เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน
ออกแถลงการณ์เรียกร้องทุกฝ่ายผลักดันร่างนิรโทษกรรม รวมถึงคดี 112 วอนรัฐบาลสนับสนุน
เพื่อร่วมปลดล็อคทางการเมืองไทย
วันนี้
(19 พฤศจิกายน 2566) ที่อาคาร ALL RISE (สำนักงาน iLaw) บ้านกลางเมืองรัชา-ลาดพร้าว
ภายหลังนายอานนท์ ชวาลาวัณย์, น.ส.ภัทรานิษฐ์ เยาดำ
เจ้าหน้าที่จากไอลอว์ และ น.ส.พูนสุข พูนสุขเจริญ
ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ตั้งโต๊ะแถลงข่าวเปิดตัว
ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชนพ.ศ. ...
โดยเชิญชวนประชาชนสนับสนุน
ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหาคดีการเมืองของไทย
โดยร่างนิรโทษกรรมประชาชนนั้นรวมคดี 112 ด้วยเพื่อร่วมปลดล็อคทางการเมืองไทย
จากนั้น
#เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน ซึ่งประกอบด้วยแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม, คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน,
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, ศิลปะปลดแอก,
สหภาพคนทำงาน, โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
(ไอลอว์), ทะลุฟ้า,ACT LAB WE WATCH, กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย,
กลุ่ม24มิถุนาประชาธิปไตย,
Constitution Advocacy Alliance และเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง
ออกแถลงการณ์ร่วมเรียกร้องทุกฝ่ายผลักดันร่างนิรโทษกรรมบ โดยมีรายละเอียดดังนี้
นับแต่การรัฐประหาร
19 กันยายน 2549 ประเทศไทยตกอยู่ในวังวนของความขัดแย้งทางการเมือง
และก่อให้เกิดผลกระทบเป็นคดีทางการเมือง ทำให้มีประชาชนผู้ถูกดำเนินคดี
บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจาก
การสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.)
ระบุว่ามีประชาชนถูกดำเนินคดีด้วย พ.ร.บ. ความมั่นคงฯ, พ.ร.ก.
ฉุกเฉินฯ, และคดีอาญาอื่นๆ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,763 คน ในจำนวนนี้เป็นเยาวชน 167 คน คิดเป็นจำนวนคดี 1,381
คน
จากข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
ตั้งแต่รัฐประหาร 2557
มีพลเรือนที่ถูกดำเนินคดีในศาลทหารกว่า 2,400 ราย
ตั้งแต่เริ่มการชุมนุมของ “เยาวชนปลดแอก” เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม
2563 จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2566
มีประชาชนที่ถูกดำเนินคดีจากสถานการณ์ชุมนุมและการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
ไปแล้วอย่างน้อย 1,930 คน ในจำนวน 1,253 คดี ในจำนวนนี้ เป็นเด็กและเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี
จำนวน 286 ราย ใน 216 คดี
เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน
ซึ่งเป็นการรวมตัวขององค์กรภาคประชาสังคม นักวิชาการ
และนักกิจกรรมที่ติดตามและมีความเป็นห่วงต่อกรณีที่การแสดงออกทางการเมืองเป็นเหตุให้ประชาชนถูกดำเนินคดี
และสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่มีมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2549 จึงเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม
พ.ศ. ... ต่อประชาชนเพื่อเริ่มต้นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยยืนยันว่า
1.
ประชาชนไม่ว่ากลุ่ม สังกัดหรือเสื้อสีใด
สมควรได้รับการนิรโทษกรรมหากคดีดังกล่าวเป็นคดีทางการเมือง
2.
คดีทุกประเภทมีโอกาสได้รับการนิรโทษกรรม รวมถึงคดีมาตรา 112 ที่เป็นหนึ่งในคดีทางการเมือง
3.
เราไม่ได้เลือกปฏิบัติต่อเจ้าหน้าที่รัฐ
เพราะหากเจ้าหน้าที่ปฎิบัติพอสมควรแก่เหตุย่อมได้รับความคุ้มครอง
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่รัฐยังได้รับความคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญ 2550 และ 2560 อยู่แล้ว
มีเพียงแต่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบที่ไม่เคยได้รับความคุ้มครองใด ๆ
4.
คณะกรรมการในการพิจารณาคดีทางการเมืองต้องมีตัวแทนของประชาชนในการพิจารณา
เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชนขอเรียกร้องให้รัฐบาล
พรรคเพื่อไทย พรรครัฐบาล และพรรคก้าวไกล
ที่มาจากประชาชนเดินหน้าผลักดันการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
โดยการผลักดันร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม พ.ศ. ...
และขอให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอความเห็น และเข้าชื่อเสนอกฎหมายในโอกาสต่อไป