“อ.ธิดา” ยกย่อง “ทนายอานนท์”
เป็นบุคคลที่เชื่อมประวัติศาสตร์ยุคคนเสื้อแดงกับเยาวชนรุ่นใหม่
เป็นบุคคลที่อยู่ในใจประชาชน
ถอดเทปจากรายการ
THAIRATH
NEWSROOM
เมื่อวันที่
26 ธันวาคม 2567
ดำเนินรายการโดย
: พงศ์เกษม สัตยาประเสริฐ (กาย)
ลิ้งค์ยูทูป
: https://www.youtube.com/watch?v=fe3V3Kcar_Q
“ทนายอานนท์” ในความทรงจำที่ต่อสู้กันมาเขาเป็นทนายตั้งแต่เป็นเสื้อแดงใช่มั้ยครับอาจารย์
เป็นทนายที่มีอุดมการณ์ อาจารย์มีอะไรอยากจะแชร์กับคุณผู้ชมที่ติดตามอยู่ด้วย
คือ
“อานนท์” เป็นผู้ที่เหมือนกับเชื่อมต่อประวัติศาสตร์การต่อสู้ของในยุคคนเสื้อแดงกับคนรุ่นใหม่
เพราะว่าอานนท์เป็นคนเสื้อแดง แต่เป็นลักษณะหนุ่มหน่อย ไม่ใช่คนรุ่นก่อน
แล้วเขาก็มาเป็นทนายในคดีก่อการร้ายนะ ก็คือหลังจากการถูกปราบ
คือเราเข้าใจว่าในช่วงชุมนุม “อานนท์” ก็เป็นคนเสื้อแดง ก็เข้าร่วมเป็นผู้ชุมนุม
หลังจากถูกปราบแล้วก็มีการจับกุมคุมขัง ในขณะนั้นแกนนำต้องถูกคุมขัง
คือคนที่ถูกจับกุมคุมขังคดีทั้งหมดประมาณ 4 พันกว่า แล้วก็ลด ๆ ๆ
ไปจนกระทั่งเหลือคนที่ไม่ได้ประกันตัวก็เหลือ 40 คนในตอนนั้น
คือตอนนั้นอาจารย์เป็นประธานนปช.ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2553 จนถึง 15 มี.ค. 2557
ในช่วงนั้นเวลาแกนนำที่ถูกฟ้องข้อหาก่อการร้าย
คือเขาเอาให้หนักเลยคือก่อการร้าย ซึ่งแรงกว่าภาคใต้นะ
อันนั้นเขาเรียกว่าผู้ก่อความไม่สงบ นี่ก่อการร้ายเลย กะเอาให้ตายเลย แล้วก็เอาการ์ดต่าง
ๆ ที่ไม่รู้จักจับมารวมกันหมด นอกจากทนายของกลุ่มแกนนำแล้ว ก็มีทนายของมวลชนต่าง ๆ
“อานนท์” ก็เป็นทนายคนหนึ่งที่ร่วมอยู่ในคดีก่อการร้าย
ดังนั้นถ้าพูดในเชิงประวัติศาสตร์ของการต่อสู้คือ
“อานนท์” เขามีจิตใจเช่นนี้มาก่อนหน้านี้แล้ว
คือหลายคนอาจจะมาได้ยินชื่อเขาในช่วงที่มีการเคลื่อนไหวของรุ่นเยาวชนปี 2563 แต่ในความเป็นจริงนั้นอย่างที่บอกว่าเขาเริ่มมาก่อน
แล้วในช่วงระหว่างหลังปี 2553 คดี 112
มันเริ่มมีตั้งแต่ในยุคเสื้อแดง ตอนที่คดีของ “อากง” ทนายอานนท์ก็มาช่วยอีกคนหนึ่งนอกจากคุณพูนสุข
เพราะฉะนั้นก็แสดงว่ามันเป็นความปรารถนาของเขาเองที่จะเข้ามาร่วมในการทวงความยุติธรรมสำหรับคนที่ถูกคุมขังมาตั้งแต่ครั้งคนเสื้อแดง
จนกระทั่งมาจนถึงคนรุ่นใหม่ เพราะตั้งแต่คดีอากง ซึ่งเป็นคดีที่คลาสสิคมาก ๆ
มันเรียกว่ามันยิ่งน่าร้องไห้มากกว่า เพียงแต่ว่านั่นเป็นคนแก่ซึ่งไม่รู้อะไรเลย
ใช้อะไรสื่อสารก็ไม่เป็นแล้วโดนไป 20 ปี ปรากฏว่าแกเสียชีวิต
ทั้ง ๆ ที่แกเป็นมะเร็ง แกไม่ได้รับโอกาสในการดูแลอย่างดีเลยจนกระทั่งท้องมาร
มาลงตับ แล้วก็ในที่สุดไม่ได้รับการดูแลอย่างดี อย่างมากเขาก็ให้ยาขับปัสสาวะ
ประมาณอย่างนั้น จนในที่สุดก็เสียชีวิต แล้วก็เกิดคำพูดคลาสสิคของภรรยาเขาบอกว่า “กลับบ้านเถอะ
เขาปล่อยเองแล้ว” หมายความว่า ภรรยาพูดถึงอากง อันนี้ก็เป็นชาวบ้าน
เพราะฉะนั้นในยุคของคนเสื้อแดง
คดี 112 ก็มีเยอะแล้ว มาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ “อานนท์”
ตัวดิฉันเองก็รู้สึกว่าเขาได้มีความตั้งใจด้วยตัวเขาเอง
ไม่ใช่ว่าเพราะกระแสของคนรุ่นใหม่แล้วเขามาร่วมนะ คือเขาสู้อยู่ก่อนแล้ว
คือบางครั้งแน่นอนอาจจะมีบางคนบอกว่า “ตามกระแสหรือเปล่า?” แต่คิดว่าอย่างอานนท์นี้ไม่ใช่
เพราะเขาเริ่มจากผู้ชุมนุม แล้วเป็นทนาย แล้วมาร่วมตั้งแต่คดีก่อการร้ายและ 112 เขาเลือกทางเดินของเขามายาวนานแล้ว ไม่ใช่ว่าพอเยาวชนกระแสสูงแล้วก็เลยมาร่วมด้วย
ไม่ใช่อย่างนั้น
เราถือว่า
“อานนท์” ก็เป็นบุคคลที่เชื่อมระหว่างยุคของการต่อสู้ของชาวบ้านกับรุ่นเยาวชนคนรุ่นใหม่
แล้วเขาอยู่ในสถานะที่เรียกว่าเมื่อถูกปราบแล้วเขาก็เข้ามาร่วมแถวหน้าเลย ในความรู้สึกตัวเองก็ชื่นชม
เมื่อวันก่อนที่ไปงานชมรมโดมรวมใจก็ได้พบภรรยาและลูกเขา คือมันก็ขมขื่น
แต่ว่าดูเหมือนเขาก็ยอมรับสภาพที่มันเกิดขึ้น แต่ว่าด้วยจิตใจที่เขากล้าต่อสู้กล้าเสียสละ
ทีนี้มาฟังติดใจนิดหนึ่งที่ของคุณสรยุทธ
คือคำว่า “บุคคลแห่งปี” แกนึกว่าเป็นคนในข่าว คือถ้ามีข่าวดังมากแล้วเป็นบุคคลแห่งปี
แต่ในทัศนะอาจารย์นะ คนที่โหวตให้ “อานนท์” เป็นบุคคลแห่งปีเขาไม่ได้คิดอย่างนั้นนะ
เป็นบุคคลที่ทรงคุณค่า เขาถึงโหวต
แต่ว่าในแนวคิดของข่าวซึ่งฟังจากที่คุณสรยุทธพูดประมาณว่า
เขาแปลกใจว่าช่วงหนึ่งคุณอานนท์ข่าวก็ไม่มี แต่กลายเป็นถูกเสนอชื่อ แปลว่าคนที่โหวตเขาไม่ได้โหวตเพราะว่าจะต้องมีข่าวดัง
แต่เป็นบุคคลที่เขายกย่อง มันอาจจะตีความต่างกันนะ มันไม่ใช่บุคคลที่มีข่าวถูกพูดถึงมาก
แต่เป็นบุคคลที่เขายกย่อง
เพราะฉะนั้นฝากไปถึงคุณสรยุทธด้วยว่า
ที่คุณสรยุทธบอกว่าจะเอาไปพิจารณา จริง ๆ มันเป็นเรื่องที่ประชาชนโหวตนะ ไม่เห็นต้องพิจารณาเลย
ในความคิดของดอาจารย์นะว่า ไม่ใช่เป็นบุคคลในข่าว แต่เป็นบุคคลในใจของประชาชน
จุดสำคัญคือเขาเชื่อมประวัติศาสตร์
เขาตั้งใจที่จะมามีส่วนร่วมตั้งแต่แรก ๆ ที่เขายังเรียนไม่จบ เป็นคนเสื้อแดง
แล้วจนกระทั่งมาเป็นทนายคนเสื้อแดง ก็เป็นทนายเล็ก ๆ คนหนึ่ง
จนกระทั่งมาเป็นทนายของคดี 112 ของอากงด้วย
อย่างนี้แปลว่าเขามีเส้นทางที่เขาตั้งใจเดินอยู่แล้ว แต่ว่าพอมาถึงจุดนี้
ส่วนหนึ่งอยากจะพูดถึงคนรุ่นใหม่และโดยเฉพาะ “อานนท์” ที่ถูกคดีมากนั้น
ส่วนหนึ่งเป็นความเสียสละของเขานะ เพราะว่าเรื่องราวของคนเสื้อแดงมันคงจะไปตรึงหัวใจเขาว่าประชาชนถูกฆ่า
ประชาชนถูกจัดการ มันกลายเป็นว่าคนรุ่นใหม่อาจจะมองว่าแฟลชม็อบก็ตาม
ก็กลายเป็นว่าจำนวนคดีมันมากไง คือถ้าต่อสู้ยืดเยื้อรวมกันมันก็เป็นคดีเดียว
แต่มาเดี๋ยวนี้แต่ละคน ของอานนท์ก็ 20 กว่าคดี 25 คดี และเป็น 112 อยู่ 10
กว่าคดี
จำนวน
25 คดีก็คือ มีการชุมนุมหลายรอบ อยากจะบอกว่ายุทธวิธีที่เซฟประชาชน
มันกลายเป็นว่าแกนนำของคนรุ่นใหม่ถูกกระทำโดยที่ใช้ภาษาว่า “นิติสงคราม” ก็คือถูกคดีมาก
แต่ว่าในยุคของรุ่นคนเสื้อแดง ปี 2553 ก็ 2553 คือเหมาไปเลย มันก็ยืดเยื้อไปเลย แต่ประชาชนบาดเจ็บล้มตาย
อาจารย์จำได้ว่า “อานนท์” เขาเคยพูดว่าเขาจะไม่ลืมสิ่งที่เกิดขึ้นในปี 2552-2553 ในช่วงที่มีการชุมนุมถ้าเราจำได้ ครั้งแรกรู้สึกว่าไปทำเนียบ
เขาก็ตัดสินใจว่าจะอยู่ต่อหรือเปล่า? แต่ภาพที่ประชาชนถูกจัดการในปี 2552-2553 ทำให้เขาตัดสินใจเลิก!!! นั่นคือ 1 คดี แล้วพอมาจัดกิจกรรมหลังจากนั้นคดีมันก็มากขึ้น
อยากจะบอกว่าคนรุ่นใหม่หวังจะเซฟมวลชน
ไม่ต้องการชุมนุมยืดเยื้อ แต่ว่าตัวเองถูกกระทำด้วยคดีเป็นจำนวนมาก
ตัวอาจารย์เองก็อยากยกย่องสรรเสริญ เพราะว่าจากปากของ “อานนท์” ก็รู้ว่าเขาคิดไม่อยากให้มันเกิดเหมือนปี
2553 เขาก็เลยยุติการชุมนุม
การต่อสู้ของผู้ต้องขังในคดีการเมืองเปรียบเทียบกับตอนสมัยช่วง
2552-2553 มันมีความแตกต่างกันอย่างไร?
ประการแรกเลย
รุ่นหลังเป็นการนำโดยส่วนใหญ่ก็เป็นปัญญาชน “อานนท์” ต้องถือว่าเป็นปัญญาชนแล้ว อาจารย์ว่าความแตกต่างมีสูงมาก
ขบวนการของการต่อสู้ของคนรุ่นหลังจะเป็นปัญญาชน
คนรุ่นแรกส่วนใหญ่ขบวนการนำจะเรียกว่ามีปัญญาชนอยู่มันน้อยมาก กำลังหลักเป็นชาวบ้าน
เป็นมวลชนในชนบท แม้กระทั่งแกนนำต่าง ๆ อาจารย์ก็เลยทำโรงเรียนผู้ปฏิบัติงานการเมืองทั่วประเทศเลย
แล้วก็รู้สึกภาคภูมิใจมากที่เราสามารถทำให้ชาวบ้านเป็นต้นไม้หรือเป็นดินที่มันเจริญงอกงาม
ถ้าเอาไมค์ไปถามเขาสามารถพูดได้หมดเลย มีความแตกต่างว่าส่วนใหญ่เป็นชาวบ้าน
อีกอันหนึ่งก็คือ
ข้อที่ดีกับข้อที่เสียแล้วแต่ท่านผู้ชมจะพิจารณา ในการชุมนุมในอดีตมันใกล้ชิดกับพรรคการเมืองมาก
คนอาจจะพูดได้ว่าถูกครอบงำในส่วนสำคัญ มันกลายเป็นว่าขบวนการประชาชนในครั้งนั้น “เสื้อแดง”
ถูกด้อยค่าในสายตาปัญญาชน NGO
แม้กระทั่งต่างประเทศ
ประมาณเหมือนกับว่าอยู่ในอาณัติของพรรคการเมือง
ภาพลักษณ์ในสังคมภายนอกและแม้กระทั่งปัญญาชนมันจะไม่ดีเท่าไร ประกอบกับการเกิดขึ้นของขบวนการช่วงนั้นมันมีเกิดเหลือง
มีเกิดแดง เพราะมันมีต่อต้านรัฐประหาร
แต่ที่น่าเศร้าก็คือปัญญาชนยุคก่อนไม่เหมือนกับปัญญาชนยุคหลัง
ปัญญาชนยุคก่อนกลับยอมรับการทำรัฐประหาร
รู้สึกว่าถ้าอยู่กับทุนสามานย์มันจะแย่กว่า จึงยอมรับการทำรัฐประหาร
แต่อาจารย์เป็นคนที่ไม่ว่าฝ่ายการเมืองจะเป็นคนอย่างไร คุณใช้กฎหมาย
แต่ไม่สามารถยอมรับการทำรัฐประหารได้ ฉะนั้น
เฉพาะปัญญาชนที่ไม่ยอมรับการทำรัฐประหารได้ แล้วมาร่วมกับขบวนประชาชนนี้มันจึงมีน้อยมาก
นี่เป็นเรื่องที่น่าเศร้า ถ้าตอนนั้นปัญญาชนไทยเหมือนกับปัญญาชนเยาวชนรุ่นหลังตอนนี้นะ
โอ๊ะ!!! ประเทศไทยเปลี่ยนไปมากเลย เพราะว่ามวลชนพื้นฐานมีการตื่นตัวมาก
ดังนั้นมันก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน
แต่เอาความแตกต่างว่ามันสัมพันธ์กับพรรคการเมือง ก็ทำให้มีปัญหาว่าบางครั้งอาจจะถูกมองว่าใครใช้ใครเป็นเครื่องมือ
และเนื่องจากมันเป็นแนวร่วม มันก็ต้องมี “แสวงจุดร่วมสงวนจุดต่าง”
อย่างอาจารย์ก็มีความคิดเห็นแตกต่างกันมาก แกนนำก็มาจากสายการเมือง
พอมาจากสายการเมืองเขาก็ต้องไปตามวิถีทางการเมือง ขบวนการมันก็จะคล้าย ๆ กับว่า
อาจจะเชื่อมโยงกับพรรคการเมืองมากเกินไป แต่ว่าภายในก็มีการต่อสู้กันมาก
เพราะฉะนั้น
ขบวนการของเยาวชนรุ่นหลังที่ทำมันเป็นอิสระมากกว่า ในทัศนะของอาจารย์นะ ก็คือว่า
อาจารย์ก็เคยเตือนนะว่าถ้าใครจะมาเป็นแกนนำ ถ้าคุณจะไปพรรคการเมืองก็ไปเลย
อย่าให้เหมือนกับในอดีตที่ว่า 2 ขา แต่ส่วนใหญ่เป็นขาเดียว
อาจารย์ก็ยืนขาเดียวคืออยู่ขบวนการประชาชน แต่ที่เราบอก 2
ขาก็คือหมายความว่าวิถีทางรัฐสภาคุณมีสิทธิ์จะไปสนับสนุนได้
ความแตกต่างกันก็คือว่า ของเยาวชนรุ่นใหม่มันตัดขาดจากพรรคการเมือง
แม้จะมีคนบอกว่าอาจจะไปเกี่ยวข้องกับพรรคอนาคตใหม่-ก้าวไกลก็ตาม
แต่ภาพที่ออกมามันดูมีความเป็นอิสระ
ก็จะฝากเอาไว้ว่า
อันนี้สำคัญมาก
อย่าให้เกียรติภูมิของนักต่อสู้ถูกทำลายว่าตัวเองกลายเป็นเครื่องมือของพรรคการเมือง
อาจารย์ก็จะบอกมาตลอดว่าอาจารย์มาตั้งแต่ 2516
ไม่รู้พรรคการเมืองพวกนี้อยู่ที่ไหน? คุณจะให้ฉันไปเดินตามหรือปฏิบัติตาม
มันเป็นไปไม่ได้!!! แล้วหลายอย่าง ฉันจะบอกให้ว่าฉันรู้ดีกว่าพวกคุณแหละ...เออ!!! เพราะพวกคุณไม่เชื่อฉัน คุณถึงเจออย่างนี้ ตอนนี้ก็พูดประมาณนี้
แต่หมายความว่ามันมีรายละเอียดของมัน เพราะฉะนั้นมีความแตกต่างที่ว่า ข้อดีเป็นอิสระมากกว่าขบวนการ
แต่มันไม่ใช่ว่าไม่มีด้านบวกเสียเลยที่เกี่ยวข้องกับพรรค
เรายอมรับว่าขบวนการของคนเสื้อแดงก็ถูกขยายด้วยการสนับสนุนของพรรคมากเหมือนกัน
ก็เหมือนกับเสื้อเหลืองตอนนั้นก็ได้รับการสนับสนุนจากพรรคประชาธิปัตย์
และรวมทั้งกปปส.ด้วย
หมายความว่า
การชุมนุมในอดีตมันจะสัมพันธ์กับพรรคการเมือง เหลือง-แดง
หรือ กปปส. ซึ่งมันไม่ดี มันคล้าย ๆ กับว่าขบวนการประชาชน
อุดมการณ์มันไม่ได้ถูกให้เปล่งแสง กลายไปเป็นว่าเป็นผลประโยชน์ของพรรคการเมือง
แต่ความจริงสำหรับคนเสื้อแดง เนื่องจากเราชูการต่อต้านรัฐประหารเป็นหลัก
และเราทำโรงเรียนการเมืองมาตลอด ดังนั้นมันก็มีการต่อสู้
จนกระทั่งโหวตเตอร์ของคนเสื้อแดงก็จะเห็นความประหลาดมากเลย
ไม่ได้เป็นไปแบบที่หลายคนคิด
กลับมาพูดเรื่องความแตกต่างอีกอย่างก็คือว่า
แกนนำเมื่อกี้ที่พูดไปรอบหนึ่งแล้ว แกนนำของเยาวชน โดยเฉพาะ “อานนท์”
เห็นปัญหาของการที่ว่าเมื่อไปชุมนุมแล้วถ้าชุมนุมยืดเยื้อมันจะถูกปราบ
แล้วก็มีการสูญเสีย
เพราะว่าลักษณะของเผด็จการจารีตนิยมในประเทศไทยมันสืบทอดมาจากสงครามเย็น ตั้งแต่ถีบลงเขา
เผาลงถัง เผาทั้งเป็นนะ โหดเหี้ยมมาก 6ตุลา19
เป็นการฆ่าปัญญาชนในมหาวิทยาลัย แต่ว่าก่อน 6ตุลา19 ฆ่าประชาชนในชนบทจนกระทั่งเข้าป่า ถ้าเราศึกษาความโหดเหี้ยมอำมหิต
มันมีเหตุผลของมันเพราะเป็นระบอบแบบนั้น สมัยก่อนบางคนถูกฆ่า 7 ชั่วโคตรเลย แค่สงสัยกาคาบข่าวเขาก็ประหารแล้ว
ลักษณะจารีตนิยมอันนี้มันก็จะตกทอดมา
ทีนี้ย้อนมาถึงว่าชุมนุมของคนรุ่นใหม่
มันคล้าย ๆ กับว่าพวกแกนนำเหมือนกับกลายเป็นต้องถูกพลีชีพ
เพราะว่าเมื่อไม่ได้ทำการต่อสู้ยืดเยื้อ ประชาชนไม่เสียหาย
แต่แกนนำโดนคดียับเยินมากมาย คุณออกไปครั้งหนึ่งคุณก็โดนแล้ว 1 คดี
ไม่ใช่ 1 คดีด้วย 3-4 คดีใช่มั้ย
ตั้งแต่ ฉุกเฉิน, 116, 112 เต็มไปหมด
แล้วก็มีความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า
ในรุ่นเสื้อแดงนั้นถือการต่อต้านรัฐประหารเป็นหลัก และคืนอำนาจให้กับประชาชน
เราไม่มีประเด็นการปฏิรูปสถาบัน อันนี้เป็นความแตกต่าง
คือหมายความว่าของเยาวชนเขาไปอีกขั้นหนึ่ง เขาเลยไป
เพราะว่าในช่วงนั้น
และมันยิ่งเป็นเรื่องปัญหาหนักหน่วงที่อยู่ในช่วงเวลาของการทำรัฐประหาร
มันจะมีความแตกต่างกันทั้งแกนนำ ทั้งการนำ ทั้งมวลชนที่สนับสนุน
แต่สิ่งหนึ่งก็คือว่าเมื่อกลุ่มเยาวชนมาทำการชุมนุม เป็นแกนนำ
คนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งมาสนับสนุน บางคนที่ไปให้สัมภาษณ์ในคลับเฮ้าส์ เขาบอกเขาฟังในคลับเฮ้าส์ว่าท่านผู้นำในพรรคเพื่อไทยไม่เห็นดีเห็นงามกับเรื่องของเยาวชน
เขาก็เป็นเดือดเป็นแค้น เขาเป็นชาวบ้านนะ นี่เป็นชาวบ้านนะ แปลว่าเขาได้รับจิตวิญญาณของการต่อสู้และเขาเรียนรู้
เพราะฉะนั้นมันก็มีความแตกต่างตั้งแต่ข้อเรียกร้องด้วย
ข้อเรียกร้องของคนเสื้อแดงเน้นไปในเรื่อง “รัฐประหาร-ยุบสภา-คืนอำนาจให้กับประชาชน” อยู่ตรงนั้น มวลชนก็เป็นชาวบ้าน แกนนำส่วนใหญ่ก็เป็นชาวบ้านแต่ว่ามีสายการเมืองเยอะ
ก็ให้ท่านผู้ชมพิจารณา แต่ในความคิดของอาจารย์นะ มันเป็นช่วงเวลาของประวัติศาสตร์ มันสืบทอด
ไม่มีอะไรเสียเปล่า คนเสื้อแดงก็ยังอยู่จำนวนหนึ่งแม้จะแก่แล้ว
แล้วเขาก็มาสนับสนุนคนรุ่นใหม่ด้วย แล้วคนรุ่นใหม่ก็ไปเรียนรู้ข้อเสียของประวัติศาสตร์การต่อสู้ของคนเสื้อแดง
ดังนั้น
ช่วงเวลาต่อไปนี้เป็นเวลาที่สำคัญว่าเราจะเดินหน้าต่อไปอย่างไรที่จะทำให้ขบวนการต่อสู้ของประชาชนนั้นสูงเด่น
ไม่ถูกครอบงำโดยพรรคการเมือง ถูกเหยียดหยาม
แล้วก็สามารถเดินต่อไปได้โดยที่ไม่มีการสูญเสีย
ไม่ว่าจะเป็นประชาชนหรือไม่ว่าจะเป็นแกนนำ
อาจารย์มีความเห็นอย่างไรที่มีข้อโต้แย้งว่าประวัติศาสตร์การต่อสู้ของคนเสื้อแดงมันถูกช่วงชิงไปโดยกลุ่มที่ไม่ได้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย
ยกตัวอย่างหมายถึงว่า มันกลายเป็นว่าถูกชิงไปแล้วสำหรับคนที่เชียร์พรรคประชาชนในปัจจุบัน
ทั้ง ๆ ที่เพื่อไทยกับเสื้อแดงสู้มาด้วยกัน
อาจารย์ว่าพูดผิด!!! พรรคเพื่อไทย
“แย่ง” คนเสื้อแดงไป พรรคเพื่อไทยกับคนเสื้อแดงไม่ใช่เป็นอันเดียวกัน
และพรรคเพื่อไทยแย่งสีเสื้อแดงไปว่าเป็นสีของตัวเอง ทั้ง ๆ ที่คุณทักษิณก็เคยบอกให้ถอดเสื้อแดงในปี
2554 เต็ม ๆ เลยหลายเวที จนอาจารย์ไปขอ
บอกว่าไม่ต้องแจกเสื้อ แต่เขาไม่ถอดเสื้อแดง เอาเสื้อแดงตัวเก่าปี 2553 มาใส่ แล้วเขาแก้แค้นด้วยการโหวต ดังนั้นก็ชนะอย่างถล่มทลาย
จะไปบอกให้คนเสื้อแดงถอดเสื้อแดง มันไม่ได้!!! ปี 2553 แผลมันยังสด เพราะฉะนั้นที่บอกว่า “แย่ง”
การต่อสู้ของประชาชนและจิตใจที่มีอุดมการณ์ ใครแย่งไม่ได้
มันอยู่ที่ว่าคุณมีอุดมการณ์หรือเปล่าล่ะ
ถ้าคุณมีอุดมการณ์และคุณทำอย่างมีอุดมการณ์ คุณก็จะได้รับความภักดี
คนก็จะเดินตามคุณ
แต่ถ้าคุณไม่ใช่!
เขาก็ไปที่อื่น แล้วใครแย่งใคร ในทัศนะอาจารย์ คำถามนี้เป็นคำถามที่ไม่ถูก
ก็คือว่า คุณนึกว่าคนเสื้อแดงที่เขาเป็นนักต่อสู้เป็นคนอยู่ในคอกของพรรคเหรอ?
ไม่ใช่แน่นอน!!! เขาคิดเองได้ว่าอะไรที่สอดคล้องกับอุดมการณ์เขา
เขาไม่ใช่เป็นพวกแฟนคลับ ตอนนี้ช่วงนี้มีคนพูดอะไร ดาราเกาหลี หรือนางเอกจีน ไม่ใช่ทั้งนั้นแหละ
ไม่ใช่ว่าเขาแฟนคลับดาราเกาหลี และดาราเกาหลีไปแย่งจากนางเอกจีน ไม่ใช่!!!
มันเป็นเรื่องของอุดมการณ์และการต่อสู้
ถ้าเขาเลือกว่าฝ่ายไหนที่มันสอดคล้องกับความคิดของเขา เขาก็เลือกอันนั้น