"ราษฏรหยุดเอเปค" แถลงกรณีเจ้าหน้าที่ใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุม 18
พ.ย. 65 ที่ถนนดินสอ ชวนประชาชนเข้าชื่อ
"ปฏิรูปคฝ." ลั่นฟ้องกลับแน่นอนเพื่อไม่ให้พ้นผิดลอยนวล จี้ประเทศร่วมลงนาม
BCG ให้ทบทวนข้อตกลงร่วม
วานนี้
(28 พ.ย. 65) เวลา 19.00 น.
ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (FCCT) กลุ่มราษฎรหยุดเอเปค2022
นำโดย น.ส.ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือ มายด์, นายธนพัฒน์ กาเพ็ง หรือ ปูน ทะลุฟ้า, นายนิติกร
ค้ำชู หรือ ตอง ดาวดิน และนายจำนงค์ หนูพันธ์ ประธานคณะกรรมการบริหารกลุ่มแนวร่วมขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม
(พีมูฟ) ร่วมกันแถลงกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน
ใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐในการสลายชุมนุมเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน บริเวณถนนดินสอ
รวมถึงข้อเรียกร้องและแนวทางการเคลื่อนไหวต่อจากนี้ โดยมี นายเยี่ยมยุทธ์
สุทธิฉายา สำนักข่าวประชา เป็นผู้ดำเนินรายการ อีกทั้งช่วงหนึ่งได้วิดีโอคอล
น.ส.หทัยรัตน์ พหลทัพ บก.สื่อออนไลน์เดอะอีสานเรคคอร์ด เล่าถึงเหตุการณ์กรณีผู้สื่อข่าวอิสระในสังกัดถูกจับกุมและถูกทำร้ายด้วย
นายนิติกร
กล่าวว่า ในเหตุการณ์วันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมานั้น
มีความพยายามของเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนในการสลายชุมนุมถึง 2 ครั้ง
และเกิดประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายเรื่อง
และไม่เป็นไปตามกฎหมายพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ
เพราะไม่มีการขอหมายศาลในการเข้าสลายชุมนุม
มีการใช้ความรุนแรงที่ไม่เป็นไปตามสัดส่วนหรือเกินกว่าเหตุ ไม่มีมาตราการจากเบาไปหาหนัก
และไม่มีการแจ้งในการใช้กระสุนยาง ไม่ได้ใช้ตามหลักสากล เพราะมีการยิงเข้าจุดสำคัญ
ทั้งบริเวณตัว และใบหน้า
อีกทั้งเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนในวันนั้นมีการใช้โล่ที่มีผ้าสีดำคลุมไว้
เหมือนมีเจตนาปิดบังตัวตน และก่อนที่จะมีการประชุมเอเปก
มีเจ้าหน้าที่ไปคุกคามนักกิจกรรมทั้งในกทม.และในต่างจังหวัด อาทิ ไปหาที่บ้าน
ไปถามว่าจะไปชุมนุมหรือไม่ ฯลฯ
โดยเฉพาะนักศึกษารามคำแหงถึงกับถูกเจ้าหน้าที่ถูกบุกจับตัวถึงที่บ้าน
นิติกร
ได้เชิญชวนประชาชน เข้าร่วมลงรายชื่อผ่านเว็บไซต์ change.org เรียกร้องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติปฏิรูปตำรวจควบคุมฝูงชนเพื่อให้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยสากล
สำหรับการสรุปบทเรียนเหตุการณ์สลายชุมนุมที่เกิดขึ้นเมื่อ
18 พฤศจิกายน นิติกรระบุว่า ไม่ได้ประเมินว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้
เป็นความผิดพลาดของพวกเราที่ประเมินเขาต่ำไป
ได้บทเรียนว่าประเทศนี้อะไรก็เกิดขึ้นได้ ในครั้งหน้าต้องประเมินความปลอดภัยมากขึ้น
ให้ความสำคัญกับเครื่องมือป้องกันยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ประเด็นเปิดชื่อเจ้าหน้าที่ที่ใช้ความรุนแรง
ได้ใช้กลไกรัฐสภาคือการเข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการ (กมธ.) 2 ชุด
คือ กมธ.การพัฒนาการเมืองฯ และกมธ. กฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน
ซึ่งมีอำนาจในการเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาให้ข้อมูล
นอกจากนี้กรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ก็น่าจะมีการตรวจสอบเรื่องนี้ด้วยเช่นเดียวกัน
จากนั้นนายนิติกร
ได้ระบุว่า ในวันที่ 13
ธันวาคมนี้จะเป็นนัดแรกสำหรับผู้ต้องหา 25 รายที่ถูกแจ้งข้อหาจากเหตุการณ์ชุมนุมเมื่อ
18 พฤศจิกายนในการส่งตัวอัยการ จึงขอชวนประชาชนให้ร่วมจับตาการเคลื่อนไหวต่อไปด้วย
ด้านนายจำนงค์
กล่าวว่า การประชุมเอเปค ไม่ได้มีประชาชนมีส่วนร่วม และไม่ได้รับประโยชน์
แต่มองว่าการประชุมนั้นจัดเพื่อให้ประโยชน์กับนายทุน จึงจำเป็นต้องออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องและเคลื่อนขบวนจนเกิดการสลาย
ซึ่งไม่คิดว่าเจ้าหน้าที่จะกล้าสลายการชุมนุมเป็นเรื่องที่ต้องหาผู้ที่มารับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิอย่างรุนแรง
ขณะที่
ภัสราวลี ระบุว่า จุดประสงค์หลักของราษฎรหยุดเอเปค2022 คือการให้ข้อมูลเชิงทรัพยากรที่เกี่ยวกับ
นโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ว่าหากผ่านไปได้
ประชาชนจะได้รับผลกระทบจากเรื่องที่ดินอย่างไรบ้าง อีกทั้ง
การจัดการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้ประเทศที่ลงนามในนโยบาย BCG ทบทวนถึงความถูกต้อง และความเป็นธรรมของประชาชน เพราะการประชุมเอเปคครั้งนี้
ไม่ได้มีประชาชนเข้าเป็นส่วนร่วมด้วยเลย จึงอยากให้สถานทูตที่เข้าร่วมประชุม
ได้ทบทวนอีกครั้ง
วันนี้
(28 พ.ย.) ทางกลุ่มได้ไปยื่นข้อเรียกร้องกับสถานทูต 8 ประเทศ
ที่เกี่ยวข้องกับการประชุมเอเปก ให้ทบทวนการลงนาม BCG เพราะนโยบายนี้ทางกลุ่มมองว่าไม่เป็นธรรมกับประชาชนระดับรากหญ้า
รวมถึงได้เรียกร้องให้ประเทศที่เข้าร่วมการประชุม และลงนามข้อตกลงรับผิดชอบร่วมกันกดดันให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ออกมาขอโทษและรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น รวมทั้งหาตัวผู้กระทำผิด
หรือใช้กำลังเกินกว่าเหตุ มาลงโทษทั้งทางวินัยและทางอาญา
และรับประกันว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในการสลายการชุมนุมอีกในอนาคต
และเปิดชื่อของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน
สำหรับคำถามเกี่ยวกับความรุนแรงที่เกิดจากฝ่ายผู้ชุมนุม
อาทิ พระสงฆ์ที่กระโดดถีบคฝ. และภาพผู้ชุมนุมใช้ไม้ตีตำรวจนั้น น.ส.ภัสราวลี
ตอบว่า วันนั้นหลวงพ่อไม่มีอาวุธและถูกยิงที่ท้ายทอยด้วย
ส่วนภาพผู้ชุมนุมใช้ไม้หน้าสาม
ทราบว่าเป็นการพยายามช่วยไม่ให้ผู้ชุมนุมคนอื่นถูกเจ้าหน้าที่จับ
ภัสราวลี
มองว่า ไม่ว่าจะมีบุคคลใดในที่ชุมนุมที่ใช้ความรุนแรง
หน้าที่ของตำรวจคือการนำตัวออกมาไม่ใช่การสลายการชุมนุม และไม่ถือเป็นความชอบธรรมที่จะเอากระบองมาตีประชาชน
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะมีการฟ้องกลับอย่างแน่นอน
ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมหลักฐาน และพยาน โดยจะทำอย่างรัดกุมที่สุด
เพื่อไม่ให้เกิดการพ้นผิดลอยนวลอีกต่อไป
ด้าน
ธนพัฒน์ ปูน ทะลุฟ้า กล่าวว่า การชุมนุมของกลุ่มราษฎรหยุดเอเปค2022 ในครั้งนี้
คือการการเปิดเวทีคู่ขนานกัน เพื่อถ่ายทอดข้อมูล
และไปยื่นเรื่องร้องต่อผู้นำต่างประเทศที่เข้าร่วมประชุม ซึ่งในเหตุการณ์วันที่ 18
พ.ย. มีผู้ชุมนุมอย่างน้อย 21 ราย
ถูกทำร้ายร่างกาย ได้รับบาดเจ็บสาหัส 1 รายคือ “พายุ ดาวดิน”
ด้วยการต้องสูญเสียดวงตาข้างขวา ซึ่งเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุมาก ๆ
อีกทั้งเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการก็ไม่มีชื่อและไม่เปิดเผยว่ามาจากหน่วยงานไหน
เมื่อเกิดสภาวะไร้หน้าไร้ชื่อ เจ้าหน้าที่ก็เหมือนจะไร้ความเป็นมนุษย์ไปด้วย มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและไม่ปฏิบัติตามกรอบกติกาของสากล
สะท้อนให้เห็นถึงการลิดรอนสิทธิในประเทศไทย
ธนพัฒน์
ยังได้เชิญชวนประชาชน ช่วยกันจับตา ในวันที่ 7 ธ.ค. จะมีการไต่สวนถอนประกัน “โจเซฟ”
และ 15 ธ.ค. ไต่สวนถอนประกัน “เก็ท โมกหลวงริมน้ำ” และ “ใบปอ
ทะลุวัง” รวมถึงนักกิจกรรมคนอื่น ๆ ที่เข้าร่วมการชุมนุมในช่วงการประชุมเอเปค
และมีกลุ่ม ศปปส.ไปยื่นถอนประกันไว้แล้ว
ทั้งนี้ประชาชนสามารถร่วมลงชื่อเรียกร้องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติปฏิรูปตำรวจควบคุมฝูงชน
ได้ที่ https://bit.ly/3XCMeoW โดย ดาวดิน สามัญชน ระบุว่า เพื่อแสดงพลังของจริง
ประชาชนตัวจริงเปิดชื่อแล้ว รบกวนพวกที่บอกตัวเองว่าของจริง กล้าเปิดชื่อหน่อย
#UDDnews
#ยูดีดีนิวส์ #ราษฎรหยุดAPEC2022