วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2562

ย้อนอดีต "วิถีสหายพรรคคอมมิวนิสต์" เทียบปัจจุบัน "ชะตาชีวิตผู้ลี้ภัยไทยในต่างแดน"

เช่นเดียวกับในอดีตพอเกิดเหตุการณ์ ‘6 ตุลา 19’ มีความรุนแรงตอกอก ตอกลิ่ม หรือจัดการกับศพอะไรต่างๆ เหล่านี้ ก็ทำให้คนหนีเข้าป่า ซึ่งถ้าเทียบกับปัจจุบันก็คือการลี้ภัยไปต่างประเทศ

ฉะนั้น ความรุนแรงเหล่านี้ ภาพสยดสยองเหล่านี้ เป็นวิธีคิดต้องการข่มขู่หรือเปล่า

แต่ในทัศนะอาจารย์คิดว่ามันจะได้ผลอีกแบบหนึ่ง คือ ผลของความไม่พึงพอใจ ความโกรธว่าทำไมคุณต้องทำถึงขนาดนั้น เขาลี้ภัยไปแล้ว เขามีความคิดเห็นต่าง เขาไม่สามารถมีอิทธิพลอะไรมากมายที่จะไปปลุกระดมคนให้กระทำการเป็นปัญหากับความมั่นคง

คุณอยู่มาได้ตั้ง 5 ปี แล้ว ยังอยากจะอยู่ต่ออีก 20 ปี การที่ไม่มีเรื่องถึงขนาดประชาชนลุกฮือขึ้นมา ต้องถือว่านี่โชคดีขนาดหนักแล้ว ไม่จำเป็นต้องทำกับคนที่มีความคิดต่างขนาดนี้

- ความเป็นสหาย ในระหว่างประเทศ ยังมีจริงหรือไม่

ในทัศนะอาจารย์ ปัจจุบันนี้ ‘สากลนิยมชนชั้นกรรมาชีพ’ ไม่มีแล้ว เท่าที่ดูในประวัติศาสตร์ เป็นผลประโยชน์ของประเทศนั้นๆ มากกว่า ตั้งแต่ในตอนสงครามโลก

แล้วองค์กรที่เรียกว่า โคมินเทิร์น ก็หายไป อาจจะมีความรู้สึกดีๆ อยู่บ้างว่า อ๋อนี่นักปฏิวัติ อีกอย่างหนึ่งช่วงเวลาของการปฏิวัติในประเทศเหล่านี้ก็ยาวนานมาก

เหมือนอย่างอาจารย์เคยเจอคนที่ประเทศจีน เขาบอกเวลาฟังเรื่องประเทศไทย ก็ฟังคล้าย ๆ เป็นเรื่องประวัติศาสตร์บางตอนของประเทศจีน ซึ่งปัจจุบันเขาเป็นคนในโลกยุคใหม่โลกทุนนิยมโลกาภิวัตน์

เพราะฉะนั้น นักปฏิวัติตามแบบฉบับในอดีต ไม่มีแล้ว ปัจจุบันในประเทศสังคมนิยมเขาแข่งขันกันด้วยเทคโนโลยีและความสามารถมากกว่า ส่วนวิธีคิดที่บอกว่า เป็นสหาย อาจารย์คิดว่า ในระหว่างประเทศ ไม่มีนะ ไม่น่าจะเหลือแล้ว

แต่ว่าต่อให้มี ‘สหาย’ ก็ต้องมีองค์กรจัดตั้ง เช่นระหว่างพรรคต่อพรรค เมื่อก่อนมีคำพูด รัฐต่อรัฐ พรรคต่อพรรค อีกอันคือ ประชาชนต่อประชาชน

ถ้าเป็นพรรคปฏิวัติต่อพรรคปฏิวัติ เมื่อก่อนนี้เขาก็จะมีความสัมพันธ์อีกแบบหนึ่ง เพราะเวลาเขาพูดกับรัฐ เขาจะบอก อันนี้ไม่เกี่ยว อันนี้เป็นเรื่องของพรรค ยกตัวอย่างเช่น จีน หรือ เวียดนาม เขาบอกอันนี้เป็นเรื่องชาวพรรคคอมมิวนิสต์ด้วยกัน

แต่อาจารย์ว่า หลังจากนั้น มันหายไปแล้วนะ เพราะฉะนั้น ตอนหลังเวลาเราพูด เราก็บอก ประชาชนต่อประชาชน

อาจารย์มองว่า ผู้ที่ลี้ภัยไป ก็เป็นเรื่องของประชาชนที่ไม่สามารถยอมรับแบบแผนการเมืองการปกครองในปัจจุบันได้มากกว่า ไม่ใช่ในฐานะสหาย

- ทางออกหากจำเป็นต้องลี้ภัย สำหรับคนที่ไม่มีสถานะทางสังคม ถึงขนาดเป็นอดีตรัฐมนตรี อาจารย์มหาวิทยาลัย หรือข้าราชการระดับสูง

อาจารย์ดูคนที่เขาเคยลี้ภัย แต่อาจารย์ไม่คิดจะทำเพราะอายุมากแล้ว(หัวเราะ) จริงๆ ตั้งใจจะอยู่กับประชาชนที่นี่แหละไม่ลี้ภัยไปไหน
คือ คนที่จะลี้ภัยเขาเตรียมตัวตั้งแต่ตอนยังไม่เกิดเหตุการณ์ที่เป็นปัจจัยต้องลี้ภัย ทุกอย่างต้องวางแผนไว้ก่อน

ไม่ใช่ไปตายเอาดาบหน้า ต้องเตรียมตัวตั้งแต่อยู่ในประเทศไทย จะติดต่อสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ หรือองค์กรอะไรต่างๆ ก็ต้องเตรียมเอาไว้

กรณีสมมติว่า ถ้าเขาไปอยู่ต่างประเทศในลักษณะไปตายเอาดาบหน้า ก็ต้องสัมพันธ์กับองค์กรระหว่างประเทศให้ได้เร็วที่สุด มิเช่นนั้นก็ต้องสัมพันธ์กับสถานทูตที่เขายอมรับ คือติดต่อประเทศโดยตรงเลยก็ได้ โดยไม่ต้องผ่าน UNHCR

ส่วนตัวอาจารย์ก็สัมพันธ์กับสถานทูตเยอะ ก็เห็นคนที่มีความคิดจะลี้ภัย เขาจะไปคุยกับสถานทูตเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว บางคนเคยเป็นนักเรียนเก่า อันนี้ก็อาจจะง่ายหน่อย เคยไปอยู่ประเทศนั้น

แต่ถ้าเป็นประชาชนธรรมดา เป็นชาวบ้านธรรมดา มี 2 อย่างคือ 
1) ต้องพยายามหาองค์กรที่ยอมรับให้ได้ แต่ในระหว่างที่ยังหาไม่ได้ ต้องทำอย่างที่ 
2) คือเราต้องคำนึงถึงประเทศที่เราไปอยู่ด้วย ว่าเราต้องไม่ไปสร้างความเดือดร้อนให้เขา คือ เราต้องเข้าใจว่า ประเทศเขาก็มีผลประโยชน์ของเขา เราก็มีเรื่องของเรา

เรื่องของเขาต้องเป็นหลัก ถ้าเราจะไปอยู่กับเขา เราต้องไม่ทำให้เขาเดือดร้อน ยกตัวอย่าง ถ้าเขารู้ว่าเข้ามาลี้ภัย เขาก็จะมีระเบียบว่า คนที่หนีร้อนมาพึ่งเย็น ไม่ว่าจะอยู่ชั่วคราวหรืออยู่นาน หากเขาไม่ให้ไปตรงไหนก็ต้องไม่ไป หรือควบคุมการเคลื่อนไหวในระดับไหน คุณก็ต้องฟังเขา ถ้าอยู่ในประเทศเขา เพราะแต่ละประเทศอาจจะไม่เหมือนกัน ถ้าอยู่ไกลไปเขาอาจจะไม่แคร์เท่าไหร่

แต่สำหรับประเทศบ้านชิดติดกัน ถ้าคิดเอาแบบเป็นชาวคอมมิวนิสต์ด้วยกันนะ คุณจะต้องอยู่ในระบบจัดตั้ง เมื่อก่อนอาจารย์อยู่ในเขตป่าเขา

เวลามีคนเข้ามาในเขตป่าเขา ต้องปฏิบัติตามระเบียบวินัยของพื้นที่นั้น อะไรที่เขาห้ามไม่ให้ทำ อย่าทำ

เช่น เวลาเขาเดิน คุณมีหน้าที่ต้องเดินตามเขาเป็นก้าวๆ เลย ไม่ใช่เดินตามใจชอบ เพราะคุณจะไปเจอระเบิด เขาเขียนให้เดินยังไงต้องเดินอย่างนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศคอมมิวนิสต์ เขาจะมีรายละเอียด ระเบียบมาก ก็คือ เราต้องมีวินัย เราจะเสรีไม่ได้

ฉะนั้น ต้องถือว่า ถ้าเขาให้อยู่ ก็ถือว่า เขาก็เมตตาแล้ว เราก็ต้องมีความเอื้ออาทรต่อเขาด้วย อันนี้อาจารย์พูดตามหลักการ ถ้าปฏิบัติตามระเบียบ เขาจะรู้ว่าดูแลได้แค่ไหน

ประเทศสังคมนิยมเขามีวินัยมาก ยิ่งวินัยของนักปฏิวัติยิ่งเข้มข้น ถ้าคุณเป็นชาวคอมมิวนิสต์ คุณรู้ทันทีว่าต้องปฏิบัติยังไง วินัยสำคัญที่สุด

อย่างไรก็ตาม ในทัศนะอาจารย์ เราควรจะอยู่ในประเทศไทย และรัฐไทยก็ไม่ควรจะไปสร้างปัญหา สร้างความกระอักกระอ่วนกดดันประเทศเพื่อนบ้าน กดดันคนในประเทศ เพราะการกระทำอย่างโหดร้ายป่าเถื่อนคนรับไม่ได้

โดยหลักการแล้วรัฐไทยไม่ควรจะทำแบบนี้ เขายากลำบากแล้ว เขาควรมีสิทธิเสรีภาพที่จะพูดบ้าง ต้องคำนึงถึงกฎหมายระหว่างประเทศและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่ว่า การทำโหดร้ายแบบนี้จะทำให้ได้คะแนนติดลบ

อย่างที่อาจารย์ตั้งคำถามใน Facebook Live หรือคุณคิดว่าจะปิดบัญชีให้ได้ เมื่อจะลงจากอำนาจ? คือจะจัดการให้หมด กลายเป็นว่า จะเข้าสู่การเลือกตั้ง แต่กลับมีเรื่องโหดร้ายรุนแรง เช่นการเผารถ (กรณีรถของเอกชัย หงส์กังวาน) ทำทำไม ทำเพราะต้องการปิดบัญชีคนเห็นต่างเช่นนั้นหรือ หรือ หรือว่าไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้ง กลับทำให้คนโกรธเคือง มันไม่ใช่วิถีทางของการเมืองในระบอบประชาธิปไตยนะคะ

(สัมภาษณ์โดย ฟ้ารุ่ง ศรีขาว)

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562

ธิดา ถาวรเศรษฐ : บทบาทภาคประชาชนในฤดูการเลือกตั้ง

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562

ธิดา ถาวรเศรษฐ : ปรากฎการณ์ข่มขุ่คุกคามที่ทวีความรุนแรงขึ้น!!!

จี้รัฐแก้ฝุ่นพิษโดยด่วน!!!


ปัจจุบันปัญหาฝุ่นพิษเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายให้ความกังวลและแสดงความคิดเห็น รวมทั้งเร่งให้รัฐบาลให้ความสนใจแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วนทั้งในระยะสั้น-ระยะยาว

วานนี้ (27 ม.ค. 62) นพ.เหวง โตจิราการ สมาชิกพรรคไทยรักษาชาติได้โพสต์ข้อความทางเพจเฟสบุ๊ค เรียกร้องให้ภาครัฐออกมาตรการเร่งด่วน 4 ข้อเพื่อลดการปล่อยมลพิษจากเครื่องยนต์ดีเซลในทันทีโดย คือ 1) ต้องตรวจคุณภาพควันรถประจำทางที่ใช้่ดีเซลทุกคน 2) ต้องตรวจคุณภาพควันรถบรรทุกดีเซลทุกคน 3) เข้มงวดคุณภาพควันของรถยนต์และจักรยานยนต์ และ 4) ตรวจคุณภาพควันโรงงานที่อยู่ในกทม.และปริมณฑล ซึ่งทั้ง 4 ข้อหากไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานก็ไม่ควรอนุญาตให้ต่อทะเบียน ซึ่งช่วงท้ายนพ.เหวงโพสต์ด้วยความเป็นกังวลว่า "อย่าปล่อยปละละเลยไปจนทำให้มีผู้เสียชีวิตจากฝุ่น 2.5 ไมครอน ดังที่เกิดกับประเทศสหรัฐและอังกฤษเลยครับ"

นอกจากนี้ นายวรวีร์ มุกูดี รองหัวหน้าพรรคประชาชาติ ได้ปราศรัยกล่าวถึงกรณีฝุ่นละอองที่เป็นปัญหาขณะนี้ว่า มีแนวคิดที่จะต้องเพิ่มการปลูกต้นไม้ รวมถึงจำกัดจำนวนรถยนต์ที่ปล่อยควันพิษ นอกจากนี้ยังมีแนวคิดย้ายศูนย์ราชการออกไปเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวด้วย

และในวันเดียวกันนี้ นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ นักวิชาการด้านวิศวกรรมขนส่งและที่ปรึกษาด้านนโยบายคมนาคม พรรคอนาคตใหม่ ก็ได้โพสต์เฟสบุ๊คแสดงความเห็นเกี่ยวกับการแก้เรื่องมลพิษทางอากาศระยะยาว ซึ่งได้กล่าวถึงการใช้ "ยาอ่อน" "ยาแรง" และ "การผ่าตัด" 

นายสุรเชษฐ์กล่าวอีกว่า รัฐบาลเลือกจะใช้แค่ "ยาอ่อน" ซึ่งก็รู้กันอยู่แล้วว่าไม่ค่อยได้ผล เราอยากให้ท่านกล้าตัดสินใจที่จะใช้ "ยาแรง" ครับ โดยเสนอแนวทางในการปฏิบัติผ่านระบบ "ประชาธิปไตย 4.0" คือ

1) ประชุมยกที่ 1 เอาผู้เชี่ยวชาญมาหารือกัน กำหนดมาตรการไม่เกิน 3 ทางเลือก
2) ใช้ "ประชาธิปไตย 4.0" ประชาสัมพันธ์ให้คนเข้าใจทางเลือก ให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบร่วมโหวต
3) ประชุมยกที่ 2 ช่างน้ำหนักระหว่างผลโหวตกับความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ แล้วฟันธงชัด ๆ ว่าจะเลือกใช้มาตรการใด

ผู้นำประเทศต้องกล้าตัดสินใจครับ อย่าโบ้ยไปคนโน้นคนนี้เลยครับ เรื่องมันใหญ่ขนาดนี้แล้ว สุขภาพของประชาชนต้องมาก่อนครับ 

'ประชาชาติ' ปราศรัยครั้งแรกในกรุงเทพฯ ชูนโยบาย 5 อ. ประกาศจุดยืนต้านเผด็จการ


วานนี้ 27 ม.ค. ที่ลานหน้าสำนักงานพรรค ถนนสรงประภา 30 เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร พรรคประชาชาติได้มีการปราศรัยใหญ่ครั้งแรกในกรุงเทพมหานคร โดย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรค ได้กล่าวว่า "ประชาชนโดยรวมมีความทุกข์ อัดอั้นจากรากเหง้าของการเมือง เพราะระบบการเมืองไทยมีเพียง 2 ระบบ คือเผด็จการกับประชาธิปไตย"

นอกจากนี้ พ.ต.อ.ทวี กล่าวต่ออีกว่า "อยากเห็นประชาชนสั่งสอนเผด็จการ และพรรคประชาชาติอาสามาเป็นพรรคการเมืองของประชาชนและจะเป็นพรรคในอุดมการณ์คือระบอบประชาธิปไตย ปกครองโดยประชาชน เพื่อประชาชน"

พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า "ชีวิตมนุษย์สำคัญตั้งแต่ครรภ์มารดาถึงเชิงตะกนอ พรรคประชาชาติมีนโยบายส่งเสริมคุณภาพชีวิต เรียกว่าเป็น "นโยบายตัว อ." คือ 5 อ. ต้องมี ได้แก่ ต้องมีอาหาร, ต้องมีอาชีพ, ต้องมีอนามัย, ต้องมีโอกาส และต้องมีอัตลักษณ์ ส่วน 1 อ. ต้องไม่มี คือ ต้องไม่มี อยุติธรรม

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562

ธิดา ถาวรเศรษฐ : มีกฤษฎีกาเลือกตั้งแล้ว แต่ยังข่มขู่คุกคาม "คนอยากเลือกตั้ง"

‘ภราดร’ มองจุดเปลี่ยนเกมมวลชนฝ่ายหนุนคสช. อ่อนกำลัง

ด่วน!!! พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง...ออกแล้ว


ด่วน!!!  วันนี้ (23 ม.ค. 62) พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

พระราชกฤษฎีกา
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป
พ.ศ. ๒๕๖๒
______________

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒
เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไป

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ และมาตรา ๒๖๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑  พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. ๒๕๖๒

มาตรา ๒  พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓  ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไป

มาตรา ๔  ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๒๖๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญนี้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๖๗(๑) (๒) (๓) และ (๔) มีผลใช้บังคับแล้ว สมควรกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไป จึงจำเป็นต้องคราพระราชกฤษฎีกานี้

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2562

ภราดร พัฒนถาบุตร : 'รัฐบาลทหารคือปรปักษ์กับขบวนการผู้เห็นต่าง'

22 ม.ค. 62 พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร ที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย (พท.) และอดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในยุครัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์แฟนเพจ ‘ยูดีดีนิวส์ - UDD News’ ถึงสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้

จากกรณีเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2562 คนร้าย 2 คน ขี่จักรยานยนต์ใช้อาวุธปืนยิงนายดอเลาะ สะไร โต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิดปูโปะ ต.รือเสาะออก อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เสียชีวิต และเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2562 คนร้าย 10 กว่าคนใช้อาวุธปืนสงครามยิงใส่กุฏิพระ ภายในวัดรัตนานุภาพหรือวัดโคกโก บ้านโคกโก ต.โต๊ะเด็ง อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ส่งผลทำให้พระครูประโชติ รัตนานุรักษ์ (ท่านสว่าง) เจ้าอาวาสวัดรัตนานุภาพ และเจ้าคณะอำเภอสุไหงปาดี มรณภาพพร้อมพระลูกวัด

- การก่อเหตุทั้ง 2 กรณีนี้ มีความหมายว่าอย่างไร

พระสงฆ์และโต๊ะอิหม่าม เป็นสัญลักษณ์นำ ของทั้ง 2 ศาสนา คือ ทั้งพุทธและอิสลาม แต่กลุ่มหัวรุนแรงไม่ได้คำนึงว่าใครจะเป็นผู้นำศาสนาใด เขาคำนึงถึงว่า ถ้าสามารถสร้างความเข้มแข็งในลักษณะการปฏิบัติการรบ ไม่ว่าใครจะเป็นผู้นำอย่างไร 'ต้องมาฟังฉัน' แล้วหลังจากนั้น เมื่อได้ชัยชนะแล้วค่อยมาว่ากันอีกที

ฉะนั้น เขาไม่สนใจสัญลักษณ์ของผู้นำปีกไหน เขาสนใจว่า ถ้าทำให้เกิดความน่าสะพรึงกลัว การได้ชัยชนะจากการปฏิบัติการรบแล้ว ตรงนั้นจึงจะนำไปสู่การดำเนินไปตามเป้าหมายได้ เขาเชื่อว่าต้องเอาชัยชนะทางการรบก่อนโดยไม่คำนึงถึงว่าเป้าหมายจะศาสนาใด จากนั้นจึงจะกลับมาคุยกันได้ โดยเฉพาะเป้าหมายเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้คนเชื่อถือมากๆ เขายังพึงประสงค์ที่จะทำ เพราะเป็นความคิดสุดโต่งไปแล้ว

- เหตุใดจึงมีความรุนแรงในช่วงนี้

เราคงจะต้องย้อนรอยไปนิดนึง คือการเข้าใจรากของปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงอยู่ในเรื่องอุดมการณ์ความเชื่อ ซึ่งสืบเนื่องมาจากประวัติศาสตร์ เรื่องชาติพันธุ์

ตรงนี้จะฝังลึกอยู่กับคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการถืออาวุธ ในกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า การจะย้อนรอยไปตามประวัติศาสตร์ที่เขาเชื่อเรื่องดินแดน เขายังคิดอยู่ว่า วิธีการจะได้มาตรงนั้น คือการใช้ความรุนแรงที่จะเอาชนะ เหมือนการรบ ถ้าสามารถเอาชนะทางการรบได้ ก็จะได้สิ่งที่เขาคิดไว้กลับคืนมา จึงเกิดผลสืบเนื่องมาตลอดจนถึงปัจจุบันในการต่อสู้กัน

- ทางออกที่เป็นไปได้

ทางออกปฏิเสธไม่ได้ว่าต้องนำ 'การเมืองนำการทหาร' เพราะรากของปัญหาคือความคิด สิ่งที่สำคัญยกตัวอย่างเทียบเคียงก็เหมือนการต่อสู้ภัยคอมมิวนิสต์ ก็เป็นเรื่องการต่อสู้ทางความคิดกัน แต่เมื่อเราใช้ปฏิบัติการทางการทหารต่อสู้กันก็ไม่สัมฤทธิ์ผล สุดท้ายก็ต้องเปลี่ยนเป็นการเมืองนำการทหาร นี่ก็เฉกเช่นเดียวกัน

การเมืองนำการทหาร จะเปิดช่องให้มีการมีส่วนร่วม การมาพูดคุยกัน การแลกทัศนะกัน ว่า ประวัติศาสตร์ เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถจะไปลบเลือนมันได้ แต่เมื่อเป็นสิ่งที่ลบเลือนไม่ได้แล้ว เราถอยกลับไปก็ไม่ได้เช่นกัน

สิ่งที่จะแก้ไขได้ก็คือ ต้องมาหารือร่วมกันว่า อนาคตเราจะอยู่ร่วมกันอย่างไร ฉะนั้น วิธีการแก้ไข ก็คือ ต้องเอาการเมืองมานำการทหาร เปิดการพูดคุยกัน แต่ที่คนจะรู้สึกหงุดหงิด ก็เพราะการพูดคุยต้องใช้ระยะเวลา ใช้การทำความเข้าใจ เพื่อจะเปลี่ยนความคิดความเชื่อให้กลับมาตรงกัน เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยสันติภาพได้

- แม้จะมีการสังหารนักบวชหรือผู้นำศาสนา ก็ยังหวังว่าจะมีการพูดคุยกันได้? ยังพูดคุยกันได้ เราปฏิเสธไม่ได้ว่า กลุ่มที่มีคนหัวรุนแรง จริงๆ ก็มีความหลากหลายในกลุ่มเขา

คือ เป้าหมายเขาเหมือนกัน แต่สิ่งที่เขาอยากได้มีหลายระดับ มีลึกลงไปถึงเรื่องดินแดน ขณะที่บางคนก็ไม่ได้คิดไปถึงเรื่องดินแดน แต่มีเป้าหมายเรื่องการปกครองที่เขามีเสรีภาพตามสมควรตามเหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ทุกกลุ่มจะมีคนหัวรุนแรงสุดโต่ง ซึ่งปัญหาปัจจุบัน คือ พวกหัวรุนแรงสุดโต่ง

ส่วนคนปกติก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร ฉะนั้น ความยากก็คือ ทำความเข้าใจกับกลุ่มสุดโต่งให้ได้ ซึ่งก็คงจะมีการเปิดเวที แต่การเปิดเวทีพูดคุยอย่างเดียวยังไม่พอ

ต้องมีมาตรการทางการทหารควบคู่กันไป เพื่อป้องปราม และชี้ให้เห็นว่ารัฐไทยสามารถที่จะคุ้มครอง ให้ความปลอดภัยพี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้อย่างแน่นอน

ตรงนี้เพื่อชี้ให้เขาเห็นว่า ยังไงถ้าเกิดการสู้รบกัน เขาก็ไม่สามารถที่จะเอาชัยชนะในการปฏิบัติการรบ มาชนะเจ้าหน้าที่รัฐได้ ขณะเดียวกัน การพูดคุยก็ต้องมีควบคู่กันไป

- การเมืองนำการทหาร รูปธรรมขณะนี้ คืออะไร

รัฐบาลต้องสื่อสารให้พี่น้องประชาชนทราบกันทั่วประเทศว่า การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นวาระแห่งชาติ ไม่ใช่เป็นเรื่องเฉพาะพื้นที่ เพื่อให้พี่น้องประชาชนทุกคนเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบัน ว่ามีการลุกลามไปขนาดไหน ให้เห็นสถานการณ์ชัดเจน

แล้วมาหารือร่วมกันทุกภาคส่วนไม่ใช่เฉพาะในพื้นที่ แต่ให้ทั่วประเทศรับรู้ปัญหาว่า มีปัญหาลักษณะนี้ แนวคิดนี้ ความเชื่ออุดมการณ์ที่แตกต่างเกิดขึ้น แล้วทุกคนจะเห็นพ้องต้องกัน เข้าใจกัน แล้วจะมาร่วมกันให้ข้อคิดเห็นข้อแนะนำ

แล้วรัฐสามารถออกแบบทำเป็นข้อพิจารณาเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้ในที่สุด มีความร่วมมือระหว่างนอกพื้นที่กับในพื้นที่มาบรรจบกันมีพลังแก้ไขปัญหา

- การเลือกตั้งทั่วไปในระดับชาติ แม้ว่าจะยังไม่ชัดเจนว่าวันไหน จะมีส่วนต่อสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่

มีส่วนมาก เราปฏิเสธไม่ได้ เราอย่าไปนึกว่าขบวนการผู้เห็นต่างเขาไม่ได้สนใจภาพรวมของประเทศ

เขามีความสนใจและติดตาม เพราะมันเกี่ยวข้องกับบรรยากาศที่จะสร้างสภาวะแวดล้อมในการพูดคุยที่จะต้องเผชิญหน้า เพราะเขาเชื่อมั่นว่า ถ้าเป็นรัฐบาลที่มาจากกระบวนการประชาธิปไตย จะเปิดโอกาสให้เขาเข้ามามีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนทัศนะในการแก้ไขปัญหา ดีกว่ารัฐบาลที่มาจากค่ายทหาร

ซึ่งจริงๆ แล้วฝ่ายปฏิบัติการของเขา ก็มองอยู่ตลอดเวลาว่า รัฐบาลทหาร คือ ปรปักษ์กับเขา ฉะนั้น ยิ่งรัฐบาลทหารอยู่ หรือ มีอำนาจเบ็ดเสร็จเท่าไหร่ โอกาสที่จะเกิดความรุนแรงจะมีมากกว่ารัฐบาลประชาธิปไตย เพราะรัฐบาลประชาธิปไตยจะมาสร้างสภาวะแวดล้อมที่เขายอมรับและเชื่อถือได้ว่า เอาล่ะมีโอกาสพูดคุย มีโอกาสเดินหน้ากันบ้างหรือถอยหลังกันบ้าง และแน่นอนที่สำคัญที่สุด คือจะได้ความร่วมมือจากข้างนอก คือประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศโลกมุสลิมที่จะเข้ามาช่วยทำให้บรรยากาศการแก้ไขปัญหามันมีความราบรื่น

- แม้จะมีการสังหารพลเรือน แต่ก็ไม่ควรสิ้นหวังต่อการพูดคุยสันติภาพ?

อันนี้เป็นหัวใจสำคัญ หัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหา คือการพูดคุยสันติภาพและนำไปสู่สันติสุขส่วนรวม ตรงนี้เป็นเครื่องมือสำคัญ แต่พี่น้องประชาชนที่มีความเข้มข้นในการรักชาติ อาจจะรู้สึกหงุดหงิดเพราะต้องใช้เวลา

ขณะที่ตัวแบบตัวนี้ เราเห็นมาทั่วโลกแล้วว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้ จะช้าหรือเร็ว สุดท้ายก็แก้ไขปัญหาได้ ควบคู่กับมาตรการทางทหารที่มีความพอเหมาะพอควร แต่ปลายทางของคำตอบจะสำฤทธิ์ผลได้ ต้องเกิดจากการที่มีการพูดคุย เพราะเป็นการแก้ไขทางความคิดซึ่งกันและกัน

(สัมภาษณ์โดย ฟ้ารุ่ง ศรีขาว)

วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2562

3 กลุ่มชุมนุม "อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย-อนุสรณ์สถานฯ แยกคอกวัว-หน้าหอประชุม มธ.ท่าพระจันทร์"

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562

'นิว สิรวิชญ์' ยืนยัน 'คนอยากเลือกตั้ง' ชุมนุม 19 ม.ค.ที่ มธ. ท่าพระจันทร์

727 รายชื่อนักเรียนนิสิตนักศึกษาเรียกร้องความชัดเจนวันเลือกตั้ง 'ธนวัฒน์-พริษฐ์' นำทีมยื่นนายกฯ

มาอีกแล้วพล็อตเก่า “ม็อบชนม็อบ” “ธิดา” ถามแล้วไง? จะยกเลิกการเลือกตั้งหรือ?

'อานนท์' ยันชุมนุมเสาร์นี้ แต่ย้ายไปมธ.ท่าพระจันทร์ เลี่ยงการยั่วยุ


ยืนยันชุมนุม แต่ย้ายสถานที่ไปมธ.ท่าพระจันทร์ หลีกเลี่ยงการยั่วยุ

‘อานนท์ นำภา’ กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง เปิดเผยกับ ‘ยูดีดีนิวส์ - UDD News’ เมื่อเวลา 12.57 น. วันนี้ (18 ม.ค.62) ว่า การชุมนุมวันที่ 19 ม.ค.62 จะย้ายไปที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เพื่อหลีกเลี่ยงการยั่วยุจากผู้ชุมนุมที่มีความเห็นแตก

(ฟ้ารุ่ง ศรีขาว รายงาน)

ประธานสภานศ.รามฯ ยันไม่ขวางเลือกตั้ง หนุนกกต.ประกาศวันให้ชัดเจน

โบว์ ณัฏฐา ไม่ร่วมชุมนุมเสาร์นี้ มีเหตุผลเฉพาะตัว!


18 ม.ค. 62 เช้านี้ คุณณัฏฐา มหัทธนา (โบว์) ได้โพสต์เฟสบุ๊คเป็นแถลงการณ์ส่วนตัวถึงพี่น้องคนอยากเลือกตั้ง เกี่ยวกับเหตุผลในการตัดสินใจไม่ร่วมชุมนุมคนอยากเลือกตั้งในวันเสาร์ที่ 19 ม.ค. นี้ โดยรายละเอียดในแถลงการณ์มีดังนี้

แถลงการณ์ส่วนตัวถึงพี่น้องคนอยากเลือกตั้ง

โบว์ตัดสินใจไม่เข้าร่วมการชุมนุมวันเสาร์นี้นะคะ เพราะพิจารณาสถานการณ์ประกอบกับข้อมูล IO ที่ได้รับแล้ว ประเมินว่าตัวเองในฐานะหนึ่งในแกนนำอาจจะไม่มีศักยภาพพอจะรับรองความปลอดภัยของทุกคนได้ หากเกิดเหตุการณ์”ม็อบชนม็อบ” ตามที่มีผู้ไม่หวังดีกำลังพยายามจัดการให้เกิดขึ้น

วานนี้ กกต.กับรัฐบาลแถลงสอดรับกันว่ามีแผนจะประกาศวันเลือกตั้ง 24 มี.ค. และร่นวันประกาศผลให้ทัน 9 พ.ค.ได้ เพื่อกำจัดความเสี่ยงที่การเลือกตั้งจะขัดรธน.และกลายเป็นโมฆะ ตามที่เราและหลายภาคส่วนได้เคยสื่อสารข้อกังวลไปแล้ว 24 เรามีเวลาในอีกไม่กี่วันข้างหน้าที่จะจับตากระบวนการต่างๆอย่างใกล้ชิดต่อไป24 โดยเฉพาะการประกาศ พรฎ. ที่จะเปิดทางให้ กกต.สามารถกำหนดวันเลือกตั้งได้จริง

เมื่อวันเลือกตั้งประกาศแล้ว การรณรงค์เพื่อสนามเลือกตั้งที่เสรีเป็นธรรมและมีผลในทางปฏิบัติจะดำเนินต่อไป แต่หากมีการบิดพลิ้วเป็นครั้งที่หก ประชาชนทุกภาคส่วนคงหมดความอดทนต่อรัฐบาล คสช. และการเรียกร้องหลังจากนั้นคงไม่จำกัดเพียงการได้มาซึ่งวันเลือกตั้งที่เลื่อนลอยอีกต่อไป

ในส่วนของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง วันนี้ทางกลุ่มคงจะได้มีการประกาศรายละเอียดและเหตุผลของการชุมนุมโดยสันติวิธีในครั้งนี้

การชุมนุมทางการเมืองโดยสงบปราศจากอาวุธเป็นสิทธิโดยชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญและตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อีกทั้งเป็นกลไกสำคัญในสังคมประชาธิปไตยในฐานะพื้นที่สำหรับทุกเสียง ไม่มีเวลาใดที่การชุมนุมจะรับใช้มวลชนได้มากเท่ายามที่บ้านเมืองถูกปกครองโดยเผด็จการ ที่สภาไม่มีฝ่ายค้านและเสรีภาพสื่อถูกคุกคาม

แม้โบว์จะไม่ร่วมดำเนินการชุมนุมในครั้งนี้ ก็ขอร่วมยืนยันหลักการและให้กำลังใจทั้งเพื่อนผู้จัดการชุมนุมและเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลความปลอดภัยค่ะ

ณัฏฐา มหัทธนา
18.01.62


และในอีก 1 ชม.ต่อมา โบว์ได้โพสต์ย้ำว่า 

"ขอย้ำว่าโบว์สนับสนุนจุดยืนของกลุ่มนะคะ เพียงแต่วันพรุ่งนี้มีเหตุผลเฉพาะตามที่ได้ชี้แจง  พี่น้องที่จะไปเข้าร่วมกิจกรรม ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแกนนำคือ ลูกเกด (ในฐานะผู้แจ้งการชุมนุมพรุ่งนี้) อานนท์ และจ่านิว อย่างเคร่งครัด"

สภานักศึกษา มร. แถลงคัดค้านกลุ่มเคลื่อนไหว ‘อยากเลือกตั้ง’

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2562

ธิดา ถาวรเศรษฐ : ปลดล็อคคำสั่งแล้วแต่ยังจำกัดสิทธิประชาชน!!!