ธิดา
ถาวรเศรษฐ : ทำไมต้องตั้ง คปช.53 ในการทวงความยุติธรรมให้ “คนเสื้อแดง”
เราจัดงานนี้มาตั้งแต่ปี
2554 (2554-2555-2556-2557) เรามีการจัดงานรำลึกพร้อมกับเป็นการชุมนุมใหญ่ตลอด
อาจารย์เป็นประธานนปช.ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2553 มีการจัดเป็นระดับเดือนด้วย
และเป็นการชุมนุมใหญ่ตลอด
ถามว่าทวงความยุติธรรมมั้ย?
ทวงแน่นอน นอกจากทวงด้วยคำพูด สิ่งที่สำคัญกว่าคำพูดก็คือการกระทำ
แต่ว่ามันเป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่ว่าสื่อในยุคนั้น พูดตรง ๆ ว่าก็เป็นสื่อเลือกข้าง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อในระบบ และรวมทั้งปัญญาชนจำนวนมาก แม้กระทั่งเอ็นจีโอจำนวนมากดูแคลนคนเสื้อแดง
ดังนั้น
การตามหาความจริงกับการทวงความยุติธรรมของเราที่ทำเป็นรูปธรรมก็คือมีการฟ้องร้องผู้ทำให้เกิดการตาย
ทั้งในประเทศ ทั้งในศาลอาญาระหว่างประเทศโดยอาจารย์ร่วมกันกับทนายความทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เพราะฉะนั้นการขับเคลื่อนเหล่านี้จนกระทั่งมีการไต่สวนจนกระทั่งรู้ก่อนทำการรัฐประหารว่ามีการถูกทำให้ตาย
17 คน คือ 17 คนนี้ศาลระบุเลยว่าเป็นการตายที่เกิดจากกระสุนฝั่งทหาร ไม่ใช่ว่าวันที่
10 แล้วมาทวงความยุติธรรมนะ เราทำทุกวัน ทั้งคนเป็นและคนตาย
โดยเฉพาะตอนช่วงที่อาจารย์เป็นประธานนปช. เราทำทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการประกันตัว
การดำเนินคดีผู้ปราบปราม และการต่อสู้คดีของคนที่เราถูกฟ้องทั้งคนเป็นคนตาย
จนกระทั่งเราสามารถไต่สวนไปได้ 33 คดี แล้วก็บอกว่าไม่รู้ใครยิง 15 ราย ทหารยิง
เจ้าหน้าที่ยิง 17 ราย ชัดเจน อธิบายรายละเอียดทั้งหมด กระทั่งทหารหน่วยไหนด้วย
ถามว่าถ้าเราไม่ทวงความยุติธรรม เราไม่ตามหาความจริง สิ่งเหล่านี้ไม่ปรากฏหรอก
นอกจากนั้นเราก็ยังดำเนินคดี
เดินทางไปศาลอาญาระหว่างประเทศ จนกระทั่งอัยการของ ICC เดินทางมาในประเทศไทย
เพราะว่าเรามีหลักฐานพร้อม
เรามีเหตุผลพร้อมว่ามันเป็นข้อหาที่แม้ว่าคนตายจะไม่ใช่เป็นระดับแสน ระดับหมื่น
เป็นระดับร้อย แต่การฆ่าคนกลางถนนบ่อย ๆ มันเป็นเรื่องที่เป็นอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติอย่างร้ายแรงที่ทำซ้ำแล้วซ้ำอีก
มันมีเหตุผล เขาจึงเดินทางมา
เพื่อที่จะให้รัฐบาลอนุญาตให้ศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาได้
คนอื่นอาจจะเห็นมีการชุมนุม
โดยเฉพาะคนที่มาตามช่วงหลังก็เห็นไปทำบุญในวัด คือหลังรัฐประหารเราชุมนุมไม่ได้
ก็ไปทำในวัดบ้างอะไรบ้าง พระสงฆ์องค์เจ้ายังเดือดร้อนเลย แต่ว่าในที่สุดเรามาทำที่นี่
3 ปีแล้ว ปีนี้เป็นปีที่ 3 หลังจากโควิดด้วย เราไม่ได้ละเลยในการทวงความยุติธรรม
แต่เมื่อองค์กรนปช.ไม่สามารถขับเคลื่อนได้ต่อไปแล้ว มันไม่มีการนำโดยองค์รวม
เมื่อเป็นเช่นนั้นเราจึงมีความจำเป็นต้องตั้งองค์กรขึ้นมาเพื่อทำงานทวงความยุติธรรมโดยเฉพาะ
คือคณะประชาชนทวงความยุติธรรม 2553 ทวงความยุติธรรมไม่ใช่เฉพาะคนเสื้อแดง
แต่ทวงความยุติธรรมของคนเสื้อแดงเพื่อไม่ให้เยาวชนและอนาคตของชาติต้องถูกฆ่ากลางถนนแบบนี้อีก
ถ้าหากว่าคนสั่งฆ่า คนฆ่า ลอยนวลพ้นผิด มันก็จะทำซ้ำแล้วซ้ำอีกเหมือนเกิดจาก 2516,
2519, 2535 แล้วก็มา 2551, 2552, 2553 ย่ามใจใครจะไปรู้ว่ามันจะเกิดขึ้นอีก
ดังนั้น
ในวาระนี้มันก็เป็นกิจกรรมอันหนึ่งของการทวงความยุติธรรมซึ่งเราได้ทำการจัดตั้งองค์กรมาในวันที่
10 ธันวาคม 2565 แล้วเราก็เดินทางไปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
แล้วก็ไปที่กระทรวงยุติธรรมและไปที่รัฐสภา
เพื่อไปเรียกร้องต่อฝ่ายค้านและเรามีข้อเสนอ 8 ข้อ
เรามีข้อเรียกร้องต่อพรรคการเมืองว่าเมื่อคุณได้เป็นรัฐบาล หรือแม้กระทั่งคุณเป็นส.ส.ในอนาคตอันใกล้นี่แหละ
คุณจะมีปฏิบัติการอย่างไรในการที่จะทำให้ความยุติธรรมมันสามารถเกิดขึ้นได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีปี 53 และความยุติธรรมปัจจุบันที่เกิดขึ้นกับเยาวชน
คือการตายของคน 53 มันเป็นการตายจำนวนมากที่สุดและเป็นการชุมนุมที่ใหญ่ที่สุด
ถ้าเป็นการชุมนุมที่ใหญ่ที่สุดของคนข้างมากที่สุด
เรายังทวงความยุติธรรมไม่ได้ แล้วอนาคตของประเทศมันมืดมนเต็มที่
ดังนั้นภารกิจของเราไม่ใช่ทำเพื่อคนเสื้อแดง
แต่ทำเพื่อคนไทยและอนาคตประเทศไทยทั้งหมด
เพราะว่าลำพังคนเสื้อแดงยังทวงความยุติธรรมไม่ได้ เพราะฉะนั้นในวันนี้เป็นวาระที่ว่าเราได้ไปยื่นข้อเสนอ
8 ข้อต่อพรรคฝ่ายค้าน เมื่อเราไปยื่นข้อเสนอ 8 ข้อว่า คุณจะมีปฏิบัติการอย่างไรต่อข้อเสนอของเรา
ซึ่งเราคงไม่พูด ณ ที่นี้ เรามาฟังคำตอบกันวันนี้ว่าเราให้เวลาเพราะว่าเราไปเสนอเมื่อ
23 กุมภาพันธ์ มันมีเวลาพอสมควรที่เราจะฟังคำตอบ เพื่อฟังว่าข้อเสนอ 8 ข้อ
เพื่อทวงความยุติธรรมและทวงคืนอำนาจประชาชนที่เราได้นำเสนอ
พรรคฝ่ายค้านจะตอบอย่างไร เพื่อประกอบการตัดสินใจว่าคุณจะไว้ใจหรือว่ามีคำแนะนำหรือมีคำถามต่อพรรคการเมืองในประเด็นเรื่องนี้ด้วย
เพราะฉะนั้น
วาระนี้จึงเป็นวาระพิเศษ ไม่ใช่แต่เราเพียงมารำลึกเหตุการณ์อย่างเดียว
ไม่ใช่แต่เราเพียงมาสดุดีวีรชนอย่างเดียว
เรามาทวงถามว่าพรรคการเมืองในการเลือกตั้งครั้งหน้าที่จะถึงนี้ จะมีปฏิบัติการและนโยบาย่ในการทวงความยุติธรรมให้กับประชาชนทั้งในอดีต
และปัจจุบัน และอนาคต อย่างไร?
นี่เป็นการประกอบการตัดสินใจและเป็นการกดดันพรรคการเมืองฝ่ายค้านด้วย
ว่าถ้าคุณบอกว่าเป็นพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย คุณต้องทำอะไรให้เป็นรูปธรรมได้
ภายในจำนวนเวลาเท่าไหร่ที่เมื่อคุณขึ้นไปเป็นรัฐบาล คุณจะทำอะไรบ้าง
และข้อเสนอของเราที่เสนอไป 8 ข้อนั้น ทำได้หรือไม่ได้ เพราะอะไร?
เพราะฉะนั้น
นี่ก็เป็นวาระที่คิดว่าน่าติดตามอย่างยิ่ง
ไม่ใช่เป็นการมารำลึกและสดุดีและทำบุญเฉย ๆ แม้นเราจะได้ทำมาตลอด
แต่ว่าในวาระของการเลือกตั้งปี 66 สิ่งนี้ก็จะประกอบการตัดสินใจของประชาชน