"พิธา-เดชรัต" บรรยายราชภัฏเชียงใหม่ เปิดเบื้องหลังละเอียดยิบ ที่มา 300
นโยบายเปลี่ยนประเทศของก้าวไกล ชูสโลแกน “การเมืองดี ปากท้องดี
มีอนาคต” ทำชนะเลือกตั้ง
วันที่
29 กันยายน 2566 ที่โรงแรมเมอร์เคียว อ.เมือง
จ.เชียงใหม่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล และเดชรัต
สุขกำเนิด ผู้อำนวยการ Think Forward Center ร่วมบรรยายในประเด็นทางวิชาการเกี่ยวกับนโยบายของพรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่ง
ว่ามีกระบวนการกำหนดนโยบายอย่างไรบ้าง โดยมีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเข้าร่วมรับฟังกว่า
250 คน
โดยพิธา
ลิ้มเจริญรัตน์ และเดชรัต สุขกำเนิด เริ่มเกริ่นจากการเปิดเว็บไซต์ election66.moveforwardparty.org/policy เพื่อชี้ให้เห็นว่าพรรคก้าวไกลมีนโยบายที่ใช้หาเสียงเลือกตั้งกว่า 300
นโยบาย ครอบคลุมในทุกภาคส่วนของสังคม เช่น ชุดนโยบายประชาธิปไตย
สวัสดิการครบวงจร การกระจายอำนาจ ราชการเพื่อราษฎร เกษตรก้าวหน้า ปฏิวัติการศึกษา
สิ่งแวดล้อมยั่งยืน และเศรษฐกิจเพื่อทุกคน เป็นต้น
เพื่อชี้ให้เห็นว่ากว่าจะมาเป็นนโยบายที่ครอบคลุม ละเอียด และค้นหาได้ง่าย
พร้อมทั้งมีการสื่อสารนโยบายที่มีประสิทธิภาพ
ทำให้พรรคก้าวไกลได้รับการเลือกตั้งมาเป็นอันดับ 1 นั้นมีที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง
โดยการออกแบบนโยบายแบ่งออกเป็น
4 ขั้นตอน ได้แก่ 1.การค้นหาประเด็นนโยบาย/ปัญหาในพื้นที่
2.การออกแบบรายละเอียดนโยบาย 3.การทดสอบความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง
และ 4.การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
โดยการค้นหาประเด็นนโยบายหรือปัญหาต่างๆ
ในพื้นที่ ก็สามารถค้นคว้าได้จากหลายช่องทาง เช่น การค้นหาจากประชาชนในพื้นที่(Primary) การค้นหาจากข่าวสาร ข้อเขียน งานวิจัยที่เคยมีอยู่แล้ว(Secondary) การค้นหาจากการนำเสนอของประชาชน(Crowdsourcing) และการค้นหาจากประสบการณ์และนโยบายต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม
การกลั่นกรองนโยบายต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้รอบด้านควบคู่กันด้วย ได้แก่ 1.ความเป็นไปได้เชิงเทคนิค
2.ความเป็นไปได้ในทางการบริหาร/ทางกฎหมาย 3.ความเป็นไปได้ทางการเงิน 4.ความเป็นไปได้ทางการเมือง
ตัวอย่างเช่น
ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ไม่ได้มีปัญหาในข้อ 1-3 เลย แต่ยังมีข้อติดขัดในข้อ 4
ความเป็นไปได้ทางการเมือง เพราะยังมีกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง มีวิถีชีวิต
ความเชื่อทางศาสนาที่แตกต่างกันและไม่เข้าใจนโยบายนี้
หน้าที่เราคือพยายามอธิบายว่านี่เป็นเรื่องของการดูแลกันด้วยพันธะทางกฎหมายให้คุ้มครองทุกคนเสมอภาคกัน
แต่เรื่องรสนิยมและความเชื่อก็เป็นเรื่องส่วนบุคคล
หรือสมมติว่าหากเราอยากแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ
PM2.5 แล้วคิดอย่างสุดโต่ง ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง
จะเอายานอวกาศมาดูดฝุ่นไปให้หมดจากโลก ก็เป็นไปไม่ได้ทั้ง 4 ข้อ
เราก็เรียกนโยบายแบบนี้ว่ายูนิคอร์นในทุ่งลาเวนเดอร์
เดชรัต
สุขกำเนิด เปิดเผยตัวเลขสถิติเบื้องหลังการทำงานนโยบายพรรคก้าวไกลว่าตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง
เรามีบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานนโยบายถึง 200 คน มีทั้งคณะทำงานประจำ
และคณะทำงาน อาสาสมัคร ที่อยู่ในแต่ละพื้นที่ ทำหน้าที่สะท้อน
ชี้เป้าปัญหาให้เราออกแบบเป็นนโยบาย มีการทำงานมากกว่า 4,200 ชั่วโมง มีการลงพื้นที่นับร้อยครั้ง รวมระยะทางอย่างน้อย 45,358 กิโลเมตร ทั่วประเทศ จนกลั่นกรองมาเป็น 300 นโยบาย
“การเมืองดี ปากท้องดี มีอนาคต” พรรคก้าวไกลได้สำเร็จ
แต่ความสำเร็จนั้นเกิดขึ้นจากการสื่อสารนโยบายที่มีประสิทธิภาพ
ด้วยการอบกรมผู้ลงสมัครเลือกตั้งเป็น สส. ของพรรคก้าวไกล และแกนนำพรรคทุกคน
ให้เข้าใจนโยบายทุกนโยบายอย่างถ่องแท้ มีการทำสมุดและเว็บไซต์ลงรายละเอียด 300 นโยบายโดยละเอียด
เวลาไปขึ้นเวทีดีเบตนโยบายทุกครั้งก็ไม่มีใครตายเวที
สามารถตอบได้เป็นทิศทางเดียวเหมือนกันหมด
ที่สำคัญ
เรามีการปิดจุดอ่อนที่คิดว่าจะถูกโจมตี เช่นความเป็นไปได้ทางการเงินของทุกนโยบายที่เรานำเสนอ
โดยเฉพาะ “นโยบายสวัสดิการก้าวหน้าตั้งแต่เกิดจนตาย”
เราจึงมีการเปิดเผยเบื้องหลังการคำนวณงบประมาณและแหล่งงบประมาณที่เราจะนำมาใช้ในโครงการสวัสดิการต่างๆ
หากก้าวไกลเป็นรัฐบาลรวมกว่า “650,000 ล้านบาท มีเงินจ่าย ทำได้จริง” ด้วยสารสื่อสารอินโฟกราฟฟิกให้ประชาชนเข้าใจง่าย
และหากถูกสอบถามที่ไหนพวกเราทุกคนก็สามารถอธิบายให้กระจ่างได้ชัดเจน
โดยตลอดการบรรยาย
ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักศึกษา
โดยมีการถามตอบประเด็นรายละเอียดนโยบายต่างๆ ที่นักศึกษาสนใจ
โดยชุดนโยบายที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ ได้แก่ ชุดนโยบายกระจายอำนาจ
ชุดนโยบายการศึกษา ชุดนโยบายสวัสดิการถ้วนหน้าและนโยบายคนทำงาน
โดยพิธามีกำหนดการร่วมกับ
สส. พรรคก้าวไกล จัดเวที “ก้าวต่อไปเชียงใหม่ท้องถิ่น"
ที่สนามฟุตบอลหญ้าเทียม เทศบาลเมืองแม่เหียะ จ.เชียงใหม่ วันศุกร์ที่ 29 กันยายน
2566 เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #ก้าวไกล