'นายกรัฐมนตรี' รุดติดตามสถานการณ์น้ำ
ห่วงสร้างผลกระทบกับประชาชนและพื้นที่เศรษฐกิจ
ย้ำกรมชลประทานติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด เร่งแก้ไขปัญหาให้ทันท่วงที
วันที่
27 กันยายน 2566 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินทางไปยังกรมชลประทาน (สามเสน)
เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ ภายหลังฝนตกหนักติดกันหลายวัน โดยนายกรัฐมนตรี
ได้แสดงความห่วงใยถึงสถานการณ์น้ำในจังหวัดอุบลราชธานี หลังจากที่มีการพูดคุยกับ
สส.ภายในพื้นที่ ซึ่งคาดว่าน้ำจะใช้ระยะเวลาในการลดลงสู่ระดับปกติราวหนึ่งเดือน
และได้กำชับให้หน่วยงานในพื้นที่ติดตามสถานการณ์ ซึ่งจากนี้อีกราว 10 วัน จะลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อติดตามสถานการณ์ด้วยตัวเอง
จากนั้น
นายกรัฐมนตรี ได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และข้าราชการในกรมชลประทาน
โดยได้ขอบคุณข้าราชการทุกท่านที่เตรียมการเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ
เพราะเรื่องภัยธรรมชาติไม่สามารถควบคุมได้ ส่วนตัวภารกิจเยอะ
แต่พยายามที่จะมาที่นี่เพราะเป็นห่วงมากเรื่องน้ำท่วมและน้ำแล้ง
นายกรัฐมนตรี
กล่าวอีกว่า ขณะนี้ฝนตกต้องติดตามน้ำทั้งหน้าเขื่อนได้หลังเขื่อน ซึ่งเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา
ได้มีการพูดคุยกับ สส.ภาคอีสาน
ซึ่งมีความเป็นห่วงมากในพื้นที่จังหวัดอุบลฝากให้ติดตาม
จะต้องแก้ไขปัญหาให้เร็วเพราะจะเกิดความเสียหายฝากให้เฝ้าระวังในพื้นที่ทุกจุด
ส่วนพื้นที่ภาคใต้
ตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคมเป็นต้นไปต้องเฝ้าระวังด้วยเช่นกัน ทุกคนทำงานหนัก
เพราะน้ำท่วมน้ำแล้งมีผลเสียหายหนักมากกับเศรษฐกิจ แต่ยังไม่สามารถควบคุมได้
เนื่องจากปริมาณฝน ไม่ว่าจะฝนตกน้อยหรือฝนตกมากขึ้นอยู่กับสถานการณ์
จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์ในประเทศอย่างใกล้ชิด
และหากประชาชนเดือดร้อนจากน้ำท่วมก็ขอให้ดูแลอย่างใกล้ชิด ขอให้เตรียมแผนระยะกลางและระยะยาวให้ดี
และตนเองก็จะพยายามเฝ้าติดตามและลงพื้นที่ต่อเนื่อง
เพราะเรื่องนี้เป็นปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
ทั้งนี้มีรายงานปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ
ส่วนปริมาณน้ำในเขื่อนใหญ่ทั่วประเทศ ยังมีปริมาณน้อยกว่าปี 2565 สำหรับปริมาณน้ำใช้การได้ทั้งประเทศในปี
2566 ขณะนี้มีอยู่ที่ราว 2,500 ล้านลูกบาศก์เมตร
น้อยกว่าปี 2565 ถึง 5,000 กว่าล้านลูกบาศก์เมตร
ซึ่งอ่างเก็บน้ำและคืนหลักทั่วประเทศ ยังสามารถรับน้ำได้อีกมากถึง 2,600 ล้านลูกบาศก์เมตร
โดยปริมาณน้ำใช้การได้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
ซึ่งมีปริมาณน้ำที่ต่ำกว่าเกณฑ์ 30% ของความจุอ่าง 6 แห่ง
ประกอบไปด้วยอ่างเก็บน้ำปราณบุรี, อ่างเก็บน้ำกระเสียว
อ่างเก็บน้ำทับเสลา อ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์และอ่างเก็บน้ำภูมิพล
ขณะที่ภาคอุตสาหกรรม ยังไม่ได้รับผลกระทบเรื่องน้ำในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ในพื้นที่ภาคตะวันออก
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #รัฐบาลเศรษฐา1