“อ.ธิดา”
ชี้ รธน.60 สมควรอย่างยิ่งที่จะถูกเขียนใหม่/แก้ไขใหม่โดยเร็วที่สุด
ก่อนที่จะสายเกินแก้
วันนี้
(22 กันยายน 2566) อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ เลขาธิการกรรมการคณะประชาชนทวงความยุติธรรม
2553 (คปช.53) และอดีตประธานนปช. ได้โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ต่อกรณีการใช้มาตรฐานจริยธรรมลงโทษนักการเมือง
โดยมีข้อความดังนี้
ธิดา
ถาวรเศรษฐ : กรณีใช้มาตรฐานจริยธรรมลงโทษนักการเมือง
ตามรัฐธรรมนูญ
2560 มาตรา 219 ที่กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ
ร่วมกันกำหนดมาตรฐานจริยธรรมขึ้น ที่นอกจากใช้กับองค์กรอิสระกันเองแล้ว
เอามาบังคับใช้กับสส., สว. และรัฐมนตรี นี่เป็นการซ่อนกลที่แยบยลมาก แสดงถึงความสำคัญและอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ
ในการเป็นเสาที่ 4 ที่ควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารได้อย่างง่ายดาย และจัดการได้รวดเร็วมาก
ถ้าดูมาตรฐานจริยธรรมที่กำหนดไว้ แสดงถึงจริยธรรมที่มีลักษณะจารีตมาก กว้างขวางมาก
อยู่ที่การไต่สวนตีความ และแบ่งเป็น 3 หมวด
โดยหมวดสำคัญที่ลงโทษรุนแรงคือมาตรฐานจริยธรรมอันเป็นอุดมการณ์ที่สำคัญคือข้อ 5
และข้อ 6 อันระบุในคำพิพากษาด้วยคือ
ข้อ
5
ต้องยึดมั่นและธำรงไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ
ข้อ
6 ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย บูรณภาพ
และผลประโยชน์ของชาติ ความมั่นคงของรัฐ และความสงบเรียบร้อยของประชาชน
และยังมีข้ออื่น
ๆ อีก รวมถึงข้อ 28 ที่สุ่มเสี่ยงต่อฝ่ายการเมืองจะถูกจัดการ (ไปหาอ่านดูเสีย)
ดังนั้น
นอกจากมีมาตรา 2, มาตรา 6, มาตรา 50(1), มาตรา 219, มาตรา 234, มาตรา 235
และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
มาตรา 87, มาตรา 55(3) ก็มีมาตรฐานจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ
พ.ศ. 2561 ข้อ 5, ข้อ 6, ข้อ 27 วรรค 1 ฯลฯ
ถูกนำมาใช้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคุณช่อ พรรณิการ์ (น.ส.พรรณิการ์
วานิช) ตลอดไป รวมถึงไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา
235 วรรค 3 และวรรค 4
ความจริงดิฉันมีความคิดเห็นตั้งข้อสังเกตในกรณีนี้
เริ่มจากดิฉันไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาจารีต
อำนาจนิยมของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ที่เน้นปกป้องแนวคิดจารีตนิยม
เพราะคิดว่าเพื่อความมั่นคงของชาติ
ดิฉันเห็นตรงข้ามว่าเป็นการทำลายความมั่นคงเมื่อกำหนดไว้และใช้อย่างไม่เหมาะสม
ประการต่อมา
ไม่เห็นด้วยกับอำนาจควบคุมจากองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีที่มาจากฝ่ายจารีต
อำนาจนิยม เป็นอำนาจเกินอำนาจประชาชน
ประการที่สามคือ
ในการกำหนดมาตรฐานจริยธรรมตามมาตรา 219 นี้ ก็ระบุว่า ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
การมาใช้ยังคับในกรณีนี้ก็ทำให้เกิดความสงสัยได้ เพราะเพียงไม่ลบโพสต์เก่า
(ซึ่งปกติไม่มีใครเห็นหรือดูกัน)
ก็เป็นที่ฉงนสนเท่ห์ว่าจะใช้เป็นความผิดได้หรือไม่ ในทัศนะดิฉัน
ยิ่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายเป็นจารีตนิยมมากเท่าใด ก็ยิ่งคุกคามประชาชนมากขึ้น
(ยิ่งไม่มั่นคงยิ่งขึ้น)
ดังนั้น
รัฐธรรมนูญ 2560 ที่ถูกเขียนขึ้นโดยอำนาจคณะรัฐประหาร 2557 และควบคุมการทำประชามติ
ไม่ให้ความเห็นต่างได้รับการแสดงออก รวมทั้งคำถามประชามติและบทเฉพาะกาล
ก็ถูกประดิษฐ์บิดเบือนความจริงที่ซ่อนไว้ เพื่อควบคุมอำนาจประชาชน
สมควรอย่างยิ่งที่จะถูกเขียนใหม่/แก้ไขใหม่โดยเร็วที่สุด ก่อนที่จะสายเกินแก้
การทวงถามความยุติธรรมสำหรับกรณีปี
2553 ของคนเสื้อแดงที่ยังไม่ทำสำนวนไต่สวนการตายถึง 68 คดี และคั่งค้างที่ดีเอสไอ,
อัยการ, ศาลทหาร ถูกแช่แข็งไว้ จะดำเนินไปได้อย่างไร
ถ้าขบวนการจารีตอำนาจนิยมยังครองอำนาจอยู่ในแผ่นดินนี้!
22
กันยายน 2566
คณะประชาชนทวงความยุติธรรม
2553 (คปช.53)