“สฤณี”
โพสต์ปมค่าไฟฟ้าแพง หลังมีกระแสโทษรัฐบาลยิ่งลักษณ์
เมื่อวันที่
19 เมษายน 2566 เสียงจากประชาชนร้องสื่อโอดค่าไฟฟ้าแพงกว่าเดิม
2-3 เท่า สร้างความเดือนร้อนต่อประชาชนจำนวนมาก ต่อมา ดร.หิมาลัย
ผิวพรรณ ผู้ประสานงานพรรครวมไทยสร้างชาติ ได้โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัวความว่า
#รัฐบาลยิ่งลักษณ์เร่งอนุมัติทิ้งทวน5000เมกะวัตต์นาน10ปี
“รู้มั้ยครับ
ก่อนผมจะเข้ามาเนี่ย มีการอนุมัติในเรื่องของด้านพลังงาน 5,000
เมกะวัตต์ โดยใครรู้มั้ยครับ? ท่านรู้มั้ย? ก่อนที่จะไม่มีอำนาจเนี่ย เร่งอนุมัติให้ 5,000
เมกะวัตต์ ผมเข้ามา ผมก็หนักใจว่าจะทำยังไงไอ้ 5,000
เมกะวัตต์เนี่ย ก็ได้หาวิธีการเจรจา ทำยังไงมันจะไม่เกิดปัญหา
มีการปรึกษาฝ่ายกฎหมาย เค้าก็บอก มันทำอะไรไม่ได้เลย
เพราะมันเป็นสัญญาที่รัฐบาลก่อนหน้านั้นทำไว้ เมื่ออนุมัติ 5,000 เมกะวัตต์ เค้าก็ต้องทำตามสัญญาที่รัฐบาลก่อนหน้าทำไว้
ผมยกเลิกไม่ได้นะครับ”
ในเวลาต่อมา
“สฤณี อัชวานันทกุล” นักเขียนและนักวิชาการอิสระ
ได้โพสต์แสดงความเห็นต่อกรณีดังกล่าว ความว่า
มีเพื่อนบอกมาว่า
IO รัฐและสื่อเสี้ยมกำลังปล่อยข่าวว่า ที่ค่าไฟแพงเพราะรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 55555
คือ
ถ้าไม่นับความชัดของข้อเท็จจริงที่ว่ารัฐบาลทหารอยู่มาจะ 9 ปีแล้วยังแก้ปัญหาไม่ได้
ก็อยากเตือนความจำทุกคนว่าเหตุการณ์ต่อไปนี้เกิดขึ้นใน “สมัยประยุทธ์”
ทั้งนั้นนะคะ
-
ออกคำสั่ง คสช. ปลดเลขาธิการคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)
และแต่งตั้งกรรมการ กกพ. ใหม่ทั้งชุด
-
ไม่มีการเปิดประมูลผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPP) อีกเลยตั้งแต่รัฐประหาร
2557 จนถึงปัจจุบัน
-
แต่ระหว่างทางมีการอนุมัติให้ RATCH สร้างโรงไฟฟ้าใหม่มา
“ทดแทน” ของเก่า แต่สร้างใหญ่กว่าเดิม หลังจากนั้นขายหุ้นครึ่งหนึ่งของโรงนี้ให้ GULF
ในราคาพาร์(!) ได้เงินไม่ถึงสองล้านบาท
-
ช่วงวิกฤติโควิด-19 โรงไฟฟ้ามากถึง 7-8
โรงจาก 12 โรงไม่ต้องเดินเครื่องเลย
ไปดูว่าของใครบ้างที่ไม่เดินแต่ได้เงิน
-
รัฐบาลทหารไม่เคยคิดที่จะปรับโครงสร้างพลังงานหรือเจรจาแก้สัญญาใดๆ
กับเอกชน ให้ยุติธรรมกับประชาชนมากขึ้นตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
-
ช่วง 6 เดือนสุดท้ายก่อนยุบสภา
มีการอนุมัติให้ กฟผ. ลงนามซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนแม่โขงใหม่ (ยังไม่ได้สร้าง) อีก 3
แห่ง กำลังการผลิตรวมหลายพันเมกะวัตต์ ทั้งที่ไฟสำรองทะลุ 50%
-
สัญญาซื้อไฟฟ้า (PPA) จากเขื่อนหลวงพระบางในลาว
1 ใน 3 เขื่อนใหม่ที่อนุมัติ ยาวถึง 35
ปี นานเป็นประวัติการณ์ (ก่อนหน้านี้ PPA ไซยะบุรียาว
31 ปีก็ว่านานแล้ว)
-
ผลการคัดเลือกโครงการพลังงานหมุนเวียนรอบล่าสุดที่เพิ่งประกาศผลก่อนสงกรานต์
มีเอกชนหน้าเดิมกวาดโควตาไปมากมายท่ามกลางความกังขาของทั้งวงการ
นอกจากนี้ในเวลาต่อมา
“สฤณี” ยังได้โพสต์ถึงกรณีค่าไฟแพงต่ออีก เตือนความจำ 8 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัย "ประยุทธ์" ความว่า
สำหรับคนที่หลงเชื่อว่า
"ค่าไฟวันนี้แพงเพราะเมื่อ 9 ปีที่แล้ว (555) คสช.
พยายามสู้คดี กรณี GULF ชนะประมูล IPP ครั้งที่
3 ห้าพันเมกะวัตต์แล้ว แต่แพ้
ศาลสั่งไม่ให้แก้ไขหรือยกเลิกสัญญาตลอดไป" –
1.
รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ที่น่าสนใจคือ เพียง 4 วันหลังจากรัฐประหาร ในบรรดานักธุรกิจที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
เรียกตัวมา ‘ปรับทัศนคติ’ มีชื่อ สารัชถ์ รัตนาวะดี เจ้าของกลุ่มบริษัทกัลฟ์
รวมอยู่ในนั้นด้วย
2.
ต่อมา คสช. ใช้อำนาจเผด็จการแต่งตั้ง
‘คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ’ (คตร.) ขึ้นมาในวันที่ 3
มิถุนายน 2557 ตามคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 45/2557 และต่อมาตั้ง คตร. ชุด ‘ทหารเป็นใหญ่’ โดยคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 122/2557 ลงวันที่ 30 กันยายน 2557
อีกทั้งในระหว่างนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ได้ออกคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 54/2557 แต่งตั้งตัวเองในฐานะหัวหน้า คสช. ให้ไปเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
(กพช.) และออกประกาศ คสช. ฉบับที่ 95/2557
ปลดเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และแต่งตั้งคณะกรรมการ
กกพ. ใหม่ทั้งชุด
3.
เรียกได้ว่าแทบจะทันทีหลังรัฐประหาร คสช.
ก็เข้าครอบงำองคาพยพทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนพลังงานของประเทศ
ไม่เว้นแม้กระทั่ง กกพ. ซึ่งเป็น ‘เรกูเลเตอร์’
หรือหน่วยงานกำกับดูแลกิจการพลังงาน
4.
ภายหลังจากที่ คสช. ตั้ง คตร. แล้ว สหภาพรัฐวิสาหกิจ กฟผ.
ก็ไปร้องเรียนต่อ คตร. ว่าการประมูล IPP รอบที่สาม
(ที่กัลฟ์ชนะประมูลรายเดียว กวาดเรียบ 5,000 เมกะวัตต์) ไม่โปร่งใสและไม่เป็นธรรมกับผู้ร่วมประมูลรายอื่น
คตร. กกพ.
และกระทรวงพลังงานจึงได้มีตรวจสอบข้อเท็จจริงพร้อมข้อสังเกตเกี่ยวกับการดำเนินการประมูลรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ
5.
คตร. ไปบอกให้ กกพ. (ที่ คสช. แต่งตั้งใหม่ทั้งชุด)
ตรวจสอบการประมูลโรงไฟฟ้า IPP เจ้าปัญหา
เรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นจะเรียกว่า ‘มหากาพย์’ ก็ไม่เกินจริง
ดังข้อสรุปอย่างชัดเจนในการอภิปรายไม่ไว้วางใจของ ส.ส. เบญจา แสงจันทร์
พรรคก้าวไกล เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา
ความบางตอนว่า
6.
“…รัฐให้สัญญาที่มีมูลค่ากว่าแสนล้านกับเอกชนไปแล้วแต่รัฐเองกลับยังต้องมาลงทุนอีกเกือบ
6,000 ล้าน โดยผลักภาระค่าก่อสร้างสายส่งให้แก่ประชาชน
โดยผู้ชนะการประมูลไม่ต้องรับภาระแม้แต่บาทเดียว ดังนั้น คตร. จึงมีมติให้ กกพ.
และกระทรวงพลังงาน ทำการเจรจากับกลุ่มบริษัทกัลฟ์และทุนญี่ปุ่น
เพื่อยกเลิกสัญญาโรงไฟฟ้าที่ชนะการประมูล 1 โครงการ
และแก้ไขข้อความบางส่วนในสัญญา แต่การเจรจาก็กลับไม่เป็นผล
7.
“เมื่อเกิดการตรวจสอบอย่างเข้มข้นก็ทำให้บริษัทที่ต้องการเข้ามาร่วมทุนกับบริษัทที่ถูกตรวจสอบไม่ยอมเจรจาต่อ
ธนาคารพาณิชย์เองก็ไม่อนุมัติเงินกู้ และมิหนำซ้ำยังถูกคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(BOI) ระงับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอีกด้วย
ส่งผลให้กลุ่มบริษัทกัลฟ์ทำการฟ้อง กกพ. กระทรวงพลังงาน
และคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ต่อศาลปกครองในฐานละเมิดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา แต่หลังจากนั้น 19 สิงหาคม 2558 พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ ก็ได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ควบกับประธาน คตร. ที่ขึ้นชื่อว่า แค่กระแอมก็สะเทือนไปทั่วปฐพี
หลังจากนั้นก็ไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบโครงการนี้ต่อ
8.
“ทั้งนี้
ในระหว่างที่การตรวจสอบและการต่อสู้คดียังเป็นไปอย่างเข้มข้น จู่ๆ พลเอกประยุทธ์ ก็มีคำสั่งฟ้าผ่าที่
4/2559 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2559 ให้เปลี่ยนตัวประธาน คตร. ออกกลางอากาศ ก่อนที่อีกไม่ถึง 2 เดือนต่อมา ก็มีคำสั่งฟ้าผ่าอีกฉบับ คือคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 70/2559 ให้ยุบ คตร. ทิ้งไปเสียโดยอ้างแค่เพียงเหตุผลว่า ซ้ำซ้อน
มีหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่คล้ายกันอยู่แล้ว แต่ในความเป็นจริง
ไม่มีหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่คล้ายกันตามที่
พลเอกประยุทธ์อ้างมารับเอาคดีที่เกี่ยวพันถึงผลประโยชน์ของชาติกว่าแสนล้าน
ไปดำเนินการตรวจสอบต่อ
(ข้อความทั้งหมดข้างต้นมาจากบทความ "มหากาพย์ "กินรวบ"
โรงไฟฟ้า" อ่านทั้งหมดได้ที่ https://themomentum.co/citizen2-0-ipp/ )
จากนี้ขอขยายต่อจากบทความ
เผื่อยังมีใครเชื่อ IO
อีก---
9.
เวลาอ่านคำตัดสินศาล ต้องอ่านให้ละเอียดให้เข้าใจว่าศาลสั่งอะไร
เพราะศาลไม่มีอำนาจสั่งแบบเหมาโหลเหมารวมเกินเลยเหตุแห่งคดี คดี 5,000 เมกะวัตต์ที่สู้กันถึงศาลปกครองสูงสุดนั้น หลักๆ GULF ขอให้ศาลมี "คำสั่งห้ามผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการตรวจสอบ
หรือนำผลการตรวจสอบการประมูลโครงการ IPP ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นไปใช้หรืออ้างอิง"
ซึ่งสุดท้าย
เมื่อปลายปี 2564 ศาลปกครองสูงสุดก็
"พิพากษาให้กระทรวงพลังงานยกเลิกหนังสือของกระทรวงพลังงานที่มีถึงสำนักงานคณะกรรมการ
BOI ในการให้ชะลอการสนับสนุน
การส่งเสริมการลงทุนของโครงการของผู้ฟ้องคดี
และให้กระทรวงพลังงานแจ้งสำนักงานคณะกรรมการ BOI ทราบ ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษา
รวมถึงห้ามกระทรวงพลังงานนำผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงการประมูลการรับซื้อไฟฟ้าของโครงการดังกล่าวไปใช้เจรจากับผู้ฟ้องคดี
เพื่อยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้าอีกต่อไป"
(นี่ลอกมาจากบทความในอิศราที่หลายคนแชร์มาแปะ ราวกับจะแย้งเจ้าของโพสได้ --
https://www.isranews.org/article/isranews-news/105024-gulf-IPP-five-thousand-mw-news.html?fbclid=IwAR1_XQiO5Ybn6Txf4aXNSIlSpmv274YutQjViwBSI0Vq2WFeFRKkbM0JXRI)
อ่านดี
ๆ จะเห็นว่า ศาลสั่งห้ามไม่ให้ "เอาผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง"
ไปใช้เจรจากับ GULF
เพื่อยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้า พูดง่ายๆ คือ
ถ้าจะเจรจาแก้ไขหรือยกเลิก ห้ามใช้ข้อมูลนี้ ศาลไม่ได้บอก(และไม่มีอำนาจบอก)ว่า
ห้ามแก้ไขหรือยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้าตลอดไปชั่วนิรันดร
10.
และแน่นอนศาลไม่ได้สั่งว่า ต่อไปนี้ขอจงเอื้อประโยชน์เอกชนรายเดิมต่อไปแบบสุดๆ
ลดแลกแจกแถมไปเลย เขาอยากได้อะไรก็ทำให้เขาซะนะ 555
11.
โครงสร้างพลังงานไทยมีปัญหามานานก่อนสมัยประยุทธ์ แต่แย่ลงมากๆ
ในสมัยประยุทธ์ นายทุนโรงไฟฟ้าไม่ได้รวยล้นฟ้าติดท็อป 5
เศรษฐีไทยในสมัยยิ่งลักษณ์ มารวยอู้ฟู่สมัยประยุทธ์
และอัตรากำลังผลิตสำรองของระบบไฟฟ้าที่เกินมานานแล้ว
ก็เพิ่งมาล้นเกินแบบพุ่งกระฉูดหลังรัฐประหาร 2557
แม้หลังเกิดวิกฤติโควิด-19
ก็ไม่ได้มีการเลิกเอื้อประโยชน์เอกชนโดยไม่จำเป็นแต่อย่างใด
(ข้อมูลเหล่านี้พยายามอธิบายไปหลายรอบแล้ว ไปหาอ่านเองได้)
12.
ส.ส. เบญจา แสงจันทร์ และ ส.ส. รังสิมันต์ โรม
ที่อภิปรายไม่ไว้วางใจเกี่ยวกับนายทุนไฟฟ้า โดนฟ้องหมิ่นประมาท 100 ล้านบาททั้งคู่ และบริษัทนี้ก็ไม่ได้ฟ้องแค่สองคนนี้เท่านั้น
สุดท้ายอยากบอกว่า
ถ้าคุณจะยังเชื่อจริงๆ ว่า ที่ค่าไฟแพงวันนี้เป็นผลมาจากเหตุการณ์เมื่อ 10 ปีที่แล้ว
**เท่านั้น** ไม่เกี่ยวอะไรกับสิ่งที่เกิดขึ้นตลอด 10 ปีที่ผ่านมาเลย
ก็แสดงว่าคุณเป็นเหยื่อ IO รัฐที่ถอนตัวไม่ขึ้นแล้วค่ะ