“กรุงเทพโพลล์”
เผย แรงงานส่วนใหญ่ 72.3% มีชีวิตความเป็นอยู่ไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิมเมื่อเทียบกับช่วงโควิด-19
วันที่
1 พฤษภาคม 2566 เนื่องในวันแรงงานสากล “กรุงเทพโพลล์”
โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนกลุ่มตัวอย่างแรงงาน เรื่อง “ความหวังของแรงงานไทย
ในวันแรงงานแห่งชาติ” โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแรงงาน
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มแรงงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 11 เขต จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ จตุจักร ดอนเมือง
ดุสิต บางเขน บางกะปิ บางซื่อ ภาษีเจริญ มีนบุรี สายไหม หนองแขม หลักสี่
และปริมณฑล 2 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี
ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณืแบบพบตัว
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 643 คน
โดยถามว่าชีวิตความเป็นอยู่ในวันนี้เป็นอย่างไร
เมื่อเทียบกับช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 พบว่า
ร้อยละ
27.7 มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น
ร้อยละ
41.4 มีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
ร้อยละ
30.9 มีชีวิตความเป็นอยู่แย่ลง
ทั้งนี้เมื่อถามว่ายังต้องเจอผลกระทบต่อการทำงานหรือไม่
หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 คลี่คลาย พบว่า
1.
ร้อยละ 71.9 ยังเจอผลกระทบ โดยในจำนวนนี้จำแนกเป็น
ร้อยละ 44.5 รายได้ต่อวันลดลงจากเดิม
ร้อยละ 31.3 ต้องทำงานเยอะขึ้น งานหนักขึ้น
ร้อยละ 24.0 ไม่มี OT เงินโบนัส
ร้อยละ
21.5 หางานได้ยากขึ้น
ร้อยละ 19.1 ถูกลดสวัสดิการต่าง
ๆ ที่เคยได้รับลง
ร้อยละ 12.8 ตกงาน
ต้องหางานใหม่
2.
ร้อยละ 28.1 ไม่เจอกับผลกระทบ
เมื่อถามว่า
“ในปัจจุบันรายรับจากค่าจ้างแรงงานกับรายจ่ายเป็นอย่างไร พบว่า
ร้อยละ
45.7 มีรายรับพอดีกับค่าใช้จ่าย จึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม
ร้อยละ
38.6 มีรายรับไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ต้องหยิบยืม
ร้อยละ
15.7 มีรายรับเพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม
เมื่อถามถึงสิ่งที่อยากขอให้กับแรงงานในวันแรงงานแห่งชาติปีนี้
(เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ร้อยละ
73.9 อยากให้ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภคพื้นฐาน ไม่ให้ขึ้นราคา
กระทบค่าครองชีพ
ร้อยละ
72.2 อยากให้เร่งขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
ร้อยละ
52.7 อยากให้มีสวัสดิการโบนัสแก่แรงงานในทุก ๆ ปี
ร้อยละ 44.2 อยากให้ดูแลสวัสดิการความปลอดภัย ค่ารักษาพยาบาลแก่แรงงาน อยากให้ดูแลสวัสดิการความปลอดภัย ค่ารักษาพยาบาลแก่แรงงาน
ร้อยละ
42.1 อยากให้สร้างงาน สร้างอาชีพ ลดภาวการณ์ว่างงาน
ร้อยละ
33.1 อยากให้ดูแลสวัสดิการเกี่ยวกับผู้เกษียณอายุ ผู้สูงอายุ
ร้อยละ
0.3 อื่น ๆ อาทิ ดูแลความเป็นอยู่แรงงาน
ดูแลแรงงานที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม
คำถามต่อไป
“อยากให้มีการพัฒนาทักษะในด้านใด เพื่อเพิ่มศักยภาพต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานสากล”
(เลือกตอบได้มากกว่า 1
ข้อ) พบว่า
ร้อยละ
63.6 ทักษะในการปรับตัวและเปิดรับในการเรียนรู้สิ่งใหม่
ร้อยละ
44.6 ทักษะทางภาษา
ร้อยละ
27.1 ทักษะในการสื่อสารทางการตลาด
ร้อยละ
24.1 ทักษะในการสร้างสรรค์และนวัตกรรม
ร้อยละ
21.9 ทักษะทางด้านเทคโนโลยี
ร้อยละ
16.0 ทักษะในการคิดและวิเคราะห์
ร้อยละ
0.8 อื่น ๆ อาทิ ไม่มี ไม่ทราบ
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #กรุงเทพโพลล์ #MayDay2023 #วันแรงงานสากล