ธิดา
ถาวรเศรษฐ :
งานรำลึก #47ปี6ตุลา19
: เป็นภารกิจที่เราต้องทำความจริงให้ปรากฏ ประจานและลงโทษทางสังคม เพื่อไม่ให้การฆ่าคนกลางถนนหรือในมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นอีกในอนาคต
ปกติถ้าอาจารย์ไม่ติดอะไรก็จะมา
แต่ในช่วงแรก ๆ มันมีความสับสน ช่วงหลังทำรัฐประหารปี 2549
อย่าลืมว่านี่มันตั้งแต่ 2519 พอทำรัฐประหารปี 2549 มันทำให้ปัญญาชนมีการแยกกลุ่มแยกสี ดังนั้น
การจัดงานแต่ละครั้งมันก็ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้จัด มันก็เลยมีปัญหาว่าบางครั้งบางครั้งโอกาสเหมาะก็ได้มา
บางครั้งโอกาสไม่เหมาะก็ไม่ได้มา ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเมืองด้วย
แต่ว่าในช่วงนี้
อาจารย์คิดว่าต่อไปการจัดงานรำลึกเหล่านี้ก็คงยังมีต่อไปเพราะถือเป็นเรื่องสำคัญ
มันเป็นเรื่องสำคัญที่มันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดซ้ำ
มันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังปี 2516 เดี๋ยววันที่ 14ตุลา ก็มีการจัดอีก และจะสังเกตว่า 14ตุลา
ก็จะมีลักษณะที่เป็นส่วนราชการมากกว่าในส่วนของประชาชน แต่เหตุการณ์ 6ตุลา ผู้ถูกกระทำเหมือนกับคนเสื้อแดงปี 2553
มันมีความคล้ายคลึงกันมาก ระหว่างเหยื่อ 6ตุลา19 กับเหยื่อที่เป็นคนเสื้อแดงในปี 2553
เรามารำลึกเพื่อที่ไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์ในการฆ่าประชาชนซ้ำ
เหตุการณ์6ตุลา19 นี้เกิดในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นะ
เขาอยู่ข้างใน เขาไม่ได้ไปเกะกะข้างนอกเลย แล้วเป็นนักศึกษาประมาณ 80% ประชาชนสัก 20% มือเปล่า ยังกล้าทำ แล้วผู้กระทำเป็นตำรวจนะ
ตำรวจกับพวกกระทิงแดง ในทัศนะของอาจารย์ สิ่งที่เกิดขึ้นใน 6ตุลา19
มันมีนิรโทษกรรม 2 ข้าง แปลว่าเอาผิดไม่ได้
แต่ว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นประวัติศาสตร์สำคัญที่ต้องจารึกไว้ในสังคมไทยว่า
สิ่งเหล่านี้จะไม่ควรให้เกิดขึ้นอีก
แต่ว่าในขณะนี้เขาใช้สงครามอีกแบบหนึ่งที่เขาเรียกว่า “นิติสงคราม” ก็คือมีการจับ
แม้นว่าประชาชนจะออกมาแบบสงบ เหมือน 6ตุลา19 จริง ๆ เขาไม่ได้มีอาวุธอะไร อาจารย์ไม่เห็นด้วยที่บอกว่าเป็นสงครามกลางเมือง
อาจารย์ก็คิดว่ามันเป็นวาระที่จำเป็นที่ประชาชน
แม้นจะผ่านไปกี่ปีก็ตาม อย่างน้อยที่สุดการมารำลึกอย่าให้เป็นเหมือนงานเช็งเม้ง
ก็คือให้มันเป็นบทเรียนว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ควรเกิดขึ้นอีก
มันเป็นความอัปยศของสังคมไทย แม้นว่าจะมีการนิรโทษกรรม เอาผิดไม่ได้ก็ตาม
แต่ว่าเราต้องทำความจริงให้ปรากฎให้มาก เพราะว่าความจริงที่ปรากฏและทำให้สังคมได้รับรู้ถึงความโหดเหี้ยมของรัฐทำกระทำต่อประชาชนนั้น
แม้นเราเอาผิดคนทำไม่ได้ แต่เราต้องประจานสิ่งที่เกิดขึ้นนี้
อย่าให้มันเกิดขึ้นซ้ำ ครั้งนั้นผู้กระทำเป็นตำรวจหมด เป็นตำรวจตระเวนชายแดน
เป็นตำรวจพลร่มนเรศวร แล้วก็มีหน่วยงานความมั่นคงต่าง ๆ สนับสนุน
มีองค์กรมวลชนคนของหน่วยงานความมั่นคง มันอาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอีกก็ได้ถ้าเยาวชนออกมา
ดังนั้น
แม้นจะมีนิรโทษกรรม แต่เป็นภารกิจของเราที่ว่า เราจะต้องทำความจริงในปรากฎ ประจาน
ลงโทษทางสังคม ลงโทษทางจับกุมคุมขังไม่ได้ แต่ต้องลงโทษทางสังคมให้ได้
เพื่อไม่ให้การฆ่าคนกลางถนนหรือในมหาวิทยาลัยมันเกิดขึ้นอีก
เพราะว่าอาจารย์มองว่าการลงโทษทางสังคมสำคัญ ติดคุกนั้นไม่กี่วันก็ออก
แต่ว่าลงทัณฑ์ทางสังคมก็คือเอาคนที่ทำผิดเอาชื่อออกมาเลย
คนสั่งการนั้นเอาชื่อออกมาเลย คดีความที่ขึ้นเอาชื่อออกมาเลย
เราเอาออกมาแล้วประจานทางสังคม สำคัญกว่าเอาเขาเข้าคุกอีก เพราะฉะนั้นในกรณี 6ตุลา19 เราก็ต้องทำไปเรื่อย ๆ เพราะว่าเราอาจจะช่วยอะไรไม่ได้มากสำหรับคนที่เสียชีวิตแล้ว
แต่มันจะเป็นประโยชน์กับอนาคต ก็ฝากเอาไว้ อาจารย์ก็ผ่าน 14ตุลา16 มา 50 ปีแล้ว ก็ต้องเป็นหน้าที่ของคนรุ่นหลัง
นี่คือการต่อสู้ที่ยืดเยื้อค่ะ
สำหรับ
คณะประชาชนทวงความยุติธรรม 2553 (คปช.53)
ก็คือคนเสื้อแดงปี 2553 คล้าย ๆ คน 6ตุลา19 ไม่มีอนุสรณ์สถาน คุณดู 14ตุลา16 กับพฤษภา35 มีอนุสรณ์สถาน
แล้วพอเวลาจัดงานก็จะมีหน่วยงานรัฐบาลไป หรือมีทหารไป นั่นแปลว่าองค์กรรัฐจารีตยอมรับ
14ตุลา16 กับพฤษภา35 แต่ว่าไม่ยอมรับ 6ตุลา19
กับเมษา-พฤษภา53 มันก็เป็นเรื่องที่ว่าเราจะทำอย่างไร
เรายังมีโอกาส เพราะว่ามันยังไม่หมดอายุ ดังนั้นที่เราตั้งเป็น คปช.53 คือเป็นองค์กรขับเคลื่อน แต่ว่าเราจะทำองค์กรที่มีลักษณะเป็นมูลนิธิด้วย
เพื่อที่จะสามารถจัดงานและสืบทอดกิจกรรมต่าง ๆ ได้ เป็นมูลนิธิ เมษา-พฤษภา 2553 ซึ่งสามารถรับบริจาคและจัดกิจกรรม
เราอาจจะหาอนุสาวรีย์หรืออนุสรณ์สถานไม่ได้ก็ไม่เป็นไร
แต่ว่าให้มันมั่นคงอยู่ในจิตใจของประชาชนและคนเสื้อแดง
โดยเฉพาะขณะนี้คนเสื้อแดงก็อาจจะมีความสับสนกันบ้าง แต่อาจารย์คิดว่าอย่างน้อยที่สุดการทวงความยุติธรรมน่าจะเป็นเอกภาพเหมือนกันหมด
เพราะฉะนั้น
อาจารย์ก็เชิญชวนว่าเราจะต้องทำองค์กรที่เป็นมูลนิธิเพื่อที่จะดำเนินกิจกรรมต่อ
ไม่ใช่มีแต่เฉพาะคนรุ่นเสื้อแดงแก่ ๆ แล้วก็ฝากไว้ด้วยว่าวันที่ 31 ตุลาคมนี้
ก็มีงาน “ลุงนวมทอง” ก็ขอเชิญชวนไปร่วมงาน เพราะว่าโชคดีที่เราสามารถทำสดมภ์อนุสรณ์เล็ก
ๆ ไว้เป็นสัญลักษณ์ส่วนหนึ่ง ดังนั้น เราจะขับเคลื่อนทั้งในการเรียกร้องความยุติธรรม
เพราะว่าผ่านมาแล้ว 13 ปี เรายังมีเวลาอีก 7 ปี หมายถึงยังไม่หมดอายุความ
ขณะเดียวกันเราก็จะทำความจริงให้ปรากฏออกไปเรื่อย ๆ
และจัดให้มีกิจกรรมที่เปิดเผยความเป็นจริงไปตลอด เราก็หวังว่ากิจกรรมเหล่านี้
คนเสื้อแดงและประชาชนทั่วไปจะได้เข้าใจว่ามันเป็นภารกิจของประชาชน
เราไม่ได้ไปจับอาวุธเพื่อแก้แค้นใคร แต่การทำความจริงให้ปรากฏและการลงโทษทางสังคมมันเป็นเรื่องสำคัญ
และฝากไปยังพรรคการเมืองด้วย
เมื่อพวกคุณผ่านการเลือกตั้งมาแล้ว
คุณจะมีบทบาทในการทวงความยุติธรรมอย่างไรในคดีความที่ยังไม่เสร็จสิ้น
ยังไม่ทำสำนวนชันสูตรพลิกศพอีก 62 ศพ คดียังค้างอยู่
ส่วนทหารที่มาปราบปรามประชาชนไปขึ้นศาลทหารแล้วก็จบ!
นักการเมืองจะเอาไปขึ้นศาลนักการเมือง ไปเจอป.ป.ช. ก็จบ! เพราะฉะนั้น
เรามีข้อเรียกร้องว่าให้ทหารและนักการเมืองขึ้นศาลพลเรือนแบบเดียวกับ 6ตุลา19 เพราะเหตุการณ์ 6ตุลา19 ขึ้นศาลพลเรือน พอสืบคดีไปพักหนึ่งมันจะขึ้นไปถึงคนสั่งการนะ ยุติเลย! นิรโทษเลย! นิรโทษ 2 ฝั่ง
เพราะฉะนั้น ยังไงก็ให้ไปขึ้นศาล เมื่อขึ้นศาล ความจริงมันจะประจานออกมาเรื่อย ๆ
ฝากเอาไว้ว่า
การทวงความยุติธรรมไม่ใช่เฉพาะคนเสื้อแดง
แต่ให้กับประชาชนปัจจุบันและรวมทั้งประชาชนในอนาคต ถ้าการฆ่าคนกลางถนนไม่มีใครต้องรับผิด
ไม่มีใครต้องลงโทษ มันก็จะเกิดขึ้นได้อีก เราก็จะต้องดำเนินต่อไปแบบเดียวกับกรณี 6ตุลา19