แรงงานอดีตลูกจ้าง
3 บริษัท เดินขบวนไปกระทรวงแรงงาน
เรียกร้องเงินชดเชย เหตุนายจ้างลอยแพ ย้ำไปมาทุกหน่วยงานไม่คืบ
จี้รัฐบาล-กระทรวงแรงงาน เร่งเรียวยา หามาตรการไม่ให้นายจ้าง
ละเมิดกฎหมายแรงงานอีก
วันนี้
(21 ธันวาคม 2566) เวลา 10.00
น. ที่บริเวณใต้ทางด่วนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชนนำโดย ธนพร วิจันทร์ และนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข
พร้อมด้วย แรงงานอดีตลูกจ้าง 3 บริษัท ได้แก่ แอลฟ่า
สปินนิ่ง เอเอ็ม ซี และบอดี้แฟชั่น ซึ่งถูกนายจ้างลอยแพ
และไม่จ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย ตั้งขบวนเพื่อเคลื่อนไปกระทรวงแรงงาน
เพื่อเรียกร้องให้กระทรวงมีการรับผิดชอบต่อการบังคับใช้กฎหมายแรงงาน
จ่ายเงินในอัตราเท่ากับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแสนสาหัสให้พี่น้องแรงงาน
และให้กระทรวงแรงงานใช้อำนาจไปตามเงินกับนายจ้างที่ลอยนวลอีกที
ซึ่งทางกลุ่มแรงงานเคยยื่นข้อเรียกร้องถึงนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ
รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานแล้ว แต่ไม่มีความคืบหน้า
โดยมีการออกแถลงการณ์ถึงกระทรวงแรงงาน
สืบเนื่องจากบริษัทบอดี้แฟชั่น ปิดกิจการ เลิกจ้างคนงาน 1,174 คน ตั้งแต่ปี 2562 โดยไม่มีการจ่ายเงินค่าชดเชย
ต่อมามิถุนายน 2566 บริษัทแอลฟ่า สปีนนิ่ง ปิดกิจการ
เลิกจ้างคนงานกว่า 132 คน และ เอเอ็มซี
สปีนนิ่งเลิกจ้างคนงาน 153 คน
โดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ในแถลงการณ์ยังระบุด้วยว่า
การที่รัฐบาลบกพร่องต่อการบังคับใช้กฎหมายทำให้นายทุนเอารัฐเอาเปรียบคนงานทั้งในด้านการจ่ายค่าจ้างต่ำ
ทำงานยาวนานชั่วโมง จนกระทั่งปิดกิจการ นำกำไร
นำความมั่งคั่งหนีออกไปคนงานจึงตกงานได้รับความเดือดร้อน
เป็นความเสียหายและเป็นภัยพิบัติจากความไม่รับผิดชอบของกระทรวงแรงงาน
รัฐบาลจึงต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการอนุมัติเงินกองทุนสงเคราะห์หรือเงินอื่นใดในการเยียวยาคนงานที่เดือดร้อน
ดังเช่นการใช้งบกลาง 750 ล้านจ่ายให้คนไทยที่เดินทางกลับจากอิสราเอล
การที่กระทรวงแรงงานปล่อยปละละเลยต่อการบังคับใช้กฎหมายแรงงาน
และการไม่อนุมัติเงินช่วยเหลือลูกจ้างตามสิทธิกฎหมายแรงงาน
เป็นการแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไม่ได้ปกป้องสิทธิประโยชน์ประชาชน
สร้างความเสียหายเดือดร้อนให้กับประชาชน
เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน
คนงานบอดี้แฟชั่น เอเอ็ม ซี และแอบฟ่า ขอเรียกร้อง
1. นายทุนข้ามชาติเจ้าของสินค้าแบรนด์เนม
ผู้ผลิตในห่วงโซ่การผลิตทุกระดับชั้น
ให้มีความรับผิดชอบทางศีลธรรมในการจ่ายเงินค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง
2. ให้กระทรวงแรงงานดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญาต่อนายจ้างต่างชาติที่คดโกงเงินค่าจ้างและค่าชดเชยโดยทันทีและให้ถือเป็นอาชญากรทางเศรษฐกิจ
3. กระทรวงแรงงานต้องอนุมัติเงินกองทุนสงเคราะห์หรือเงินอื่นใดรวมทั้งงบกลางในการเยียวยาช่วยเหลือลูกจ้าง
เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชนและคนงานทั้ง
3 บริษัท
จึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาลเศรษฐาและกระทรวงแรงงานซึ่งมี นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ
ให้เยียวยาความเดือดร้อนของคนงานทั้ง 3 บริษัทเป็นการเร่งด่วน
โดยขบวนเคลื่อนมาถึงกระทรวงแรงงานในเวลา
11.00 น. ปรากฏว่าประตูกระทรวงปิด
ขบวนเคลื่อนไปปักหลักที่ประตู 3 นายอารี ไกรนรา
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ออกมาเจรจาตัวแทนกลุ่มฯ
ปรากฏว่าทางกระทรวงไม่เปิดประตูให้พี่น้องแรงงานเข้าไป จากนั้นได้เชิญตัวแทนพี่น้องแรงงานเข้าไปพูดคุยด้านได้
กระทั่ง
15.00 น.
ได้ข้อสรุปว่าจะมีการบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างกระทรวงแรงงานและกลุ่มผู้เรียกร้อง
แต่ทั้งนี้ทางกลุ่มผู้เรียกร้องมีความประสงค์ว่าต้องให้ในหนังสือบันทึกข้อตกลงต้องระบุวันที่ไปด้วยว่า
วันอังคาร ที่ 26 ธันวาคม 2566 จะต้องนำปัญหาพี่น้องแรงงานเข้าประชุมมติคณะรัฐมนตรี
(ครม.) จึงปักหลักด้านหน้าประตู 3 รอความชัดเจนต่อไป
ต่อมา 17.00 น. ธนพร วิจันทร์
กล่าวบนรถเครื่องเสียงว่าทางกระทรวงแรงงานแจ้งมาแล้วว่าไม่สามารถระบุวันที่การนำเรื่องปัญหาและข้อเรียกร้องของกลุ่มฯ
ลงในบันทึกข้อตกลงได้
ล่าสุด
17.16 น. ทางกลุ่มฯ ยืนยันยังปักหลัก
และประชุมร่วมกัน โดย 18.00 น.
จะแจ้งข้อสรุปทิศทางกลุ่มฯอีกครั้งหนึ่ง
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน #กระทรวงแรงงาน