อมธ.
จัดเสวนา "รีวิว 8
ปีชีวิตคนไทย" เปลี่ยนแปลงหรือไม่ ถกปัญหาเชิงโครงสร้าง ตอกหมุดหมายทางการเมือง
ชวนประชาชนร่วมปลดล็อกประเทศ หยุดผู้มีอำนาจคอร์รัปชั่นอำนาจอธิปไตยประชาชน
วานนี้
(11 พ.ย. 2565) ที่ห้องประชุม JM402 ชั้น 4 อาคารคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์ เวลา 17.00 - 19.00 น.องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์ ได้มีการจัดเสวนาวิชาการในหัวข้อ "รีวิว 8 ปีชีวิตคนไทย" โดยมีผู้ร่วมเสวนา คือ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย, นายรังสิมันต์ โรม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคก้าวไกล, ดร.กฤดิกร
วงศ์สว่างพานิช นักวิจัยสถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี และ รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินรายการโดย ปัญญดา
คล้ายโพธิ์ทอง
ก่อนเริ่มการเสวนา
น.ส. ปุริมปรัชญ์ นงนุช อุปนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
กล่าวเปิดงาน ระบุว่า องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
เล็งเห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการบริหารประเทศของผู้ที่มีอำนาจ
ซึ่งเป็นไปอย่างด้อยประสิทธิภาพ
ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนในทุกด้านตกต่ำลง ซึ่งตัวชี้วัดที่เห็นได้ชัดคือปัญหาปากท้อง
ความเป็นอยู่ความปลอดภัยในชีวิตและสิทธิมนุษยชน
ที่ควรพัฒนาข้างหน้าให้ทันกับบริบทยุคสมัยของสังคม
ไม่ควรที่จะถอยหลังสวนทางกับการพัฒนาของสังคมโลก
ความมุ่งหวังในการจัดเสวนาในครั้งนี้
เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย ตลอด 8 ปี
ที่ผ่านมาในเชิงวิชาการและเป็นหมุดหมายสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชนอย่างเปิดกว้าง
นายณัฐวุฒิ
กล่าวว่า 8
ปีที่ผ่านมาไม่เห็นความเปลี่ยนแปลง
และความไม่เปลี่ยนแปลงที่เห็นนั้นมีความกระทบอย่างยิ่งต่อสังคมไทย
นั่นคือเรื่องโครงสร้างอำนาจ
พวกเขาใช้กำลัง
อำนาจ อิทธิพล หยุดรั้งประเทศไทยไว้
และพยายามดึงให้ถอยหลังเพื่อที่จะให้สังคมไทยห่างจากคำว่าเปลี่ยนแปลงมากที่สุด
ไกลที่สุด เท่าที่พวกเขาจะทำได้ จึงเป็นการรัฐประหาร
ร่างรัฐธรรมนูญเพื่อสืบทอดอำนาจเผด็จการและเป็นปรากฏการณ์หลาย ๆ อย่าง
เพื่อสร้างเสถียรภาพแห่งความไม่เปลี่ยนแปลง
ซึ่งสวนทางอย่างยิ่งกับธรรมชาติของสังคมมนุษย์และความเป็นไปของสังคมโลก
และความไม่เปลี่ยนแปลงนี้ไปปรากฏในหลายรูปแบบ
ในมิติทางเศรษฐกิจเราจะเห็นกลุ่มทุนผูกขาดทั้งหลายแข็งแรงขึ้น มั่นคงขึ้น
ขยายพื้นที่ผลประโยชน์มากขึ้น รูปธรรมที่ชัดเจนสุดที่เพิ่งเกิด
คือการถูกคว่ำพ.ร.บ.สุราก้าวหน้า นี่คือเรื่องของการตอกหมุด
ตรึงฐานผลประโยชน์ของกลุ่มทุนผูกขาดซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยยะสำคัญกับกลุ่มอนุรักษ์นิยม
เราเชื่อว่าไม่มีรัฐใดในโลก
ในยุคปัจจุบัน ที่กล้าประกาศต่อสังคมโลกว่ามีการประกาศยุทธศาสตร์ล่วงหน้าไว้ 20 ปี
และกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ หากรัฐบาลชุดต่อมาไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดตามกฎหมาย
และนี่คือความไม่เปลี่ยนแปลงที่กระทบต่อสังคมไทยอย่างรุนแรงในเวลานี้
ปัญหาของบ้านเมืองนี้ก็คือมีคนที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
ในสังคมมนุษย์ใดก็ตามที่มีคนใช้อำนาจ ใช้อิทธิพล สกัดกั้นความเปลี่ยนแปลง
มันก็จะเกิดปัญหาเดิมซ้ำ ๆ แบบที่เรากำลังเจอและคุยกันอยู่นี้
คนพวกนี้ที่ยึดกุมอำนาจรัฐด้วยวิธีนอกระบบก็จะสร้างรัฐราชการ ในนามของความดี
และเอ่ยอ้างถึงความจงรักภักดี ก็ย้อมสีให้คำว่านักการเมืองจากประชาชนเป็นคนชั่วคนเลวคนร้าย
ยอมรับหรือไว้วางใจไม่ได้ ความคิดที่ไม่ยอมรับในความเปลี่ยนแปลงนี้
พวกเขาไม่เชื่อในประชาธิปไตย ไม่ไว้วางใจประชาชน ไม่ยอมรับว่าคนเท่ากัน
เมื่อผู้มีอำนาจปฏิเสธความเปลี่ยนแปลงเสียแล้วจึงหลีกหนีความขัดแย้งไม่พ้น
เพราะพลังของความเปลี่ยนแปลงปรากฏขึ้นชัดทุกที
นายณัฐวุฒิ
กล่าวต่อไปว่า ตนพูดตั้งแต่ปี 50 51 เรื่อยมา เรื่องการต่อสู้ระหว่างชนชั้น
ในสังคมไทยและก็จะไม่เปลี่ยนคำพูด เพราะตนเห็นภาพนี้ กลุ่มอำนาจของชนชั้นนำ
เครือข่ายผลประโยชน์อนุรักษ์นิยม ที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
มิได้เป็นแหล่งรวมของชนชั้นนำ พร้อมความสมบูรณ์พูนสุขคาบช้อนเงินช้อนทองเท่านั้น
แต่กลุ่มอำนาจกลุ่มผลประโยชน์นี้
พร้อมที่จะเป็นยานแม่ดูดชนชั้นล่างที่เติบโตหรือมีศักยภาพในวิถีของตน
เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสยบยอมรับใช้ แล้วก็เอื้อประโยชน์ต่างตอบแทนกัน
ประเทศนี้ได้คอรัร์ปชั่นอำนาจอธิปไตยของประชาชน
ร่างรัฐธรรมนูญแล้วหักหัวคิว ประชาชนไปให้ส.ว. 250 คน
โหวตนายกรัฐมนตรีได้ ประเทศนี้คอร์รัปชั่นหลักนิติธรรมของประชาชน
มีการเลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรม มีการเลือกข้าง
การใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมกระทำต่อฝ่ายตรงข้าม ต่อชนชั้นล่าง
ต่างกรรมต่างวาระ นี่เป็นการทุจริตคอร์รัปชั่นอีกแบบหนึ่ง
กำลังเกาะกินและกำลังขี่บ่าคนไทย อยู่จนถึงวันนี้ นายณัฐวุฒิกล่าว
คำถามสำคัญก็คือใครคือเจ้าของอำนาจอธิปไตยตัวจริงของประเทศนี้
คำถามนี้ยังไม่มีคำตอบ ระหว่างประชาชนหรือคนบางคนบางกลุ่มกันแน่
ถ้ามีคำตอบนี้ที่ชัดตรงไปตรงมาเรา ก็จะเดินต่อได้
เราสามารถที่จะมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งเข้ามาจัดการบริหารงบประมาณ
สร้างรัฐสวัสดิการ มาปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่น
ประเทศนี้ทุกครั้งที่มีการรัฐประหาร
นายทหารก็ประกาศว่าเขาทำเพื่อประชาธิปไตย สืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหารก็บอกว่าทำในนามของระบอบประชาธิปไตย
ในรัฐธรรมนูญ 60
ก็ถูกคนกลุ่มหนึ่งบอกว่า นี่แหละประชาธิปไตย เขียนรัฐธรรมนูญ
เติมคำใน ช่องว่างได้คำเดียวว่านายกรัฐมนตรีต้องชื่อประยุทธ์ จันทร์โอชา ส.ว. 250
คน ที่ประวิทย์เลือก ประยุทธ์ตั้งก็บอกว่าประชาธิปไตย
นายณัฐวุฒิ
ระบุว่า ตนไม่ได้เป็นมนุษย์ที่คลั่งประชาธิปไตย
แต่เป็นมนุษย์ที่กำลังเรียกร้องให้ประเทศ
ไทยปกครองในระบอบที่เราตกลงกันและประกาศต่อโลกว่าเราเป็น ต่างชาติเขาถึงจะเชื่อ
วันนี้ต่างชาติมองเข้ามาในประเทศไทยเขาไม่มีความเชื่อมั่น การลงทุนจึงไม่มา
ปฏิสัมพันธ์กับนานาชาติจึงกระท่อนกระแท่นมีปัญหา
เศรษฐกิจสังคมไปสู่จุดที่เราคาดหวังและเรียกร้องกันยาก
เพราะตราบใดที่ฝ่ายผู้มีอำนาจเขาเห็นต่างเขาไม่อยากได้
เขาก็ไม่ทำและไม่ยอมให้มันเป็น
ปัญหาของสังคมคือคนที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
ซึ่งที่สุดวันหนึ่งก็จะรู้ว่าต่อให้คัดค้านทัดทานอย่างไร
คุณก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงนี้อยู่ดี
ลองยอมรับและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงไปด้วยกันบ้านเมืองจะมีสัญญาณที่ดี
เมื่อเราเป็นประชาธิปไตยกันจริง
ๆ นั่นก็หมายความว่าเราต้องมีรัฐธรรมนูญของประชาชนผ่านการทำประชามติ
เราต้องมีหลักนิติธรรมในการบังคับใช้กฎหมาย
ต้องมีการแข่งขันเสรีทางการค้าที่ถูกต้องชอบทำตามหลักสากล ต้องมีการจัดการทรัพยากร
อย่างเป็นธรรมต่อประชาชนทุกกลุ่มทุกสถานะ
เราจะเกิดสิ่งเหล่านี้ถ้าเรามีประชาธิปไตยแท้ ๆ กันเสียที
ถ้าเรายังไม่มีประชาธิปไตย สิ่งต่าง ๆ ก็จะถูกขัดขวางแน่ ๆ
ปัญหาประเทศจึงแก้ได้ด้วยการล้มรัฐบาลชุดปัจจุบันนี้ด้วยการเลือกตั้ง
นายณัฐวุฒิกล่าว
ด้าน
ษัษฐรัมย์ กล่าวว่า ปัจจัยแรกความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
ความเหลื่อมล้ำที่มีมากขึ้น สิ่งที่เห็นคือคนรุ่นใหม่ที่สูญเสียความฝัน
เห็นคนรุ่นใหม่ที่เริ่มต้นชีวิตด้วยความเป็นหนี้ เห็นแม่ที่ต้องไปกู้นอกระบบเพื่อจ่ายค่านมให้ลูก
สิทธิขั้นพื้นฐานในชีวิตถูกปล้นไปจากกลุ่มชนชั้นนำไม่กี่กลุ่ม
สร้างความเปราะบางทางเศรษฐกิจมหาศาล
ปัจจัยที่สองเรื่องการเมืองจากการรัฐประหารการสืบทอดอำนาจ
ทำให้ขาดจินตนาการที่เราจะสามารถมีพรรคการเมืองที่สามารถเป็นกระบอกเสียงของเราในการดันเพดานทุกอย่างได้
8 ปี มานโยบายด้านสวัสดิการจึงไม่มีความเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยที่สาม
การกระชับอำนาจของฝั่งจารีตนิยม มาในรูปแบบของเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นกองทัพ
ยิ่งสังคมเหลื่อมล้ำเท่าไหร่เครือข่ายจารีตนิยมจะทำงานได้ดียิ่งขึ้น พวกเขาก็จะผูกขาดทุกความเป็นไปได้
ทุกความเป็นไปไม่ได้ของสังคมนี้ ชนชั้นนำจะเย็บติดอดีตและปัจจุบันเข้าไว้ด้วยกัน
แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังมีความหวังกับคนรุ่นใหม่
เชื่อว่า สังคมนิยมประชาธิปไตยจะเป็นภาษาที่ 2 ของคนรุ่นใหม่
ที่ทุนนิยมจะไม่สามารถเป็นคำตอบได้ต่อไป เรากำลังพูดถึงสิ่งที่ก้าวหน้ามากกว่าที่เราเคยมี
นั่นคือตัวแบบของรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าจะเปลี่ยนแปลงตามที่เราปรารถนากัน
ษัษฐรัมย์
กล่าวอีกว่า อยากเรียกร้องให้พรรคการเมืองมีความกล้าหาญมากกว่านี้
เราเจ็บปวดกับเลือดเนื้อและน้ำตา ชีวิตของประชาชนมามากแล้ว ไม่มีประเทศไหนในโลกนี้หรอก
ที่ล่มสลายเพราะดูแลเด็กและคนแก่ ทำให้คนได้เรียนหนังสือฟรี
ทั้งนี้
เราไม่ได้ต้องการแค่ความเห็นใจหรือความสงสารในเรื่องของรัฐสวัสดิการ
แต่เราต้องการความเปลี่ยนแปลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราทำคนเดียวไม่ได้
เราต้องการนักการเมืองที่กล้าหาญ นักการเมืองที่เข้าใจชีวิตของประชาชน
ประเทศนี้มีทหารประจำการ
(ไม่รวมทหารเกณฑ์) 400,000
คน ไม่ได้ไปรบกับรัสเซียยูเครนที่ไหน ประเทศนี้มีหมอที่ทำงานวันละ 48
ชั่วโมง ผมไม่ได้พูดผิดประเทศไทยมีหมอที่ทำงานวันละ 48 ชั่วโมงควบกะ ยาวไปเพราะหมอไม่เพียงพอ หมอมีอยู่ 50,000 คน ดูแลคนกว่า 60 ล้าน ในระบบสปสช. หมอพยาบาลขาดแคลน
ครูอนุบาลขาดแคลนแต่มีทหารอยู่ 4 แสนคน
โดยทั้งหมดนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ที่สันติที่สุด
ทั่วโลกพิสูจน์มาแล้วไม่ว่าจะเป็นการผลักดันเรียกร้องรวมตัวของประชาชน
หรืออะไรต่าง ๆ เราจำเป็นต้องใช้พื้นที่ก่อนการเลือกตั้งส่งเสียงพึงพรรคการเมือง
ด้วยท้ายที่สุดแล้วก็คือการเลือกตั้ง
แต่การเลือกตั้งเราจะไม่ได้อะไรเลยถ้าเราไม่ส่งเสียงในสิ่งที่เราต้องการ ถ้าเราปล่อยเรื่องนี้ให้เป็นยุทธศาสตร์ของชนชั้นนำอีกครั้ง
ษัษฐรัมย์ กล่าว
ขณะที่
กฤดิกร มองว่า เห็นความเปลี่ยนแปลงใน 8 ปี คือ ความพยายามไม่ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงให้ได้ของฝั่งอนุรักษ์นิยมสุดขั้ว
มองว่าอนุรักษ์นิยมเห็นถึงความพยายามในการเปลี่ยนแปลงของฝั่งตรงข้ามจึงพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
ซึ่งเกิดจากพลวัตของการเปลี่ยนแปลง ของทั้งสองฝั่ง ทั้งฝั่งประชาชนเองและฝั่งชนชั้นนำ
อนุรักษ์นิยมจึงคิดค้นนโยบายที่จะให้ประชาชนลืมตาอ้าปากได้ต้องอยู่กับบุญคุณของรัฐบาลจึงเกิดเป็นนโยบายที่เรียกว่าประชารัฐ
ฝ่ายอนุรักษ์นิยมเขาเห็นว่า
การกำจัดผีทักษิณนอกเกมครั้งแล้วครั้งเล่าแต่ผีทักษิณก็ฆ่าไม่ตายสักที สุดท้ายแล้ว
8 ปี ที่เราเห็น คือการยอมรับความจริงว่า สู้นอกเกมไม่ชนะแล้ว
ต้องหาทางมาสู้ในเกม ในเกมที่ว่านี้ก็คือการเลือกตั้ง
อนุรักษ์นิยมก็จะมีทั้งศาลรัฐธรรมนูญ กกต. หลากหลายเครื่องมือ
ที่สุดก็สร้างเงื่อนไขที่ทำให้เกิดผีตัวใหม่ขึ้นมาก็คือผีอนาคตใหม่
จนที่สุดฝั่งอนุรักษ์นิยม ตอบโต้ด้วยการสร้างนโยบาย
ที่เรียกว่าประชารัฐขึ้นมาที่ทำให้ทุกคน ในสังคมงอมืองอเท้ารอ ของชำร่วยต่าง ๆ
คือนโยบายของรัฐ ซึ่งผูกพันกันในเรื่องของบุญคุณ
กฤดิกร
ยังกล่าวอีกว่าเป็น 8
ปี ที่ประเทศเสียหายเละเทะ
พร้อมกับมีนายกฯที่มีดีอยู่เรื่องเดียวคือเรื่องอ้างความจงรักภักดี
8
ปี ผ่านมา
รัฐบาลพิสูจน์ตัวเองถึงความไม่เข้าท่าล้มเหลวในการบริหารทุกด้าน
แล้วถ้าเรายังสู้ในเกมไม่ชนะอีก จึงเป็นจังหวะที่น่าเสียดายมากกับการเลือกตั้งที่จะมาถึง
คือถ้าเขาเล่นนอกเกมก็อีกเรื่องหนึ่งแต่ในสนามเลือกตั้ง
ต้องคิดกันแล้วล่ะว่าเราจะอยู่อย่างนี้ ไปจริง ๆ หรือ กฤดิกร กล่าวทิ้งท้าย
ขณะที่
โรม มองว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดแน่นอน แต่จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
คือ
1)
การเปลี่ยนเชิงลบ เกิดการคอร์รัปชั่นในระบบราชการอย่างหนักหน่วงใหญ่หลวง
มหาศาล ไม่ว่าจะเป็นการคอร์รัปชั่นอำนาจ
มีเรื่องตัวเงินที่เป็นการเบียดบังภาษีประชาชน เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย
ซึ่งมีต้นตอที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นตั๋วช้าง ที่เคยได้อภิปรายในสภาฯ อาจจะเป็นตั๋วต่าง
ๆ ซึ่งตั๋วพวกนี้ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในวงการตำรวจแต่มันมีทุกที่
มองว่ารัฐประหารก็คือคอร์รัปชั่น
พอรัฐประหารเสร็จก็นำพวกพ้องของตัวเองมานั่งในตำแหน่งต่าง ๆ
พวกพ้องเหล่านี้ก็จะออกกฎหมายในการที่จะเอื้อหรือป้องกันคณะรัฐประหาร
นี้คือความชัดเจนในการเปลี่ยนแปลงว่าอำนาจรัฐ คนที่อยู่ในระบบราชการเขาไม่เกรงกลัวกฎหมาย
มั่นใจในตั๋วที่เขามี เขามั่นใจในระบบเส้นสายที่เขามี
ระบบเส้นสายเหล่านี้ก็เป็นต้นสายปลายเหตุที่สำคัญในปัญหายาเสพติด
การคอร์รัปชั่นในระบบราชการมีส่วนสำคัญยิ่งที่ก่อให้เกิดอาชญากรรม ในประเทศของเรา
หรือ เรื่องของบ่อน หวย ก็ตาม
2)
ความเปลี่ยนแปลงเชิงบวก เป็นการเปลี่ยนแปลงด้านคน ด้านความคิด
เราปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันนี้ความคิดของผู้คนได้เปลี่ยนแปลงไปมากไม่
ไม่รู้ว่าคือพลเอกประยุทธ์หรือเปล่า
ที่ทำให้ทุกคนได้ข้อสรุปว่า"นี่คือศัตรูของประชาชน"
ปรากฏการณ์
2563 ที่มีน้อง ๆ นักศึกษาเยาวชนคนรุ่นใหม่ ออกมาเรียกร้อง ในหลาย ๆ
ข้อที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ข้อเรียกร้องที่ทะลุฟ้าทะลุเพดานที่ไม่เคยมี
ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย ความคิดของคนเปลี่ยนแล้ว
เพียงแต่ว่าโครงสร้างของอำนาจของรัฐจำกัดอำนาจของประชาชนอยู่
8
ปี ที่ผ่านมาเราจึงเห็นความเปลี่ยนแปลงทั้งเชิงลบและเชิงบวก
มีทั้งคราบน้ำตาและรอยยิ้ม
โรม
มองว่า ปัญหาไม่เคยเกิดซ้ำแต่มันไม่เคยถูกแก้เลยต่างหาก ยกตัวอย่างเช่น ยาเสพติด
บ่อน หรือทุนใหญ่ควบรวมกัน เหตุผลคือคนเหล่านี้มีคนคุ้มครองดูแลอยู่
ท้ายที่สุดพอคนจะเข้าไปแก้ไขปัญหาอะไรบางอย่าง คุณก็จะบอกว่าเรื่องนี้แตะไม่ได้นะ
ตัวอย่างเช่นที่ตนอภิปรายเรื่องตั๋วช้างก็จะมีตำรวจกลุ่มหนึ่งอ้างว่าเป็นตำรวจของพระราชา
ซึ่งก็เป็นเรื่องที่นั่งงงว่าประเทศนี้มีตำรวจของพระราชาด้วยหรือ
พอบอกว่าเป็นตำรวจของพระราชาหมายถึงคุณจะฝากใคร ตำแหน่งไหนก็ได้
แล้วระบบตรวจสอบและจับกุมจะสามารถดำเนินการได้จริงได้อย่างไร?
โรม
ยังระบุอีกว่า อยากให้ทุกคนได้มองถึงในเรื่องของการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย เชิงกลไก
เกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐ ที่ผ่านมาเราพูดถึงเรื่องคอร์รัปชั่นเรามองไปที่นักการเมืองซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดฝาผิดตัว
ถามว่านักการเมืองคอร์รัปชั่นมีไหม..มี แต่นักการเมืองคอร์รัปชั่นโดยไม่ได้รับการช่วยเหลือจากข้าราชการได้ไหม
..ไม่ได้
วาระทางการเมืองของสังคมไทยหลังจากนี้
ต้องเอาจริงเอาจังกับคอร์รัปชั่นที่มีอยู่ในระบบราชการอย่างจริงจัง
ถ้าไม่ดำเนินการอย่างจริงจัง ประเทศไทยไม่มีทางเคลื่อนไปข้างหน้าได้ โรม กล่าว
ที่ผ่านมาการช่วยเหลือของข้าราชการเหล่านี้ก็ไม่มีการตรวจสอบไปถึงเลย
มันคือความเละเทะ จึงไม่แปลกที่เราเห็นตำรวจขายข้อมูลให้กับแก๊งคอลเซ็นเตอร์
ไม่แปลกที่เราเห็นการสังหารหมู่ที่หนองบัวลำภู หรือเหตุกราดยิงที่โคราช
ซึ่งทุกวันนี้จับใครได้หรือยัง ที่ทำให้เขาตัดสินใจกราดยิงเพราะมีการคอร์รัปชั่นเกิดขึ้น
ถ้าเราสืบสายไปเรื่อย ๆ บางทีเราอาจจะไม่เหลือข้าราชการ
ที่อยู่ในระบบถ้าเราจับไปทั้งหมด
ที่ผ่านมา
ประเทศเรา ไม่ได้ใช้งบประมาณ ไปสู่การที่ทำให้คุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนดีขึ้น
เงินจำนวนมากถูกใช้ไปหล่อเลี้ยงระบบราชการ ซึ่งเต็มไปด้วยการคอร์รัปชั่น
ทำให้ข้าราชการหรือนายพลระดับสูงมีความเป็นอยู่ที่สบาย
ในขณะเดียวกันข้าราชการระดับล่าง มีความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก
ต้องไปหากินกับธุรกิจที่ผิดกฎหมาย
ดังนั้นเราต้องกลับมาทบทวนในเรื่องของการใช้งบประมาณใหม่
ถึงเวลาแล้วที่เราต้องกลับมาปฏิรูป
ให้กองทัพมีที่ดินเท่าที่จำเป็น สนามกอล์ฟไม่มีได้ไหม สนามมวยไม่มีได้ไหม
บ้านพักลดความหรูลงมาได้ไหม เพื่อคืนทรัพยากร ให้เป็นของประชาชน
ธุรกิจของกองทัพที่มี สามารถขึ้นตรงกับคลัง
เพื่อให้เอาเงินตรงนั้นไปพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน และสนับสนุนให้เกิดรัฐสวัสดิการ
เรื่องของระบบเส้นสาย
ตำแหน่งต่าง ๆ จะต้องไม่มีการซื้อขายกันอีกต่อไป
ซึ่งก็จะทำให้ธุรกิจที่ผิดกฎหมายจำนวนมากหายไป
ประเทศไทยจะเดินหน้าได้อย่างไรถ้าความยุติธรรมไม่คืนกลับมาหาประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยเลย
เรา จำเป็นต้องนิรโทษกรรม ที่ใช้เกณฑ์วัดคือแรงจูงใจทางการเมืองเป็นตัวตั้ง
ถ้าคุณมีแรงจูงใจทางการเมืองไม่ว่าคุณจะถูกดำเนินคดีในข้อหาใด(ยกเว้นความผิดต่อชีวิตและร่างกาย)
สามารถที่จะเข้าสู่กระบวนการนิรโทษกรรมให้กับทุกคน
แต่จะไม่มีการนิรโทษกรรมให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งกระบวนการตรงนี้จะเป็นการปลดล็อค
เพื่อทำให้สังคมรู้สึกว่าพร้อมที่จะเดินไปข้างหน้า โรม กล่าว
#UDDnews
#ยูดีดีนิวส์ #อมธ #รีวิว8ปีชีวิตคนไทย