รำลึกถึง
“วัฒน์ วรรลยางกูร” ในบางมุมจากความทรงจำ
มิตรสหายจำนวนมากได้เขียนถึงวัฒน์ในหลากหลายมิติ
ในหลากหลายแง่มุม
ผมได้ตามอ่านดูแทบจะทุกข้อเขียน
ผมจึงมานั่งนึกใคร่ครวญดูว่าหากผมเขียนถึง
“วัฒน์ วรรลยางกูร”
ผมน่าจะเขียนในแง่มุมไหน
อย่างไร
หลังจากที่คิดพิจารณาไตร่ตรองดูแล้ว
ผมคิดว่า
ผมจะนำเอา ห้วงเวลาแห่งชีวิตที่
ผมอยู่ใกล้ชิด
“วัฒน์ วรรลยางกูร” มากที่สุดมาเขียนรำลึกวัฒน์
นั่นคือช่วงชีวิตที่อยู่ในเขตงานอิสานเหนือ
และดูเหมือนจะยังไม่มีมิตรสหายท่านใดได้เขียนเอาไว้
ยกเว้นตัววัฒน์เองที่ได้เขียนเอาไว้บ้างจำนวนหนึ่ง
แต่นี่เป็นระยะเวลาอันยาวนานมากแล้ว
(ร่วม 44-45
ปี)
ดังนั้นความทรงจำบางเรื่องอาจจะไม่แม่นยำ
จึงขอให้มิตรสหายที่ยังคงจดจำได้แม่นยำหรือมีที่ถูกต้อง
ได้ช่วยเสนอแนะแก้ไขอย่างสร้างสรรค์ด้วยครับ
ผมเข้าป่าโดยเข้าทางจังหวัดน่าน
ผมเดินทางจากเขตงานน่านไปถึงภูพาน
เขตงานอิสานเหนือในราวปี
20-21
ก่อนที่
วัฒน์ วรรลยางกูร จะเข้าไป
ในระยะแรกที่ผมไปถึงนั้น
ยังไม่มีหน่วยงานทางด้านวัฒนธรรม
ยังไม่มีสำนักหนังสือพิมพ์เพื่อออกหนังสือพิมพ์ประจำ (รายปักษ์หรือรายสัปดาห์)
ไม่มีหน่วยศิลป์ ไม่มีหน่วยฉายหนังเคลื่อนที่ ไม่มีสำนักแพทย์
ไม่มีโรงเรียนเด็กเล็ก ฯลฯ เนื่องจากขาดแคลนปัญญาชนและเงื่อนไขทางวัตถุที่จำเป็น
แต่กระแสใหญ่ของนักศึกษาปัญญาชนที่เคียดแค้นชิงชังฝ่ายขวาจัดอำนาจนิยมที่ก่อเหตุการณ์
6ตุลา19 ผลักดันให้นักศึกษาปัญญาชนหลั่งไหลเข้าป่าจำนวนมาก
ทางเขตงานอิสานเหนือก็ได้ต้อนรับ
วัฒน์ วรรลยางกูร
และนักศึกษาปัญญาชนคนอื่น
ๆ อีกจำนวนมาก
ฝ่ายนำที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงในทางวัฒนธรรม
จึงเห็นช่องทางในการผลักดันให้เกิดกระแสการเคลื่อนไหวทางด้านวัฒนธรรมในเขตงานอิสานเหนือ
“วัฒน์
วรรลยางกูร” เป็นทรัพยากรบุคคลสำคัญที่ทำให้ฝ่ายนำตัดสินใจในการก่อตั้งสำนักพิมพ์เพื่อทำหน้าที่ในการเผยแพร่โฆษณายกระดับงานเคลื่อนไหวมวลชนให้ทรงพลังยิ่งขึ้น
ทำให้เกิดสำนัก
“ธงปฎิวัติ” ขึ้น (ผมไม่แน่ใจว่า ชื่อธงปฏิวัติ เป็นชื่อที่วัฒน์ คิดขึ้นมาหรือเปล่า)
“ธงปฏิวัติ”
มีบทบาทในการเพิ่มชีวิตชีวาของการเคลื่อนไหวต่อสู้ของเขตงานอิสานเหนืออย่างมาก
เพราะผมในหน่วยแพทย์ได้มีโอกาสสนทนากับพลพรรคพคท.และมวลชนอยู่ไม่น้อย
จึงได้เห็นผลสะเทือนทางความนึกคิดจิตใจของหนังสือพิมพ์ “ธงปฏิวัติ” ที่วัฒน์ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญและเป็นคนเขียนเรื่องราวในนั้นเป็นส่วนใหญ่
นอกจากนี้
วัฒน์ ยังได้ทำงานสำคัญ คือ ฝึกฝนยกระดับ สหายพื้นฐานในป่า
ให้สามารถทำหน้าที่นักข่าว ผู้สื่อข่าว เขียนคอลัมน์ เขียนบทความ เขียนเรื่องสั้น
เขียนบทกลอน ประพันธ์เพลง
วัฒน์
จึงเป็นแม่ทัพหน้าของกระบวนทัพทางวัฒนธรรมในเขตงานอิสานเหนือย่างโดดเด่นสง่างาม
ผมจำได้ว่า
วัฒน์ วรรลยางกูร เข้ามาในเขตงานอิสานเหนือ
พร้อมกับ
บทเพลงอันทรงพลัง “จากลานโพธิ์ถึงภูพาน”
ผมได้รับฟังครั้งแรกจาก
“รายการวิทยุเสียงประชาชนแห่งประเทศไทย”
เพื่อนมิตรที่เข้าป่าอิสานเหนือมีจำนวนมากที่มีความสามารถทางดนตรี
จึงมีการจัดตั้งวงดนตรี 66 ขึ้นมา ในระยะเวลาไม่นานนัก
วงดนตรี
66 ได้นำเพลง “จากลานโพธิ์ถึงภูพาน” ไปแสดงให้นักรบและมวลชนได้รับชมรับฟัง
ครั้งแล้วครั้งเล่า เกือบจะทุกครั้งที่มีงานแสดง
บทเพลงดังกล่าว
ปลุกพลังสู้รบของทั้งนักรบและมวลชน
ทั้งสร้างความเข้าใจในเวลาที่สั้นที่สุดต่อคำถามของมวลชนในป่าว่า
“ทำไมนักศึกษาปัญญาชนจำนวนมากมาย
จึงหลั่งไหลเข้าป่าไปจับปืนร่วมสู้กับพคท.”
สำหรับผม
งานประพันธ์เพลง “จากลานโพธิ์ถึงภูพาน”
เป็นหมุดหมายสำคัญทางประวัติศาสตร์การต่อสู้ของประชาชนไทยที่ต้องการการปลดปล่อยเลยทีเดียว
นักศึกษาปัญญาชนที่หลั่งไหลเข้าทางเขตงานอิสานเหนือ
ล้วนแล้วแต่เป็นเยาวชนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว
เปรียบเสมือนดอกไม้แรกแย้มไม่ว่าชายหรือหญิง
ผมได้เห็น
“ความรักแห่งอุดมการณ์” ค่อย ๆ ตั้งดอกตูม
งอกงาม
เจริญเติบโตและผลิดอกออกผล
อย่างสวยสดงดงามในเขตงานอิสานเหนือ
ผมได้เห็นการก่อเกิดความรักอันงดงามของสหายร้อย
(วัฒน์ วรรลยางกูร) กับสหายรุ่งโรจน์ ที่บ่มเพาะด้วยเปลวเพลิงของสงครามปฏิวัติจนสุกงอมและเจริญเติบโตเป็นจนเป็นครอบครัวอันงดงาม
นี่อาจจะเป็นแรงบันดาลใจอันสำคัญของ
วัฒน์ หรือไม่?
ในการประพันธ์หนังสือ
“ด้วยรักแห่งอุดมการณ์” ที่โด่งดังของเขา
ภายหลังกลับจากเขตป่าเขา
“นกปีกหัก” ทั้งหลายต้องใช้เวลาในการเยียวยารักษาบาดแผล
และตั้งตัวตั้งครอบครัวกันอยู่อย่างยากลำบากและยาวนาน
ทำให้ผมและวัฒน์ไม่ค่อยได้พบเจอกันบ่อยนัก
แต่ได้พบกับ
วัฒน์ บ้างในช่วงที่วัฒน์กำลังทำหนังสือ
ชีวประวัติของพี่ไขแสง
สุกใส นักต่อสู้ชั่วชีวิตของประชาชนอีกคนหนึ่ง
ซึ่งก็สำเร็จออกมาเป็น
หนังสือ “ลูกผู้ชายหัวใจไม่ผูกเชือก”
ที่พี่ไขแสง
สุกใส ภาคภูมิใจเป็นนักเป็นหนา
และพี่ไขแสงจะคุยถึงหนังสือเล่มนี้ที่วัฒน์เรียบเรียงออกมาอยู่เนือง
ๆ
ตอนหลังเมื่อวัฒน์ลี้ภัยการเมืองไปอยู่ฝั่งลาว
ผมก็คอยเฝ้าติดตามข่าวคราวมาโดยตลอด
และหลังจากที่
พวกขวาจัดอำนาจนิยม ฆ่า สุรชัย แซ่ด่าน ภูชนะ และ กาสะลอง
ผมก็เป็นห่วงวัฒน์และเพื่อนมิตรที่หนีร้อนไปพึ่งเย็นทั้งหมดเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อทราบว่าวัฒน์ลี้ภัยไปฝรั่งเศสสำเร็จก็ดีใจ
ที่ดีใจเป็นอย่างยิ่งก็คือที่ฝรั่งเศสมอบสถานะผู้ลี้ภัยให้กับวัฒน์
และวัฒน์กำลังคร่ำเคร่งกับการรวบรวมประสบการณ์ในการต่อสู้กับพวกขวาจัดอำนาจนิยมในระหว่างการลี้ภัยอยู่เจ็ดปี
ผมถือว่าการลี้ภัยนั้นเป็นการต่อสู้ในอีกรูปแบบหนึ่งกับพวกขวาจัดอำนาจนิยมและพวกเขาไม่ได้อยู่นิ่งเฉย
แต่ได้ทำการต่อสู้ทางด้านการเมืองวัฒนธรรมและทางความคิดกับพวกขวาจัดอำนาจนิยมอยู่ตลอดเวลา
ผมทราบจากวัฒน์ว่า
ทำเสร็จแล้ว
กำลังรอพิมพ์เป็นรูปเล่มอยู่
ผมก็เฝ้ารอที่จะอ่านจะศึกษา
“เจ็ดปีแห่งการลี้ภัยเพื่อต่อสู้กับเผด็จการขวาจัดอำนาจนิยม” อยู่อย่างกระหายยิ่งครับ
นพ.เหวง
โตจิราการ
2 เม.ย. 65
#วัฒน์วรรลยางกูร
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์