สรุปบทเรียน
14 ตุลาคม 2516 โดย อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ
(เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2559)
บทเรียน
14ตุลาคม
ก.
ปัจจัยผลักดันให้เกิดเหตุการณ์ลุกขึ้นสู้ของประชาชน
การเมือง
: เผด็จการทหารครองอำนาจยาวนาน 10-15 ปี
เศรษฐกิจ
: ภาวะเศรษฐกิจเสื่อมทรุด อยู่ภายต้อำนาจการเมืองเผด็จการทหาร
สังคม
:
- เกิดปัญญาชน ชนชั้นกลางมากขึ้น
หลังจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 1
-
แนวคิดเสรีนิยม สังคมนิยม ก่อตัวขยายทั่วโลก
ความขัดแย้งในสังคม
กลุ่ม
ถนอม-ประภาส ครองอำนาจเด็ดขาด ขัดแย้งกัน
1.
ประชาชนที่ต้องการประชาธิปไตยและเรียกร้องรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย
2. กลุ่มชนชั้นนำอนุรักษ์นิยมอื่น ๆ ที่ต้องการพื้นที่อำนาจการปกครอง
การนำพาการต่อสู้ยุทธวิธีสร้างแนวร่วมกว้างขวาง
มีลักษณะกว้างขวางและการจัดตั้งของนักเรียน-นักศึกษา
-
ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
- องค์กรนักศึกษา, นักเรียนอาชีวะ
- องค์กรกรรมกร, ชาวนา, คนจน, ผู้ใช้แรงงานอิสระ
- พรรคการเมือง, นักการเมือง
- นักวิชาการ, ครูบาอาจารย์, แพทย์ พยาบาล ฯลฯ
- และองค์กรอื่น ๆ
ข.
ปัจจัยแห่งความล้มเหลว
1.
มียุทธวิธีให้ได้ชัยชนะ แต่ไม่มียุทธศาสตร์การต่อสู้ของประชาชน
2. องค์กรจัดตั้งเป็นองค์กรรูปแบบตามความเป็นอยู่
มีเนื้อหาการต่อสู้ของกลุ่มคนเป็นหลัก เช่น สนท., ศูนย์กลางอาชีวะ, สหภาพแรงงาน,
องค์กรชาวนา, พรรคการเมือง ฯลฯ ไม่มีเนื้อหาการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชนแท้จริง
3.
ชนชั้นนำอนุรักษ์นิยมช่วงชิงอำนาจนำและเข้าสู่ฐานะเป็นผู้ปกครองแท้จริงแทนกลุ่ม
ถนอม-ประภาส
.
4. แกนนำการต่อสู้มีหลายกลุ่ม
- สายอนุรักษ์นิยม
- สายก้าวหน้า
- สายการจัดตั้งของฝ่ายซ้าย
ผู้นำนักศึกษาสายอนุรักษ์นิยมก็รวมตัวกัน
ฝ่ายชนชั้นนำอนุรักษ์นิยมและอาชีวะเป็นปฏิปักษ์กับนักศึกษาฝ่ายก้าวหน้าและฝ่ายซ้ายในขบวน
5.
มีการสร้างแกนนำนักเรียนอาชีวะที่เป็นปฏิปักษ์กับขบวนการนักศึกษาออกมาเคลื่อนไหวร่วมกับการจัดตั้งมวลชนอนุรักษ์นิยมเพื่อต่อต้านพลังนักศึกษา
6. ไม่มียุทธศาสตร์ระยะยาว-ระยะสั้น
เพื่อต่อยอดชัยชนะของประชาชน จึงถูกกลุ่มอนุรักษ์นิยมช่วงชิงชัยชนะไป
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #14ตุลา16 #14ตุลาคม