“ภัควดี”
โพสต์เรื่องราวอุบัติเหตุของนักกิจกรรม #ทะลุฟ้า ซึ่งถูกติดกำไล
EM ต้องผ่าตัดด่วนแต่ทำไม่ได้ ต้องขออนุญาตศาลเอากำไล EM ออก สะท้อนปัญหาที่ต้องมีการแก้ไข
วานนี้
(13 พ.ย. 2565) ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักเขียนและนักแปลอิสระ
ได้โพสต์เฟซบุ๊กเล่าเรื่องราวที่เกิดอุบัติเหตุของนักกิจกรรมคนหนึ่งของกลุ่ม #ทะลุฟ้า
ได้ประสบอุบัติเหตุที่ จ.เชียงใหม่ มีใจความว่า
12
พฤศจิกายน 2565 น้องนักกิจกรรมกลุ่มทะลุฟ้าคนหนึ่งมาเที่ยวเชียงใหม่
และได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจนขาหัก ขาซ้ายที่หักนั้นเป็นข้างที่ใส่กำไล EM
ไว้
น้องได้รับการนำส่งโรงพยาบาลตั้งแต่เช้า
แต่กว่าจะได้รับการผ่าตัดต้องรอจนบ่ายสาม หมายความว่าต้องรอนานถึง 8 ชม.
ทั้งที่เลือดก็ซึมออกมาไม่หยุด หมอบอกว่าควรรีบผ่าตัดเพราะเกรงว่าจะเกิดการติดเชื้อ
แต่หมอก็ไม่กล้าผ่าตัดให้ทันทีเพราะไม่กล้าตัดกำไล EM ออก
จะผ่าตัดทั้งที่มีกำไลติดอยู่ก็ไม่ควรทำเพราะขาน้องบวมจนกำไล EM มันบีบเจ็บแล้ว
เวลา
8 ชม.นั้นหมดไปกับการทำเรื่องเพื่อขออนุญาตศาลเอากำไล EM ออก โดยต้องให้ทนายความทางกรุงเทพช่วยติดต่อประสานงานให้
ประเทศไทยชอบอ้างว่าอยากเป็นไทยแลนด์ 4.0 แต่เรื่องแค่นี้ต้องเสียเวลาถึง
8 ชม.ราวกับยังอยู่ในยุคอนาล็อก
(ดีที่ไม่ถึงขั้นย้อนไปใช้โทรเลขติดต่อ) ผลของการรอนานเช่นนี้ทำให้น้องที่ขาหักเสียเลือดมากจนต้องให้เลือดถึง
2 ถุง
โชคดีที่น้องไม่เป็นอะไรมาก
แต่กรณีนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว สถาบันที่เกี่ยวข้อง ทั้งสถาบันศาลและสถาบันแพทย์ควรถือเป็นอุทาหรณ์และปรับปรุงหลักปฏิบัติบ้างหรือไม่?
ตามจรรยาแพทย์นั้น
แม้แต่เชลยศึกอริศัตรูยังต้องรักษาให้ แต่นี่เป็นเพื่อนร่วมชาติแท้ๆ
เหตุใดแพทย์จึงไม่กล้าตัดสินใจตัดกำไลEM ออก แล้วรักษาให้เลย? เป็นเพราะกำไลนี้เกิดจากคดีการเมือง ซึ่งแพทย์รู้ดีว่าศาลไม่ค่อยยึดมั่นในตัวบทกฎหมายและมักละเว้นไม่เคารพสิทธิพลเมืองอยู่บ่อยๆ
หรือไม่ จนทำให้แพทย์กลัวจนไม่กล้าทำการรักษาทันทีเพื่อประโยชน์ของคนไข้?
แพทย์ควรมีความกล้าหาญ
ศาลควรมีมนุษยธรรม นี่คือข้อเรียกร้องของเรา
กำไล
EM มันเป็นของใหม่เพิ่งเอามาใช้ คนในประเทศด้อยพัฒนาอย่างไทยแลนด์อาจยังงงๆ
ไม่รู้จะปฏิบัติต่อมันอย่างไร แต่ในเมื่อตอนนี้เหตุมันก็เกิดแล้ว
และมีความเป็นไปได้ว่าต่อไปคงมีเยาวชนและประชาชนต้องใส่กำไล EM มากขึ้นเรื่อยๆ (ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐคงบานเบิก) ถ้าเป็นแบบนี้
สถาบันศาลและสถาบันแพทย์
ซึ่งมีความภาคภูมิใจนักหนาว่าเต็มไปด้วยบุคลากรหัวกะทิระดับแถวหน้าของประเทศ
จะช่วยกันบริหารเซลล์สมองสักเล็กน้อยสร้างมาตรฐานออกมาสักหน่อยว่า ในกรณีฉุกเฉิน
ถ้าจำเป็น แพทย์สามารถตัดกำไล EM แล้วทำการรักษาได้โดยไม่มีความผิด
ระหว่างนั้นก็ให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลประสานทนายยื่นเรื่องต่อศาลไปพลางๆ
ไม่ต้องปล่อยให้คนไข้นอนรอเลือดซึม มีแต่ผ้าก๊อซพันแผลไว้
เรื่องแค่นี้ใช้เพียงสามัญสำนึกก็พอ
ไม่ต้องใช้ไอคิวระดับ 180+
แต่อย่างใด
แล้วก็อยากดูใจศาลว่า
ในเมื่อน้องนักกิจกรรมคนนี้ขาหักและต้องใช้เวลาอีกไม่ต่ำกว่า 6 เดือนจึงจะกลับมาเดินได้ตามปรกติ
ศาลท่านจะใจไม้ไส้ระกำสั่งให้น้องเขาใส่กำไล EM ระหว่างพักฟื้นและทำกายภาพหัดเดินหรือไม่?
บางทีความฉลาดอาจไม่ได้มาพร้อมกับความอารยะ
นี่เป็นอีกปัญหาของนักกิจกรรมทางการเมืองที่ต้องเผชิญความยากลำบากในการต้องถูกติดกำไล
EM ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #ทะลุฟ้า