จดหมายเปิดผนึกถึงพรรคการเมืองที่ผ่านการเลือกตั้ง (14 พ.ค.
2566)
ในฐานะสมาชิกรัฐสภาและรัฐบาล
ผลการเลือกตั้ง
2566
ได้เปิดเผยถึงความต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้เป็นสังคมแบบเสรีนิยมที่ก้าวหน้าและเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบสากลโดยประชาชน
จำนวน 25.401 ล้านคน จาก 39.5 ล้านคน ที่มาออกเสียงเลือกตั้ง คิดเป็น 64.28% ของผู้มาลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่มีผู้มาใช้สิทธิ 75.71% ของประชากรไทยทั้งหมด
แม้ในที่สุดเราจะได้รัฐบาลผสมที่มีทั้งขั้วเสรีนิยมเดิม
ร่วมกับขั้วอนุรักษ์นิยมที่เป็นรัฐบาลสืบทอดอำนาจจากการทำรัฐประหาร อย่างไรก็ตามคณะประชาชนผู้ต้องการความยุติธรรมที่ผ่านการต่อสู้ครั้งสำคัญในปี
2553 จนถึงเวลาปัจจุบัน
ประสงค์ให้หน้าใหม่ของประวัติศาสตร์ที่ก้าวหน้าของประชาชนได้เริ่มต้นอย่างแท้จริง
จากพรรคการเมืองฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล
จึงใคร่ทวงถามข้อเรียกร้องเดิม
ที่พรรคการเมืองฝ่ายค้านเวลานั้นก่อนการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566
ได้รับเรื่องและให้คำมั่นไว้เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ที่รัฐสภาและวันที่ 10
เมษายน 2566 ในงานรำลึก 13ปี เมษา-พฤษภา53
ในข้อเสนอต่อพรรคการเมืองฝ่ายค้านเวลานั้น
เรามีข้อเสนอ 8 ข้อ เป็นข้อเสนอกรณีความยุติธรรมปี 2553 มี 3
ข้อเรียกร้องที่เรายังขอยืนยัน คือ
1.
ตั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วย
ตัวแทนฝ่ายรัฐบาลที่มีอำนาจสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง,
ตัวแทนพรรคการเมืองฝ่ายค้าน และตัวแทนฝ่ายผู้สูญเสีย, นักวิชาการ,
นักสิทธิมนุษยชน, นักกฎหมาย เพื่อตรวจสอบคดีความกรณีปี 2553 ที่ถูกแช่แข็ง
บิดเบือน ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายรัฐไทยตามหลักนิติรัฐนิติธรรม
รวมทั้งคดีความที่ปฏิบัติต่อเยาวชน/ประชาชนหลังปี 2563 เป็นต้นมา
ให้เป็นไปตามกฎหมายที่ได้ลงนามหลักสิทธิมนุษยชนและกติการะหว่างประเทศขององค์การสหประชาชาติ
เร่งรัดคดีความที่เจ้าหน้าที่รัฐกระทำต่อประชาชนและยังค้างคาอยู่ที่หน่วยงานต่าง ๆ
เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ), กระทรวงยุติธรรม,
อัยการ ฯลฯ
2.
แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ พระธรรมนูญศาลทหาร, พระธรรมนูญศาลยุติธรรม,
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
กรณีที่ทหารและนักการเมืองทำความผิดทางอาญาต่อประชาชน ให้ขึ้นศาลพลเรือน
ไม่ใช่ทหารขึ้นศาลทหาร นักการเมืองขึ้นศาลนักการเมือง ดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
ทำให้ทหารและนักการเมืองไม่ได้ถูกดำเนินคดีเฉกเช่นประชาชนทั่วไป
3.
ขอให้ลงนามรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ เฉพาะกรณีเหตุการณ์ 2553
ทั้งนี้ไม่เกี่ยวกับมาตรา 6 ในรัฐธรรมนูญ
ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์แต่ประการใด ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามที่อัยการศาล ICC ได้มาแจ้งไว้กับรัฐบาลเพื่อไทยเมื่อ
1 พฤศจิกายน 2555
ส่วนข้อเสนออื่น
ๆ อีก 5 ข้อ
จะเกี่ยวข้องกับการเรียกร้องระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจแท้จริง
และการทวงความยุติธรรมให้คนรุ่นใหม่ในสถานการณ์จากปี 2563 เป็นต้นมา ไปจนถึงสถานการณ์ในอนาคตของประเทศไทย
1.
ดำเนินการเพื่อแก้ไขให้ได้รัฐธรรมนูญของประชาชนให้ได้ระบอบประชาธิปไตยแท้จริง
โดยการใช้ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ ตามสัดส่วนประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ
เพื่อดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค
โดยคำนึงถึงสนธิสัญญาตามหลักสิทธิมนุษยชน สิทธิทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ สังคม
ที่ได้ลงนามไว้ในสหประชาชาติ รวมทั้งสนธิสัญญากรุงโรมที่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน
ก็ควรให้สัตยาบันในอนาคตหลังจากแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่แล้ว
2.
แก้ไขกฎหมายอื่น อันเป็นผลพวงการทำรัฐประหาร รวมทั้ง พ.ร.บ.องค์กรรัฐซ้อนรัฐ
กอ.รมน. กฎหมายอาญามาตรา 112 และมาตรา 116 ที่กลายเป็นเครื่องมือจัดการผู้เห็นต่างทางการเมือง
3.
ดำเนินการเพื่อปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ปฏิรูปกองทัพ และองค์กรอิสระอย่างจริงจัง
เพราะ 3 แหล่งนี้เป็นกระบวนการกลุ่มอภิชนที่ยึดครองประเทศไทย ยึดอำนาจจากประชาชน
ไม่ยึดโยงกับประชาชน อำนาจกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ต้นถึงปลาย อำนาจองค์กรอิสระ
ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ล้วนต้องยึดโยงกับประชาชน รวมทั้งกองทัพ
โครงสร้างการบริหารขององค์กรเหล่านี้ ต้องให้อำนาจประชาชนควบคุมได้
ไม่ใช่สมคบกันจัดการประชาชนผู้เห็นต่างทางการเมือง
4.
กระจายอำนาจบริหารจากส่วนกลางไปยังภูมิภาค แก้ปัญหาระบบอุปถัมภ์ เจ้าขุนมูลนาย
และการคอรัปชั่นส่งนายใหญ่ตามลำดับ
ให้ผู้บริหารผ่านการเลือกตั้งของประชาชนและถูกตรวจสอบได้ง่าย
5.
ให้วุฒิสมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรงทั้งหมด หรือมาจากประชาชนโดยอ้อม
ผ่านการคัดสรรตามโควตาสส.ในรัฐสภาของพรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งทั่วไป
หรือมิฉะนั้นก็ไม่ต้องมีวุฒิสมาชิกเลย เพราะตราบเท่าที่องค์กรอิสระ ศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลปกครอง วุฒิสมาชิก ถูกแต่งตั้งจากรัฐทหารจารีต อำนาจประชาชนก็ถูกจัดการทำลาย
ยุบพรรคการเมืองโดยง่าย จับกุมคุมขัง ลงโทษประชาชนผู้เห็นต่างเหมือนเช่นทุกวันนี้
อนึ่ง
ใน 8 ข้อนี้ จะยึดโยงกับการได้รัฐธรรมนูญใหม่ของประชาชน
ซึ่งจะต้องได้มาจากประชาชนใช้อำนาจโดยตรง
ดังนั้น
การทวงความยุติธรรมให้ประชาชน 2553
จึงเกี่ยวข้องยึดโยงโดยตรงกับการได้รัฐธรรมนูญใหม่ที่ก้าวหน้าเท่านั้น
และเราสนับสนุนการนิรโทษกรรมคดีความของผู้เห็นต่างทางการเมืองที่ไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการเรียกร้องทวงความยุติธรรมของประชาชนเพื่อการฟ้องร้องเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำผิดกฎหมายทั้งในประเทศและระหว่างประเทศตามหลักสิทธิมนุษยชน
ข้อเรียกร้องของเราในกรณีการปราบปรามประชาชนปี
2553
เป็นข้อเรียกร้องให้รัฐดำเนินการตามกฎหมายของประเทศและระหว่างประเทศที่เราลงนามไปแล้วในสหประชาชาติ
จึงเป็นข้อเรียกร้องที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมายทั้งในประเทศและระหว่างประเทศทั้งสิ้น
และเพื่ออนาคตของประเทศจะได้ไม่มีการฆ่าประชาชนมือเปล่ากลางถนนครั้งแล้วครั้งเล่าอีกต่อไป
คณะประชาชนทวงความยุติธรรม
2553 (คปช.53)
29
กุมภาพันธ์ 2567
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #คปช53 #ทวงความยุติธรรม #คนเสื้อแดง