การเมืองการปกครองของเราอยู่ในสภาพวิกฤต
จึงทำให้สร้างวิกฤตในระบบสาธารณสุขและสร้างวิกฤตในกระบวนการยุติธรรม
เมื่อวานนี้
(4 พ.ค. 64) อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ได้มีการทำเฟซบุ๊คไลฟ์ และเดือนนี้คือเดือนพฤษภาคม
โดยก่อนเข้าสู่ประเด็น อ.ธิดา ได้เชิญชวนให้พี่น้องประชาชนผู้รักประชาธิปไตยที่ติดตามเพจ
อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ และเพจยูดีดีนิวส์ รำลึกเหตุการณ์ตั้งแต่ 10 เม.ย. – พ.ค. 53 โดยสามารถเข้าไปดูเหตุการณ์
ไม่ว่าจะเป็นการพูด หรือภาพนิทรรศการ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ในช่วงเดือนพฤษภาปี 53
อ.ธิดากล่าวว่า
จาก 10 เมษายน จนถึง 19 พฤษภาคม 63 มีการขับเคลื่อนของเหตุการณ์ต่าง ๆ มาเป็นลำดับ
และมีการเกิดโศกนาฏกรรมเป็นระยะ ก็อยากให้ไปติดตามด้วย
เพราะว่าคนที่เสียชีวิตก็เสียไป แต่คนที่ยังอยู่ต้องรำลึกและต้องสืบทอดเจตนารมณ์
เรายังมีชีวิตอยู่ เราจะละทิ้งการต่อสู้ไม่ได้ เพราะคนเหล่านั้นเขาเสียชีวิตไปแล้ว
เขามาต่อสู้ไม่ได้แล้ว คนที่ยังมีลมหายใจอยู่ก็ต้องสู้ต่อไปจนกว่าชีวิตจะดับสิ้น นอกจากนั้นจะต้องสร้างและรำลึกเรื่องราวเพื่อให้คนรุ่นหลังจะได้จดจำและสืบทอดเจตนารมณ์ของวีรชนที่ได้มีการต่อสู้เพื่อระบอบประชาธิปไตยมาเป็นลำดับ
สำหรับประเด็นที่ อ.ธิดา พูดในวันนี้คือ
“ปรากฏการณ์วิกฤตการติดเชื้อโควิดและวิกฤตความยุติธรรม”
อ.ธิดากล่าวว่า
ทั้งสองวิกฤตเป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญในห้วงเวลานี้ วันที่ 6 พ.ค.
ก็คงจะได้รู้กันว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น นั่นก็คือ เพนกวิน, รุ้ง, ไมค์ รวมทั้งคนอื่น
ๆ จะได้รับการประกันตัวหรือเปล่า และการประกันตัวนี้จะได้กี่คน
และวิกฤตความยุติธรรมในขณะนี้ที่มันสำแดงออกนี้เป็นการเผชิญหน้าแบบเปิดหน้าเลย
เปิดหน้าสู้รบ เพราะว่าฝ่ายหนึ่งก็มีความมุ่งมั่นในการจะเปลี่ยนแปลงประเทศ
อีกฝ่ายหนึ่งก็มีความมุ่งมั่นที่จะรักษาอำนาจและสืบทอดอำนาจแบบจารีตและอำนาจนิยม
ดังนั้น
ความยุติธรรมจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญในการที่ตัดสินใจว่าความยุติธรรมนั้นเป็นความยุติธรรมในระบอบอะไร
ถ้าหากว่าเป็นความยุติธรรมในระบอบที่เห็นคนเท่ากัน ก็จะไม่เกิดวิกฤตความยุติธรรม แต่ถ้าเป็นความยุติธรรมที่อยู่ในระบอบการเมืองการปกครองอีกแบบหนึ่ง
ก็จะมีการต่อสู้และเกิดเป็นวิกฤตดังที่เราเห็นอยู่ เอาเป็นว่าก็คือหลังวันที่ 6
พ.ค. ก็มาดูกันอีกทีว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น อ.ธิดากล่าว
แต่ในช่วงนี้เท่าที่ดิฉันดู
ก็มีการจับเพิ่ม แล้วก็มีการจับกุมคุมขังปราบปรามก็ยังเกิดขึ้นเป็นระยะ
แล้วก็มีการไม่ให้ประกันตัว อาจจะมีการผ่อนให้ประกันตัวบ้างจำนวนหนึ่ง
พร้อมกับเงื่อนไขจำนวนหนึ่ง
แต่โดยทั่วไปเราสามารถวินิจฉัยปัญหาวิกฤตความยุติธรรมได้ว่า
ยังเป็นความยุติธรรมที่ไม่ใช่ในระบอบประชาธิปไตยที่มีความเท่าเทียมกัน
ยังไม่ใช่ความยุติธรรมที่เป็นแบบสากล นั่นก็คือ
ขึ้นอยู่กับกติกาการเมืองการปกครองตามหลักของสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
ยังมีปัญหาอีกมากมายซึ่งดิฉันมองว่ายังเป็นวิกฤตที่ไม่จบ
และเป็นวิกฤตที่จะอยู่ในอัตราสูงขึ้น ๆ เรื่อย ๆ
เพราะมีความมุ่งมั่นแรงกล้าระหว่างฝ่ายหนึ่งกับอีกฝ่ายหนึ่ง ระหว่างคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นอนาคตของประเทศที่ค่อนข้างจะเป็นเอกภาพ
กับกลุ่มคนจารีตและเครือข่ายจำนวนหนึ่งซึ่งยังประสงค์จะรักษาอำนาจอยู่ ความมุ่งมั่นสองความมุ่งมั่นก็เป็นการต่อสู้กันแบบเปิดหน้าสู้เลย
ดังนั้นวิกฤตยุติธรรมนี้ยังจะเป็นวิกฤตที่ถ้าเป็นกราฟก็ยังขึ้นสูง
อ.ธิดา
กล่าวต่อไปว่า ขณะเดียวกันอีกวิกฤตหนึ่งก็เป็นวิกฤตของการติดเชื้อ! ขณะนี้ก็เป็นกราฟที่ขึ้นสูงมาก
เพราะงั้นสองวิกฤตนี้อยู่ในอัตราที่ขึ้นสูง ในทัศนะของดิฉัน
วิกฤตสองอย่างนี้ขึ้นอยู่กับระบอบการเมืองการปกครอง
นั่นหมายความว่าการเมืองการปกครองของเราอยู่ในสภาพวิกฤต
จึงทำให้สร้างวิกฤตในระบบสาธารณสุขและสร้างวิกฤตในกระบวนการยุติธรรมได้
“ถ้าการเมืองการปกครองไม่อยู่ในสภาพวิกฤต
เป็นการเมืองการปกครองในแบบที่เป็นอารยประเทศ ในแบบที่เห็นคนเป็นคนเท่ากัน พูดง่าย
ๆ ว่าในระบอบประชาธิปไตยแบบอารยประเทศนั่นแหละ
การแก้ปัญหาสาธารณสุขก็จะเป็นการแก้แบบอารยประเทศ
การแก้ปัญหากระบวนการยุติธรรมก็จะเป็นการแก้ปัญหาแบบอารยประเทศ มันก็ไม่มีปัญหา”
นั่นก็คือคุณสามารถแก้เป็นเรื่อง
ๆ ได้เช่น คุณแก้ปัญหาเรื่องวัคซีน คุณจะแก้ปัญหาเรื่องการระบาด หรือว่าในปัญหาความยุติธรรมคุณก็สามารถแก้ปัญหาของแต่ละกรณีได้โดยยึดหลักกติกาสากล
แต่เมื่อระบอบการเมืองการปกครองมันไม่ใช่
วิกฤตสองวิกฤตนี้ดูเหมือนอยู่คนละส่วนกัน แต่ในทัศนะของดิฉัน
มันรวมศูนย์อยู่ที่ปัญหาของรัฐไทย ปัญหาการเมือง
ระบอบการเมืองการปกครองไทยซึ่งเป็นจารีตนิยม อำนาจนิยม การแก้ปัญหาวิกฤตโควิด หรือการแก้ปัญหาความยุติธรรม
ก็แก้แบบจารีต แก้แบบอำนาจนิยม อ.ธิดากล่าว
ดังนั้น
วิกฤตนี้จึงเป็นวิกฤตที่ในทัศนะของดิฉันมันจะวิกฤตไต่ขึ้นสูงตลอด
เพราะว่าการเมืองการปกครองแบบที่เป็นอยู่นี้มันไม่น่าจะแก้ปัญหาวิกฤตสาธารณสุขและวิกฤตของระบบความยุติธรรมได้
มันอาจจะยืดเวลาหรือชะลอ
แต่เมื่อระบอบที่เป็นอยู่มาเผชิญกับเรื่องราวเช่นโรคระบาดที่ร้ายแรงสุด ๆ
และมีพัฒนาการของมัน หรือมาเผชิญกับการท้าทายระบบยุติธรรมอย่างรุนแรง
ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ ระบอบที่เป็นอยู่ในทัศนะของดิฉันมันเอาไม่อยู่
เอาล่ะ
ดิฉันก็จะไม่ติเรือทั้งโกลน ก็อยากจะบอกว่า อันนี้เป็นการชี้ให้เห็นว่ามันเป็นการเชื่อมโยง
ปัญหาสาธารณสุขมันไม่ได้เกิดขึ้นลอย ๆ ปัญหาระบบยุติธรรมก็ไม่ได้เกิดขึ้นลอย ๆ
มันขึ้นอยู่กับการเมืองการปกครองและพัฒนาการทางสังคมของไทยทั้งหมด
ซึ่งมันจะรับได้กับเรื่องเบา ๆ แต่พอเจอเรื่องหนัก ๆ มันจะเอาไม่อยู่
เราพูดก็เป็นการเตือนให้ทุกคนรู้ว่าประชาชนกำลังจะต้องเผชิญปัญหาหนัก
ทั้งปัญหาการติดเชื้อโควิดและปัญหาความยุติธรรม และทั้งหมดนี้ถ้าหากว่าเราไม่ได้แก้ที่การเมืองการปกครอง
สองปัญหานี้กำลังพุ่งทะยาน!!!
อ.ธิดา
ให้ความเห็นว่า ปัญหาการติดเชื้อโควิดเป็นปัญหาเฉพาะหน้าซึ่งมันเกิดจากความเขลาของระบบราชการเราที่มีลักษณะจารีตนิยมและอำนาจนิยม
ดังนั้นมันจึงนำพามาจนถึงเหตุการณ์หนักหน่วงในขณะนี้
ในสถานการณ์ของโควิดนี้
ปลายทางก็ค่อนข้างน่ากลัว
แต่ดิฉันก็จะแสดงความคิดเห็นในทางที่ว่าเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คิดแบบใจดิฉันจริง
ๆ มันต้องแก้ที่ระบบและระบอบ แต่ว่าในช่วงปัญหาเฉพาะนี้ซึ่งมันผิดมาแล้ว
ยกตัวอย่างเช่น เรื่องการซื้อ การบริหารจัดการวัคซีน คุณจะมีปัญญาหรือ?
สมมุติคุณมีวัคซีนมา 60 ล้านโดส เมื่อวานนี้คุณยังฉีดได้ 5 พัน แล้วคุณจะฉีดวันละ
5 แสนได้อย่างไร
การจัดซื้อผิดพลาด
คือคุณคิดว่าคุณเก่งไง ซื้อวัคซีนมาเทคโนโลยีเดียว ทั้ง ๆ ที่มันมีเทคโนโลยีอย่างอื่น
เราจะเห็นความเฉียบแหลมเลย เอาประเทศในอาเชียนขึ้นมาดูก็ได้ แล้วก็ประเทศในยุโรป
ดูว่าอันดับแรกเขาซื้อวัคซีนอย่างไร เขาซื้อด้วยความรู้ เขาไม่ได้ซื้อด้วยความเย่อหยิ่ง
ด้วยความคิดชาตินิยมและอิทธิพลใด ๆ เพราะว่าเขาเห็นชีวิตคนสำคัญ
อันนี้ก็พยายามจะบอกว่าวัคซีนนี้ถูก เราทำเอง อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่มีเปิดโอกาสว่าชีวิตประชาชนสำคัญ
และกระทั่งเศรษฐกิจของประเทศ มาถึงตอนนี้ ที่เสียกับได้มันไม่คุ้มกันเลย
อ้างว่าวัคซีน “ไฟเซอร์” ราคาแพงบ้างอะไรบ้าง นี่ก็คือปัญหาการจัดซื้อ? อ.ธิดา
เน้นย้ำ
ในทัศนะของดิฉันเสนอว่า
ที่คุณบอกว่ามี 100 ล้านโดสนั้น ไม่พอ! ต้องเพิ่มอีก 50 ล้านโดส คือต้องมีอีก
50 ล้านโดส นั่นก็คือฉีดให้หมดทุกคน
ถามว่ากลัวอะไร?
กลัววัคซีนเหลือเหรอ?
กลัวใช้เงินมากเกินไปเหรอ?
เหลือก็เหลือซิ
แล้วคุณรู้หรือเปล่าว่าวัคซีน 2 โดส อาจจะยังไม่พอ เพราะว่าเชื้อมันจะกลายพันธุ์
คุณอาจจะต้องฉีดโดสที่ 3 ประเทศอื่นเขาเตรียมไว้แล้ว ต่อให้คุณฉีดไปแล้ว 2 โดส
ก็ต้องเตรียมโดสที่ 3 นี่คือมองในลักษณะว่าภาพที่จะเกิดขึ้น Scenario ที่จะเกิดขึ้นต่อไปมีเชื้อกลายพันธุ์ แล้ววัคซีนที่คุณฉีดไปแล้ว ขณะนี้ “แอสตร้า
เซนเนก้า” ประสิทธิภาพก็คิดว่ามันใช้กับเชื้อที่มาจากแอฟริกาไม่ได้ ตอนนี้เชื้อที่มาจากแอฟริกามาจ่อประเทศไทยแล้ว
เพราะว่าติดในมาเลเซีย 1 ใน 3 แล้ว ถามว่าพรมแดนมาเลยเซียกับเรา เรามีปัญหาที่จะปิดกั้นมั้ย?
ไม่มีปัญญาหรอก!!!
ขณะนี้เราได้เชื้อจากอังกฤษ
เราก็จะได้เชื้อจากอินเดีย และแอฟริกา เพราะฉะนั้น วัคซีน “แอสตร้า เซนเนก้า” แน่นอนเราไม่มีทางเลือกก็ต้องฉีด
เพราะรัฐบอกว่ามันมีก็ต้องฉีดไป ยังไม่มีอย่างอื่น มีอะไรก็ต้องฉีด “ซิโนแวค”
ก็ต้องฉีด ทั้ง ๆ ที่มีปัญหา “แอสตร้า เซนเนก้า” อเมริกาเขาไม่เอาแล้ว เขามีเหลือ
ไปขอเขาก็พร้อมจะให้ใคร 60 ล้านโดน เขาทิ้งเลย! อาจจะบอกว่าเขารวย
แต่เขาคิดว่าชีวิตประชาชนสำคัญกว่า ถ้าประสิทธิภาพไม่ถึงแล้วจะฉีดทำไม
ไปเอาวัคซีนดี ๆ มาฉีดให้ เพราะเศรษฐกิจมันจะได้มากกว่า อ.ธิดากล่าว
ในทัศนะของดิฉัน
ต้องซื้อวัคซีนอีก 50 ล้านโดส และคนละชนิดกันเลยนะ ไม่เอาแบบนี้แล้ว ไม่ต้องซื้อ “แอสตร้า
เซนเนก้า” มาแล้ว ที่มีอยู่ 60 ล้านโดส ถ้าเปลี่ยนเป็นแบบอื่นได้ เปลี่ยนเป็น “โมเดอร์น่า”
ได้ เปลี่ยนเป็น “ไฟเซอร์” ได้ เปลี่ยนเลยค่ะ เอาวัคซีนรุ่นเก่าก็ยังได้ แต่ขอเป็น
“ซิโนฟาร์ม” ไม่ใช่ “ซิโนแวค”
เวลาคิดต้องคิดถึงในกรณีร้ายแรง
กรณีที่มันจะเสีย ไม่ใช่คิดแต่ในภาพสวยงาม คิดในด้านว่าเราเก่ง อุ้ย..ไม่ต้องวัคซีน
ใช้แมสก์นี่แหละ ก็เป็นวัคซีนที่ดี มันน่าขำ ไม่น่าเป็นไปได้เลย แต่มันก็เป็นไปแล้วในประเทศไทยว่าทำไมแพทย์ไทยพูดออกมาอย่างนี้ได้
ดิฉันไม่เชื่อว่าจากความคิดของในฐานะคนเรียนแพทย์
แต่ในฐานะข้าราชการที่อยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ที่พูดไปแล้ว
นายว่าอย่างไรก็ต้องพูดตามนั่นแหละ
นอกจากปัญหาอันนี้แล้ว
ก็คือปัญหาการฉีดวัคซีน เรารู้แล้วว่า “แอสตร้า เซนเนก้า” และ “ซิโนแวค”
มันมีผลที่ไม่พึงประสงค์อยู่มาก คุณพร้อมมั้ย?
คุณมียาสลายลิ่มเลือดและคุณมียาแก้พร้อมมั้ย? อ.ธิดาตั้งคำถาม
พูดถึงการบริหารจัดการ
คุณจะเพิ่มบุคลากร คุณเอาผู้ช่วยพยาบาล อบรมผู้ช่วย
แล้วก็เอาพยาบาลและแพทย์เกษียณมา การอบรมคนฉีดอบรมง่ายมาก
ก็คือให้รู้จักสิ่งที่เรียกว่า Aseptic Technique ก็คือกระบวนการปราศจากเชื้อในการฉีดและรู้พื้นที่ในการฉีดรวมทั้งจำนวนในการฉีด
ระยะเวลาการฝึกที่แย่ที่สุดก็คือ 1 เดือน จริง ๆ
ที่ถามคุณหมอเหวงบอกว่าสัปดาห์เดียวก็ฉีดได้แล้ว
ข้อสำคัญก็คือรู้จักวิธีการทำให้ปราศจากเชื้อในพื้นที่ที่จะฉีด ในมือที่จะฉีด
กระบวนการอะไรต่าง ๆ เหล่านี้
เพราะฉะนั้น
ต้องทุ่มทรัพยากร บุคคล เครื่องมือ รวมทั้งวัคซีนลงไปในการจัดการปัญหานี้
นี่ยังไม่ต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองงี่เง่านะ เอาว่าคุณแพ้แล้วนะ
แล้วขณะนี้อาการมันหนักแล้วนะ ดังนั้น เอาให้รอดปากเหวก่อน
เฉพาะหน้าคือทุ่มลงไปทุกอย่างในเรื่องของสาธารณสุข อ.ธิดาชี้แนะ
ทั้งหมดในวิกฤตโควิดนี้มันจะเห็นชัดเลยว่ามันเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคมด้วย
เป็นปัญหาของระบบราชการไทยด้วย ไลน์แอพพลิเคชั่น “หมอพร้อม” ดิฉันก็ทดลองดูแล้ว โอ้โห เรียกว่ามันสาหัสนะ
นี่ขนาดว่าคนรู้นะ ก็ต้องขยันทำนะ เพราะเดี๋ยวก็ล่ม ๆ เดี๋ยวก็มีคำตอบอะไรแปลก ๆ
อย่าง อ.ธิดา บอกว่าเป็น “บุคลากรด่านหน้า” แล้วทำไมมันเข้าไม่ได้ล่ะ
หรือว่ามันไม่มีที่ฉีดแล้ว ตอนหลังบอกว่ามีที่ฉีด แต่ว่ายังไม่พร้อม อะไรต่าง ๆ
เหล่านี้
ฉะนั้น
ดิฉันเรียกร้องนะ พี่น้องประชาชน
แม้นจะมีปัญหาข้างเคียง
ฉีดเถอะ!!!
แม้นว่าคุณจะเลือกไม่ได้
ก็ฉีดเถอะ!!!
เพราะว่าวิกฤตมันมาถึงแล้ว
ดิฉันก็ต้องพูดเหมือนเขาว่าอย่างน้อยที่สุดก็คือให้ตายน้อยลง
เขาก็เทียบเอาว่าตายจากการฉีดไม่เท่ากับการตายจากโควิด
แต่เขาไม่ได้เป็นคนตายเองนี่ คนที่กลัวตายคือกลัวตายของตัวเอง
อันนั้นเขาพูดในภาพรวมได้ แต่ในฐานะรัฐ ต้องแก้ปัญหาว่า ถ้ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นคุณจะช่วยเขาได้ทันท่วงทีอย่างไรบ้าง?
นี่ก็เป็นเรื่องที่ว่าเราพูดเร็ว
ๆ ว่า คุณผิดมามากแล้ว ต่อไปนี้คุณจะต้องดำเนินการในการทุ่มเททรัพยากรลงไป
ที่สำคัญคือ (อันนี้ดิฉันเพิ่มเติม) ต้องสนับสนุนการจัดตั้ง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ
และชุมชนเมือง ในการที่จะให้ประชาชนในชุมชนได้มีการจัดระบบเรื่องที่อยู่อาศัย
เรื่องการแยกคนที่มีโอกาสติดเชื้อ เพราะบางบ้านอยู่กัน 27 คน ติดไปแล้ว 20 กว่าคน
ลองคิดดู นี่คือปัญหาความเหลื่อมล้ำ เป็นปัญหาของสังคมไทยซึ่งเป็นภาพรวมทั้งหมดว่า
“คนไม่เท่ากัน” อ.ธิดากล่าว
คือจริง
ๆ คนติดเชื้อในรอบหลังไม่ได้ติดมาจากคนยากจน แต่ติดมาจากผับ จากสถานที่ที่คนรวยไป
แต่ว่าเวลาคนจนติดมันจะรุนแรงเพราะอยู่รวมกัน อยู่ในสถานที่แออัด ดังนั้นมันจึงเกิดผลกับประชาชนที่ยากจน
ที่ไม่มีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม และปัญหาสุขอนามัยที่ยังไม่พร้อม อ.ธิดาแสดงทัศนะ
ช่วงท้าย
อ.ธิดา กล่าวว่า ก็ขอให้เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สังคมไทยทั้งหมดมองเห็นว่า
ปัญหาของประเทศไม่ใช่เกิดจากคนใดคนหนึ่ง ไม่ได้เกิดจากกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งล้วน ๆ
แต่มันเป็นปัญหารวมของการเมืองการปกครองที่คนยังไม่เท่ากัน ค่าของคนก็ไม่เท่ากัน
การจัดการปัญหาก็เป็นการจัดการปัญหาของกลุ่มคนจารีตที่ทุกอย่างต้องอยู่ที่รวมศูนย์
อยู่ที่ตัวเจ้าของ
เอ๊ะ
ประชาชนทั่วไปคล้าย ๆ สัตว์เลี้ยงหรือเปล่า? ที่ไม่มีทางเลือก
แล้วแต่เขาจะไปหาวัคซีนอะไรมาให้ฉีด แล้วแต่เขาจะเรียกไปฉีดได้เมื่อไหร่?
ก็คือรอตายลูกเดียว
ตอนนี้มีอย่างเดียวก็คือว่า
“ฉีดวัคซีนเถอะ”
แม้นว่ามันจะมีปัญหา
แล้วก็ซื้อมาเถอะ
“วัคซีน” แค่ 100 ล้านโดส ไม่พอ
แล้วก็เตรียมไว้เถอะว่าจะต้องมี
“วัคซีน” สำหรับรองรับเป็นโดสที่ 3 สำหรับเชื้อที่มีโอกาสกลายพันธุ์
และประเทศไทย
ประชาชนไทย เตรียมไว้เถิดว่าสถานการณ์ของโรคติดเชื้อจะรุนแรงยาว มันจะไม่ได้จบเร็ว
พอมาเป็นระลอกนี้ นี่เป็นระลอก 3 ก็มีระลอก 4 แล้วก็มีระลอก 5
แล้วอาจจะเปลี่ยนจากเชื้อโควิด19 เป็นเชื้อตัวอื่นอีกก็ได้
เพราะนี่คือปัญหาของสังคมเมือง ปัญหาของสังคมโลก อ.ธิดากล่าว
ดังนั้น
รัฐจะต้องเป็นรัฐสมัยใหม่ที่ทันต่อสถานการณ์ของการเปลี่ยนแปลง
เป็นรัฐที่มีวิสัยทัศน์ มองไปข้างหน้ายาวไกล มีองค์ความรู้ ที่สำคัญก็คือเห็นคุณค่าของประชาชนว่าเป็นคนเท่ากัน
เงิน
ตัวเลขต่าง ๆ มันไม่สำคัญเท่าชีวิตคน นอกจากนั้นยังไม่สำคัญเท่ากับศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
แล้วถ้าตระหนักสิ่งเหล่านี้เราจะไม่มีทั้งสองวิกฤตเลยค่ะ อ.ธิดา กล่าวในที่สุด