กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ
ยื่นหนังสือขอพบนายกฯเศรษฐา หารือทางออกแนวทางการทำประชามติ
กังวลคำถามไม่เปิดกว้าง กำกวม นำไปสู่การไม่สะท้อนเจตนารมณ์ที่แท้จริงของประชาชน
ขอรัฐบาลรับฟัง
วันนี้
(15 มกราคม 2567) เวลา 12.15 น.
ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 1111 ทำเนียบรัฐบาล
กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ หรือ #Conforall นำโดย นายณัชปกร นามเมือง หรือ
ถา โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw), ภัสราวลี
ธนกิจวิบูลย์ผล หรือมายด์ และนายรัชพงษ์ แจ่มจิรไชยกุล เข้ายื่นหนังสือถึงนายเศรษฐา
ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
เพื่อหารือทางออกการทำประชามติเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ผ่านนายสมคิด เชื้อคง
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
ทั้งนี้
สืบเนื่องจากตามที่คณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2560
ที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามออกคำสั่งแต่งตั้ง
ได้แถลงสรุปผลการศึกษาแนวทางการทำประชามติไปเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม
2566
จากผลสรุปดังกล่าว
ทำให้กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญอันประกอบไปด้วยองค์กรภาคประชาชนและภาคประชาสังคมไม่น้อยกว่า
43 องค์กร
มีความรู้สึกผิดหวังและมีความห่วงกังวลต่ออนาคตการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
เนื่องจากเห็นว่าแนวทางการทำประชามติดังกล่าวจะไม่เป็นที่ยอมรับจากทุกภาคส่วน
เพราะเป็นการตั้งคำถามประชามติที่มีความกำกวมและมีประเด็นให้ต้องตัดสินใจมากกว่าหนึ่งประเด็นในหนึ่งคำถาม
อันอาจจะนำไปสู่การบิดเบือนเจตนารมณ์ของประชาชน
หรือไม่สะท้อนเจตนารมณ์ที่แท้จริงของประชาชน
อีกทั้ง
การตั้งคำถามประชามติในเชิงปิดกั้นความคิด ความเชื่อ ความฝัน
ต่อการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งในระหว่างการจัดออกเสียงประชามติ
เนื่องจากตัวคำถามไม่ได้เปิดกว้างเพียงพอต่อประชาชนที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมือง
รวมถึงเป็นการนำสถาบันกษัตริย์เข้ามาสู่ใจกลางความขัดแย้งของการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยไม่จำเป็น
จนอาจกลายเป็นชนวนที่ทำให้การทำประชามติซึ่งเป็นประตูด่านแรกของการร่างรัฐธรรมนูญใหม่อย่างที่รัฐบาลมีความตั้งใจไม่ประสบความสำเร็จ
ด้วยเหตุนี้
ทางกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ
จึงมีความประสงค์ที่จะเข้าพบกับนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีในฐานะผู้มีอำนาจพิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดออกเสียงประชามติตามรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดออกเสียงประชามติเพื่อหารือทางออกเกี่ยวกับแนวทางการทำประชามติ
โดยนายรัชพงษ์
กล่าวว่า กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ เป็นส่วนหนึ่งของการล่ารายชื่อที่เคยเสนอคำถามประชามติกับคณะรัฐมนตรีไป
โดยเมื่อสิ้นปีที่ผ่านมาได้รับข่าวว่า ทางคณะกรรมการศึกษาประชามติฯ
ก็ได้มีคำถามประชามติออกมาแล้ว ที่เรามาในวันนี้เพราะรู้สึกว่ายังมีความกังวลว่า
คำถามประชามตินี้อาจจะเป็นปัญหาต่อไป โดยเป้าหมายของเราเหมือนกันคือต้องการให้ประชามติผ่าน
เราต้องการให้การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สำเร็จให้ได้
แต่สิ่งที่กังวลคือการตั้งคำถามประชามติโดยที่เอาเรื่องของเนื้อหา
และเจตจำนงของการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของประชาชนมารวมกันโดยการห้ามแตะหมวด 1 หมวด 2
อาจจะเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดคำถามว่าหมวด 1 หมวด
2 คืออะไรทำไมต้องยกเว้น และการทำให้เกิดการถกเถียง
ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยไม่จำเป็น
จึงมาวันนี้เพื่อที่จะติดตาม
โดยมี 2 ประเด็นที่อยากจะพูดให้ชัดเจน คือ
1.
การเขียนรัฐธรรมนูญหมายทั้งฉบับ ไม่ได้หมายถึงจะแก้หมวด 1 หมวด 2 หรือว่าจะไม่แก้หมวด 1 หมวด
2 แต่เราแค่บอกว่าใครจะแก้ หรือไม่แก้หมวด มาตราไหน
ก็ให้อยู่ที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) เมื่อถึงเวลาก็ไปเลือก
สสร.ที่เราอยากให้มาแก้ไขหมวดหรือมาตราตามที่เราต้องการ
2.
การเขียนคำถามประชามติล็อกว่าจะไม่แก้หมวด 1 และหมวด
2 ในขั้นแรก ไม่ได้หมายความว่าหมวดอื่น ๆ
จะไม่ถูกล็อกโดยรัฐสภา ซึ่งเราทราบดีว่าในรัฐสภามี
สว.ที่ไม่ต้องการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ
เรามองว่าการระบุลงไปเลยว่าจะเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ จะเป็นเกราะป้องกัน
ทำให้การพูดคุยกันในสภาทำได้ง่ายขึ้น เพราะมีเสียงของประชาชนผ่านการทำประชามติ
คอยสนับสนุนอยู่แล้ว
ขณะที่น.ส.ภัสราวลี
กล่าวว่า ก่อนอื่นเลยก็ขอฝากคุณสมคิดให้ช่วยทำอย่างไรก็ได้ให้ทาง"Conforall" ได้เข้าพบนายกฯเศรษฐา เพื่อหารือในประเด็นคำถามประชามติ
และในส่วนคำถามของ"Conforall" ที่มีการล่ารายชื่อ 211,904 รายชื่อ เข้าไปแล้ว ณ
ตอนนี้อยู่ในขั้นไหนแล้ว อยู่ในมือของครม.แล้วใช่ไหม
ครม.ได้เห็นคำถามของพวกเราแล้วหรือ และได้เห็นหรือเปล่าว่า 211,904 รายชื่อกว่าที่พวก้ราจะได้มาในช่วงเวลาแค่ 5 วัน
พวกเราต้องทุ่มแรงดายแรงใจนาดไหน ความตั้งใจของประชาชนทีายื่นคำถามไป
ก็อยากให้ครม.ตอบกลับว่าตอนนี้คำถามประชาชนอยู่ตรงไหนแล้ว ได้เห็นหรือเปล่า
ด้านนายสมคิด
กล่าวว่ากรณีที่ยื่นหนังสือเรื่องคำถามการทำประชามติ เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ในที่ประชุมของคณะกรรมการฯ พยายามจะบอกเงื่อนไข แต่มีเสียงสะท้อนมาว่า
ทำไมต้องมีเงื่อนไข ซึ่งความจริงมีหลายกลุ่มถามเราว่า
จะต้องเปิดกว้างในคำถามก่อนหรือไม่ และจะเสี่ยงหรือไม่
นายสมคิดระบุด้วยว่า
สามารถมองได้สองมุม มุมหนึ่งบอกว่าถ้าเปิดกว้างไปก็เสี่ยงที่จะไม่ผ่านประชามติ
อีกมุมหนึ่งบอกว่าเปิดกว้างก็ผ่าน จึงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่
การมายื่นหนังสือในวันนี้ก็เป็นเรื่องที่ดีทำให้ได้ฟังประชาชนจำนวนหนึ่งว่ามีความต้องการแบบไหน
ประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญนายสมคิดระบุว่า
ทุกพรรคการเมืองมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไข ดังนั้นในส่วนของคณะรัฐมนตรี(ครม.)ตอนนี้
รายละเอียดยังไม่มี
โดยทั้งนี้แต่ละพรรคมีเป้าหมายของแต่ละพรรคอยู่แล้วเพียงอต่จะเอามารวมกันอย่างไรถึงจะเดินได้
บวกเกินไปก็ไม่ได้ลบเกินไปก็ไม่ดี สิ่งเหล่านี้ต้องมาคุยกัน
ส่วนเรื่องรายชื่อที่ทางกลุ่มฯ
ยื่นมาตนเพียงแต่ทราบแต่ว่ายังไม่เห็นเรื่อง แต่จะเร่งติดตามให้
โดยให้ฝ่ายสำนักเลขาฯติดตามว่าเรื่องต่าง ๆ ที่ร้องไปถึงไหนแล่ว
ขอยืนยันว่าเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นของภาคประชาชน ตนไม่เคยทิ้ง
โดยอยากให้ทุกส่วนมั่นใจว่า
เราต้องการแก้รัฐธรรมนูญ เราจะยืนอยู่กับรัฐธรรมนูญ 60 ไม่ได้
ใครมาเป็นรัฐบาลก็ทำงานยากเพราะติดขัดไปหมด
ตนมั่นใจว่าทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลเห็นตรงกันว่าจะแก้
เพียงแต่ไปตกลงในรายละเอียดเท่านั้นเอง
ทั้งนี้นายสมคิดทิ้งท้ายว่า
จะช่วยประสานงานให้กลุ่ม"Conforall" เข้าพบนายกฯเพื่อที่จะได้พูดคุยกันต่อไป
ทั้งนี้ทางกลุ่ม"Conforall" ระบุว่า
จะรอจนถึงสิ้นเดือนนี้หรือก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติเคาะคำถามประชามติและจัดทำ
โดยภัสราวลี
กล่าววาาถ้าเกิดสิ้นเดือนนี้ยังไม่สามารถเข้าพบนายกฯได้ก็จะมีการทวงถามต่อไป
แต่จะทวงถามในรูปแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับ ท่าทีของท่านนายก
ด้านรัชพงษ์
กล่าวเสริมว่า ต้องทำให้ชัดเจน แม้ว่าจะมีคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติฯ
จะมีการเสนอคำถาม แต่นั่นเป็นเพียงแค่ข้อเสนอ
ไม่ใช่มติคณะรัฐมนตรีซึางตามกฏหมายต้องเป็นมติคณะรัฐมนตรีเท่านั้น โดยมีนายเศรษฐา
นายกฯนั่งเป็นประธาน ดังนั้นความรับผิดชอบ การตัดสินใจอำนาจหน้าที่อยู่ในมือของคุณเศรษฐา
นายกฯเพียงคนเดียว ก็ต้องมาติดตามดูว่านายเศรษฐาจะคิดอย่างไรในเรื่องนี้ รัชพงษ์
กล่าวทิ้งท้าย
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #conforall #ประชามติ #รัฐธรรมนูญใหม่