วันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2566

ทนายกฤษฎางค์ เรื่องของหยก เด็กที่ถูกจับคดี ม. 112 ผมเขียนถึงเรื่องนี้ด้วยความเศร้าสลด โกรธ และสิ้นหวัง

 


ทนายกฤษฎางค์ เรื่องของหยก เด็กที่ถูกจับคดี ม. 112 ผมเขียนถึงเรื่องนี้ด้วยความเศร้าสลด โกรธ และสิ้นหวัง

 

ตามที่ ผู้สื่อข่าวรายงานคดีความ 'หยก' ธนลภย์ (สงวนนามสกุล) หรือสหายนอนน้อย เยาวชนอายุ 15 ปี ได้ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 28 มี.ค. ที่ สน.พระราชวัง ตามหมายจับคดี ม.112 จากการเข้าร่วมชุมนุมที่เสาชิงช้า เมื่อ 13 ต.ค. 2565 โดยมี อานนท์ กลิ่นแก้ว ประธานศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) เป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษที่ สน.สำราญราษฎร์

 

หลังจากตรวจสอบเสร็จสิ้น ศาลเยาวชนฯ ออกหมายควบคุมตัวเยาวชนอายุ 15 ปี 1 ผัด จำนวน 30 วัน โดยเธอปฏิเสธใช้สิทธิประกันตัว และจะถูกส่งตัวไปที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิง "บ้านปราณี" จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 66

 

โดยเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566 ทนายกฤษฎางค์ นุตจรัส โพสข้อความผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัวิระบุว่า

 

เรื่องของหยก เด็กที่ถูกจับคดี ม. 112 ผมเขียนถึงเรื่องนี้ด้วยความเศร้าสลด โกรธ และสิ้นหวัง

 

เดิมตั้งใจเพียงจะเฝ้ามองดูเท่านั้น สุดท้ายทนไม่ได้เพราะเรื่องนี้มันเฮงซวยเกินกว่าจะอยู่เฉย ๆ แล้วปล่อยให้รัฐทำร้ายเด็กอายุ 15 ลูกหลานของเราไปวัน ๆ

 

เรื่องนี้เกิดขึ้นจากหยก ซึ่งขณะที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดนั้น เธออายุเพียง 14 ปีเท่านั้น(จริง ๆ) มีคน(ซึ่งไม่จำเป็นต้องไปจำชื่อมัน) ไปแจ้งความกับตำรวจว่า หยกทำความผิดฐานดูหมิ่น หมิ่นประมาทกษัตริย์ตาม ม. 112

 

ตอนที่ตำรวจมีหมายเรียกให้เธอไปพบในครั้งแรกนั้น เธอให้ทนายความไปขอเลื่อนนัดเพราะเธอติดสอบไล่ และต้องสอบเข้าเรียนต่อในชั้นมัธยมปลาย ซึ่งสำคัญมากสำหรับเธอ

 

แต่ตำรวจบ้าจี้ไม่ให้เธอเลื่อนนัด และไปขอให้ศาลเยาวชนออกหมายจับเธอ ศาลเยาวชนเห็นด้วยกับตำรวจ ให้ออกหมายจับหยกเด็กซึ่งเพิ่งอายุครบ 15 ไม่กี่วันก่อนออกหมายจับ

 

หยกไม่ได้หลบหนีไปไหน วันหนึ่งเธอไปเยี่ยมเพื่อน ที่โรงพัก ตำรวจเลยจับเธอส่งศาล ศาลก็ส่งเธอไปคุมตัวไว้ที่สถานพินิจ ฯ ซึ่งก็คือที่คุมขังนั้นเอง เพียงแต่ไม่เรียกว่าคุกเท่านั้น

 

นับแต่นั้นมา หยก เด็กอายุ 15 ปี ก็สิ้นอิสรภาพจนถึงทุกวันนี้ สถานที่กักขังเธอที่เรียกว่าบ้านปราณีนั้น มันไม่ได้ปราณีเธอเพราะมันไม่ยอมให้ใครเข้าเยี่ยมเธอจนบัดนี้

 

นี่เป็นเรื่องจริงที่้เกิดขึ้นในประเทศของเรา และเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าตลอดมา

 

ผมมีคำถามที่อยากถามประชาชนอย่างพวกเรา (ซึ่งคนในกระบวนการยุติธรรมของประเทศนี้อย่าสาระแนมาตอบ)

 

คำถามของผมคือ

 

1. ทำไมตำรวจต้องไปขอออกหมายจับหยก ทั้งที่เขาก็จะมาพบอยู่แล้ว

 

2. ทำไมศาลเยาวชนต้องออกหมายจับหยกเด็กอายุ 15 ปีตามที่ตำรวจขอ ทั้งที่คดีนี้ในขณะเกิดเหตุ หยกอายุเพียง 14 ปีเท่านั้น ซึ่งตามกฎหมายศาลจะไม่ลงโทษเลยก็ได้

 

ทำไมศาลเยาวชนไม่ขอถอนหมายจับหยกเหมือนกับที่ศาลอาญาสั่งถอนหมายจับวุฒิสมาชิกที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวพันกับคดียาเสพติดก่อนหน้านี้

 

หรือว่าหยกไม่ใช่บุคคลสำคัญตามที่ศาลอาญาว่า

 

3. ทำไมสถานกักกันเด็กไม่ยอมให้ใครเข้าเยี่ยมหยก ไม่ยอมให้ทนายหรือที่ปรึกษากฎหมายเข้าพบหยก ทั้งที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็กำหนดสิทธิของผู้ต้องหาทั้งผู้ใหญ่ทั้งเด็กไว้ชัดเจน ข้ออ้างเรื่องระเบียบห่วย ๆ นั้นมันฟังไม่ขึ้น เพราะระเบียบที่ผิดกฎหมายมันก็คือระเบียบโจรเท่านั้น

 

4. ทำไม ๆ ๆ ๆ ๆ มันเป็นอย่างนี้วะหรือเพราะว่าหยกไม่ได้เป็นลูกหลานของพวกมึง หรือเพราะว่ามันไม่ได้เป็นวุฒิสมาชิก พวกมึงถึงไม่ได้ดิ้นรนกระเสือกกระสนเพื่อขอถอนหมายจับเด็กอย่างที่ทำกับวุฒิสมาชิก

 

สุดท้ายเรื่องที่จะพูดต่อไปนี้ไม่เกี่ยวกับ ม. 112 สักนิดเดียว แต่อยากพูดกับไอ้นักการเมืองคนหนึ่ง ที่พูดกับสื่อมวลชนว่า

 

ถ้าใครมาวิจารณ์พ่อแม่คุณ คุณยอมได้มั้ย เขาบอกว่า ใครมาวิจารณ์พ่อแม่เขา เขาก็ไม่ยอม

 

ผมขอบอกว่า ถ้าพ่อแม่ของนักการเมืองท่านนั้นทำผิดกฎหมาย ขายชาติ ทำลายผลประโยชน์ของประชาชน ล้มล้างระบอบประชาธิปไตย ทุจริตโกงเงินประชาชน ผมก็จะด่าจะวิจารณ์

 

ผมรู้ว่าไม่ผิดกฎหมายด้วย ผมคิดว่าคุณก็รู้ เพราะคุณก็เคยเป็นนักกฎหมาย ใช่มั้ย?

 

กฤษฎางค์ นุตจรัส

5 เมษายน 2566

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #ม112