วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

ปดิพัทธ์” ไม่กังวล 7 ส.ค. นี้ นัดตัดสินยุบก้าวไกล เชื่อก้าวไกลชี้แจงได้มีน้ำหนัก ลั่นไม่เสียดายตำแหน่งรองประธานสภาฯ ชี้งานที่หาเสียงไว้กับประชาชนทำได้หมดแล้ว

 


ปดิพัทธ์” ไม่กังวล 7 ส.ค. นี้ นัดตัดสินยุบก้าวไกล เชื่อก้าวไกลชี้แจงได้มีน้ำหนัก ลั่นไม่เสียดายตำแหน่งรองประธานสภาฯ ชี้งานที่หาเสียงไว้กับประชาชนทำได้หมดแล้ว

 

วันนี้ (18 กรกฎาคม 2567) เวลา 12.45 น. ที่รัฐสภา นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมหลังศาลรัฐธรรมนูญนัดหมายวินิจฉัยคดียุบพรรคก้าวไกลวันที่ 7 ส.ค.นี้ว่า ขอให้ความเห็นในฐานะรองประธานสภาฯการยุบพรรคการเมืองเป็นการทำลายเจตนารมย์ของประชาชน และทำให้สถาบันนิติบัญญัติอ่อนแอ โดยเฉพาะประเทศใดก็ตามที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย ซึ่งการยุบพรรคฝ่ายค้าน จะทำให้กลไกการตรวจสอบรัฐบาล กลไกที่รักษาสิทธิ์ของพี่น้องประชาชนก็จะบกพร่องไปด้วย

 

ผมจึงกังวลว่าหน้าตาของสภาฯจะเป็นอย่างไรหากพรรคก้าวไกลถูกยุบ การตรวจสอบสมดุลฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติจะเป็นอย่างไร ซึ่งนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ในประเทศ เราจะต้องชี้แจงกับสภานานาชาติ ( Inter Parliament Union ) ให้ได้ ซึ่งเพื่อนสมาชิกสภาฯหลายประเทศก็กังวลในเรื่องนี้

 

นายปดิพัทธ์ ย้ำว่า นี่ไม่ใช่เรื่องของพรรคใดพรรคหนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่หากนิติบัญญัติถูกฝ่ายอื่นแทรกแซง ห้ามมไม่ให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทำแล้วมีโทษ ก็จะแสดงให้เห็นชัดเจนว่าประเทศของเรายังไม่ได้เป็น ประชาธิปไตย ส่วนหากการยุบพรรค ส่งผลให้กรรมการบริหารพรรคถูกตัดสิทธิ มีผลต่อตำแหน่งรองประธานสภาฯ หรือไม่นั้น แน่นอนว่าตนเองเป็นอดีตกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งปี 2566 และรายชื่อของก็ปรากฏชัดเจนอยู่ในคำร้องของ กกต.ดังนั้น ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้

 

ผมยังคงมั่นใจในอดีตเพื่อนพรรคก้าวไกลว่ามีน้ำหนักมากพอโดยเฉพาะเรื่องคำร้องของ กกต. ซึ่งวิญญูชน สื่อมวลชน นักวิชาการต่าง ๆ ก็คงมีคำวินิจฉัยของตนเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในวันที่ 7 ส.ค.หาคมตนก็ไม่มีเรื่องอะไรที่จะต้องกังวล”นายปดิพัทธ์ กล่าว

 

เมื่อถามว่าเสียดายตำแหน่งรองประธานสภาฯ หรือไม่ นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า คิดว่าความตั้งใจตามที่ได้หาเสียงไว้กับประชาชนได้ทำเกือบทุกข้อแล้ว ตอนนี้ก็เหลือเรื่องที่อาจจะต้องใช้เวลา อย่างเช่นการปฏิรูปโครงสร้างของรัฐสภาที่ปลายปีนี้จะมีโครงสร้างใหม่ อะไรที่ซ้ำซ้อนระหว่างสภาฯ และวุฒิสภาก็จะถูกตัดออกไป รวมทั้งโครงการที่ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลฯ และโครงการอื่น ๆ ซึ่งจะสำเร็จได้ก็คงต้องอยู่ในความเป็นผู้นำของหัวหน้าองค์กรในอนาคต

 

เมื่อถามว่าโควตาของรองประธานสภาฯเป็นของพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่ เพราะขณะนี้ฝ่ายรัฐบาลก็มีเสียงข้างมากในสภาฯ นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า แน่นอน ตำแหน่งรองประธานสภาฯจะต้องเป็นสส. เมื่อตนถูกตัดสิทธิ์ตำแหน่งก็จะต้องยุติลง แต่ทั้งหมดก็อยู่ที่การตัดสินใจของสภาฯ ซึ่งตนเชื่อว่าจะมีการกระบวนการสรรหาอย่างถูกต้อง

 

#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #ศาลรัฐธรรมนูญ #ก้าวไกล #หมออ๋อง #ปดิพัทธ์สันติภาดา