“พริษฐ์” เผย ‘ปชน.-พท’ เห็นตรงกันนานแล้ว ทำประชาชามติแก้รัฐธรรมนูญ 2
ครั้งพอ รอตอบรับกลับ หลังส่งหนังสือหารือนายกฯ - ปธ.สภา - ศาลรธน.
ไม่กังวลผลโพลคะแนนฝ่ายค้านลด เปรียบ ‘เตะบอล’ ต้องรอจบ 90 นาที
ประชนชนผู้ตัดสิน
เมื่อเวลา
10.00 น. วันที่ 4 พ.ย.2567 ที่อาคารอนาคตใหม่
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคประชาชน (ปชน.)
ให้สัมภาษณ์กรณีพรรคเพื่อไทยตอบรับเรื่องการทำประชามติ 2 ครั้งว่า
เรื่องจำนวนของการทำประชามติ พรรคประชาชนและพรรคเพื่อไทย เห็นตรงกันมานานแล้ว ในเชิงความจำเป็นของกฎหมายว่า
2 ครั้งพอ
แต่ที่ผ่านมา
พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล พยายามจะใช้การยื่นเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ
เพื่อขยายความให้เกิดความชัดเจนขึ้นว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 4/2564 หมายถึงจำนวนการทำประชามติทั้งหมดกี่ครั้ง
พอศาลรัฐธรรมนูญไม่รับเรื่อง ทำให้ประธานสภาฯ มองว่าต้องทำประชามติ 3 ครั้ง ส่งผลให้ไม่บรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ศ.ร.) ของพรรคเพื่อไทย
และพรรคก้าวไกลที่ยื่นไปเมื่อต้นปี
ดังนั้น
ตนมองว่าจุดยืนของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชนสอดคล้องกันมาตลอด แต่มาถึงวันนี้
เราก็ต้องมาคิดกันว่าจะทำอย่างไร ให้แผนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ที่อาศัยการทำประชามติ 3
ครั้ง เกิดขึ้นได้จริง
นายพริษฐ์
มองว่า ยังมี 3
ล็อกหรือ 3 บุคคลสำคัญที่ต้องเข้าไปหารือ คือ 1.ประธานรัฐสภา เพื่อขอให้บรรจุร่างดังกล่าวลงระเบียบวาระ 2.นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล เพื่อทำให้สมาชิกรัฐสภาลงมติเห็นชอบ
โดยไม่นำคำวินิจฉัย 4/2564 มาเป็นข้ออ้างในการลงมติไม่เห็นชอบ
และ 3.ศาลรัฐธรรมนูญ
เพื่อขอให้ขยายความให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน และเดินตามแนวทางดังกล่าว
ทั้งนี้
ได้ส่งหนังสือ เพื่อขอเข้าพบกับ 3 บุคคลดังกล่าวแล้ว
เนื่องจากวาระการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้ทันกับการเลือกตั้งครั้งถัดไป
ไม่เพียงแต่เป็นวาระที่ทั้งพรรครัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน
เคยออกมาประกาศว่าเห็นตรงกัน
แต่ยังเป็นนโยบายที่รัฐบาลได้สัญญาไว้กับประชาชนเช่นกัน
เราก็อยากจะเห็นเป้าหมายดังกล่าวสำเร็จ
เมื่อถามถึงการทำหนังสือที่ส่งไป
มีการตอบรับมาแล้วหรือยัง นายพริษฐ์ กล่าวว่า เท่าที่ทราบ ยังไม่มีการตอบรับกลับมา
เนื่องจากเราส่งไปเมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้ว
แต่เมื่อติดตามการให้สัมภาษณ์ของบุคคลในพรรคเพื่อไทยเรื่องนี้
ก็ฟังดูเป็นนิมิตรหมายที่ดี ว่า พรรคเพื่อไทย ในฐานะแกนนำพรรครัฐบาล
น่าจะพร้อมหารือ หาทางออกเรื่องนี้ร่วมกับเรา รอคำตอบจากทั้ง 3 ท่าน
เมื่อถามถึงความมั่นใจในการทำประชามติ
2 ครั้ง ไม่ถูกหยิบยกไปอ้างในการร้องศาลภายหลัง นายพริษฐ์ กล่าวว่า การพบ 3
บุคคลดังกล่าว จึงมีความสำคัญ
หรือเป็นตัวแปรสำคัญมากที่เราจะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จทันก่อนการเลือกตั้งครั้งถัดไป
เมื่อถามว่า
หากให้ประเมินผลงานตัวเองที่ผ่านมา เต็มสิบให้เท่าไหร่ นายพริษฐ์ กล่าวว่า
คนที่ให้คะแนนฝ่ายการเมืองได้ดีที่สุด คงไม่ใช่พวกเราเอง แต่คือประชาชน
ผู้สื่อข่าวถามว่า
ภาพจำของกฎหมายที่ผ่านสภา ซึ่งมักจะเป็นกฎหมายที่พรรครัฐบาลเห็นด้วย
จะสามารถนับว่าเป็นผลงานของฝ่ายค้านได้อย่างไร นายพริษฐ์ กล่าวว่า
แน่นอนว่าเมื่อเราเป็นฝ่ายค้าน เรามีเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ถ้าสภาจะเห็นชอบ ต้องมี
สส.ฝ่ายรัฐบาลเห็นชอบด้วย ยืนยันว่าไม่ได้มีความกังวลใจ
ถ้าภาพจำจะเป็นผลงานของรัฐบาล เพราะหากย้อนไปตั้งแต่การก่อตั้งพรรคประชาชน
รวมถึงพรรคก้าวไกล ที่ตั้งใจจะสร้างความเปลี่ยนแปลง ดังนั้น
หากการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในช่วงสมัยที่พรรคประชาชนไม่ได้เป็นรัฐบาล
เราก็เห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อประเทศ ที่แสดงให้เห็นว่าไม่จำเป็นต้องรอให้พรรคประชาชนเป็นรัฐบาล
พรรคประชาชนก็สามารถพยายามผลักดันและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงบางอย่างไปก่อนได้
ส่วนผลโพลที่คะแนนฝ่ายค้านลดลง
มองว่ามีนัยสำคัญอย่างไร และจะมีการปรับเกมอย่างไรบ้างนั้น นายพริษฐ์ กล่าวว่า
ผลโพลทุกสำนักเป็นข้อมูลประกอบที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของทุกฝ่ายอยู่แล้ว
แต่ต้องดูในรายละเอียดว่าเป็นผลโพลของสำนักไหน มีวิธีการถามคำถามอย่างไร และถามกับใคร
ซึ่งทั้งหมดก็เป็นประโยชน์
“ท้ายที่สุด ผลงานของเรา ประชาชนจะพิพากษาอย่างไร
ก็จะจบที่การเลือกตั้งครั้งถัดไป หากเปรียบเหมือนเกมฟุตบอล
ก็เป็นข้อมูลที่อาจจะช่วยให้เราสามารถปรับเกมระหว่างการแข่งขันได้
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือคะแนนตอนจบเกมการแข่งขัน 90 นาที”
โฆษกพรรคประชาชน ระบุ
เมื่อถามว่า
ในการเมืองก่อนปิดสภา ซึ่งพรรคประชาชนอาจถูกมองว่าเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ค้านไม่จริง
เนื่องจากเคยเป็นพันธมิตรกับพรรคเพื่อไทยมาก่อน ทำให้การตรวจสอบไม่เต็มที่
นายพริษฐ์ กล่าวยืนยันว่า ตลอด 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา
เราในฐแกนนำพรรคฝ่ายค้านใช้กลไกของสภาอย่างเต็มที่
ในการตรวจสอบรัฐบาลทุกเรื่องที่สังคมคาใจส่วนเรื่องข้อเท็จจริงที่คงปฏิเสธไม่ได้
คือพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลเคยอยู่ในซีกพรรคฝ่ายค้านร่วมกัน
แต่ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลในปี 66 เป็นต้นมา
เมื่ออยู่คนละขั้วกัน เราก็ทำงานเต็มที่ในการตรวจสอบ ไม่มีฮั้ว
ไม่มีการอ่อนข้อแน่นอน ตนเชื่อว่า ในอีก 2 ปีครึ่งข้างหน้า
จะยิ่งตอกย้ำ และยืนยันภาพดังกล่าว