รายละเอียดที่ “อ.ธิดา”
ประธานนปช. แถลงที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ เมื่อ 26 มิ.ย. 2555
คนเสื้อแดงคือใคร?
เกิดจากไหน? ด้วยเหตุอะไร?
กลุ่มคนเสื้อแดงในปัจจุบันคือประชาชนไทยส่วนใหญ่ที่เป็นคนชั้นล่างในสังคมไทย
ที่เป็นแรงงานนอกระบบ เป็น ชาวนาชาวไร่ที่ยากจนไร้สวัสดิการ รวมทั้งคนชั้นกลาง ลูกจ้างและผู้ประกอบการธุรกิจขนาดต่าง
ๆ ทั้งในภาคอุตสาหกรรม, หัตถกรรม เกษตรกรรม และภาคบริการ รวมแล้วมีคนจำนวนมากหลายสิบล้านคน
เกิดมาจากการรวมตัวต่อต้านรัฐประหารของประชาชนกลุ่มต่าง
ๆ เช่น กลุ่มสมาพันธ์ประชาธิปไตยที่ต่อสู้มาตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2535
กลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ กลุ่มนิสิตนักศึกษา 19 กันยา
กลุ่มพีทีวีของคณะอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยที่ถูกยุบไปเป็นต้น เริ่มประท้วงต่อต้านคณะรัฐประหาร 19 กันยา 49
เป็นต้นมา จากคนออกมาชุมนุมจำนวนน้อยจนมากขึ้นเป็นลำดับ และสัญลักษณ์สีแดงได้มาจากการรณรงค์ปฏิเสธรัฐธรรมนูญ
2550 ที่ร่างจากอำนาจคณะรัฐประหาร
นี่จึงเป็นการต่อสู้อย่างเข้มแข็งที่ต่อเนื่องมาร่วม
6 ปี จากการรวมตัวจับมือกันอย่างหลวม ๆ มาเป็นองค์กรนปช.ที่มีหลักนโยบาย
เป้าหมายร่วมกัน ในการดำเนินงาน วัตถุประสงค์สำคัญคือ
1.
ต่อสู้เพื่อให้ได้ระบอบประชิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
2.
ต่อสู้ให้มีความยุติธรรม คือ มี Rule of law นิติรัฐ นิติธรรม
ในทางการเมืองพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแทนอำนาจอนุรักษ์นิยมที่เป็นผู้กุมอำนาจในระบบและนอกระบบที่ไม่มีสัมพันธภาพกับการเลือกตั้งจากประชาชน
ได้แก่ กองทัพ หน่วยงานความมั่นคง ตุลาการ วุฒิสมาชิกจากการแต่งตั้ง
องค์กรอิสระที่มาจากคณะรัฐประหาร และกฎหมายของคณะรัฐประหาร คนเสื้อแดงต่อสู้กับกลุ่มคนเหล่านี้เพื่อให้คืนอำนาจให้กับประชาชน
และลบล้างผลพวงจากการทำรัฐประหาร
คนเสื้อแดงต้องต่อสู้กับการทำรัฐประหารทั้งโดยกองทัพ
และรัฐประหารโดยการใช้กฎหมายที่ไม่มีหลักนิติธรรม ข้อเรียกร้องของคนเสื้อแดง
อยู่บนพื้นฐานของการปฏิเสธความไม่เท่าเทียมกัน ทางการเมืองและในการใช้กฎหมาย
ในปี
พ.ศ. 2553 การเรียกร้องให้ “ยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน” อันเป็นสิทธิพื้นฐานทางการเมืองของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
กล่าวง่าย ๆ เราเรียกร้องให้ได้หีบบัตรเลือกตั้ง แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์และกองทัพรัฐอำมาตยาธิปไตยให้หีบศพมาแทน
นับจากปี
พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา มีจำนวนผู้มาชุนนุมมากมาย จากแรก ๆ มีเพียงนับพัน
เป็นนับหมื่น นับแสน และหลายแสน
คนมากขึ้นทุกที ล่าสุด จากการงานในช่วงระยะ 3 เดือนนี้ ที่เขาใหญ่มีไม่ต่ำกว่าสามแสนคน
และครบรอบ 2 ปีการปราบปรามเข่นฆ่าประชาชน 19 พฤษภาคม 2553 ที่ราชประสงค์ก็มีผู้ร่วมชุมนุมกว่าสองแสนคน
ซึ่งตรงกันข้ามกับกลุ่มมวลชนจารีตนิยมมีคนน้อยลงทุกที (จนเหลือระดับไม่ถึงร้อยก็มี)
นี่เป็นการยืนยันความถูกต้องของฝ่ายประชาชนคนเสื้อแดงที่นานวันนับแต่จะมีคนมาร่วมขบวนเรามากยิ่ง
ๆ ขึ้นทุกวัน การชุมนุมใหญ่หลัง ๆ นี้จะมีคนมาร่วมแสน ไม่ว่าจะจัดในที่ห่างไกลหรือในใจกลางกรุงเทพมหานครก็ตาม
จำนวนคนเสื้อแดงมีมากเท่าใด?
ในการรณรงค์ปฏิเสธหรือไม่รับรัฐธรรมนูญ
2550 ของคณะรัฐประหาร แม้จะมีกลยุทธของฝ่ายเผด็จการ มีวิชามารมากมาย
จำนวนคนเสื้อแดงที่โหวตไม่รับรัฐธรรมนูญ2550 ก็สูงถึง 10.7 ล้านคน ผู้ลงคะแนนเสียงสนับสนุนพรรคการเมืองที่ถูกยุบครั้งแล้วครั้งเล่า
ที่คนเสื้อแดงสนับสนุนก็มีกว่า 15.7 ล้านคน เมื่อ 3 ก.ค. 54
ประมาณการตัวเลขคนเสื้อแดงที่อยู่ภายใต้การนำของนปช. ประมาณการว่ามีกว่าสิบล้านคน
เกือบ 19 ล้านคน(ตัวเลขเลือกพรรคไทยรักไทยปี 48 และพรรคเพื่อไทยปี 54)
ส่วนใหญ่อยู่ที่ภาคอิสานและภาคเหนือ
ภาคกลางก็มีจำนวนไม่น้อย ที่น้อยที่สุดคือในภาคใต้
จากเหตุการณ์การต่อสู้ที่ยกระดับความรุนแรงในการปราบปรามขึ้นมาโดยตลอดนับจากปี
พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา ในปี พ.ศ. 2552 ปัญหาที่พบคือ “เราไม่สามารถรักษาศพของพี่น้องเราเอาไว้ได้” พ.ศ.
2553 เราเก็บรักษาศพของพี่น้องไว้ได้ นับเป็นจำนวน 92ศพ
เสียชีวิตภายหลังอีกรวมเป็น 98 ศพ บาดเจ็บกว่า 2,000 คน
ทรัพย์สินของผู้มาชุมนุมเสียหายนับหลายสิบล้านบาท ที่เสียหายมากคือ
“จิตใจที่เจ็บปวดของประชาชนที่มาชุมนุม ที่เผชิญการทำร้ายร่างกายจิตใจ
และการใช้อาวุธสงครามกระสุนจริงยิงด้วยพลซุ่มยิง เจาะสมอง เจาะศีรษะ หน้าอก”
การใช้อาวุธปราบปรามเฉกเช่นที่ทำในสงครามระหว่างประเทศ
ภาพผู้สูญเสียชีวิต ถูกจับกุมคุมขัง ตั้งข้อหาร้ายแรง ไม่ให้ประกันตัว
ไม่ว่าจะเพียรพยายามนับสิบ ๆ ครั้ง และที่สุดต้องนำประชาชนไปหน้าศาลฎีกา
ทั้งวางดอกไม้ หรือปราศรัยเพื่อประท้วงศาล กระบวนการยุติธรรมทุกขั้นตอนมีปัญหาตั้งแต่การตั้งข้อหารุนแรงโดยไม่มีหลักฐาน
ไม่มีการสืบสวนที่ถูกต้องตามหลักนิติธรรม ให้ได้ความชัดเจนก่อนดำเนินการ
เราเคยมีจดหมายไปยังศาลอาญาระหว่างประเทศ
เพื่อขอให้ส่งผู้สังเกตุการณ์มายังประเทศไทย เพราะเราไม่เชื่อมั่นว่าประชาชนจะได้รับการปฏิบัติด้วยมาตรฐานนิติรัฐ
นิติธรรมที่ถูกต้องตามหลักสากลอย่างเท่าเทียมกัน
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
2 ปี ยังมีผู้ถูกคุมขังอันเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองยังไม่ได้รับการประกันตัว
หรือถูกตัดสินลงโทษจำคุกยาวนานถึง 38 ปี โดยขาดความรอบคอบในการสอบสวน
การตั้งข้อหาร้ายแรงระดับ “การก่อการร้าย เผาบ้านเผาเมือง” โดยไม่มีหลักฐานชัดเจนแต่อย่างใด
และคุมขังประชาชนที่ถูกกล่าวหาว่าผิด พรก.ฉุกเฉิน นานเกินกว่าความผิดที่ตั้งข้อหา
ปัจจุบันยังมีผู้ถูกคุมขัง 62 คน เป็นโรคจิตแล้ว 5 คน
และกำลังมีปัญหาทางจิตอีกกว่า 6 คน เสียชีวิตไปแล้ว 1 คน
ภายใต้การคุมขังที่ขาดการดูแลที่ได้มาตรฐานสากล ใช้การตีตรวน
คุมขังจองจำร่วมกับอาชญากรอุกฉกรรจ์อื่น ๆ
แต่ภายใต้รัฐบาลนี้
(ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พรรคเพื่อไทย) ด้วยความพยายามผลักดันของนปช.
จึงมีการแยกผู้ถูกคุมขังอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองที่คดียังไม่ถึงที่สุด
ได้ย้ายไปรวมกันอยู่ณ.ที่คุมขังที่แยกออกไปต่างหากจำนวน 47 คน
แต่ผู้ที่ถูกคุมขังด้วยคดีตามมาตรา
112 ประมวลอาญา (คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ )ยังไม่ได้แยกออกมาต่างหาก
และยังไม่ได้รับการประกันตัว
ผู้ถูกคุมขังจำนวนหนึ่งจึง ยอมลงทุนรับสารภาพผิดเพื่อให้คดีสิ้นสุด
ได้รับโทษถึงที่สุด เนื่องจากทนสภาพถูกจองจำยาวนานโดยไม่รู้ว่าคดีจะสินสุดเมื่อไร
และไม่มีวันที่จะได้รับการประกันตัว ไม่มีความหวังใด ๆ ในอนาคต
จึงสารภาพผิดเพื่อให้คดีถึงที่สุดโดยเร็วแล้วเพื่อจะได้มีโอกาสในการ
“ขอพระราชทานอภัยโทษ” จากพระเจ้าแผ่นดินเพื่อจะทำให้ถูกจองจำในเวลาที่สั้นลง
ในขณะที่ “คนเสื้อเหลือง” ในคดีคล้ายกัน ยึดสนามบินเป็นความผิดข้อหาก่อการร้ายสากลโทษประหารชีวิต
จำคุกตลอดชีวิต, ยึดสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติเพื่อต่อเชื่อมกับสถานีวิทยุโทรทัศน์ของพวกตนออกอากาศโค่นล้มรัฐบาลด้วยความรุนแรง
เป็นความผิดข้อหากบฏโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต, บุกยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นเวลากว่าร้อยวันเป็นความผิดใช้ความรุนแรงขัดขวางการบริหารราชการแผ่นดินข้อหากบฏโทษประหารชีวิต
จำคุกตลอดชีวิต
คดีเหล่านี้คืบหน้าช้ามาก
คดียึดสนามบินยังอยู่ในขั้นเชิญมารับทราบข้อกล่าวหาหลังจากเวลาผ่านไปแล้วเกือบ 4 ปี และส่วนใหญ่ได้รับการประกันตัวไป
เมื่อเทียบกับคดีเสื้อแดงที่
ภายในเวลาประมาณ 6 เดือนก็มีคำพิพากษาลงโทษหนักเบาต่าง ๆ กัน
และไม่ได้รับการประกันตัว
ยังมีกรณีที่พวกเสื้อเหลืองขับรถพุ่งชนตำรวจ
5 นายที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ แล้วยังถอยหลังพุ่งทับเพื่อให้ตายสมใจแต่ก็เพียงรอลงอาญา
ดูเหมือนว่าความยุติธรรมของไทยกำลังสั่นคลอนอย่างหนักหน่วง
สำหรับการปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนในยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นที่ชัดเจนว่า
แม้เราจะเป็นองค์กรเคลื่อนไหวอย่างสันติวิธีตามนโยบาย 6 ข้อขององค์กร นปช. แต่
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ใช้ชีวิตอยู่ในอ้อมกอดของค่ายทหารกรมทหารราบที่ 11
ตลอดระยะเวลาที่คนเสื้อแดงประท้วงบนถนน ประชาชนเริ่มออกเดินทางมาชุมนุมเมื่อวันที่
12 มีนาคม 2553 และเราเริ่มชุมนุมตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2553 อย่างสงบเรียบร้อยบนถนนราชดำเนิน
ต่อมารัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ทำลายสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนลงไปอย่างร้ายแรงคือ
ปิดสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมของประชาชน
คนเสื้อแดงจึงไปทวงถามขอคืนสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์คืนมาที่สถานีดาวเทียมไทยคม
ลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี ที่นี่จึงมีการปราบปรามประชาชนครั้งแรก
แต่ยังอยู่ในภาวะที่ควบคุมได้ มีการยิงแก๊สน้ำตาจำนวนมาใส่ผู้ชุมนุม
แต่ไม่เป็นผลเพราะทิศทางลมพุ่งใส่พวกทหาร
ต่อมาทหารก็ยอมมอบอาวุธให้ประชาชน ซึ่งภายหลังการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
ประชาชนก็คืนอาวุธทั้งหมดให้กับทหาร ครั้งนี้เองที่มีหลักฐานชัดเจนว่า ทหารได้นำปืนติดกล้องส่องเล็งมาเตรียมเล็งยิงประชาชนหลายกระบอกด้วยกัน
รัฐบาลประชาธิปัตย์ประกาศพรก.ฉุกเฉินในวันที่
7 เมษายน 2553 ทั้งที่มีการประกาศใช้พรบ.ความมั่นคงอยู่แล้ว เป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไร้เหตุผลโดยสิ้นเชิง
เป็นการจงใจวางแผนที่จะดำเนินการปราบปรามประชาชนทั้งที่ไม่มีเงื่อนไขและเหตุอันควรใด
ๆ ทั้งสิ้น เพราะประชาชนมามือเปล่า
ล้วนเป็นชาวนาชาวไร่ ลูกจ้างแรงงานขั้นต่ำ ไม่มีอาวุธใด ๆ นอกจากสิ่งที่ใช้ถือแทนการใช้ปรบมือเท่านั้น
และข้อเรียกร้องก็มีเพียง “ยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน” เนื่องจากรัฐบาลอภิสิทธิ์เป็นผลพวงจากการใช้อำนาจตุลาการภิวัฒน์ล้มรัฐบาลสมชายที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
และรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็มีการตระเตรียมจัดตั้งกันขึ้นภายในค่ายทหารกรมทหารราบที่ 1สามเหลี่ยมดินแดง
โดยการบังคับรวบรวมจากสส.ที่แตกมาจากพรรคที่ถูกยุบด้วยอำนาจตุลาการรัฐธรรมนูญ (จากรัฐธรรมนูญชั่วคราวของทหารปี
49) เป็นเหตุผลที่ชอบธรรมสนับสนุนข้อเรียกร้องให้ “ยุบสภาจัดการเลือกตั้งใหม่” จึงเป็นเรื่องสมเหตุสมผล
ไม่มีเหตุอันใดที่ต้องประกาศ พรก.ฉุกเฉิน นอกจากได้วางแผนเตรียมการที่จะปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนไว้ล่วงหน้าแล้ว
นายกฯอภิสิทธิ์ได้ใช้ชีวิตในค่ายทหารที่ราบ 11 ตลอดระยะเวลา 3 เดือน
วางแผนเพื่อปราบปรามประชาชน แทนที่จะใช้ “การเมืองแก้ปัญหาด้วยการเมือง”
ดังที่ได้รับการกล่าวอ้างอย่างยกย่องจากนายทหารที่สรุปรายงานการปราบปรามไว้ในวารสาร
“เสนาธิปัตย์” ที่เป็นวารสารทางการของกองทัพของกรมยุทธศึกษาทหารบก ซึ่งระบุไว้ว่า
“แผนการทางการเมืองเป็นเอกภาพกับแผนการทางการทหารของฝ่ายทหารในการปราบปรามประชาชน
ไม่ใช่เพื่อการเจรจา แต่เพื่อปราบปรามสลายการชุมนุม” นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ตัดสินใจใช้ความรุนแรงเพื่อปราบปรามประชาชนภายหลังเหตุการณ์ที่ทหารยอมแพ้ไม่ใช้อาวุธสงครามจริงที่สถานีดาวเทียมไทยคม
แล้วก็หันมาใช้อำนาจของ พรก.ฉุกเฉิน สั่งการ ดังหลักฐานปรากฏตามคำสั่งวิทยุ
ในวันที่ 10เมษายน 2553 (ภายหลังเหตุการณ์ทหารปะทะประชาชนที่สถานีไทยคมลาดหลุมแก้วปทุมธานี
1 วัน) ให้เคลื่อนกำลังทหารระดับกองร้อย กองพัน
กองพลและใช้อาวุธสงครามจริงกับประชาชน ทำให้เกิดการเสียชีวิตของประชาชน
และทหารจำนวน 5 นาย
ต่อมาคนเสื้อแดงก็ย้ายการชุมนุมมาที่ราชประสงค์เพียงแห่งเดียว
ฝ่ายรัฐบาลก็ยกระดับการปราปปรามมาเป็นการใช้กำลังทางการทหารเป็นด้านหลัก ให้ถือว่าการชุมนุมของประชาชนเป็นการทำสงครามกลางเมือง
จึงสั่งการให้ใช้กองทัพเข้าปราบปราม ใช้ทหารทำสงคราม ใช้อาวุธสงครามทำการยิง
ใช้พลซุ่มยิง ตามการรายงานในวารสาร “เสนาธิปัตย์ประจำปีที่ 59 ฉบับที่ 3” ที่เขียนโดยนายทหารระดับพันเอกใช้นามแฝงว่า
“หัวหน้าควง” ซึ่งนายทหารผู้นี้ได้รับหน้าที่ในการสรุปบทเรียนของกองทัพ
และถือว่าเป็นความภาคภูมิใจอย่างสูงที่ประสบความสำเร็จในการใช้การปราบปรามอย่างรุนแรง
ใช้การทำสงครามเต็มรูปแบบ ใช้กระสุนจริงและวางแผนอย่างเป็นระบบ อย่างกว้างขวาง
อย่างเป็นทางการ จากกรณีวันที่ 10 เมษายน 2553 วางแผนฝึกซ้อมทหารในการปราบปราม
เพื่อเข่นฆ่าประชาชนตลอดมาจนถึงวันที่ 19 พ.ค. 53 วางแผนการทหารอย่างเป็นระบบ
ในการล้อมปราบ เป็นระบบ เป็นขั้นตอน ตามกำหนดเวลา ไม่แยแสว่า จะมีคณะตัวแทนจากวุฒิสมาชิกมาเจรจากับตัวแทนของ
นปช. จนได้ข้อยุติแล้วว่าจะยุติการชุนนุมในวันรุ่งขึ้นเพราะประชุมกันจนค่ำ 19.00 น.
แต่รัฐบาลก็ยังคงเดินหน้าปราบปรามประชาชนตามแผนที่สั่งการมีการกำหนดการไว้เรียบร้อยล่วงหน้าแล้ว
ข้ออ้างที่ว่าประชาชนมีกองกำลังอาวุธก็ไม่เป็นความจริง
และรัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่สามารถหาหลักฐานมาพิสูจน์ความเป็นจริงได้แต่ประการใด
ประการแรก
นปช. ไม่มีนโยบายใช้อาวุธต่อสู้ เรายืนยัน “ใช้สันติวิธี ชุมนุมโดยสงบ ไม่ใช้อาวุธ”
และตราบจนถึงปัจจุบันนี้ ทางการสืบสวนสอบสวนของตำรวจก็ไม่พบ “ชายชุดดำ (ตามที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ขนานนาม)”
“หลักฐานและพยานเรื่องชายชุดดำก็ยังไม่มีจนถึงทุกวันนี้”
การเสียชีวิตของทหารที่ถนนดินสอ
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก็ปรากฏหลักฐานจากการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจและกองพิสูจน์หลักฐานของทางราชการว่า
เป็นการเสียชีวิตจาก “ระเบิดเอ็ม 67 ไม่ใช่กระสุนเอ็ม 79 ดังที่รัฐบาลอภิสิทธิ์กล่าวหา”
ซึ่งระยะขว้างหวังผลของระเบิดเอ็ม 67นั้น อยู่ในระยะ 40-40 เมตรเท่านั้นเองไม่เกิน 100เมตร
ในขณะที่ถนนดินสอ มีทหารจำนวนมากถึง 15 กองร้อยยึดครองพื้นที่อยู่เต็มไปหมด
ระเบิดถูกนายทหารยศพลตรีหนึ่งนาย ยศพันเอกหนึ่งนาย พลทหารสองนาย
สเก็ดระเบิดที่พบในศพของพลทหารทั้งสองนายและนายทหารพันเอกเป็นสะเก็ดระเบิดแบบ เอ็ม
67 ตามรายงานหลักฐานการพิสูจน์ของตำรวจแน่นอน
และกองเลือดที่พบในที่เกิดเหตุก็ตรงกับดีเอ็นเอของนายพันเอกและพลทหารสองนายดังกล่าว
รวมทั้งที่เกิดเหตุมีหลุมระเบิดสองหลุมซึ่งพิสูจน์โดยผู้เชี่ยวชาญและยืนยันแล้วว่าเป็นหลุมจากการระเบิดของระเบิดแบบเอ็ม
67 ในหลุมยังพบเศษชิ้นส่วนของสะเก็ดระเบิดแบบเอ็ม 67 อีกเช่นกัน
ส่วนการอ้างภาพชายชุดดำถืออาร์ก้า
(เอเค 47) ก็ไม่ใช่ที่ถนนดินสอ
แต่เป็นที่ถนนตะนาวเป็นถนนอีกสายต่างหากที่ห่างออกไปนับกิโลเมตร
ดังนั้นการอ้างว่าชายชุดดำยิงเอ็ม 79เพื่อสังหารนายทหารพันเอกจึงเป็นเรื่องเท็จโดยสิ้นเชิง
การตายของทหาร
5 นายในวันที่ 10 เมษายน 53 จึงไม่ได้เกิดจากอาร์ก้า (เอเค47 ) หรือจากเอ็ม 79 โดยสิ้นเชิง
การปราบปรามประชาชนตั้งแต่
10 เมษายน – 19 พฤษภาคม 53 เป็นการวางแผนอย่างดี มีการฝึกซ้อม ยกระดับทางการทหารในขอบเขตกว้างขวางทั่วกทม.
ทำในหลายระบบ มีการตัดสัญญาณสื่อสารโทรคมนาคมทุกชนิดอย่างกว้างขวางรอบบริเวณชุมนุมราชประสงค์
มีการตัดการลำเลียงอาหาร น้ำ เสบียง ยารักษาโรค ตัดเส้นทางคมนาคมไม่ให้คนเข้ามา แต่อนุญาตให้คนออกไป
เป็นการใช้อาวุธสงคราม ใช้กระสุนจริง ปิดสื่อสารโทรคมนาคม ทำลายสิทธิเสรีภาพทางการแสดงความคิดเห็น
แม้แต่สัญญาณโทรศัพท์ สถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ เว็บไซด์ต่าง ๆ
มีการใช้พลซุ่มยิง
Sniper ฆ่าประชาชนบนตึกสูงโดยรอบนับหลายสิบตึก ผู้ถูกฆ่าเป็นประชาชน
เป็นการเจตนายิงให้ตายเพราะยิงสมองหลุด ยิงหน้าอกกว่า 70%
มีการประกาศ
“เขตใช้กระสุนจริง LIFE
FIRING ZONE” บนถนนสำคัญจำนวนมากเช่นถนนพระรามที่ 4, ถนนราชปรารภ,
ถนนรางน้ำ, ถนนสามเหลี่ยมดินแดง, ถนนสามย่าน, ถนนลุมพินี เป็นต้น
วันสุดท้าย
19 พ.ค. 53 แม้ผู้นำจะยุติการชุมนุมเดินไปมอบตัวและถูกส่งไปควบคุมตัวที่ค่ายตชด.นเรศวร
ประจวบคีรีขันธ์ แล้วก็ตาม ยังมีการยิงประชาชนในเขตอภัยทานภายในวัดปทุมวนารามอย่างน้อยก็
6 ศพ โดยเฉพาะน้องเกต ถูกยิงถึง 11 นัดหลังจากนัดแรกเจาะกะโหลกศีรษะเสียชีวิตแล้วก็ยังยิงซ้ำอีกกว่าสิบนัด
ทั้งที่วัดเป็นสถานที่ห้ามฆ่าคน ห้ามฆ่าแม้แต่สัตว์ บางคนกำลังเข้าคิวรอเขาห้องน้ำ
บางคนเป็นพยาบาล บางคนเป็นอาสาสมัครช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์หลายคนเป็นประชาชนธรรมดาที่ไม่คิดว่าทหารจะฆ่าคนตามคำสั่งของรัฐบาล
ทั้งที่ยุติการชุมนุมไปแล้ว ช่างภาพที่ มีผู้สื่อข่าวที่มีเครื่องหมายชัดเจน
ยิ่งเป็นเป้าหมายที่ยิงแบบให้เสียชีวิตเพื่อขัดขวางไม่ให้ปฏิบัติหน้าที่เหล่านี้
ล้วนเป็นการวางแผนฆ่าประชาชนอย่างโหดร้ายป่าเถื่อน เพียงเพื่อรักษาอำนาจของตนไว้ในฐานะนายกรัฐมนตรี
และสิ่งนี้เกิดในประเทศไทยซ้ำแล้วซ้ำอีก ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองมา 80 ปีแล้ว
ยังไม่มีประชาธิปไตยที่แท้จริงในประเทศไทย มีแต่อำนาจเผด็จการ รัฐประหาร และการฆ่าคนซ้ำแล้วซ้ำอีกเกือบสิบครั้ง เพราะฆาตกรไม่เคยได้รับโทษทางกฎหมายแต่อย่างใด
ไม่เคยต้องรับผิดภายในประเทศ เพราะศาลยอมรับอำนาจของคณะรัฐประหารโดยกล่าวว่า
“การรัฐประหารที่ชนะถือเป็นรัฐฎาธิปัตย์” และพวกรัฐประหารสามารถเขียนกฎหมายตามใจชอบ
ครั้งสุดท้ายนี้มีทั้งการวางแผนที่พวกเขาอ้างเป็นตำราแห่งความสำเร็จ
ในการยกระดับเป็นแบบเรียนทางทฤษฎีในการปราบปรามประชาชนอย่างน่าภาคภูมิใจของพวกเขา
เป็นการใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
กระทำกับประชาชนที่รุนแรงกว่าในอดีตทั้งหมด
และนี่จะไม่ใช่เป็นโศกนาฏกรรมครั้งสุดท้ายของประเทศไทย
ถ้านายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และผู้รับผิดชอบทางการเมืองและการทหารทั้งหมดไม่ได้รับโทษทางกฎหมายในศาลประเทศไทยหรือในประเทศใด
ประชาชนไทยจะต้องถูกฆ่าตามอำเภอใจซ้ำซากไปอีกยาวนาน
อนึ่งในประเทศไทยไม่มีประมวลกฎหมายอาญาใดๆที่จะทำการลงโทษต่อ
“การกระทำที่เป็นอาชญากรรมทำลายล้างมนุษยชาติ CRIME AGAINST HUMANITY “อย่างที่ปรากฏในธรรมนูญกรุงโรมแต่อย่างใด
จึงต้องพึ่งอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมาย
“อาชญกรรมทำลายล้างมนุษยชาติ”ของกรุงโรมแต่เพียงประการเดียวเท่านั้น.
20
มิ.ย. 55
#ICC
#ศาลอาญาระหว่างประเทศ #คนเสื้อแดง #ธิดาถาวรเศรษฐ
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์