ได้พูดถึงความตั้งใจจริงที่จะกู้เรือ
โดยระบุความจำเป็นของการกู้เรือไว้ 3 ข้อ คือ (1) เพราะซากเรือขวางทางเดินเรือ (2) เพื่อตามหาผู้สูญหายอีก
5 นาย และ (3) เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการสรุปข้อเท็จจริง
จึงจำเป็นต้องกู้อย่างเร่งด่วน เพื่อหาความจริงให้ครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบ
และเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาเหตุการล่มของเรือหลวงสุโขทัย
จึงจะสามารถเปิดรายงานข้อเท็จจริงทั้งหมดให้กับประชาชนได้
“ต้องกู้เรือเท่านั้นถึงจะเห็นความจริง
ต้องกู้เรือเท่านั้นถึงจะเปิดเผยรายงานได้
เข้าใจได้ว่ากองทัพเรือไทยไม่สามารถกู้เรือได้เอง
แต่ไม่เข้าใจตรงที่เมื่อมิตรประเทศอย่างสหรัฐได้มาถึงที่แล้ว ทำไมให้ช่วยไม่สุดทาง
ทำไมถึงจบแค่การปลดอาวุธ แต่ไม่กู้จิ๊กซอว์นี้ขึ้นมา หรือมันเพราะว่า
สัญญาการใช้ยุทโธปกรณ์ของสหรัฐ จะครอบคลุมแค่เฉพาะกับยุทโธปกรณ์
หากมีการปลดอาวุธแล้ว ก็จะสิ้นสถานะการเป็นยุทโธปกรณ์ในทันที ซึ่งแปลว่า
จะกู้หรือไม่กู้ จะรู้หรือไม่รู้ความจริง ก็ไม่มีใครมาบังคับได้อีกแล้ว
ชยพลกล่าวว่า
ตนจึงต้องการย้ำว่าการกู้เรือเท่านั้นถึงจะเห็นความจริง
ต้องกู้เรือเท่านั้นถึงจะเปิดเผยรายงานได้
เข้าใจได้ว่ากองทัพเรือไทยไม่สามารถกู้เรือได้เอง
แต่ไม่เข้าใจตรงที่เมื่อมิตรประเทศอย่างสหรัฐฯ ได้มาถึงที่แล้ว เหตุใดไม่ให้สหรัฐฯ
ช่วยอย่างสุดทาง ทำไมถึงจบแค่การปลดอาวุธ
“หรือเพราะว่าสัญญาการใช้ยุทโธปกรณ์ของสหรัฐฯ
จะครอบคลุมเฉพาะเมื่อตัวเรือยังดำรงสภาพการเป็นยุทโธปกรณ์ หากมีการปลดอาวุธแล้ว
ก็จะสิ้นสถานะการเป็นยุทโธปกรณ์ทันที ซึ่งแปลว่า จะกู้หรือไม่กู้
จะรู้หรือไม่รู้ความจริง ก็ไม่มีใครมาบังคับได้อีกแล้ว JUSMAG จะไม่ได้ดูแลเรือหลวงสุโขทัยอีกต่อไป
ชะตากรรมของเรือหลวงสุโขทัยจะอยู่ในมือของกองทัพเรือไทยเท่านั้น” ชยพลกล่าว
ชยพลทิ้งท้ายว่า
ตอนนี้ท่าทีของกองทัพเรือเอง ไม่มีความชัดเจนเลยว่าจะยังกู้เรืออยู่หรือไม่
ขัดกับคำพูดตลอด 1
ปีที่ผ่านมา เราจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะต้องขอให้กองทัพเรือออกมายืนยันให้ชัด
ว่าสรุปแล้วเราจะได้รู้ความจริงเมื่อใดกันแน่
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #เรือหลวงสุโขทัย #ก้าวไกล