มวลชนเดินสายยื่นหนังสือ
10 สถานทูต รายงานสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนหลังการประชุม APEC2022
และสถานการณ์ปัจจุบันกรณี “ตะวัน-แบม”
ตั้งข้อสังเกต การละเมิดหลักการพื้นฐานในทางกฎหมายของรัฐไทยเกิดขึ้นต่อจำเลยคดีการเมืองเท่านั้น
วันที่
23 มกราคม 2566 กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม
กลุ่มทะลุวัง กลุ่มโมกหลวงริมน้ำ และกลุ่มแนวร่วมอื่น ๆ
จัดกิจกรรมนัดหมายมวลชนเดินสายยื่นหนังสือถึงผู้นำ APEC ตามสถานทูตประเทศต่าง
ๆ
โดยเมื่อเวลา
9.45 น. มวลชนทยอยเข้ารวมตัวกันในพื้นที่
ก่อนเข้ายื่นหนังสือกับตัวแทนจากสถานทูตฝรั่งเศส เมื่อเวลา 10.10 น. ก่อนเดินทางโดยรถจักรยานยนต์ รถแท็กซี่ และรถยนต์ส่วนตัวไป ยื่นหนังสือที่สถานทูตมาเลเซียต่อไปตามลำดับ
ทั้งนี้
กำหนดการเดินสายยื่นหนังสือจะเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 10.00 น.
– 14.30 น. โดยเริ่มจากสถานทูตฝรั่งเศส, สถานทูตมาเลเซีย, สถานทูตแคนาดา,
สถานทูตออสเตรเลีย, สถานทูตญี่ปุ่น, สถานทูตสหรัฐอเมริกา, สถานทูตนิวซีแลนด์, สถานทูตอินโดนีเซีย, สถานทูตชิลี และสถานทูตเกาหลีใต้
โดยรายงานที่นักกิจกรรมเหล่านี้ยื่นต่อสถานทูตต่าง
ๆ มีเนื้อหาเป็นรายงานสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนหลังการประชุมเอเปค 2022
ว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บและถูกยิงกระสุนยางเข้าที่ตาจนตาบอดจากการเข้าร่วมชุมนุมเอเปค
อีกทั้งยังรายงานถึงสถานการณ์ที่ประชาชนโดนเพิกถอนการประกันตัว
จากการเข้าร่วมชุมนุมเอเปค ทั้งที่เงื่อนไขการให้ประกันตัวนั้นขัดกับรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน
โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่าการละเมิดหลักการพื้นฐานในทางกฎหมายของรัฐไทยนั้นมักเกิดขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญต่อจำเลยคดีทางการเมืองเท่านั้น
ในรายงานระบุถึง
กรณีที่ปรากฏชัดเจนคือการเพิกถอนการประกันตัวของนักกิจกรรมทางการเมืองสองคนเมื่อวันที่
9 มกราคม 2566
ผู้พิพากษาเจ้าของคดีเป็นผู้เดียวที่มีส่วนในการหาพยานหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อถอนประกันครั้งล่าสุดเองโดยไม่มีพนักงานอัยการและพนักงานสอบสวนเข้าไปเกี่ยวข้องในการยื่นเรื่องเพิกถอนการให้ประกันตัว
บทบาทของศาลในอารยะประเทศควรวางตัวเป็นกลางไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับฝ่ายโจทก์หรือจำเลยในคดี
ภาระการพิสูจน์ควรอยู่ที่โจทก์หรือจำเลยหาใช่ศาลสถิตยุติธรรมไม่
และบางคำตัดสินของศาลสะท้อนถึงอคติของผู้พิพากษาเป็นผลให้เกิดความไม่เป็นกลางในการบังคับใช้กฎหมายและที่ผ่านมายังมีการนำ
มาตรา 30 ใน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาจำกัดสิทธิ์ของผู้ที่มาใช้พื้นที่ในบริเวณศาลทั้งนักสื่อมวลชนและประชาชนอีกด้วย
ช่วงท้ายของรายงานระบุว่า
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้นำและผู้เข้าร่วมการประชุมเอเปคแต่ละประเทศ
จะพิจารณาถึงผลกระทบจากการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก(เอเปค)
ที่จัด ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อพฤศจิกายนที่ผ่านมา
และไม่นิ่งเฉยและปล่อยให้รัฐไทยละเมิดหลักกฎหมาย
สิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนต่อไป
#UDDnews
#ยูดีดีนิวส์ #APEC2022