ธิดา
ถาวรเศรษฐ :
โฉมหน้าการเมืองไทยหลังการจัดตั้งรัฐบาลผสมข้ามขั้ว (หัวประชาชน)
[ถอดคำพูดจาก Facebook Live อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ เมื่อวันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม 2566]
วันนี้ที่ทำเฟซบุ๊กไลฟ์เพื่อต้อนรับรัฐบาลใหม่
อันเป็นรัฐบาลที่อาจจะถือว่าเป็นรัฐบาลข้ามขั้ว ดิฉันใช้คำว่า (หัวประชาชน)
เหตุผลเพราะว่าครั้งที่แล้วในรัฐบาลก่อน มันมีขั้วฝั่งรัฐบาลกับขั้วฝั่งฝ่ายค้าน
ขั้วฝั่งฝ่ายค้านเป็นขั้วที่ไม่สนับสนุนผู้สืบทอดอำนาจ ดังนั้น มันจึงกลายเป็นขั้วรัฐบาลเดิมผู้สนับสนุนสืบทอดอำนาจการทำรัฐประหาร
กับขั้วที่ไม่สนับสนุน ขั้วไม่สนับสนุนอันได้แก่ พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล
พรรคประชาชาติ พรรคเสรีรวมไทย ดังนี้เป็นต้น
ขั้วนี้ในทัศนะของประชาชนก็คือขั้วฝ่ายประชาธิปไตย
หลังจากนั้น
ดิฉันมองแล้วว่าในการเลือกตั้งครั้งใหม่พรรคฝ่ายประชาธิปไตยฝั่งที่ไม่เอาการสืบทอดอำนาจนั้นมีโอกาสเป็นรัฐบาลสูง
ดังนั้นเมื่อเราตั้งกลุ่มคณะประชาชนทวงความยุติธรรม 2553 (คปช.53)
เราก็ได้ไปที่รัฐสภา และเราไปยื่นข้อเรียกร้องทวงความยุติธรรม ซึ่งขณะนั้นคุณหมอชลน่านยังบอกว่า
นี่แปลว่าคิดว่าเราจะได้เป็นรัฐบาลใช่มั้ย? ดิฉันบอกว่าใช่ เราก็ขอ 3 ประการดังที่ทราบกันก็คือ
ขอให้มีการสืบสวน สอบสวน
เร่งรัดคดีที่ถูกแช่แข็งและความไม่เป็นธรรมในกระบวนการดำเนินคดี
ให้ตั้งคณะกรรมการเพื่อที่จะทำให้การทวงความยุติธรรมของคดีที่ถูกบิดเบือนและถูกแช่แข็งได้เดินหน้าต่อไป
และประการที่
2 ที่เราได้ไปเรียกร้องก็คือ เราเรียกร้องว่านักการเมืองและทหารที่ทำความผิดทางอาญาต่อประชาชน
พูดง่าย ๆ ว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณี 2553 ทหารที่ทำความผิด
นักการเมืองที่ทำความผิด ไม่ใช่ทหารทำความผิดทางอาญาต่อประชาชนไปขึ้นศาลทหาร
แล้วนักการเมืองไปขึ้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองโดยผ่านป.ป.ช.ซึ่งทำตัวเป็นศาล
โยนทิ้งเลย ข้อนี้สำคัญมาก ซึ่งเราจะยังเรียกร้องอีก และข้อ 3
ก็คือขอให้รับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีปี 2553
อันนี้ไม่ได้เกี่ยวกับมาตรา 6 ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องราวที่จะกระทบกระเทือนถึงสถาบันพระมหากษัตริย์แต่ประการใด
นี่คือ 3 ข้อเรียกร้อง
แล้วตอนนี้ก็กลายเป็นรัฐบาลชุดใหม่
ก็คือเหมือนกับขั้วรัฐบาลเดิม เอาพลังประชารัฐ บวกกับ รวมไทยสร้างชาติ
ก็คืออันเดิมนั้นแหละ ก็คือเป็นขั้วเดิม ยกเว้น ประชาธิปัตย์ ซึ่งอาจจะมาในไม่ช้า
แต่ว่าที่เติมไปเป็นพลังใหญ่ก็คือพรรคเพื่อไทย นี่จึงเป็นที่มาของคำว่า
เป็นรัฐบาลข้ามขั้ว ก็คือเพื่อไทยข้ามขั้ว
จากขั้วที่เป็นฝ่ายค้านฝ่ายประชาธิปไตยไม่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจมาแล้ว 4 ปี
แล้วก่อนหน้านั้นอีกเป็น 10 กว่าปีที่ถูกกระทำ มาบัดนี้ก็กลายเป็นรัฐบาลข้ามขั้ว
สมานฉันท์กับฝั่งสืบทอดอำนาจ อันนี้ตรงไปตรงมานะ ไม่ได้เป็นการโจมตี
นี่คือความเป็นจริง
เมื่อมาอยู่กับรัฐบาลสืบทอดอำนาจมันก็ต้องเป็นรัฐบาลที่ข้ามขั้ว แล้วก็คำว่าข้ามหัวประชาชนก็คือประชาชนที่ถูกทำให้เชื่อว่าพรรคเพื่อไทยจะเป็นพรรคที่ไม่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจ
อย่างน้อยพวกเรา คณะประชาชนทวงความยุติธรรมและคนเสื้อแดงทั้งหลาย ก็พากันไปร้อง
ถ้าเราจำได้ เมื่อตอนปีที่แล้ววันที่ 10 เมษา
ก็ขั้วฝั่งประชาธิปไตยมานั่งเต็มแถวไปหมดเลย
และสัญญากับเราว่าจะทวงถามความยุติธรรม และจะทำความยุติธรรมให้ปรากฏให้ได้
เพราะว่าดิฉันรู้แล้วว่ามีโอกาสเป็นรัฐบาลสูง
แต่ว่ามหัศจรรย์ก็คือนึกไม่ถึงว่าจะมาเพียงพรรคเดียวที่มาเป็นรัฐบาล
คำถามซึ่งเราจะต้องตอบต่อไปว่า แล้วการทวงความยุติธรรมมันจะเป็นไปได้หรือ
ในเมื่อท่านไปเป็นรัฐบาลสมานฉันท์กับฝ่ายที่สืบทอดอำนาจและมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปี
2553 ที่มีความสูญเสียของประชาชน
เพราะฉะนั้น
นี่ก็คือที่มาอารัมภบทว่าเราจำเป็นต้องมาพูดทำความเข้าใจกัน
นี่คือผลที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่เป็นการโจมตีด่าทอใด ๆ ทั้งสิ้น แล้วกรณีนี้ดิฉันจะพูดถึงโพล
2 โพลด้วย โพล 2 โพลที่มาเกี่ยวข้องก็คือเป็นการยืนยันสิ่งที่ดิฉันได้พูด
ดิฉันได้พูดเอาไว้ว่าพรรคเพื่อไทยในอดีตนั้นได้ 15.7
ล้านเสียงในการเลือกตั้งยุคคุณยิ่งลักษณ์ แล้วครั้งนี้ได้ประมาณ 10 ล้านเสียง
ก็หายไป 5 ล้านเสียง แล้วเมื่อเวลาไปตามรายการต่าง ๆ
เขาก็ให้ทำนายว่าครั้งต่อไปจะเป็นอย่างไร ก็ปรากฏว่ามีคนมาทำโพล
เพราะดิฉันไม่อยากซ้ำเติม
ไม่อยากไปพูดไม่ดีให้กับพรรคที่เราเป็นมิตรและร่วมสู้กันมาก่อนเป็นเวลายาวนาน
ก็ปรากฏว่ามหาวิทยาลัยศรีปทุม
(SPU) ร่วมกับดีโหวต (D-vote) ก็ทำการเปิดเผยคะแนน
ก็คือเขามีค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 ถามคนก็ไม่มาก พันกว่าคน
แต่ถ้าเป็นวิธีสุ่มที่มีมาตรฐานมันก็น่าจะรับฟังได้ ดิฉันดูก็อย่างน้อยก็ 70% อันนี้เขาความเชื่อมั่น 95% แต่ดิฉันให้ว่าประมาณ
70 กว่าเปอร์เซ็นก็ได้ ก็คือ “พรรคก้าวไกล” คะแนนเพิ่มขึ้น
คืนถ้ามาเลือกตั้งวันนี้ เลือกพรรคการเมือง เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.39
แล้วก็ที่น่าสังเกตก็คือ “เพื่อไทย” คะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 62.24
มันเป็นอัตราส่วนผกผันกันเลย
แต่ว่าเขาก็สามารถลงรายละเอียดได้ว่าประมาณครึ่งหนึ่งก็คือร้อยละ 51.32 ไหลไปหา “พรรคก้าวไกล”
แต่ร้อยละ 10.92 ไหลไปหาพรรคอื่น ๆ
อันนี้ก็เป็นการยืนยันตัวเลขอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
หลายคนอาจจะบอกว่ามันเป็นไปไม่ได้
อย่างน้อยก็เป็นการเก็บตัวเลขทางวิทยาศาสตร์ไม่ใช่จากความรู้สึก ถ้าเอาตอนที่มีคนถามอาจารย์ธิดาเวลาไปออกรายการต่าง
ๆ ดิฉันบอกยังไม่ทันข้ามขั้ว ไม่ทันข้ามหัวใครก็หายไป 5 ล้าน จาก 15.7 ล้าน เหลือ
10 ล้าน ตอนนี้ถ้าข้ามไปมันก็จะเหลือ ในใจก็จะคิดแต่ว่าไม่สบายใจที่จะพูด
บอกให้คิดเอาเอง ก็ไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง
แต่ว่าพูดอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่ามันจะเป็นอย่างนี้จริง
การตั้งรัฐบาลใหม่ที่มีการก้าวข้ามขั้วและข้ามหัวประชาชน
มันก็อยู่ในสถานการณ์ใหม่ของสังคมไทย
เป็นสถานการณ์ใหม่ของสังคมไทยที่น่าจับตาดูมาก ในทัศนะของดิฉัน “พรรคเพื่อไทย”
ดิฉันลองคิดดูว่าเขาได้เตรียม 3 กลยุทธ์ใหญ่ในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ก็คือ
ประเด็นแรกชูประเด็นเศรษฐกิจชนิดที่เติบโตมาด้วยกันให้ได้เค้กก้อนใหญ่
ไม่ใช่เศรษฐกิจแบบรัฐสวัสดิการ
แต่ว่าเป็นเศรษฐกิจที่เติบโตไปด้วยกันก็คือเป็นต้นไม้ใหญ่ทั้งฐานทั้งยอด
คือเศรษฐีก็โอเค คนชั้นกลางก็โอเค มวลชนพื้นฐานก็โอเค อันนี้เป็นวิธีคิด
เป็นทฤษฎีของการทำเศรษฐกิจแบบเค้กก้อนใหญ่แล้วค่อยแบ่งเค้กให้มวลชนพื้นฐาน
ประเด็นที่สองก็คือใช้สีแดง
แล้วก็ใช้ครอบครัวเพื่อไทยเพื่อเรียกคนเสื้อแดงกลับพรรค เหตุผลเพราะอะไร
เพราะว่าจาก 15.7 ล้าน เมื่อตอนเลือกตั้งตอนปี 2562 ก่อนหน้านี้มันเหลือประมาณ 7-8
ล้านเอง หายไปเกือบครึ่งหนึ่งเลย แต่นั้นเป็นบัตรใบเดียว เพราะฉะนั้น
กลยุทธ์ครั้งนี้จึงดึงสีแดงมาเป็นสีประจำพรรค ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยใช้สีแดง
บางครั้งท่านก็เกรงว่าสีแดงจะมีปัญหา เพราะฉะนั้นเวลาเลือกตั้งในกรุงเทพฯ
ผู้สมัครส.ส.ก็จะไม่ใส่สีแดงเลย ไม่พูดถึงเสื้อแดง แล้วก็จะใช้สีขาว สีน้ำเงิน
อะไรอย่างนี้มาเป็นการหาเสียง
แต่ว่าครั้งนี้ใช้กลยุทธ์สีแดงก็คือเรียกคนเสื้อแดงกลับบ้าน
จนคนก็เลยเข้าใจว่าสีแดงเป็นสีประจำพรรค ที่จริงเพิ่งจะมาเป็นในการเลือกตั้งปี 66
แต่อันที่
3 ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ยังไม่ได้เปิดเผยและเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ “พรรคเพื่อไทย”
อ้อมแอ้ม ไม่สามารถตอบอะไรได้ในครั้งแรกว่าคุณจะเลือกฟากไหน
จะเลือกอยู่ในฟากฝ่ายเสรีประชาธิปไตยหรือจะไปจับมือกับลุง
สุดท้ายก็ต้องบอกว่าไม่จับมือกับลุง ยืนยันว่าเป็นฝ่ายเสรีประชาธิปไตย
แต่ในความจริงในทัศนะดิฉัน พรรคเพื่อไทยเตรียมจัดตั้งรัฐบาลสมานฉันท์ให้ได้อยู่ยาว
คือถ้าไม่ได้แลนด์สไลด์ เขาใช้คำว่าแลนด์สไลด์ เราต้องเข้าใจ
คือถ้าแลนด์สไลด์แล้วได้ มันก็ง่ายหน่อย แต่ว่าถ้าแลนด์สไลด์ไม่ได้
ดังที่ทางพรรคเพื่อไทยได้บอก เขาก็จำเป็นต้องจัดตั้งรัฐบาลสมานฉันท์
แต่อันนี้มันเป็นคำตอบที่เตรียมไว้อยู่แล้ว เพราะเราจะเห็นว่าอีกฟากหนึ่ง โดยเฉพาะพรรคพลังประชารัฐเขียนไว้เลย
“ก้าวข้ามความขัดแย้ง” ก็คือเตรียมไว้ทั้งสองฟาก
แต่ว่าฟากนี้ฟากพรรคเพื่อไทยเงียบไว้ไม่พูดจนถึงเวลาจริง
เพราะฉะนั้นกลยุทธ์ที่
3 นี้ มันเป็นกลยุทธ์เหมือนทฤษฎีเกมที่จะนำไปสู่รัฐบาลสมานฉันท์
ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ชัยชนะเด็ดขาด และมันมีหลายฝ่ายด้วย
มันก็จำเป็นที่จะต้องใช้ทฤษฎีเกมที่เราอาจจะเรียกว่า nash equilibrium หรือว่าสมดุลของแนช ซึ่งเขาได้รับรางวัลโนเบล ก็คือมีการถอย มีการต่อรอง
หาจุดสมดุล ใช้กลยุทธ์หลาย ๆ อย่าง จนได้จุดสมดุล ก็นี่คือจัดตั้งรัฐบาลนี้
นี่เป็นรัฐบาลที่ดิฉันมองว่าต้องใช้ทฤษฎีเกมสมดุลแบบแนช
คือไม่มีใครชนะได้แบบเต็มที่ข้างเดียว
ถ้าเป็นผู้ชายที่อยากได้ผู้หญิงที่สวยที่สุดที่เป็นสาวผมบลอนด์ซึ่งมีอยู่คนเดียว
ก็หมายถึงชิงอำนาจรัฐ มันไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็จำเป็นที่จะต้องถอยลงมา
ก็คือหาจุดสมดุลให้ได้ ซึ่งก็มีการต่อรองยาวนาน
จนบัดนี้ดิฉันไม่แน่ใจว่ารัฐมนตรีกลาโหมจะเป็นใคร
เพราะว่าแต่ละคนแต่ละพรรคก็ต้องมีกลยุทธ์และมีอำนาจในการต่อรอง รับและรุกจนกระทั่งให้ได้จุดสมดุลเพื่อเป็นรัฐบาล
นี่ก็คือสิ่งที่พรรคเพื่อไทยเตรียมไว้ และแน่นอน พรรคอื่น ๆ ก็เช่นเดียวกัน
ในความเป็นจริงนั้น
ความขัดแย้งจริงก็คือความขัดแย้งระหว่างประชาชนที่ต้องการอำนาจเป็นของประชาชน
นี่คือความขัดแย้งหลัก กับฝ่ายชนชั้นนำที่ไม่คืนอำนาจให้กับประชาชน ดิฉันอยากจะเรียนว่านี่คือความขัดแย้งหลัก
เราจะต้องไม่ไปหลงเผลอไผลไปในความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมืองซึ่งเป็นกลุ่มผลประโยชน์ทั้งสิ้น
แต่ความขัดแย้งหลักจริง ๆ
ของประเทศนั้นก็คือความขัดแย้งระหว่างประชาชนที่ต้องการให้อำนาจเป็นของประชาชนจริง
กับความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำที่ไม่ยอมคืนอำนาจให้กับประชาชน
ถามว่าพวกนี้ใช้ทฤษฎีเกมมั้ย? ใช้เหมือนกัน แต่เป็นทฤษฎีเกมที่เรียกว่า
รวมกันเป็นศูนย์ (zero-sum
game) ก็คืออีกฝ่ายหนึ่งต้องหายไปเลย
คือมันขั้วที่ต้องปะทะกันจนเป็นศูนย์ ซึ่งกำลังมันต้องสามารถที่จะดุลได้ เป็น zero-sum
game คือความขัดแย้งนี้เป็นความขัดแย้งที่ตกลงกันไม่ได้
นี่คือสิ่งทีเกิดขึ้นจริง มันไม่เหมือนพรรคการเมือง
พรรคการเมืองก็ใช้ทฤษฎีหาจุดสมดุลแล้วแบ่งเค้กกัน คนนี้เอากระทรวงนี้
คนนั้นเอากระทรวงนั้น คนโน้นเอากระทรวงโน้น ต่อรองกันไป
ขึ้นอยู่กับว่าพละกำลังของแต่ละฝ่ายมีเท่าไหร่ อย่างพรรครวมไทยสร้างชาติ
เขามีเพียงแค่ 36 เสียง
แต่ว่าพละกำลังมีมากเพราะสามารถเอาวุฒิสมาชิกมาหนุนได้เป็นจำนวนมาก นี่ยกตัวอย่างเป็นต้น
แล้วมีอะไรอีก มีกองทัพ
เพราะฉะนั้น
เราจะเห็นเลยว่าพรรคเพื่อไทยก็อนุญาตให้บิ๊กตู่สามารถจัดตั้ง ผบ.ทร., ผบ.ทบ.,
ผบ.ทอ. อะไรต่าง ๆ ได้ ก่อนหน้านั้นก็เห็นคุณอ้วน (ภูมิธรรม เวชยชัย) เคยโต้แย้ง
ตอนนี้เงียบ!
แปลว่าตกลงกันแล้ว แม้กระทั่งตามข่าวเดิมว่ารัฐมนตรีกลาโหมก็จะเอาเพื่อนของคุณประยุทธ์มาอยู่
อันนี้มันก็อยู่ในทฤษฎีเกมสมดุลที่ว่าสิ่งที่มองไม่เห็นแต่มีพละกำลังก็คือของพรรครวมไทยสร้างชาติ
คือที่เราเห็นข้างหน้าก็อย่าง ข้างหลังก็อีกอย่างหนึ่ง
ในทัศนะของดิฉัน
คุณประยุทธ์ ยังสามารถที่จะควบคุมการขี่เสือของพรรคเพื่อไทย
เพราะว่ายังมีหุ้นส่วนอยู่ และยังมีอำนาจการต่อรองอย่างน้อยก็ไปอีก 4 ปี
ดังนั้นคุณจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือคุณจะเขียนรัฐธรรมนูญใหม่
แล้วตั้งคำถามใหม่ให้แก้ทั้งฉบับ มันจะเป็นไปได้หรือ?
แล้วการทวงความยุติธรรมให้กับคนเสื้อแดง หรือว่ากลุ่มที่ถูกคุมขัง กลุ่มผู้ลี้ภัย
กลุ่มผู้สูญหาย แล้วมันจะเป็นไปได้หรือ? เดิมอาจารย์คิดว่านี่ถ้าเขาร่วมกันอยู่
เราก็จะขอให้เขาตั้งคณะกรรมการเลย
เพื่อมาจัดการกับคดีความที่มีปัญหาถูกแช่แข็งและถูกบิดเบือนต่าง ๆ
แล้วตอนนี้จะไปเอาคณะกรรมการจากไหนของรัฐบาล ก็ต้องช่วยกันคิดอยู่ว่าจะสามารถใช้เวทีรัฐสภาได้แค่ไหน
อย่างไร จะไปแก้กฎหมายทหารที่ทำความผิดต่อประชาชนให้ขึ้นศาลพลเรือน
แล้วมันจะได้หรือ? ก็ดูรัฐมนตรีกลาโหมก็ยังอยู่ในโควตา ผบ.อะไรต่าง ๆ
ก็ยังอยู่ในโควตาของพล.อ.ประยุทธ์ทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้น
รัฐบาลที่เกิดขึ้นมันยังเป็นขั้วของการสืบทอดอำนาจ แต่ “เพื่อไทย”
ข้ามเส้นแบ่งมาสู่ขั้วของการสืบทอดอำนาจที่มีอยู่ ที่พูดนี่ ดิฉันก็เห็นใจนะ
แต่อย่างที่บอก เห็นใจแต่ไม่เห็นด้วย
ก็เห็นใจและเข้าใจว่าพรรคเพื่อไทยต้องการเป็นรัฐบาล
แล้วต้องการแก้ปัญหาตามที่ตัวเองถนัดและได้ประโยชน์ วินวินหมด
วินวินทั้งพรรคเพื่อไทย วินวินทั้งประชาชน อันนั้นเป็นความเชื่อ
แต่ว่าประชาชนนั้นเดินไปไกลแล้ว ก็คิดว่ามันจะวินวินกว่าถ้าเราสามัคคีกัน
เพราะว่าจริง ๆ แล้ว คำว่าสมานฉันท์มันไม่ได้สมานฉันท์จริงนะ เพราะขั้วฝ่ายจารีตใช้กลยุทธ์นี้เพื่อที่จะแยกสลายฝ่ายพลังประชาธิปไตยให้อ่อนลง
อย่างน้อยก็เกือบครึ่ง
ดังนั้น
อย่าให้สับสนระหว่างเรื่องของสีเสื้อกับเรื่องอุดมการณ์
ขณะนี้ดิฉันไม่ค่อยเห็นด้วยกับนิด้าโพล บางคำถามก็โอเค แต่คำถามเรื่องสีเสื้อ
ดิฉันก็อยากใช้โอกาสนี้อธิบายหน่อย ถามว่าต่อไปมันจะเป็นสงครามสีเสื้อหรือเปล่า?
ไม่ใช่นะคะ คำว่า “คนเสื้อแดง” ไม่ได้หมายความว่าคนเสื้อแดงทั้งหมดก็คือผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยทั้งหมด
คนเสื้อแดงเคยสนับสนุนพรรคเพื่อไทยเป็นจำนวนเรียกว่าไปถึง ดิฉันไม่นับ 19
ล้านสมัยคุณทักษิณ เอา 15.7 ล้านนั่นแหละ แล้วในขณะนั้นมีคนโหวตอยู่เพียง 35 ล้าน new voter อีก 4 ล้าน คือเมื่อตอนปี 2566
มีคนโหวตใหม่รวมแล้วผู้มีสิทธิโหวตที่ไปโหวต 39 ล้าน แต่พรรคเพื่อไทยได้เหลือ 10
ล้าน หายไปแล้ว 5 ล้าน กับที่ new voter
ไม่เลือกเลยหรืออย่างไร อันนี้ไม่ทราบ แต่ว่ารวม ๆ กันคือเสียงหายไปแล้วไม่ได้ new
voter เลยหรืออย่างไร ก็ได้ 10 ล้านเสียง (ผู้สนับสนุนจาก 45% เหลือ 27%)
ทีนี้ถามว่าหายไปไหน
อย่างโพลของศรีปทุมบอกชัดเลยว่าไหลไปก้าวไกล ถ้าถามวันนี้นะ ดังนั้น
คนเสื้อแดงเวลาโหวตก่อนหน้านี้ก็สามารถโหวตได้ทั้งพรรคเพื่อไทย ทั้งพรรคก้าวไกล
และสมัยต่อไปอาจจะโหวตพรรคเป็นธรรม พรรคไทยสร้างไทย หรือพรรคใหม่ที่จะมีเกิดขึ้นอีกก็ได้
เห็นมีใครตั้งพรรคใหม่เอาแดงกับส้มไปรวมกันเลย
ดังนั้นต่อไปไม่ใช่สงครามสีเสื้อเพราะว่าคนที่ใส่เสื้อสีส้มก็อาจเป็นคนเสื้อแดงก็ได้
ดิฉันมีนักข่าวมาเล่าให้ฟังว่าก็เห็นพ่อค้าแม่ค้าใส่เสื้อสีส้มตอนที่เป็นกองเชียร์ตอนเลือกตั้ง
แต่ว่าพอมาเห็นนักข่าวเราเขาก็รู้ว่าเป็นสำนักข่าวยูดีดีนิวส์
เขาก็ควักบัตรนปช.มาให้ดู แปลว่าเขาเป็นคนเสื้อแดง แต่เขาเป็นโหวตเตอร์ให้ก้าวไกล
แล้วขณะนี้คนเสื้อเหลืองจำนวนหนึ่ง หรือคนเสื้อหลากสี
หรือประชาธิปัตย์จำนวนหนึ่งก็เลือกพรรคก้าวไกล แปลว่าเหลืองมาเป็นส้มก็มีส่วนหนึ่ง
แดงไปเป็นส้มนี่มีจำนวนมาก คือพรรคก้าวไกล
โอเคคุณทำอะไรสอดคล้องกับความเป็นจริงหลายอย่าง
แต่ว่าสิ่งหนึ่งที่ดิฉันอยากจะเรียนให้รู้ว่า คนเสื้อแดงมีนับ 10 ล้าน
แล้วก็ได้เทคะแนนให้กับพวกคุณจำนวนมาก สิ่งนี้มันไม่ได้เกิดขึ้นลอย ๆ
มันเกิดขึ้นจากการต่อสู้ยาวนาน บางคนอาจจะบอกว่าผมก็สู้เหมือนกัน
เช่นเลขาต๋อมบอกผมก็ขึ้นเวทีครูประทีป อันนั้นมันตอนจะจบแล้วค่ะ วันที่ 19
แต่คำถามว่าจาก 53 มาจนถึง 57 หรือจาก 51-52 ขบวนการคนเสื้อแดงและนปช. เราได้ช่วยกันสร้างประชาชนที่แอคทีฟ
ที่มีความคิดทางการเมือง ที่เป็นประชาชนที่ก้าวหน้าขึ้นมามากมาย เวลานั้นปัญญาชนไม่เอา
เพราะว่าเกลียด 2 ไม่ ไม่เอาทหารก็จริง แต่ไม่เอาคุณทักษิณ
ที่ไม่เอาคุณทักษิณนี่เยอะเลยสำหรับปัญญาชน และนั่นคือข้ออ่อน
แต่ว่าประชาชนทั่วทั้งประเทศ ไม่ว่าเป็นมวลชนพื้นฐาน หรือชนชั้นกลาง
หรือคนจำนวนหนึ่งที่เป็นคนเสื้อแดงล้วนได้รับการบ่มเพาะผู้ปฏิบัติงาน
ได้รดน้ำพรวนดินในฐานะคนเสื้อแดง ในฐานะนักต่อสู้ เมื่อพรรคก้าวไกลเสนอนโยบายการเปลี่ยนแปลงที่ตอบโจทย์
แต่ว่ามันไม่ได้เกิดชั่วข้ามวันที่คุณมาเป็นนะ มันมีผลแสดงอยู่ก่อนแล้ว
ดิฉันอยากจะให้รู้อันนี้ไว้ด้วย
ดังนั้น
นิยามสี ต้องเข้าใจให้ตรงกัน มันจะไม่ใช่สงครามสี แต่ว่ามันเป็นสงครามฝ่าย ถ้าคุณทั้งโดยหลักการ
โดยปฏิบัติ โดยจุดยืน คุณไม่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจ คุณไม่สนับสนุนการทำรัฐประหาร
คุณก็เป็นฝ่ายประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มการเมือง พรรคการเมือง หรือประชาชนใด ๆ
ก็ตาม มันก็ต้องสามัคคีกัน ก่อนหน้านี้คุณทักษิณ ไทยรักไทย และคนเสื้อแดงเป็นศัตรูของฝั่งจารีต
เรียกว่าตัวเอ้เลย เขาใช้ทฤษฎีแบบจัดการให้เป็นศูนย์ zero-sum game เพื่อจะทำลายให้หมดเกลี้ยงไปเลย ทำเหมือนกับยุคคอมมิวนิสต์ ฆ่าเรียบ
เผาเรียบ อันนี้ก็ขังเรียบ อุ้มเรียบ แล้วก็จัดการลงโทษอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้
คือจัดการให้เรียบเลยเพื่อให้กลัว แบบวิธีที่ปราบคอมมิวนิสต์ตั้งแต่ในยุคก่อน
เอามาใช้กับคนที่มีความเชื่อในระบอบการเมือง ความจริงอันนั้นมันคอมมิวนิสต์นะ
แล้วเดี๋ยวนี้ไม่มีพ.ร.บ.คอมมิวนิสต์แล้ว คนประกาศเป็นคอมมิวนิสต์ก็ไม่ได้ผิดอะไร
แต่กลายเป็นว่าคนที่พูดความคิดต่างแล้วก็พูดในระบอบประชาธิปไตยกลับถูกขังคุก
อันนี้มันกลับตาลปัตร แต่ว่าเอาแนวคิดและวิธีการถือเป็นศัตรู ทำแบบเดียวกัน
ปรากฏว่าฆ่าไม่ตาย กลายเป็นว่าคนเสื้อแดงก็ยังอยู่ เติบใหญ่ แข็งกล้าขึ้น
แล้วก็มีลูกหลานคนรุ่นใหม่ที่เรียกว่าเข้มแข็งมากตั้งแต่ปี 2563
และโดยเฉพาะพรรคการเมืองคือพรรคก้าวไกล พรรคก้าวไกลก็สามารถมาเก็บเกี่ยวประชาชน
และมาถูกที่ถูกเวลา
ดิฉันเองมีความคิดจิตวิญญาณแบบการทำงานแนวร่วม
ไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองใด ยินดีสนับสนุนพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยทุกพรรค
แต่ถามว่าเสียใจไหมที่มีการตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว ในฐานะนักต่อสู้ เสียใจ เสียใจมาก
เพราะว่ากำลังของเราอ่อนลง ถามว่าเข้าใจเห็นใจมั้ย ก็เห็นใจเหมือนกัน
แต่ว่าไม่เห็นด้วยและไม่ยินดีเลย แต่เราก็เข้าใจธรรมชาติของพรรคการเมือง
พรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่ไม่ใช่ของประชาชน เป็นพรรคการเมืองของกลุ่มทุน
ซึ่งไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อที่จะต่อสู้หรือเพื่อเสียสละ
แต่เพื่อที่จะมีส่วนแบ่งในอำนาจรัฐ มันคนละอย่างกันกับการต่อสู้และการเสียสละ
ดังนั้นเราก็เข้าใจ
เพราะฉะนั้น
โฉมหน้าการเมืองต่อไปไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างสี แต่มันเป็นระหว่างฝ่ายที่ต้องการอำนาจให้กับประชาชน
กับฝ่ายที่ไม่ต้องการคืนอำนาจให้กับประชาชน เกมการต่อสู้
พรรคการเมืองของเราหนึ่งพรรคได้ไปทำเกมสมานฉันท์
ไปหาจุดสมดุลร่วมกับพรรคฝ่ายสืบทอดอำนาจเสียแล้ว ดังนั้นก็คือ
เวลาและเรื่องราวจะพิสูจน์ อันแรกเลย คุณจะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ไหม
แบบที่เสนอที่ว่าแก้ทั้งฉบับ แล้วก็มีสสร.มาจากการเลือกตั้ง 100% อันนี้แบบเดียวกับที่นปช.เคยเสนอเมื่อตอนต้องการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญปี
2550 ก็ทำไม่ได้ เพราะพรรคเพื่อไทยขณะนั้นก็ไม่เอาด้วย แต่มาตอนนี้
ประชาชนเอาอย่างนี้ แล้วคำถามว่าพรรคสมานฉันท์ รัฐบาลใหม่จะเอาด้วยไหม น่าจะยาก
ถ้าคุณทำให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาจากสสร.ได้ แล้วยุบสภาเลือกตั้งใหม่
ความเสียหายและฐานเสียงของพรรคเพื่อไทยจะไม่เสียหายมาก ยังสามารถดึงคนกลับมาได้
แต่จะทำได้หรือเปล่า?
อันที่สองก็คือ
เราก็จะยินดีถ้าคุณสามารถแก้ปัญหาอย่างอื่นได้
แต่ว่าการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในทัศนะของดิฉันก็คือไม่ใช่สิ่งยิ่งใหญ่
สิ่งยิ่งใหญ่ของประชาชนคือแก้ปัญหาการเมือง ต้องตอบโจทย์ปัญหาการเมือง
และขณะนี้ก็คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายสำคัญอย่างอื่น ๆ ที่ได้ทำ MOU
เอาไว้ ทำได้หรือเปล่า? ถ้าทำไม่ได้ 62% ที่ว่าหายไปตามโพล
มันจะหายไปอีก วันนี้ลาไปก่อนค่ะ
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #ธิดาถาวรเศรษฐ #เพื่อไทย #รัฐบาลผสมข้ามขั้ว