มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
องค์กรภาคประชาสังคม ยื่นจดหมายถึงประธานศาลฎีกา
ขอให้เร่งดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขคำสั่งเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องขังทางการเมือง
วันนี้
(8 มีนาคม 2567 ) เวลา 13.30 น. ณ
สำนักประธานศาลฎีกา แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ
มูลนิธิผสานวัฒนธรรมและเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม
องค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยกว่า 10 องค์กร
อาทิ, เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ (JASAD),
กลุ่มด้วยใจ องค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี (HAP), สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน, สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน,
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา, กลุ่มโมกหลวงริมน้ำ,
กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย,
ThumbRights - ทำไรท์, เครือข่ายประชาชนเพื่อสิทธิทางการเมือง,
คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.), กลุ่มคนงาน
Try Arm และเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม
สื่อมวลชนและประชาชน
ร่วมแสดงพลังยื่นจดหมายปิดผนึกถึงศาลฎีกาด้วยกันเพื่อขอให้ประธานศาลฎีกาเร่งดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขคำสั่งเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราว
การกำหนดหลักประกันและเงื่อนไข การถอนประกันตัว
ของนักกิจกรรมทางการเมืองอย่างเร่งด่วน ภายหลังนางสาวเนติพร เสน่ห์สังคม หรือบุ้ง, นางสาวทานตะวัน
ตัวตุลานนท์ หรือตะวัน และนายณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร หรือแฟรงค์
เริ่มอดอาหารและน้ำจนมีอาการทรุดลงอย่างรุนแรงและสุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
เพื่อประท้วงเรียกร้องความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรมที่ไม่สามารถอำนวยความยุติธรรมและปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้อย่างแท้จริง
และเพื่อให้มั่นใจว่าตุลาการจะอำนวยความเป็นธรรมและเป็นเสาหลักอันศักดิ์สิทธิให้กับประชาชนเป็นสำคัญ
ทั้งจะช่วยเรียกความเชื่อมั่นของประชาชนและประชาคมนานาชาติและเพื่อคลี่คลายความขัดแย้งต่อไป
นอกจากนี้
เมื่อวันที่
20 ก.พ. 2567 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องขังทางการเมืองทั้งหมด
และระบุว่า ศาลยกคำร้องขอประกันตัวผู้ต้องขังทางการเมืองรวม 15 คน ได้แก่ อุดม, “กัลยา” (นามสมมติ), “บัสบาส” มงคล, วีรภาพ, “แม็กกี้”
(นามสมมติ), จิรวัฒน์, ทีปกร, ถิรนัย, ชัยพร, คเชนทร์,
ขจรศักดิ์, “บุ๊ค” ธนายุทธ, ไพฑูรย์, สุขสันต์ และประวิตร อ้างไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม
หลังจากเมื่อวันที่ 8-9 ก.พ. 2567 ที่ผ่านมา
ทนายความได้ยื่นประกันตัวผู้ต้องขังทางการเมือง 15 คน
ซึ่งเป็นคดีมาตรา 112 จำนวน 7 คน
และคดีอื่นที่มีมูลเหตุสืบเนื่องจากการเมืองอีก 8 คน
ที่ศาลอาญา, ศาลอาญากรุงเทพใต้, ศาลจังหวัดนราธิวาส
และศาลจังหวัดเชียงราย
ซึ่งศาลสั่งให้ขังผู้ต้องหาหรือจำเลยในระหว่างพิจารณาคดีในชั้นศาล
ทำให้เกิดการตั้งคำถามอย่างกว้างขวางท่ามกลางการจับตาอย่างใกล้ชิดของประชาชน
ถึงการใช้อำนาจของผู้พิพากษาบางคนที่อาจไม่เป็นธรรม รวมถึงการใช้ดุลพินิจที่ขัดต่อหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ซึ่งได้รับการรับรองจากรัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งเห็นได้ว่าก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก
สิทธิในการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม (Fair trial) และไม่เคารพหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบริสุทธิ์จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
(Presumption of innocence)
ทั้งนี้ในวันนี้
(8 มี.ค.) มูลนิธิผสานวัฒนธรรมจึงส่งหนังสือเรียนประธานศาลฎีกา
โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อห่วงกังวลเรื่องความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
และการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาสั่งไม่ให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง
และควรปฏิบัติตามหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบริสุทธิ์จนกว่าคดีจะถึงที่สุด (Presumption
of innocence) เป็นสำคัญ โดยการอนุญาตให้ผู้ต้องหา/จำเลยถูกปล่อยตัว
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #คืนสิทธิประกันตัวประชาชน