“ทนายวิญญัติ”
ผิดหวังกับกระบวนการยุติธรรม ฟ้องทำไมแต่แรกหากหลักฐานไม่เพียงพอ! สร้างตราบาปให้จำเลยคดีอาญาที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง
วันที่
9 มีนาคม 2566 ทนายวิญญัติ ชาติมนตรี เลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิและเสรีภาพ
(สกสส.) หนึ่งในทีมทนายความที่ทำคดีเกี่ยวกับคนเสื้อแดง และเป็นทนายความที่ร่วมกับคณะประชาชนทวงความยุติธรรม
2553 (คปช.53) ได้เดินทางมายื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ตามรายงานข่าวทราบแล้วนั้น
ทนายวิญญัติ
ได้โพสต์เฟซบุ๊ก แสดงความผิดหวังต่อกระบวนการยุติธรรม ความว่า
หนึ่งในการเรียกร้องที่ผิดหวังกับกระบวนการยุติธรรมมาตลอด
เรามาขอให้แก้ไขพระราชบัญญัติ
ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
พ.ศ.2559
คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนฯ
ก็เป็นตัวแทนจากกระทรวงยุติธรรม ศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และอื่น ๆ
องค์กรเหล่านี้ล้วนเป็นองค์กรที่มีส่วนในการสร้างตราบาปให้กับจำเลยในคดีอาญา
ที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง
แต่สุดท้ายคณะกรรมการฯ
ซึ่งเป็นผู้พิจารณาก็ไม่ได้อนุมัติเงินค่าทดแทนแก่จำเลยในคดีอาญา
(เงินรัฐจะให้กับประชาชนมันยากนัก ยกเว้นเอามาหาเสียง สร้างคะแนนนิยม)
เหตุที่ไม่ได้เงินช่วยเหลือ เพียงอ้างว่า ยังมีความสงสัยพยานหลักฐานของโจทก์ จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์
คำถาม
: แล้วคดีอาญาที่หลักฐานไม่เพียงพอหรือทำสำนวนคดีไม่ได้มาตรฐาน ต่ำกว่าเกณฑ์ตามป.วิ.อาญา
พนักงานสอบสวนและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้อำนาจสืบสวนสอบสวนคดี ฟ้องเขามาทำไมตั้งแต่แรก?
การฟ้องคดี
แล้วไม่ให้ประกันตัวหรือการปล่อยชั่วคราว เต็มไปด้วยอุปสรรคนานานับประการ
ขังไว้ในระหว่างพิจารณาคดี เป็นการสร้างภาระให้ประชาชนที่ถูกกล่าวหา
ถูกคุมขังจำคุก เขาเสียอิสรภาพ ครอบครัวมีปัญหา แตกแยก
และมีผลกระทบไปถึงคนครอบครัวอีกหลายชีวิต
สุดท้ายก็กระทรวงยุติธรรมนั่นเอง
ที่ตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นมา ไม่ยอมจ่ายเงินของรัฐเพราะกฎหมายสร้างเงื่อนไข ที่ซ้อนกับเงื่อนงำ
แต่ในขณะที่รัฐยอมจ่ายเงินมากมายผลาญงบประมาณ เพื่อกิจการของรัฐเท่านั้น
คนได้ประโยชน์ก็คือ นักการเมือง บุคคลเครือข่ายผู้มีอำนาจ และข้าราชการ
ที่เอาความดีความชอบจากการใช้อำนาจกับประชาชน เพื่อความก้าวหน้าของตน ไม่สนใจความเป็นมนุษย์
#นี่แหละกระบวนการยุติธรรมแห่งประเทศไทย
ขอบคุณภาพจากเพจ วิญญัติ ชาติมนตรี
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #คนเสื้อแดง #คปช53