“สุณัย” ถาม กลัวอะไร?
รัฐบาล #เศรษฐา สั่งให้ทำข้อสงวนไม่รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ในการยื่นสัตยาบันต่อยูเอ็นเพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 นายสุณัย
ผาสุก ที่ปรึกษาองค์กรฮิวแมน ไรต์ส วอตช์ ประจำประเทศไทย เผยแพร่จดหมายของสำนักนายกรัฐมนตรี
ถึงผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ เรื่องการจัดทำข้อสงวนไม่รับอำนาจของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
(International Court of Justice หรือ
ICJ) โดยเนื้อหามีความว่า
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แจ้งว่า
ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567
คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเกี่ยวกับการจัดทำข้อสงวนเพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ
(International Convention for the Protection of all
Persons from Enforced Disappearance : ICPPED) ของกระทรวงยุติธรรม
แล้วลงมติเป็นหลักการให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดว่า
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจัดทำหนังสือสัญญา
ซึ่งมีข้อบทให้อำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of
Justic : ICJ) มีเขตอำนาจเหนือข้อพิพาทตามหนังสือสัญญานั้น
ให้จัดทำข้อสงวนไม่รับอำนาจของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไว้ทุกเรื่อง
เพื่อมิให้กระทบต่ออำนาจอธิปไตยของชาติ ตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ดังมีรายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ส่งมาด้วย
ทั้งนี้
ในจดหมายระบุให้แจ้งหน่วยงานในสังกัดทราบและถือปฏิบัติต่อไปด้วย
และในโซเชียล X
@sunaibkk นายสุนัย โพสต์ว่า
กลัวอะไร?
รัฐบาล #เศรษฐา สั่งให้ทำข้อสงวนไม่รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court
of Justice หรือ ICJ) ในการยื่นสัตยาบันต่อยูเอ็นเพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ
(International Convention for the Protection of all Persons from
Enforced Disappearance หรือ CED) … ที่ผ่านมากลไกยุติธรรมภายในประเทศของไทยไม่สามารถเอาผิด
และคลี่คลายกรณี #อุ้มหาย กว่า 70 รายที่ #ยูเอ็น บันทึกไว้