วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2566

“ผบ.ตร. – อธิบดีอัยการ” ส่งสำนวนคดีตู้ห่าว ให้อัยการสูงสุดพิจารณา หลังอัยการสูงสุดรับลูก คดีตู้ห่าว เป็นคดีนอกราชอาณาจักร พร้อมขอให้ประชาชนมั่นใจการทำงานของคณะสอบสวนชุดนี้

 


“ผบ.ตร. – อธิบดีอัยการ” ส่งสำนวนคดีตู้ห่าว ให้อัยการสูงสุดพิจารณา หลังอัยการสูงสุดรับลูก คดีตู้ห่าว เป็นคดีนอกราชอาณาจักร พร้อมขอให้ประชาชนมั่นใจการทำงานของคณะสอบสวนชุดนี้


วันนี้ 13 ม.ค. 2566 เมื่อเวลา 10.00 น. พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วย นายกุลธนิต มงคลสวัสดิ์ อธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวนและพนักงานสอบสวนคดีตู้ห่าว นำสำนวน 13 กล่อง หรือ 13 ลัง หนา 67 แฟ้ม 20,000 กว่าหน้า ส่งมอบให้อัยการสูงสุดพิจารณามีความเห็นทางคดีสั่งฟ้องตู้ห่าวกับพวกรวม 43 ราย ประกอบด้วยผู้ต้องหาเป็นบุคคลจำนวน 38 รายและนิติบุคคลอีก 5 ราย โดยในจำนวนนี้ยังมีผู้ต้องหาที่ยังหลบหนีการจับกุมจำนวน 18 ราย

 

บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วย นายกุลธนิต อธิบดีอัยการ สำนักงานการสอบสวนเปิดเผยต่อสื่อมวลชนก่อนส่งสำนวนโดย ผบ.ตร.กล่าวว่า คดีนี้จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2565 เมื่อผู้บัญชาการตำรวจนครบาลซึ่งนำโดย พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง และตำรวจฝ่ายสืบสวนของกองบังคับการตำรวจนครบาล ร่วมกันเข้าตรวจค้นผับจินหลิงจนพบผู้เสพสารเสพติดซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวคนจีน คนไทย และชาติอื่น ๆ รวมกว่า 70 คน


ซึ่งจากการสืบสวนหลังเข้าตรวจค้นพบว่า ผับดังกล่าวและผู้อยู่เบื้องหลังคือ นายตู้ห่าว หรือ นายชัยณัฐ​ร์​ กรณ์​ชา​ยานันท์ นอกจากนี้จากการสืบสวนของตำรวจฝ่ายสืบสวนนครบาลยังพบผู้ร่วมกระทำผิดซึ่งเป็นผู้ต้องหาหลัก ๆ ได้ทั้งสิ้น 43 ราย โดยแบ่งเป็นบุคคลจำนวน 38 ราย และนิติบุคคลอีก 5 ราย โดยในจำนวนนี้ตำรวจสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้แล้ว 20 ราย ส่วนที่เหลืออีก 18 ราย อยู่ระหว่างการหลบหนี ซึ่งทั้ง 18 รายเป็นบุคคลธรรมดา


โดยคดีนี้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลได้ทำหนังสือถึงอัยการสูงสุดให้พิจารณาดำเนินคดีกับตู้ห่าวและพวก ในความผิดฐานอาชญากรรมข้ามชาติ หรือคดีนอกอาณาจักร ต่อมาอัยการสูงสุดรับพิจารณาแล้วเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีนอกราชอาณาจักรหรือคดีอาชญากรรมข้ามชาติ จึงสั่งตั้งคณะทำงานพนักงานสอบสวนของอัยการสูงสุดขึ้นมาทำงานร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยอัยการสูงสุดรับคดีนี้เข้าสู่การสอบสวนในวันที่ 16 ธันวาคม 2565


ผู้บัญชาการตำรวจแห่วชาติ ยังกล่าวถึงกรณีการดำนเนินคดีกับตำรวจ 6 นายที่ มีส่วนกระทำผิดในคดีตู้ห่าวว่า ตำรวจ 5 นาย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือผู้ต้องหาในคดีตู้ห่าว ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของป.ป.ช. ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้สั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนแล้ว หลังพบว่ามีส่วนทำให้คดีเสียหาย ส่วน พ.ต.อ.วัทนารีย์ ภรรยาของนายตู่ห่าว ซึ่งพบพยานหลักฐานเชื่อมโยงว่ามีส่วนรู้เห็นกับการฟอกเงิน เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้เลย ก็ต้องให้ออกจากราชการเช่นเดียวกัน ยืนยันตำรวจไม่มีการช่วยเหลือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง


ผบ.ตร.ยังบอกอีกว่า ในคดีนี้ตำรวจสามารถสอบปากคำพยานได้กว่า 70 ปาก นอกจากนี้ยังมีพยานหลักฐานเป็นพยานเอกสาร พยานจากนิติวิทยาศาสตร์ และวัตถุพยานอื่น ๆ อีกจำนวนมาก และสามารถยึดอายัดทรัพย์ได้กว่า 5,000 ล้านบาท จึงมั่นใจว่า สำนวนทั้ง 13 ลัง จะสามารถเอาผิดผู้ต้องหาทั้งหมดได้ ตามด้วยข้อกล่าวหาที่ตั้งมาก่อนหน้านี้ได้


ด้านนายกุลธนิต บอกอีกว่า ตั้งแต่รับคดีนี้เข้าสู่อำนาจการสอบสวน วันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา ตนพร้อมคณะอัยการและตำรวจ 4 หน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ทำงานตลอดทั้งวันทั้งคืนจนสามารถสอบปากคำผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและรับรู้ในคดีนี้ ซึ่งสำนวนที่นำมาส่งให้อัยการสูงสุดในวันนี้ ถือว่าสิ้นสุดการสอบสวนแล้ว หลังจากนี้จะเป็นอำนาจของอัยการสูงสุดที่จะพิจารณาสำนวนเพื่อนำไปสู่ความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหา  และขอยืนยันว่าคณะพนักงานสอบสวนทั้งสององค์กรไม่มีการเรียกรับสินบนในการทำคดีจับตู้ห่าว


อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่คณะพนักงานสอบสวนนำสำนวนมาส่งมอบให้อัยการสูงสุด นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ซึ่งถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการตรวจสอบคดีนี้ ได้เดินทางมาร่วมสังเกตการณ์และให้กำลังใจคณะทำงาน โดยนายชูวิทย์ได้ยกมือไหว้ขอโทษ อธิบดีอัยการและ ผบ.ตร. ที่ตนกระทำการล่วงเกินต่อคณะทำงาน แต่ยืนยันว่า การกระทำของตนเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ ไม่มีเรื่องอื่นแอบแฝง พร้อม จะติดตามคดีนี้ต่อไป


#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #ทุนจีนสีเทา #ตู้ห่าว