อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ประเด็น : จับสัญญาณ
การชุมนุมไล่นายกฯ ในรายการ TODAY LIVE
จับสัญญาณการเมืองนายกรัฐมนตรี
เดินหน้าต่อ ไม่ยุบสภาหรือลาออก ต้องเผชิญนิติสงคราม และ การชุมนุมขับไล่
นอกจากนั้นยังเสียอำนาจในการบริหารจัดการชายแดน ให้กองทัพ แบบเต็มรูปแบบ
หลังจากคลิปเสียง รัฐบาลจะเดินหน้าถึงไหน
[ถอดเทป] อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ในรายการ TODAY
Live
ออกอากาศเมื่อ
26 มิถุนายน 6258
ดำเนินรายการโดย
อภิสิทธิ์ ดุจดา สำนักข่าว
TODAY
ลิ้งค์รายการ : https://www.youtube.com/watch?v=t75tdu0P2X4&t=4680s
เก่ง-อภิสิทธิ์ : การชุมนุมที่จะเกิดขึ้นในวันเสาร์นี้
(28 มิ.ย. 68) อาจารย์มีความเห็นอย่างไร?
อ.ธิดา
ถาวรเศรษฐ :
ในความเป็นจริง ถ้าเป็นข้อเรียกร้องในกรณีของการให้นายกฯ ลาออก จริง
ๆ โดยปกติถ้าเป็นโดยทั่วไปอาจารย์ก็คิดว่ามีคนจำนวนมากก็เห็นด้วยเรื่องที่ว่านายกฯ
ควรจะลาออก เพราะว่ามันก่อให้เกิดปัญหาและเรื่องเกี่ยวกับวุฒิภาวะ
แต่อาจารย์ก็ไม่ได้คิดว่าเขาตั้งใจจะมาชุมนุมเพื่อให้นายกฯ ลาออกอย่างเดียว
ก็คืออาจจะจั่วหัวอันนั้น แต่ว่าในที่สุดก็มีการพูดถึงเรื่องอำนาจอธิปไตย
มีบอกว่านายกฯ ลาออก แล้วก็อำนาจอธิปไตย
แล้วก็พยายามจะบอกว่านี่ไม่ได้นำไปสู่การรัฐประหาร
ข้อสุดท้ายนี่ก็คือเป็นการแก้ข้อที่ว่า ถ้าเราดูหน้าตาของผู้ที่มาเรียกร้องให้มีการชุมนุม
มันก็ทำให้ย้อนกลับไปนึกว่าในปี 2549 ก็เรียกร้องให้มีการทำรัฐประหาร
ก็เกิดรัฐประหารปี 2549 การชุมนุมตั้งแต่ปี 2548 ส่วนอีกชุดหนึ่งก็คือ กปปส.
ก็ทำให้เกิดการรัฐประหารปี 2557 แล้วก็มีการฉลอง
นั่นก็คือ
เป็นการปฏิเสธครรลองระบอบประชาธิปไตย ในอดีตนะ นี่เราพูดในอดีต
เราไม่ได้หมายถึงที่จะเกิดขึ้น ในอดีตปฏิเสธครรลองประชาธิปไตย
และโดยเฉพาะแม้กระทั่งปี 2557 ขัดขวางการเลือกตั้งด้วย
ที่มีรูปคนถือไฟฉายจำได้มั้ยคะ? แล้วมีปืนรั้ว!!!
มันไม่มีม็อบที่ไหนในโลกนี้ที่เขาไปขัดขวางการเลือกตั้ง มีที่ไทยหนึ่งเดียว
เพราะฉะนั้น เมื่อมาปรากฏตัวทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นพันธมิตรฯ แล้วก็ กปปส.
อาจจะมีคนหน้าใหม่ไปแซมบ้าง แต่ว่าโดยหลักแล้วก็ยังเป็นคนหน้าเดิม ดังนั้น
1)
คนก็คิดไปว่ามันจะนำไปสู่อะไร? ทำให้เกิดภาวะที่เป็นอนาธิปไตย
แล้วก็จะนำไปสู่ความรุนแรง หรือเปล่า?
2)
ก็พูดถึงเรื่องมารักษาอำนาจอธิปไตยของประเทศ มันก็ทำให้คิดว่าอันนี้ “รักชาติ”
หรือ “คลั่งชาติ”
ส่วนอันที่
1 ก็คือแน่นอนว่า ลาออก ก็คือเป็นปัญหาที่หลายคนเข้าใจรับได้
แต่มันไม่จำเป็นต้องระดมถึงขนาดนี้ เพราะพูดกันด้วยเหตุผลได้ และสามารถใช้เวทีรัฐสภาหรือทุกสื่อ
ลงในโซเชียลหรืออะไรก็ได้ มันไม่จำเป็นที่จะต้องจัดหนักถึงขนาดนี้
เพราะฉะนั้นนี่จึงเป็นสิ่งที่ทำให้คนสงสัย
เพราะว่าเหตุการณ์ในอดีตมันปฏิเสธไม่ได้ว่ามันทำให้คนคิดไปอย่างนั้น
แล้วอีกด้านหนึ่งก็คือว่า
หลายคนคงคิดว่าตอนนี้เราไม่มีสี แต่ในทัศนะอาจารย์ มันเกิดสิ่งที่เรียกว่า
ฟากที่เป็นอนุรักษ์นิยม จารีตนิยม กับฟากเสรีประชาธิปไตย มันยังดำรงอยู่ชัดเจน
เพราะฉะนั้น ก็เลยทำให้ม็อบนี้ในทัศนะของอาจารย์นะ คนเสื้อแดงที่รักพรรคเพื่อไทย
แน่นอน...ไม่ไป และคนเสื้อแดงที่ไม่เอาพรรคเพื่อไทย
หมายถึงว่าไม่โหวตให้เพื่อไทยนะ ก็ไม่ไป
เพราะแนวความคิดที่ว่ายังมีสองค่ายมันยังดำรงอยู่ เขาโกรธพรรคเพื่อไทยข้ามขั้ว
แล้วเขาจะข้ามขั้วไปอยู่กับม็อบอีกข้าง เขาก็คงทำไม่ได้
เพราะฉะนั้นนี่คือคนเสื้อแดง
แล้วถ้ามาถามกลุ่มทั่วไปที่แม้กระทั่งสลิ่มที่เขาจะเป็นด้อมส้มหรืออะไรก็ตาม
ก็ไม่เห็นว่ามีใครจะคิดไป กลุ่มเยาวชนก็เหมือนกัน ทั้งหมดนี้เพราะว่า “ค่าย”
สงครามระหว่างฝั่งอำนาจจารีตนิยม กับประชาชนที่เป็นเสรีประชาธิปไตย มันยังดำรงอยู่
แม้นจะไม่เห็นชอบกับการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี แต่ว่าสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า
นั่นก็คือ สงครามระหว่างการที่ไม่ยอมคืนอำนาจให้กับประชาชนของฝั่งจารีตอำนาจนิยม
กับประชาชนที่ต้องการอำนาจ มันยิ่งใหญ่กว่าการที่ให้นายกฯ คนหนึ่งออกหรือไม่ออก
อาจารย์คิดอย่างนั้นนะ ดังนั้นมันจึงเป็นภาพที่ให้เห็นว่าการชุมนุมน่าจะมีเป็นแต่พลังฝั่งจารีตเป็นส่วนใหญ่
ก็คือศิษย์เก่าที่มาร่วมม็อบ คนใหม่ ๆ ก็ไม่น่าจะมา
แต่ว่าก็มีคนได้ยินข่าวว่าจะมีคนต่างจังหวัดใช่มั้ย? มา อันนั้นไม่รู้ด้วย
เก่ง-อภิสิทธิ์ : เขาบอกตั้งแต่แรกเลยว่าไม่เอารัฐประหาร
อ่านการชุมนุมครั้งนี้หน่อยว่ามันคืออะไรถ้าบอกคนที่ติดตาม TODAY LIVE อยู่ การชุมนุมในวันเสาร์นี้สะท้อนนัยอะไรได้บ้าง?
อ.ธิดา
ถาวรเศรษฐ :
คืออาจารย์มองมันมีสองภาพ
ภาพหนึ่งก็คือเป็นภาพรวมของฝั่งจารีตอำนาจนิยม เป็นการมองแบบยุทธศาสตร์
อีกภาพหนึ่งเรามามองว่าพูดถึงตัวแกนนำที่ต้องออกมา ทำไมต้องออกมา
เพราะฉะนั้น
กลยุทธ์ที่บอกว่าถ้าดูภาพในเชิงยุทธศาสตร์
เอาพรรคเพื่อไทยเข้ามามันเป็นความจำเป็นของคนที่วางกลยุทธ์
ที่จะต้องเอาศัตรูที่เป็นตัวรอง เพื่อป้องกันศัตรูหรือเพื่อมาสู้กับศัตรูตัวที่แข็งแรงกว่า
อันนี้มันเป็นเชิงยุทธศาสตร์กลยุทธ์ที่เรียกว่าเอามาทำ
แต่ในขณะเดียวกันนั้นในฝั่งอนุรักษ์จารีตนิยมมันไม่ได้เป็นเอกภาพ
ก็จะมีพวกสุดโต่งอยู่พวกหนึ่ง
ส่วนหนึ่งก็เคยเป็นอดีตที่เคยโจมตีพรรคเพื่อไทยหรือคุณทักษิณอย่างเต็มที่
คือตอนนั้น ต้องพูดตรง ๆ ด่าอย่างสาดเสียเทเสีย ความจริงถ้าพรรคเพื่อไทยเขาคิดเชิงกลยุทธ์นะ
มาอยู่เป็นพวกเดียวกันแล้วนะ เพราะถ้าไม่อย่างนั้นแล้ว
ฝั่งนี้จะเป็นรัฐบาลไม่ได้ถ้าไม่มีเพื่อไทย แล้วจะให้ใครเป็นรัฐบาล
จะให้พรรคประชาชนเป็นรัฐบาลอย่างนั้นหรือ? เพราะตัวเองพ่ายแพ้หมด แต่เขาไม่ได้คิดในเชิงนั้น
อันนี้มันเป็นการคิดในกลุ่มของพวกที่สุดโต่ง
แสดงว่าฝั่งจารีตอำนาจนิยมนี้ไม่ได้เป็นเอกภาพ
แม้กระทั่งถ้าคุณดูอดีตวุฒิสมาชิก
มีบางพวกก็ยังออกมาเชียร์พรรคเพื่อไทย
เพราะอันนั้นเขามองในเชิงกลยุทธ์ว่าถ้าไม่มีเพื่อไทย
ก็ตั้งรัฐบาลของจารีตนิยมไม่ได้ เพื่อไทยกลายเป็นแกนนำของฝั่งเดียวกัน
แต่ว่าในขณะเดียวกัน อาจารย์เคยพูดตั้งแต่ตอนเขาข้ามขั้วแล้ว
อาจารย์บอกว่าพวกนี้เขาไม่เป็นเอกภาพกันนะ
ไม่ใช่ว่าพอมาเป็นรัฐบาลและเป็นแกนนำแล้ว ฝั่งจารีตอำนาจนิยมทั้งหลายจะสงบเสงี่ยม
อ๋อ...ตอนนี้พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลแล้วเราก็ต้องอุ้มชู ไม่ใช่!!!
ตรงข้าม!!!
เพราะว่ามันเคยมีเรื่องราวในอดีตที่มันแค้นกันอย่างล้ำลึก
ถ้าตอนนี้รับรองแปลว่าครั้งที่แล้วผิด ที่เคยไปว่าเอาไว้แปลว่าตัวเองผิดหมด
และคนเหล่านี้ในทัศนะของอาจารย์นะ
ขออภัย ที่แล้วมาที่เขาทำ เขาไม่ได้คิดหรอกว่าข้างหน้าจะเป็นอย่างไร
แต่เขารู้อย่างเดียวว่าระบอบประชาธิปไตยทำให้ฝั่งจารีตแพ้
เพราะว่าคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งทุกครั้งจะแพ้
เพราะฉะนั้นเขาจะยินดีกับการมีนายกฯ พระราชทาน หรือการทำรัฐประหาร
อันนี้คือประวัติในอดีต
แล้วอาจารย์คิดว่าเขาไม่ได้สนใจยุทธศาสตร์ที่ไปเอาพรรคเพื่อไทยมา เขาคงไม่เห็นด้วย
แล้วเขาไม่สนใจว่าแล้วจะทำอย่างไรต่อ
เพราะว่าถ้าไม่มีพรรคเพื่อไทยก็ตั้งรัฐบาลไม่ได้ เสียงก็ไม่พอ
เก่ง-อภิสิทธิ์ : อาจารย์อ่านให้ฟังหน่อย
ที่อาจารย์บอกว่าม็อบการชุมนุมครั้งนี้ไม่ใช่แค่ต้องการให้นายกฯ ลาออก
ต้องการอะไรจริง ๆ แล้ว?
อ.ธิดา
ถาวรเศรษฐ :
คือมีคณะบุคคลจำนวนหนึ่งซึ่งเคยมีอดีตเคียดแค้นมาก เขาไม่ได้มาเกี่ยวกับการตั้งรัฐบาลของฝั่งจารีตนิยม
เพราะฉะนั้นในส่วนที่มีทั้งกลุ่มสุดโต่ง หรือกลุ่มที่มีความแค้นส่วนตัว
หรือกลุ่มที่ไม่ได้สนใจว่าตัวเองจะต้องเข้ามาอยู่ในยุทธศาสตร์ที่จะต้องปกป้อง
ไม่ได้มีวิธีคิดที่จะเดินไปตามครรลองประชาธิปไตย
แต่ถ้าเป็นฝั่งจารีตหรืออนุรักษ์นิยมที่คิดว่ายังไงก็ต้องเดินไปทางระบอบประชาธิปไตย
ต้องมีการเลือกตั้ง ต้องมีพรรคการเมืองในฝั่งจารีตขึ้นมาเป็นพรรคนำในรัฐบาล
ถ้าคิดแบบนี้ก็คงจะไม่มีการต่อต้านอย่างรุนแรง ทีนี้กลุ่มสุดโต่ง อาจารย์มองว่า
ถ้าจะใช้ภาษาว่าเป็นอนาธิปไตยก็ได้ คือไม่ได้สนใจครรลองของระบอบและระบบ
ก็ถือว่าเอา “บุคคล” เป็นด้านหลัก ไม่ได้เอา “ระบอบ” กับ “ระบบ” เป็นด้านหลัก
เพราะบุคคลที่ได้รับการถูกโจมตีว่าเป็นตัวเลวร้ายในอดีตถึงปัจจุบัน
ความจริงที่อาจารย์พูดนี่พูดแบบเป็นคนดูนะ
เพราะทุกคนต้องเข้าใจว่าขณะนี้อาจารย์ก็ไม่พอใจที่พรรคเพื่อไทยข้ามขั้วไปอยู่ฝั่งจารีต
แต่เมื่อข้ามไปแล้ว อาจารย์เคยทำนายไว้แล้ว
แม้กระทั่งในรายการนี้ว่าไม่รู้จะถูกถีบออกมาเมื่อไหร่ ถ้าถีบได้เขาก็ต้องถีบ
ถ้าถีบไม่ได้เขาก็ต้องเก็บเอาไว้แล้วก็ต้องเขกศีรษะเป็นระยะ ๆ
แล้วก็ต้องจัดการให้นายกฯ ออกไปทีละคน ๆ
ความสุดโต่งที่เป็นอนาธิปไตยมันก็เลยกลายเป็นดูภาพของแกนนำจะมีลักษณะแบบนี้
แล้วในนี้ยังมีคำประกาศว่า “ปกป้องอธิปไตย” มันก็จะประหนึ่ง
ถ้าเราจำได้ในเหตุการณ์ตอนที่มีเรื่องเขาพระวิหารรอบ 2
ก็ตอนนั้นมีข้อเสนอว่าบริเวณรอบเขาพระวิหารมาหาผลประโยชน์ร่วมกัน
แล้วแบ่งกันคนละครึ่ง ทีนี้ก็มีกลุ่มที่บอกว่า ไม่ได้ เขาได้แต่เฉพาะตัวปราสาท รอบ
ๆ นี้ต้องเป็นของไทย สุดท้ายเขมรเอาไปขึ้นศาลโลกอีกรอบหนึ่ง แล้วเราก็แพ้
ดังนั้น
เมื่อกี้ที่เก่งบอกว่าต้องดูอีกว่าฝั่งโน้นจะมีอะไรเกิดขึ้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น
1) ปัญหานายกฯ ที่ว่าให้ลาออก อาจารย์ว่าอันนี้
การที่ว่าไม่เห็นด้วยกับพรรคเพื่อไทยและไม่ต้องการให้พรรคเพื่อไทยเป็นผู้นำในรัฐบาล
ไม่ใช่แต่เพียง “แพทองธาร” ด้วยซ้ำนะ อันที่ 2)
มันก็เกี่ยวข้องกับปัญหาของเขมรด้วย
เก่ง-อภิสิทธิ์ : อาจารย์อ่านว่ายังไง
เขาต้องการอะไร เมื่อสักครู่อาจารย์บอกว่าไม่ใช่แค่ต้องการให้นายกฯ ลาออก
แต่ว่าต้องการมากกว่านั้น มีจุดประสงค์แอบแฝง จุดประสงค์นั้นคืออะไร
อ.ธิดา
ถาวรเศรษฐ :
คือเมื่อกี้ที่หนูหริ่งพูดน่ะ ถูกนะ อันนี้เป็นโอกาสที่ดี
คือเขารอมานาน และจังหวะนี้มันเป็นจังหวะที่พรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะนายกฯ แพทองธาร
เพลี่ยงพล้ำอย่างรุนแรง เขาไม่ออกมาก็ไม่ได้ มันก็ต้องชูประเด็นนี้
แต่ที่จริงโดยทั่วไปนะมันสามารถที่จะมีวิธีการอย่างอื่น
เขาจะออกอาจจะไม่กี่วันมันก็มีนิติสงคราม ศาลรัฐธรรมนูญเอย กกต.เอย ป.ป.ช.เอย
และแม้กระทั่งเสียงที่อุ้มชูรัฐบาลอาจจะไม่พอ
นี่ก็เป็นวิธีที่ตามครรลองประชาธิปไตยที่ออกอยู่แล้ว คือคุณไม่ต้องมีม็อบ
เขาก็มีความเสี่ยงที่จะต้องถูกออกแล้วจำนวนหนึ่ง แต่จะให้อยู่เฉย ๆ
แบบที่หนูหริ่งพูดก็อยู่ไม่ได้ นี่เป็นจังหวะอยู่แล้ว มันได้ทั้ง 1)
การแสดงการต่อต้านพรรคเพื่อไทยและนายกฯ อุ๊งอิ๊ง คือแสดงให้เห็น จริง ๆ คนก็รู้หมด
2) ก็ต้องการแสดงความรักชาติในปัญหาของเขมร ซึ่งมันก็จะมีผลต่อประเทศเพื่อนบ้าน
ปฏิกิริยาด้วย ซึ่งเป็นแนวคิดชาตินิยมแบบสุดโต่งซึ่งมันจะมีอยู่ เพราะฉะนั้นมันก็จะหวังผลทั้งต่อต้านฝั่งรัฐบาลเอง
แล้วก็ปฏิกิริยาต่อเพื่อนบ้านด้วย ใช่หรือเปล่า? อาจารย์มองว่าน่าจะเป็นส่วนนี้
แล้วก็อันที่ 3) ไม่ว่ามันจะมีอะไรเกิดขึ้น วิธีคิด ในทัศนะของอาจารย์นะ
เขาคิดแบบอนาธิปไตยคือไม่สนใจ ต้องขออภัยนะ ไม่ใช่เป็นการพูดเอาเฉย ๆ
จากประวัติที่ผ่านมาไม่ได้ชอบครรลองของระบอบประชาธิปไตย
เพราะว่าในครรลองของระบอบประชาธิปไตย กลุ่มขวาสุดโต่ง หรือจารีตสุดโต่ง
ขณะนี้ในประเทศไทยถือว่าพ่ายแพ้โดยสิ้นเชิง
เพราะฉะนั้นนี่ก็ต้องเป็นความพยายามที่จะแสดงออกและดิ้นรน
ถึงแม้นว่ายิ่งทำ ยิ่งทำให้ฝั่งจารีตทั้งรัฐบาลและของตัวเองยิ่งแย่
เพราะว่าความจริงมันควรจะอยู่ในพวกเดียวกัน ถูกมั้ยคะ
และควรที่จะประคับประคองรัฐบาลถ้าเขาคิดแบบยุทธศาสตร์ของฝั่งจารีตให้เป็นรัฐบาลให้ได้
แต่ว่าเมื่อมีความคิดเป็นอนาธิปไตยและความคิดแบบปัจเจกก็คือไม่ได้สนเรื่องราวในเชิงยุทธศาสตร์
ก็ต้องเป็นโอกาสที่ถ้าไม่ออกท่ก็ถือว่า เอ้ย...มันแย่แล้ว...ขนาดนี้ยังไม่ออกมาได้ยังไง?
(อธิบายเพิ่มเติมว่า
คนทำม็อบไม่สนใจยุทธศาสตร์ของฝ่ายเดียวกัน) ในเชิงยุทธ์ศาสตร์ในฝั่งจารีตจะเป็นคนส่วนหนึ่งที่วาง
แต่ไม่ใช่คนกลุ่มที่ทำม็อบนี้ คนกลุ่มนี้ไม่สนใจยุทธศาสตร์ แต่เป็นเรื่องของบุคคล
คือในพวกจารีต คนที่วาง มีดีล เอาพรรคเพื่อไทยมา อันนั้นเป็นการสู้แบบยุทธศาสตร์
ยังไงเขาก็ต้องประคับประคอง คุณสังเกตมั้ยว่า รวมไทยสร้างชาติ (รสทช.)
ทำไมยังต้องอยู่? ขนาดแตกอย่างนี้แล้วยังต้องอยู่
ทำไมถึงนายพลเอกบางคนได้เป็นรัฐมนตรีกลาโหม? อันนี้เป็นแนวคิดยุทธศาสตร์ที่มามีดีล
แล้วทำไมคืนนั้นคุณทักษิณป่วย? ทำไมคุณวิษณุต้องไปทันที?
ทั้งหมดนี้มันเป็นการวางแผนยุทธศาสตร์ แต่สำหรับคนพวกนี้ที่ออกมานะ ไม่ใช่เลย
คือหมายความว่าเป็นเรื่องปัจเจกส่วนตัว คนพวกนี้เขาไม่สนใจยุทธศาสตร์
อาจารย์ใช้คำว่าอนาธิปไตย แปลว่า เมืองไทยมันจะพังยังไง? กูไม่สน!!! ถ้ากูไม่พอใจ
กูก็อยากจะด่า (ขอโทษนะ พูดภาษาไทยแท้นะ) ก็คือ ถ้าไม่พอใจแล้วต้องการแสดงออก
และจังหวะนี้มันเป็นจังหวะที่เหมาะที่สุด ก็ต้องแสดงออก
แต่ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นช่างมัน ไม่สนใจ เพราะถ้าเขายึดในครรลองประชาธิปไตย
มันจะไม่มีเหตุการณ์แบบในอดีต และในปัจจุบันก็ไม่จำเป็น
เพราะว่าคุณแพทองธารอาจจะต้องถูกออกไปภายในไม่กี่วันโดยกระบวนการของตุลาการภิวัฒน์ต่าง
ๆ เหล่านี้อยู่แล้ว

เก่ง-อภิสิทธิ์ : Keyword เขาบอกว่าเขาไม่มีสี
อันนี้ถูกต้อง และก็พยายามใส่เสื้อสีขาวนะ บอกว่ามาได้ทั้งหมด
จุดร่วมของเขาคือไล่นายกฯ ออก แต่จุดร่วมอื่น ๆ มันไม่สามารถหลอมรวมกันได้
อ.ธิดา
ถาวรเศรษฐ :
แน่นอน คนเห็นว่าเป็นคนละพวกมาร่วม
แต่เวลาอาจารย์พูดอาจารย์จะพูดถึงเรื่องหลักการ พูดถึงเรื่องยุทธศาสตร์
เพราะอาจารย์ผ่านการต่อสู้มายาวนาน หลายรูปแบบ
มองว่าความขัดแย้งหลักของสังคมไทยมันยังดำรงอยู่ และคนยังอยู่เป็นคนละขั้ว คนส่วนหนึ่งมากด้วย
ที่บอกว่าคุณจะทำของคุณก็ทำไป ฉันก็ไม่ได้ชอบนายกฯ ฉันก็อยากให้นายกฯ ลาออก
แต่ฉันไม่ไปอยู่กับคุณ อันนี้เป็นการพูดแบบอารมณ์
แต่เวลายกขึ้นมาสู่หลักการที่อาจารย์พูดในเชิงหลักการก็คือว่า
ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายผู้ที่ไม่ยอมคืนอำนาจให้ประชาชน ต้องการปกครองโดยอำนาจพิเศษ
ไม่ว่าจากกองทัพ จากตุลาการ หรือจากกลไกต่าง ๆ
ซึ่งเมื่อก่อนที่เราใช้กันอยู่ตลอดเราใช้คำว่า “ระบอบอำมาตย์”
คือไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยมันยังดำรงอยู่ คือขัดแย้งกับประชาชนไทย
คือเขาไม่ยอมคืนอำนาจให้กับประชาชน ต้องการประชาธิปไตยแบบไทย ๆ
วุฒิสมาชิกก็ไม่ต้องได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง
แต่จำเป็นที่สภาผู้แทนราษฎรต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรง
แต่ก็ถูกประณามว่าพรรคการเมือง/นักการเมืองเลว ถูกซื้อเสียงต่าง ๆ ทั้งหมด
ดังนั้น
โดยน้ำใสใจจริงก็คือ นี่คือยังเป็นสงครามที่ยืดเยื้อนับตั้งแต่ 2475
มาจนถึงปัจจุบัน เราผ่านสนามการต่อสู้ของประชาชนหลายสนาม
สิ่งที่เราต้องรู้ว่าความขัดแย้งหลักในสังคมมันเป็นอย่างไร
โชคดีมากที่การต่อสู้ของเยาวชนปี 2563 ช่วยทำให้ปัญญาชนจำนวนหนึ่งเข้าใจปัญหาประเทศ
ไม่อย่างนั้นสมัยก่อนตอนปี 2549 มีอาจารย์ มีอยู่ไม่คน จะว่าไปปัญญาชนไม่มีเลย
ไปอยู่กับ สนธิ ลิ้มทองกุล หมด อย่าว่าแต่ปัญญาชนธรรมดานะ
พวกพรรคคอมมิวนิสต์ยังไปอยู่ตรงนั้นด้วยเลย ฝ่ายซ้ายทั้งหลายนะเออ
ก็ยังอยู่ทางนั้นเลย เพราะฉะนั้น คุณทักษิณก็จะเป็นคนที่ถูกเกลียดชังมาก
เป็นนายทุนสามานย์ ก็คือวิเคราะห์ว่าเป็นนายทุนสามานย์ แต่ในทัศนะของอาจารย์
ความขัดแย้งหลักจริง ๆ
มันเป็นความขัดแย้งระหว่างการที่ไม่ยอมคืนอำนาจให้กับประชาชน นั่นคือ
ระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชนจริง ๆ มันยังเกิดขึ้นไม่ได้
และหลังจากปี
2563 เป็นต้นมา คือมีการเกิดพรรคใหม่ โอเค พรรคเก่าบอกว่านายทุนสามานย์
แต่พรรคใหม่นายทุนยังไม่ทันจะสามานย์หรืออะไรเลย ก็ถูกยุบพรรคเหมือนกัน สิ่งต่าง ๆ
เหล่านี้ได้ทำให้คนตาสว่างมากขึ้น โอเค คนรุ่นใหม่แล้ว (ไม่ใช่คนเสื้อแดง) ตุลาการก็ไม่ควรเป็นตุลาการภิวัฒน์แบบนี้
ดังนั้นความขัดแย้งหลักยังดำรงอยู่ และคนทั่วไปรู้
หนูหริ่งเขาสะท้อนอารมณ์ของคนว่า คุณก็ทำไปซิ แต่ผมไม่ไปร่วมกับคุณ
แต่อาจารย์พูดในเชิงหลักการว่า เขารู้ว่าเราไม่ใช่พวกเดียวกัน
เรารู้ว่าคุณเป็นมวลชนของฝั่งจารีตอำนาจนิยมและชาตินิยมแบบสุดโต่ง
ถ้าพูดเป็นภาษาก็คือ ขวาสุดโต่งเลย คุณจะเกลียดทักษิณหรือไม่เกลียดทักษิณ
นั่นไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาก็คือแบรนด์ของคุณ ตราของคุณ
มันเป็นขวาจัดชาตินิยมสุดโต่ง
ดังนั้น
กับพวกฝั่งเสรีนิยมและเสรีประชาธิปไตย มันยังเป็นความขัดแย้งกันอยู่
ซึ่งนี่เป็นเหตุผลที่ทำให้เราไม่สามารถเดินหน้าไปสู่ประชาธิปไตยจริงได้
ดังนั้นประชาชนฝ่ายที่มีความคิดเสรีประชาธิปไตยเขาคงไม่สามารถไปร่วมได้
เหมือนสมมุติว่า อาจารย์ หรือหนูหริ่ง เราจัดม็อบบ้าง
แล้วถามว่าพวกนั้นเขาจะมาร่วมกับเรามั้ย? ฝั่งนั้นเขาก็ไม่มาร่วม
เพราะว่ามันมีแบรนด์ของมันแล้ว อาจารย์ตอนปี 2549 โดดเดี่ยวมากนะ
แม้กระทั่งนักวิชาการที่ยิ่งใหญ่หลายคน มีกลุ่มเยาวชนมาบอกอาจารย์ว่าผมไปชวนมาแล้ว
พวกเขาก็ไม่เอาทั้งนั้น ผมขอเลิก กลุ่ม19กันยาขอเลิก เดิมเราจะได้ดีใจว่ามีปัญญาชนมาร่วม
ก็มีคนมาบอกว่า ผมไปขออาจารย์คนนั้นก็ไม่เอา คนนี้ก็ไม่เอา
ทุกคนไม่ชอบนายทุนสามานย์หมด
ตราของคุณทักษิณที่เป็นนายทุนสามานย์มันผ่านตั้งแต่
2549 และมาจน 2557 มันก็จะเป็น ต้องเรียกว่าคนที่ไม่เอาก็มีมาก
และจะไม่ให้เหลือมาแสดงครั้งนี้เลย มันเป็นไปไม่ได้ มันก็ต้องมี แล้วก็เป็นตัวแกน
ๆ นะ แต่เราก็ไม่รู้ว่าคนที่ตามมาจะมีมากน้อย เราก็อยากดูเหมือนกัน
แต่ว่าอยากจะยกอารมณ์ความรู้สึกมาสู่หลักการว่า
ในความเป็นจริงความขัดแย้งหลักยังเป็นเรื่องที่ประชาชนยังไม่ได้อำนาจจริง
ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงมันเกิดขึ้นไม่ได้
ดังนั้น
ว่าไปก็คือเราไม่สามารถข้ามขั้วได้
ถ้าพูดว่าคนเสื้อแดงไม่พอใจพรรคเพื่อไทยข้ามขั้ว มวลชนก็ไม่สามารถข้ามขั้วได้
แม้นมวลชนนั้นจะไม่พอใจคุณอุ๊งอิ๊ง อยากให้คุณอุ๊งอิ๊งลาออกก็ตาม
แต่มวลชนก็จะไม่ข้ามขั้วไปชุมนุมเห็นด้วยกับม็อบนี้
ไม่เช่นนั้นมันก็จะเป็นมวลชนขั้วเดียวกันนะสิ มันจะเป็นอย่างนั้น แบบที่คุณหนูหริ่งว่า
ก็คือคุณก็ทำไป แต่สิ่งที่ต้องระวังคือเพียงแค่คุณให้คุณอุ๊งอิ๊งลาออก ไม่เป็นไร
แต่ว่าอาจารย์อยากจะเตือนเอาไว้ อย่าไปท้าทายให้มันมีปัญหาระหว่างประเทศ
ตัวนี้นะอย่าไปท้าทาย มันอาจจะมีคำพูดที่แสดงถึงความเกลียดชัง ก็คือ
คน/ประชาชนระหว่างประเทศมันไม่ควรเกลียดชัง
และนี่เป็นลักษณะของพวกชาตินิยมแบบคลั่งชาติ
รักชาติได้แต่อย่าคลั่งชาติ ขอเตือน!!! คุณมีม็อบคุณก็มีไป
คุณจะบอกว่านายกฯ ทำไม่ถูก ลาออก มันก็เรื่องของคุณ ก็พูดไป
แต่สิ่งที่ขอเตือนคืออย่าให้มันกล้ำเกินไปจนทำให้เกิดความบาดหมางระหว่างประชาชนประเทศกัมพูชากับประชาชนไทย
อันนี้เป็นสิ่งที่คิดว่ามีโอกาสเกิดขึ้นมาก แล้วก็ขอให้ใส่ใจไว้ด้วยว่า ระบอบและระบบมันยังดำเนินไปอยู่
พวกคุณยังมีเครื่องมือตั้งเยอะแยะที่จะจัดการกับคุณอุ๊งอิ๊ง
ถ้าปล่อยให้เป็นอนาธิปไตย คุณบอกว่าคุณไม่ต้องการรัฐประหาร
แต่พอถึงเวลาคุณบอกมันเป็นความจำเป็น มันก็อาจจะมีสิ่งนั้นเกิดขึ้น แต่เราจะไม่พูด
เราเชื่อแหละว่าคุณไม่อยากได้รัฐประหาร
แต่เตือนเอาแค่ว่าอย่าไปสร้างความเกลียดชังระหว่างประชาชนไทยกับประชาชนกัมพูชา
เก่ง-อภิสิทธิ์ : หลังจากนี้รัฐบาลจะเดินยังไง?
ในเมื่อเฉดมันออกมาอย่างนี้
อ.ธิดา
ถาวรเศรษฐ :
อาจารย์มองว่าทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคภูมิใจไทย
คือมองไปข้างหน้าในการเลือกตั้งครั้งหน้า เนื่องจากพรรคเพื่อไทย
ที่มาของสส.จากกระแสประชาธิปไตย ไม่ได้แล้ว ดังนั้นพื้นที่ที่จะได้ก็คือสส.เขต
ดังนั้นสิ่งที่เขาต้องการก็คือต้องการกระทรวงมหาดไทยด้วย เพื่อที่จะไปทำงานในพื้นที่เพื่อที่จะเพิ่มจำนวนสส.เขต
ในขณะเดียวกันก็ต้องการส่วนหนึ่งก็คือจัดการในเรื่องของสว.
เพราะขณะนี้พยานจำนวนมาก ถ้าพรรคภูมิใจไทยยังอยู่ในรัฐบาล ก็ยังมีความเกรงใจอยู่
แต่ในกรณีเรื่องสว.นะ อาจารย์สนับสนุนนะ เพราะถือว่าเรื่องสว.มันเป็นเรื่องที่ว่ามันเกินไป
คุณจ่ายเงินจำนวนนี้แล้วคุณเหมือนกับว่าจะซื้อประเทศไทยไปได้
เพราะฉะนั้นอันนี้เรื่องของสว. ตั้งแต่อดีต ตั้งแต่ 2475 จนถึงปัจจุบัน
เป็นเรื่องที่มันไม่เคยลงตัวเลย
และเป็นเรื่องที่ฝ่ายจารีตอำนาจนิยมไม่ต้องการให้อยู่ในมือประชาชน
คือคุณเลือกสส.ได้ แต่สว.ต้องเป็นของพวกผม อันนี้เป็นเรื่องตั้งแต่อดีต
แต่ว่ามีหลายตัวละครมาจนถึงปัจจุบัน ถ้าเล่าแล้วมันยาว
แต่สรุปว่า
วิธีแบบนี้ จากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แล้วทำแบบนี้ มันไม่ได้!!!
มันมากเกินไป เมื่อมองไปข้างหน้า
พรรคภูมิใจไทยก็คงหวังจะเป็นผู้นำของรัฐบาลฝั่งจารีตเหมือนกัน
นั่นก็คือตัวเลขแทนที่จะเป็น 60 มันก็อาจจะเป็นถึง 100 และเพื่อไทยก็อาจจะน้อยลงมา
ซึ่งพรรคเพื่อไทยก็ยอมไม่ได้เหมือนกัน
คือยังต้องการเป็นผู้นำในรัฐบาลฝั่งจารีตนี่แหละ ตามใบอนุญาต 1 ด้วย 2 ด้วย
เพื่อที่จะสามารถอยู่ได้แล้วเป็นรัฐบาลได้ยาวนานที่สุด ดังนั้น
พรรคภูมิใจไทยจึงกลายเป็นศัตรูที่ต้องเผชิญหน้ากันในช่วงเวลานี้
ในช่วงเวลาแรกก็อาจจะมองว่าเป็นพรรคประชาชน แล้วนางแบกอะไรต่าง ๆ
ก็ทะเลาะกันยกใหญ่นะ แต่เอาจริงที่เขาจะจัดการกันมันกลายเป็นว่า ฝั่งเดียวกัน
ฝั่งจารีตกันเองแย่งชิงสภาวะการนำ เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ
อาจารย์อยากจะเติมที่หนูหริ่งพูดอย่างหนึ่งก็คือว่า
ในกลุ่มที่เป็นการที่จะออกมาชุมนุม คุณบอกว่าคุณจะไล่นายกฯ ให้นายกฯ ลาออก โอเค
อันนี้ก็ได้ แล้วแต่คุณจะปกป้องอธิปไตย ซึ่งอาจารย์เตือนไปแล้วนะ
คุณอย่าแสดงตัวว่าท้าทายแล้วทำให้เกิดเป็นปฏิปักษ์กับประชาชน คือเรื่องระหว่างผู้ปกครองหรือรัฐต่อรัฐ
มันก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่ประชาชนมันคนละเรื่องกันเลยนะ เราอยู่ในพื้นที่เดียวกัน
เดินกันไปเดินกันมา แต่งงานกัน อะไรต่าง ๆ มันก็เป็นประชาชนแถบนี้เหมือนกันหมด
เพราะฉะนั้นอย่าทำให้เกิด แต่ว่ามีโอกาสเกิดสูง
ทีนี้คำถามที่
3 ก็คือ ถ้าคนเหล่านี้ยึดครรลองระบอบประชาธิปไตย มันจะมีคำว่า
คุณยอมรับการยุบสภามั้ย? ไม่มีคำพูดนี้เลย! เพราะคำว่า “ยุบสภา” นี้
มันก็คือครรลองของระบอบประชาธิปไตย คือคืนอำนาจให้ประชาชน (คุณหนูหริ่ง เสริมว่า
คือเขากลัวว่ายุบสภาแล้วพรรคประชาชนจะเป็นรัฐบาล) ก็นั่นแหละ ๆ (คุณหนูหริ่ง
เสริมว่า ซึ่งมันทำให้เราสงสัยมากว่าการชุมนุมนี้ มันอย่างงี้
คือตกลงว่าคุณต้องการอะไร ถ้าคุณเชื่อในระบอบประชาธิปไตย
การตัดสินใจของประชาชนมันเป็นที่สุดแล้ว) ไม่ใช่แค่ว่านายกฯ ออก
แล้วไม่รู้อะไรเกิดขึ้น แต่ว่าทางเลือก “ยุบสภา” คุณสนใจมั้ย?
แต่คุณไม่สนใจก็แปลว่าคุณไม่ได้สนใจในระบอบประชาธิปไตย แต่กลุ่มม็อบที่อาจารย์ใช้คำว่าอนาธิปไตยเลย
ก็คือไม่สนใจ อะไรจะเกิดขึ้นก็ได้
เก่ง-อภิสิทธิ์ : ในเมื่อไม่ยุบสภาเพราะกลัวส้มมา
ทำไมถึงเลือกข้อเสนอว่าให้ลาออก คิดถึงว่าต้องการให้เกิดสุญญากาศมั้ย?
แล้วก็มีนักวิชาการบางท่านบอกว่ามาตรานี้ทำได้ นักวิชาการบางท่านเสนอ มาตรา 5
แต่ผมไม่อยากเชื่อมโยงว่าเกี่ยวข้องกับการชุมนุม
ดังนั้นรอดูวันเสาร์ว่าเขาจะพูดเรื่องนี้มั้ย?
อ.ธิดา
ถาวรเศรษฐ :
แต่อาจารย์ขอเสนอว่า
เราสามารถดูสรุปได้ว่าตั้งแต่อดีตจนถึงข้อเรียกร้องในปัจจุบัน
ยังไม่มีครรลองของระบอบประชาธิปไตยเลย ในข้อเสนอ ฟันธงเลย
ไม่มีครรลองในระบอบประชาธิปไตยเลย อาจารย์ใช้คำว่าอนาธิปไตย แปลว่า
ไม่รู้ว่ามันจะออกท่าไหน อันนั้นเรียกว่าก็พยายามทำให้เป็นระบบแล้วนะ
แต่ในความจริง อาจารย์รู้ว่าสิ่งที่เขาต้องการมันคืออะไร คุณก็มีทางเลือกอยู่
ถ้าคุณไม่เอาระบอบประชาธิปไตย แล้วคุณเอาอะไร? ตอนนี้ก็บอกได้ว่าไม่เอารัฐประหาร
แต่พรุ่งนี้ มะรืนนี้ มันช่วยไม่ได้ อาจารย์ยังจำคำพูดที่ไม่เคยลืมเลยตลอดมาในปี
2549 เราก็ไม่ชอบรัฐประหาร แต่มัน “เป็นสิ่งจำเป็น” คนที่พูด
ต้องเรียกว่ามีตำแหน่งใหญ่ในสื่อใหญ่เลย แต่ว่าออกไปแล้วนะ เป็นการสัมมนาของสื่อ
แล้วคำพูดที่ว่า “เป็นสิ่งจำเป็น” เป็นสิ่งที่เขาพูดตลอด เขาเรียกว่า 2 ไม่เอา
แต่จริง ๆ ไม่เอาอันเดียวคือไม่เอาทักษิณ คำว่า 2
ไม่เอาคือไม่เอารัฐประหารและไม่เอาทักษิณ เขาบอกเขาเรียกตัวเองว่าเขา 2 ไม่เอานะ
แต่สุดท้ายก็คือ รัฐประหารเป็นสิ่งจำเป็น
ก็แปลว่าคุณไม่เอาอย่างเดียวคือไม่เอาทักษิณ แต่เอารัฐประหาร
ดังนั้น
ยังเหลืออยู่ขณะนี้จะไม่ให้หมดไปได้ยังไง ตอนนั้นอาจารย์เจ็บปวดมากนะว่า
เฮ้ย..มันยอมแลกเลยเหรอ ระหว่างรัฐประหารนะ
คือคุณทักษิณจะมีปัญหาอะไรคุณก็ไปจัดการตามระบอบ ตามระบบ แต่คุณถึงขนาดว่ารัฐประหารเป็นสิ่งจำเป็น
แปลว่าไม่มีความคิดของระบอบประชาธิปไตยและอำนาจประชาชนอยู่ในสมองเลย แล้วถามว่า ณ
บัดนี้ โอเค คุณตำหนินายกฯ ได้ หลาย ๆ คนก็ตำหนิได้ แต่ว่าแล้วไงต่อ? เพราะว่าตอนนี้คุณบอกว่าไม่เอารัฐประหาร
แล้วถ้าอีก 3-4 วัน ก็อาจจะบอกว่ามันกลายเป็นสิ่งจำเป็นก็ได้
แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าเขาต้องการรัฐประหารนะ ต้องขออภัย
ก็คือเขาอาจจะจริงใจก็ได้นะที่ไม่เอารัฐประหาร แต่เขาก็อาจจะมีทางเลือกอื่น
แต่ทางเลือกที่เขาเสนอว่า “ยุบสภา” ไม่สนใจบ้างเลยเหรอ?
ถ้าคุณสนใจนี่แหละก็จะบอกได้ว่าเออ...คุณก็เป็นนักประชาธิปไตย ถ้าคุณพูดเรื่อง
“ยุบสภา” เผลอ ๆ มันจะมีม็อบมากนะ แต่คุณไม่พูดแน่
เก่ง-อภิสิทธิ์ : คนที่ไม่รู้สึกโอเคกับรัฐบาล
หรือไม่ไปม็อบ เขาจะวางตัวเองยังไง? เขาก็จะมองดู ยืนดู เฝ้ามองแบบนั้นใช่มั้ย?
หรือเขาก็รอเลือกตั้ง
อ.ธิดา
ถาวรเศรษฐ :
อาจารย์มองว่าขณะนี้เป็นวาระของความที่เสื่อมถอยอย่างสุด ๆ
แล้วของฝั่งอนุรักษ์นิยมจารีตนิยม ทั้งในฐานะพรรคการเมือง
และในความยอมรับของประชาชน เพราะฉะนั้น
ครั้งนี้แม้จะใช้กลยุทธ์ที่เอาพรรคเพื่อไทยมาและสามารถเป็นรัฐบาลได้
แต่มันก็ดูว่าไม่รอด ดังนั้นคุณจะทำยังไงต่อ? ในขณะที่ฝั่งประชาชนต้องการอำนาจคืน
เขาก็เติบโตขึ้นทุกวัน เขาอาจจะไม่ถูกใจอะไร แต่ว่าหลักการของพวกเขาก็ยังดำรงอยู่
อาจารย์เข้าใจได้เลยว่าเขาไม่ไป ทั้งด้วยอารมณ์ความรู้สึก แต่ลึก ๆ แล้วจริง ๆ
เขามีหลักการอยู่ในใจ เพราะฉะนั้น คุณกล้ามั้ยล่ะที่จะมีทางออกของระบอบประชาธิปไตย
เช่น ยุบสภาก็ได้ สมมุติ ไม่มีเลยนะ เพียงแต่บอกว่าผมไม่เอารัฐประหารเท่านั้น
ตอนนี้ฝั่งจารีตอำนาจนิยมมันเสื่อมถอยอย่างถึงที่สุดแล้วนะ
เพราะฉะนั้น ด้านหนึ่งเรามองว่าเป็นวิกฤต แต่นี่มันก็เป็นเรื่องที่ดีนะ ท้าทายเลย
คุณจะใช้เครื่องมืออะไรในการจัดการ คุณทำไปเลย ก็พวกเดียวกัน ในทัศนะของอาจารย์นะ
เราอาจจะมองว่ามันเป็นวิกฤตนะ ก็จริง แต่ว่ามันต้องถึงขนาดนี้แหละ
มันต้องให้มันรุนแรงจนถึงขนาดนี้ ถึงจะได้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร อย่างที่บอก
จะเลือกพรรคไหน? ก่อนไปถึงว่าเลือกพรรคไหน ตอนนี้จะทำยังไงต่อไปยังไปไม่ถูกเลย! ว่าจะใช้รัฐธรรมนูญมาตราไหน?
คือถ้าเป็นมวลชนฝ่ายจารีตเดิม เช่นเขามีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกน
แล้วประชาธิปัตย์พ่ายแพ้ตลอด ก่อนหน้านั้นเขาเคยได้ถึง 11 ล้านเสียง
เขาก็อยากจะเป็นฝ่ายชนะ เขาก็มาเทให้พรรคพลังประชารัฐ ครั้งที่แล้วได้ Popular Vote เยอะนะ
ประชาธิปัตย์จึงโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยงว่าคนทำรัฐประหารเป็นกรรมการ
แล้วมาตั้งพรรคเองได้ยังไง? พอตั้งพรรคเองก็ดึงคนไปได้จำนวนหนึ่ง
ตัวอาจารย์เองก็ไม่คิดว่าประชาธิปัตย์จะเสียท่าถึงขนาดนี้
แต่แสดงว่าประชาชนมีแรงเหวี่ยงสูงในทางความคิดนะ
เราก็ต้องตอบได้เลยว่าคะแนนที่อยู่ในพรรครวมไทยสร้างชาติ
เป็นคะแนนที่เรียกว่าสนับสนุนเต็มที่นะ ก็ไม่น้อย 4 ล้านเสียง
นี่เรียกว่าเขาเต็มที่ในฝั่งของจารีตอำนาจนิยม มันก็ไม่ใช่น้อยเหมือนกัน
แต่อย่างไรก็ตามพลังฝ่ายเสรีนิยมมันมากกว่า อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้นะ ก็มันสุดแล้ว
เอาให้สุด ๆ กันไปเลย แต่ว่าที่ขอร้องก็คือ อย่าไปยั่วยุฝั่งประชาชนกัมพูชา
ยังไงก็ขอให้มันอยู่เฉพาะในปัญหาของประเทศไทย ขอร้อง
เพราะว่าพวกคุณไม่ใช่ตัวแทนของประชาชนไทยทั้งหมด แล้วถ้าคุณไปทำให้เกิดปัญหา
มันจะกลายเป็นภาระ คุณอยากจะไล่นายกฯ โอเคก็ไล่ไป แต่ว่าถ้าถึงขนาดว่าทำให้เกิดวิวาทะระหว่างประชาชน
ขอเตือนนะว่า อย่าทำ!!!
แล้วก็คุณไม่มีทางเลือกสำหรับระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชนเลยหรือ?
อยากจะถามนะ เพราะว่าถ้ามิฉะนั้นแล้วมันก็สุดทางของคุณเหมือนกัน
แล้วสุดทางของคุณไปต่อไม่ได้นะ ซอยตันนะ (หนูหริ่ง เสริมว่า ไม่ใช่ซอยตัน
ตกเหวเลยอาจารย์) ตกเหวเลยนะ เพราะฉะนั้นนี่บอกนะว่า คุณยังสามารถเปลี่ยนได้นะ
ครั้งนี้เขาอาจจะไม่จำเป็นจะต้องมีการชุมนุมครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ก็ได้
มันต้องดูว่าครั้งแรกเป็นอย่างไร อาจจะไม่มี
เพราะเขาเตรียมที่จะเอาเงินทีเหลือไปให้กองทัพภาคที่ 2
แต่ว่าอย่าสร้างปัญหาให้ระหว่างประเทศ เพราะว่าถ้าคุณตำหนิรัฐบาลว่าสร้างปัญหา
คุณในฐานะม็อบก็อย่าสร้างปัญหาเพิ่ม
เพราะว่าขอให้เข้าใจนะว่าคนส่วนใหญ่เขาไม่ได้เห็นด้วยนะ
ถึงคุณจะบอกคุณไม่เอารัฐประหาร ไม่ต้องการรัฐประหาร
แต่แบรนด์ของคุณมันเป็นแบรนด์ที่คนยังไม่มีความไว้วางใจ
เพราะฉะนั้น
อย่าโทษพวกเรานะ อันนี้กำลังบอกให้รู้ว่า ทางที่จะต้องไปมันมีทางเดียวเท่านั้น
คือทางในระบอบประชาธิปไตย อำนาจเป็นของประชาชนคืนมา ถ้าคุณไม่เดินทางนี้
คุณยังดันทุรังนะ มันก็พังไปทั้งหมด เพราะตอนนี้มันก็พังเกือบหมดแล้ว
เก่ง-อภิสิทธิ์ : รัฐบาลของคุณแพทองธาร
ไปต่อได้อีกไกลมั้ย? ปัจจัยที่เราต้องดูหลังจากนี้คืออะไร?
อ.ธิดา
ถาวรเศรษฐ :
ฮุนเซน เป็นนักรบ แล้วเขาลงทุนชีวิตทั้งชีวิตของเขามายาวนาน
ดูที่เขาพยายามทำหนังทำอะไร เป้าหมายของเขาที่ชัดเจนอยู่เลยตอนนี้นะที่ยังไงเขาก็จะไม่เปลี่ยน
คือเขาจะไป ICJ แต่มันยังไม่ถึงเวลานั้น เพราะอาจารย์เคยไป ICC
แล้ว กว่าเขาจะเอาใส่ตะกร้าของอัยการระดับที่ 1 ไประดับที่ 2
ไประดับที่ 3 แล้เรียกมาสัมภาษณ์ก็ใช้เวลานาน
แต่ว่าเราจะไปกดดันโดยการปิดด่านแล้วให้เขาเลิกส่งไปศาลโลก อาจารย์ว่ายาก!!! แล้วธรรมชาติของเขามันเป็นนักรบ
ชีวิตทั้งชีวิตของเขามันอยู่บนความเสี่ยงมากที่กว่าจะมาถึงจุดนี้
เขาจะไม่ปล่อยอำนาจจากในมือของเขาเลย
แล้วทุกอย่างที่เขาทำเล็งผลเลิศเพื่อที่ให้เขายังสามารถดำรงอำนาจอยู่ได้
เพราะฉะนั้น เขายอมลงทุนนะ ซึ่งแปลกมา อาจารย์ยอมรับว่าอาจารย์ก็เคยเจอ ทั้ง ฮุนมาเน็ตแล้วก็นายกฯ
ฮุนเซน ที่คนเสื้อแดงไปเตะบอล แต่หมายความว่าเขาเป็นนักรบที่มีความแน่วแน่
เขาบอกว่าชีวิตเขา เขาจะไม่ยอมปล่อย ดังนั้นเขาจะต้องมีสืบทอดให้ลูกต่อไปเรื่อย ๆ
แล้วเขาต้องการทำทุกอย่างให้อำนาจนี้ยังดำรงอยู่ ถ้ามองว่าคุณทักษิณก็เป็นการลงทุนแบบหนึ่ง
แต่ว่าเป้าหมายที่แท้จริงของเขาก็คือการทำดีกับอำนาจของเขาที่ยังดำรงอยู่ในประเทศของเขาได้อย่างแน่นอน
(คุณหนูหริ่งพูดว่า
ปัญหาอาจมาจากทฤษฎีเหยียบเปลือกกล้วย) นอกจากทฤษฎีเหยียบเปลือกกล้วยนะ
อาจารย์ขอเสนอ 1) MOU44
ที่ตกลงกันว่าจะต้องทำ ทักษิณไม่ได้ทำให้
เพราะว่าประเทศกัมพูชาไม่มีการผลิตอะไรเลย
สิ่งที่เขาต้องการมากก็คือต้องการขายน้ำมันตรงนั้น MOU44
เป็นเรื่องสำคัญมากที่ทักษิณอาจจะไม่ได้มีมธุรสวาจาในการที่จะบอกให้เขารู้
เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่เขาโกรธมากที่ไม่ดำเนินเรื่อง MOU44 ต่อ
อันที่
2) ที่อาจจะรองลงมาคือ การทำเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์
มันกระทบกระเทือนรายได้ของเขาในฝั่งโน้น
นี่อาจารย์ขอเสนอเพิ่มเติมนะ
ทฤษฎีเหยียบเปลือกกล้วยก็อย่างหนึ่ง โอเค คนเรามันเหยียบหลายอย่างนะ
แต่อาจารย์มองว่า MOU44 เขาอยากได้มาก เพราะว่าจะต้องแบ่งน้ำมันกันขึ้นมา แล้วตอนนั้นถ้าทำ
คุณทักษิณก็ไม่ยอมเสี่ยง ไม่กล้าทำ แล้วยังไม่พอ
ยังมาทำเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ซึ่งมันยิ่งขัดผลประโยชน์อีก
อาจารย์เสนอว่าอาจจะมี 2 (คุณหนูหริ่ง เสริมว่า นี่เหยียบตาปลา! เลย)
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #ธิดาถาวรเศรษฐ #TODAYLIVE #ม็อบ28มิถุนา #รวมพลังแผ่นดิน #ไม่เอารัฐประหาร