ศาลอาญากรุงเทพใต้ให้ปล่อยชั่วคราว
‘เเบม’ ไม่มีเงื่อนไข ระบุ การกำหนดเงื่อนในการปล่อยชั่วคราวใด
ๆ ในช่วงเวลานี้ มิใช่สาระสำคัญและจำเป็นยิ่งไปกว่าการคุ้มครองดูแลชีวิตของจำเลย
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ผู้อำนวยการ รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ยื่นคำร้องต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ขอปล่อยชั่วคราว น.ส.อรวรรณ ภู่พงษ์ หรือ แบม จำเลยที่ 7 ในคดีหมายเลขดำ อ.765/2565
โดยศาลอาญากรุงเทพใต้
พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ผู้ร้องเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลที่ทำการรักษาจำเลยที่ 7
ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา
106 แต่เมื่อความปรากฏตามคำร้องทำนองว่า
จำเลยยืนยันปฏิเสธการรักษาและแจ้งความประสงค์ที่จะรับการรักษาจากโรงพยาบาลภายนอก
โดยยังคงไม่รับประทานอาหาร
อาการโดยรวมของจําเลยที่
7 เลวร้ายลงมากจนอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้
เนื่องจากมีภาวะคีโตนในเลือดสูงมากขึ้นและประสิทธิภาพการทำงานกรองของเสียของไตลดลงอย่างมาก
จำเลยอยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะแก่การควบคุมตัวระหว่างพิจารณาคดีและสุขภาพร่างกายอยู่ในภาวะวิกฤตอย่างยิ่ง
หากยังคงควบคุมตัวจำเลยเอาไว้มีโอกาสที่จำเลยอาจเสียชีวิตระหว่างการควบคุมตัวได้สอดคล้องกับรายงานการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่และหนังสือของทัณฑสถานหญิงกลาง
ที่อ้างถึงแถลงการณ์ของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
จึงน่าเชื่อว่า
อาการเจ็บป่วยของจำเลยที่ 7 อยู่ในขั้นวิกฤต หากจำขังจำเลยที่ 7 ต่อไป จำเลยที่ 7
อาจจะถึงอันตรายแก่ชีวิตเช่นนี้ การกำหนดเงื่อนในการปล่อยชั่วคราวใด ๆ
ในช่วงเวลานี้
จึงมิใช่สาระอันสำคัญและจำเป็นยิ่งไปกว่าการคุ้มครองดูแลชีวิตของจำเลยที่ 7
ทั้งจำเลยที่ 7 เจ็บป่วยถึงขั้นเป็นอันตรายแก่ชีวิต โอกาสที่จำเลยที่ 7
จะก่อภัยอันตรายหรือสร้างความเสียหายหลังจากการปล่อยชั่วคราวจึงเป็นไปได้ยาก
อีกทั้ง จำเลยที่ 7
เคยได้รับการปล่อยชั่วคราวมาแล้วช่วงเวลาหนึ่งและไม่มีพฤติการณ์ที่จะหลบหนี
เมื่อความปรากฏต่อศาลเช่นนี้
อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 วรรคสาม และมาตรา 108
วรรคสอง จึงเห็นควรอนุญาตให้ปล่อยจำเลยที่ 7 ชั่วคราวโดยไม่มีประกัน
ออกหมายปล่อยจําเลยที่ 7 และหมายแจ้งคำสั่งให้จำเลยที่ 7 และผู้ร้องทราบ กำชับให้จำเลยที่ 7
มาศาลตามที่นัดไว้แล้วด้วย
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #ตะวันแบม