วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2565

ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งอนุญาตให้ #รวิสรา ไปเรียนต่อเยอรมนีได้ หลังถูกฟ้อง ม.112 และยื่นคำร้องถึง 7 ครั้ง สั่งตั้งอาจารย์จุฬา, บิดาและพี่สาว เป็นผู้กำกับดูแล พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามทำกิจกรรมส่งผลกระทบกระเทือนต่อสถาบันฯ ทั้งในไทย-เยอรมนี

 


ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งอนุญาตให้ #รวิสรา ไปเรียนต่อเยอรมนีได้ หลังถูกฟ้อง ม.112 และยื่นคำร้องถึง 7 ครั้ง สั่งตั้งอาจารย์จุฬา, บิดาและพี่สาว เป็นผู้กำกับดูแล พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามทำกิจกรรมส่งผลกระทบกระเทือนต่อสถาบันฯ ทั้งในไทย-เยอรมนี


วันนี้ (1 เม.ย. 65) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานผ่านทวิตเตอร์ ระบุว่า เมื่อเวลา 15.30 น. ศาลทำการไต่สวนคำร้องขอศึกษาต่อของรวิสรา เสร็จสิ้นแล้วหลังยื่นคำร้องครั้งที่ 7 เมื่อวานนี้ (31 มีนาคม) รวิสราแถลงต่อศาลว่า หากไปเรียนไม่ทันตามกำหนดในวันที่ 4 เมษายน หรืออีก 3 วันนี้เธออาจถูกตัดสิทธิ์ในทุนนี้ และไม่สามารถสอบชิงทุนนี้ได้อีกในปีหน้าแล้ว 


คืบหน้าเวลา 19.34 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งอนุญาตให้รวิสราสามารถเดินทางไปเรียนต่อได้


คำสั่งสรุปได้ว่าจำเลยไม่เคยผิดเงื่อนไขการประกัน พยายามสอบจนได้ทุน กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม ห้ามเข้าร่วมการชุมนุมที่เสื่อมเสียต่อสถาบัน และให้ส่งผลการเรียนให้ศาลทราบในแต่ละภาคการศึกษา พร้อมตั้งผู้กำกับดูแล 3 คน พร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งให้เพิกถอนหนังสือห้ามเดินทางออกนอกประเทศ


สำหรับรวิสรา เอกสกุล เป็นบัณฑิตจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งหนึ่งในจำเลยคดีอ่านแถลงหารณ์หน้าสถานทูตเยอรมนี เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 โดยถูกสั่งฟ้องในข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และมาตรา 116 


ทั้งนี้ รวิสราได้รับทุนไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทของรัฐบาลเยอรมนี The German Academic Exchange Service (DAAD) แต่ด้วยเงื่อนไขการประกันตัวของศาลทำให้ไม่สามารถเดินทางออกไปได้ ทำให้ได้ยื่นคำร้องขอเดินทางออกนอกราชอาณาจักรต่อศาลไปแล้ว 6 ครั้ง และวานนี้ (31 มีนาคม) เป็นครั้งที่ 7 


อ่านคำสั่งศาล ฉบับเต็มได้ที่ 

https://tlhr2014.com/archives/42175


ข้อมูล : ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน


#UDDnews #ยูดีดีนิวส์