'พิธา' เผยผลหารือสภาอุตสาหกรรม กำลังเร่งเดินหน้าเรื่องขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
450 บาท ตัวเลขนี้เหมาะสมแล้ว ยันไม่ได้ขึ้นค่าแรงตามใจ
ชี้เดินสายรับฟังทั้งลูกจ้างและผู้ประกอบการ
วันที่
23 พฤษภาคม 2566 ที่พรรคก้าวไกล พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี
เรื่องของคณะกรรมการเปลี่ยนผ่านรัฐบาล ประชุมแรกได้ไปประชุมกับสภาอุตสาหกรรม
ซึ่งมีประเด็นที่หารือกันหลายเรื่อง
ในเรื่องของขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การสนับสนุน SME การหาแรงงานให้ตรงกับความต้องการของต่างประเทศ
รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของค่าแรง
การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
พรรคก้าวไกลยืนยันว่าการขึ้นค่าแรงขั้นเพื่อบรรเทาทุกข์ ยังจะมีอยู่แน่นอน
พรรคก้าวไกลหนุนที่ 450 บาท/วัน ส่วนพรรคเพื่อไทยหนุนที่ 400/วัน
แต่ขณะเดียวกันไม่ได้นำเสนอต่อสื่อมวลชน
ก็คือคำนึงถึงเรทของคนที่เป็นเจ้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการ
บางรายที่สนับสนุนสมทบเงินประกันสังคม 6 เดือนแรก
หรือการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 2 เท่า 2 ปี
สามารถที่จะหักภาษีได้ คือสิ่งที่พรรคก้าวไกลเสนอ หรือแม้แต่การลดภาษีของธุรกิจ SME
จาก 20 เปอร์เซ็นต์เป็น 15 เปอร์เซ็นต์ จาก15 เปอร์เซ็นต์ เป็น 10 เปอร์เซ็นต์ ทั้งหมดคือภาพใหญ่ที่มีการประชุมกัน แต่ไม่ได้ผ่านสื่อมวลชน
จึงเป็นการสร้างความเข้าใจผิดว่า
เมื่อเป็นรัฐบาลผสม ค่าแรง 450 อาจจะทำไม่ได้ทันที ซึ่งไม่เป็นความจริง
เรากำลังเดินหน้ารับฟังผู้ที่เกี่ยวข้องให้รอบคอบ แต่ยังยืนยันกับประชาชนว่า
ค่าแรงขั้นต่ำมีความจำเป็นที่จะต้องขึ้น และต้องขึ้นอย่างสม่ำเสมอโดยอัตโนมัติ
เพื่อให้เกิดประโยชน์กันทั้ง 2 ฝั่ง
พิธา
ได้ตอบคำถามเรื่องค่าแรง 450 บาทของพรรคก้าวไกลว่า มีหลักการว่าที่ผ่านมาประเทศไทยไม่ได้มีการขึ้นค่าแรงบ่อยครั้ง
นับตั้งแต่สมัยรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
จึงอาศัยการคำนวนค่าเงินเฟ้อ และอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ
รวมถึงประสิทธิภาพของแรงงานที่เพิ่มขึ้นจำนวนค่าแรงควรอยู่ที่ประมาณ 425-440 บาทต่อวัน พรรคก้าวไกลจึงได้เสนอ 450 บาท
ควบคู่กับมาตรการดูแลผู้ประกอบการไปด้วย
“ยืนยันไม่ได้ขึ้นค่าแรงตามใจตัวเอง ขึ้นแบบมีหลักการ หลักสากล
ตอนนี้ยังมีเวลาก่อนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับรอง ดังนั้นในเวลา 2 เดือนนี้ ผมจึงต้องเดินสายทำงานให้รอบคอบ” พิธา กล่าว