วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

เด็กหญิงวัย 14 ปี ถูกออกหมายเรียกม.112 อ่านแถลงการณ์หน้า UN เรียกร้องเคารพสิทธิเด็ก ให้รัฐไทยปฏิบัติตามหลัก ICCPR ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง


เด็กหญิงวัย 14 ปี ถูกออกหมายเรียกม.112 อ่านแถลงการณ์หน้า UN เรียกร้องเคารพสิทธิเด็ก ให้รัฐไทยปฏิบัติตามหลัก ICCPR ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

 

ตามที่ก่อนหน้านี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีเด็กหญิงอายุ 14 ปี ได้รับหมายเรียกในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากสน.สำราญราษฎร์ โดยมีผู้กล่าวหาคือ อานนท์ กลิ่นแก้ว แกนนำกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.)

 

อย่าไรก็ตาม ในหมายไม่ได้ระบุพฤติการณ์อันเป็นที่มาที่ทำให้ถูกดำเนินคดี เพียงแต่ระบุว่าเหตุเกิดเมื่อ 14 ต.ค. 2565 บริเวณเสาชิงช้า

 

ทั้งนี้หมายเรียกออกวันที่ 6 ก.พ. 2566โดยมี ร.ต.อ.โยธี เสริมสุขต่อ รองสารวัตรสอบสวน สน.สำราญราษฎร์ เป็นผู้ออกหมาย โดยระบุว่าให้ไปรับทราบข้อกล่าวหา มาตรา 112 ในวันที่ 15 ก.พ.นี้ เวลา 10.00 น. แต่เบื้องต้นได้มีการเลื่อนไป นั้น

 

ล่าสุดวันนี้ (18 ก.พ. 66) เวลา 15.30 น. ที่หน้า องค์การสหประชาชาติ (UN) ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ ธนลภย์ (ขอสงวนนามสกุล) หรือสหายนอนน้อย เด็กหญิงวัย 14 ปี ได้อ่านแถลงการณ์เรื่องการใช้มาตรา112และกระบวนการยุติธรรมลิดรอนสิทธิเด็กและเยาวชนจากอำนาจรัฐไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

ตามที่ข้าพเจ้า ด.ญ.ธนลภย์ (ขอสงวนนามสกุล) ซึ่งปัจจุบันกําลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครฯ ข้าพเจ้าได้รับหมายเรียกในข้อกล่าวหา ดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาต มาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อันเป็นข้อกล่าวหาที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งองค์การสหประชาชาติ (UN) ได้แจ้งเตือนมายังรัฐไทยให้ยุติการใช้ มาตรานี้เล่นงานผู้เห็นต่างทางการเมืองมาก่อนหน้านี้ในหลายวาระ

 

ปัจจุบันยังมีคนถูกคุมขังถูกดำเนินคดีเพียงแค่เพราะการแสดงออกทางการเมือง การแสดงความคิดเห็น หรือ การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองต่างๆ โดยก่อนหน้านี้ตำรวจได้เคยติดตามมาคุกคามถึงบ้านข้าพเจ้าถึง 2 ครั้ง ในครั้งที่ 2 ได้พูดจาข่มขู่ครอบครัวของข้าพเจ้า และได้ติดตามไปยังโรงเรียนของข้าพเจ้า แต่คุณครูไม่อนุญาตให้ ตำรวจกลุ่มดังกล่าวเข้าพบ

 

ในขณะที่นักกิจกรรมเยาวชน ตะวัน ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และ แบม อรวรรณ ภูพงษ์ กําลังอดอาหารและน้ำ เพื่อประท้วงให้ศาลซึ่งเป็นองค์กรของคู่กรณีในมาตรา 112 ปล่อยนักโทษทางการเมืองเพื่อออกมาสู้คดีและ เรียกร้องให้พรรคการเมืองมนีโยบายยกเลิกมาตรา112และมาตรา116ที่รัฐใช้คุมขังนักกิจกรรมที่ผ่านมา ตะวัน ทานตะวัน ต้องสวมใส่กำไล EM ถูกจํากัดไม่ให้ออกนอกเคหะสถานตลอด 24 ชั่วโมง (House Arrested) เว้นแต่ยื่นคําร้องต่อศาล แบม อรวรรณ ก็ต้องสวมใส่กำไล EM เช่นกัน

 

เก็ท โสภณ สุรฤทธิ์ธํารง และ ใบปอ ณัฐนิช ดวงมุสิกต์ ถูกถอนประกันตัวเนื่องจากเข้าร่วมกิจกรรมราษฎรหยุด เอเปค 2022 เพื่อทวงถามความเป็นธรรมตอ่ กรณีคฝ. ใช้ความรุนแรงต่อ "พายุ ดาวดิน" ที่ถูกกระสุนยางจาก เจ้าหน้าที่รัฐจนตาบอด

 

ที่ผ่านมาเก็ท โสภณ สุรฤทธิ์ธํารง ถูกกักบริเวณภายในเคหะสถาน แม้แต่จะไปทำงานก็ไม่สามารถไปได้ จะไป ไหนต้องยื่นคําร้องต่อศาลและใบปอ ณัฐนิช ดวงมุสิทธิ์ ต้องสวมใส่กำไล EM และถูกจํากัดเวลาออกจากเคหะสถาน

 

ตามหลักการนิติปรัชญาแล้วมาตรา 112 มีปัญหาในการมีอยู่ ในคดีที่เกิดขึ้นต่อข้าพเจ้าและประชาชนไทยอีก หลายราย ในตัวบทแห่งคดีอาญามาตรา 112 มีระบุในตัวบทว่า การกระทำของผู้ซึ่งเป็นผู้ต้องหาเป็นการ ละเมิดต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ฉะนั้นแล้วพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงเป็นผู้ถูกกระทำ ซึ่งนับเป็นผู้เสียหายแห่งคดีนี้ โดยตรง

 

ซึ่งตำรวจ และศาลต่างก็ล้วนแต่เป็นองค์กรของกษัตริย์ เป็นคนของกษัตริย์ เป็นข้าราชการของกษัตริย์ มีส่วนได้ ส่วนเสียต่อคู่กรณีผู้เสียหายฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดี ตำรวจ และศาลล้วนได้รับการประดับยศจากกษัตริย์ ที่สถานี ตำรวจมักมีรูปกษัตริย์และราชินีติดอยู่ตามผนัง ที่สำนักงานศาล และเหนือบังลังก์พิจารณาคดีก็มีรูปของกษัตริย์ และราชินีติดอยู่เช่นกัน นั่นแสดงถึงความไม่เป็นกลางทางคดีระหว่างข้าพเจ้า และกษัตริย์ผู้เสียหายแห่งคดี

 

ไทยเข้าเป็นภาคี ICCPR กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 และมีผลใช้บังคับกับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2540 โดย สาระสำคัญในหลัก ICCPR ว่าด้วยการกล่าวถึง สิทธิในการกำหนดเจตจํานงตนเอง ว่าด้วยการกล่าวถึงพันธกรณีของรัฐภาคีที่รับรองจะเคารพและประกันสิทธิ ของบุคคล รวมถึงการห้ามเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็น ทางการเมือง สัญชาติ สถานะทางเศรษฐกิจ สังคม ถิ่นกำเนิด หรือสภาพอื่นใด และว่าด้วยการกล่าวถึงสาระของ สิทธิในส่วนที่เป็นสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อาทิ เสรีภาพในการมีชีวิต เสรีภาพจากการถูกทรมาน การห้ามมิให้บุคคลถูกจับกุมตามอำเภอใจ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก

 

โดยประเทศไทยในขณะนี้แทบจะไม่ปฏิบัติตนตามหลัก ICCPR ตามที่ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติ

 

เนื่องจากข้าพเจ้ายังเป็นเยาวชน ข้าพเจ้าควรได้รับสิทธิเด็ก ตามที่ประเทศไทยลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิ เด็ก นั้นคือ 1.สิทธิที่จะมีชีวิตรอด โดยข้าพเจ้าควรได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างเหมาะสม 2.สิทธิที่จะได้รับ การปกป้องคุ้มครอง โดยข้าพเจ้าต้องถูกคุ้มครองจากความรุนแรงทั้งทางกาย และใจ 3.สิทธิว่าด้วยการศึกษา ข้าพเจ้าสามารถรับข่าวสารจากสื่อที่หลากหลาย 4.สิทธิที่จะมีส่วนร่วม ข้าพเจ้า และเด็ก ๆ เยาวชน ต้องสามารถ มีส่วนร่วมในการแสดงออกถึงสิทธิ และเสรีภาพ

 

ฉะนั้นแล้วศาล และตำรวจไทยจึงไม่มีศักดิ์ และสิทธิ์ใด ๆ ในการดำเนินคดีอาญามาตรา 112 จากปัญหาความ ไม่เป็นกลางระหว่างคู่กรณีดังกล่าวของทั้งตำรวจ และศาล

นักสู้ ไม่ใช่นักโทษ

หยก ธนลภย์ (ขอสงวนนามสกุล)

 

สำหรับบรรยากาศด้านหน้า UN มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งในและนอกเครื่องแบบกระจายกำลังโดยรอบ รวมถึงมีพี่น้องประชาชนหลากหลายรุ่นวัยมารอให้กำลังใจสหายนอนน้อย รวมถึงร่วมสังเกตการณ์ในการอ่านแถลงการณ์ครั้งนี้ด้วย

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #นักสู้ไม่ใช่นักโทษ #ม112