แลไปข้างหน้ากับ
ธิดา ถาวรเศรษฐ EP.103
ประเด็น
: แนวคิดทางการเมืองของประชาชนกับผลการเลือกตั้งในปี 2566
สวัสดีค่ะ
เราไม่ได้พบกันประมาณหนึ่งสัปดาห์
ส่วนใหญ่ดิฉันก็เอาเรื่องความทรงจำที่น่าจะเป็นประโยชน์ได้กลับมาให้อ่านกันอีกครั้งหรือฟังกันอีกครั้งหนึ่ง
ดิฉันอยากจะเรียนฝากไว้ว่า ถ้าใครไม่ได้ไปดูนะคะ
ไม่ว่าจะเป็นกรณีการพูดเรื่องปัญหา 112, การพูดเรื่อง ICC หรือคำแถลงที่
ICC อะไรก็ตาม เหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์
ดิฉันคิดว่าเป็นประโยชน์และยังเข้ากับเหตุการณ์ในยุคปัจจุบัน
และยังเป็นภารกิจที่เราต้องทำต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการทวงความยุติธรรมให้กับประชาชน
เยาวชนในปัจจุบันและเหตุการณ์ในอดีต เพราะฉะนั้นปัญหาการทวงความยุติธรรมยังเป็นเรื่องสำคัญ
คดีความตั้งแต่ปี 2553 มาจนถึงปัจจุบันก็มี ดังนั้นดิฉันฝากให้กลับไปดูด้วยนะคะ
อีกเรื่องหนี่งที่สำคัญก็คือ
เวทีทางรัฐสภา ดังนั้นที่ดิฉันจะพูดในวันนี้ก็คือ
“แนวคิดทางการเมืองของประชาชนกับผลการเลือกตั้งในปี 2566”
ในช่วงนี้ก็มีผลโพลออกมามากพอสมควร
สำหรับดิฉันได้ติดตามผลการเลือกตั้งต่าง ๆ
เพราะว่ามันเป็นสนามการต่อสู้ของประชาชนอย่างสันติวิธีอีกสนามหนึ่ง สำคัญมาก! ถึงแม้ดิฉันไม่ได้อยู่ในเวทีนั้น
ดิฉันอยู่ในขาของการต่อสู้ประชาชนนอกรัฐสภา
แต่ดิฉันถือว่าการต่อสู้ในเวทีรัฐสภาสำคัญ และจะเอาข้อสังเกตจากมุมมองของดิฉันมานำเสนอในวันนี้
คือการต่อสู้ในรัฐสภา
หลายคนก็อาจจะพูดเรื่อง “กระแส”
เรื่องของบุคคล ผู้นำพรรค ว่าได้รับความเชื่อถือมั้ย? หรือนโยบาย
ส่วนหนึ่งนะ และอีกส่วนหนึ่งก็คือการใช้ “กระสุน”
กระแส-กระสุนและการใช้นโยบายที่เอาใจประชาชน
ดังนั้น
รอบที่แล้วเราจะเห็น “พรรคพลังประชารัฐ” เขามีนโยบายออกมามากมายและไม่ได้ทำเลย
ส่วน “พรรคภูมิใจไทย” ก็พูดเรื่องกัญชาอย่างภาคภูมิใจและใช้ความพยายามจะทำ
อันนั้นก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง หรือว่านโยบายของ “พรรคเพื่อไทย” ในยุคก่อนหน้านี้ในเรื่องจำนำข้าว
แล้วก็นโยบายของ “พรรคประชาธิปัตย์” ก็เป็นประกันราคาข้าว
แล้วในขณะนี้เราก็จะเห็นนโยบายของ “พรรคก้าวไกล” ซึ่งออกมาในลักษณะของรัฐสวัสดิการ
คือตั้งแต่เกิดจนตายและในแต่ละช่วงอายุ ซึ่งนี่ก็เป็นนโยบาย แต่ว่าในทัศนะดิฉัน
ดิฉันจะพูดเรื่องความคิดทางการเมืองของประชาชน
ในทัศนะของดิฉัน
สังคมไทยเราสามารถแบ่งคนเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ
กลุ่มหนึ่งยังสนับสนุนอำนาจนิยมและจารีตนิยม ถ้าพูดก็คือเป็นขวาสุดขั้ว ในอดีต
พรรคการเมืองที่เป็นตัวแทนความคิดจารีตหรืออนุรักษ์นิยมก็คือ
“พรรคประชาธิปัตย์” แล้วรัฐธรรมนูญ 2540 ก็ทำให้เกิด
2 พรรคใหญ่ “พรรคเพื่อไทย” หรือ “พรรคไทยรักไทย” ขณะนั้น
ก็กลายเป็นพรรคตัวแทนของแนวคิดเสรีนิยม และ “พรรคประชาธิปัตย์”
ก็เป็นตัวแทนของพรรคฝ่ายอนุรักษ์นิยม จารีตนิยม แต่เมื่อมีการทำรัฐประหาร 2549 และ
2557 มันก็ทำให้นอกจากเป็นจารีตนิยมแล้ว ก็กลายเป็นฝ่ายสนับสนุนอำนาจนิยมด้วย
แล้วก็มีอนุรักษ์นิยมบางพวกซึ่งไม่ถึงกับเป็นขวาสุดโต่งแต่เป็นอนุรักษ์นิยม
ดิฉันพอจะแบ่งคร่าว ๆ คนไทยเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มหนึ่งก็คือกลุ่มจารีตนิยม
อำนาจนิยม คือไม่ได้สนับสนุนเฉพาะจารีตนิยม แต่ยินดีสนับสนุนรัฐประหาร
สนับสนุนเผด็จการทหารด้วย ไม่อย่างนั้นลุงตู่แกจะมีคะแนนนิยมอยู่จำนวนหนึ่งหรือ?
กระทั่งบัดนี้
นี่คือความจริงที่เราปฏิเสธไม่ได้ว่ามีคนจำนวนหนึ่งซึ่งหนุนจารีตนิยมและอำนาจนิยม
อีกส่วนหนึ่งเป็นอยู่กลาง
ๆ จะเรียกได้ว่าเป็นอนุรักษ์นิยมอ่อน ๆ แล้วก็เสรีนิยมนิดหน่อย คือคนอนุรักษ์นิยมจำนวนหนึ่งก็ไม่ใช่สุดโต่ง
ก็เป็นอนุรักษ์นิยมที่ทันสมัยบ้าง
ยอมรับความเป็นเสรีนิยมและความทันสมัยได้ระดับหนึ่ง
แต่ก็จะลังเลระหว่างการหนุนเผด็จการทหาร กับหนุนฝ่ายประชาธิปไตย
ส่วนอีกพวกหนึ่ง
พูดได้เลยว่าเป็นกลุ่มเสรีนิยมไปจนถึงซ้ายสุด คือจากซ้ายมาจนเป็นเสรีนิยม แต่พรรคการเมืองในประเทศไทยตอนนี้ไม่มีใครบอกว่าเป็นซ้าย
แต่ว่าบุคคล (นี่เราพูดถึงบุคคล) มีตั้งแต่ซ้าย ซึ่งมีไม่มาก
ซ้ายมาจนกระทั่งถึงกลาง ๆ
คน
3 กลุ่มนี้ในอดีตนะ ดิฉันดูสัดส่วนไม่ว่าจะทำโพลหรืออะไร มันจะประมาณ 30-30-30
แต่ว่าตรงกลาง (อนุรักษ์นิยมอ่อน ๆ) สามารถขยับได้ ขยับไปทางฝ่ายเสรีนิยม
หรือขยับไปทางฝ่ายจารีตนิยม ถ้าขยับไปทางไหน? ฝ่ายนั้นจะชนะ
อันนี้พื้นฐานของทางความคิดเดิม แต่ทุกอย่างมันมีพลวัต ยกตัวอย่าง “ภาคใต้”
“ประชาธิปัตย์” ซึ่งได้ 94% ในการเลือกตั้งส.ส.ทั่วไปปี 2554 และพอมาปี 2562 “ประชาธิปัตย์” เหลือ 44% แต่ถามว่าความคิดคนเปลี่ยนมั้ย (ในปี 2562)? ดิฉันคิดว่าไม่เปลี่ยน
คือเขาไปเลือก “พลังประชารัฐ” ได้ที่นั่ง 26% “ภูมิใจไทย” 16%
อันนี้ยกตัวอย่าง ดิฉันก็คิดไม่ถึงว่า “ประชาธิปัตย์”
จะลงไปถึงขนาดนี้
เทียบผลการเลือกตั้ง 54-62 ภาคใต้ ขอบคุณภาพจาก WORKPOINT NEWS |
แล้วถามว่าโพลปัจจุบันล่ะ
ที่ดิฉันยกตัวอย่างภาคใต้ ชี้ให้เห็นความเป็นพลวัต
ปรากฏว่าภาคใต้ตอนนี้กลายเป็นว่าถ้าถามบุคคลเป็นนายกฯ ไม่ใช่ “จุรินทร์” นะ
ที่คนภาคใต้อยากให้เป็นนายกฯ กลายเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 23.94% นี่แสดงให้เห็นถึงว่าประชาชนกลุ่มนี้ก็เป็นกลุ่มจารีตอำนาจนิยม
หนุนเผด็จการทหารแทนพรรคจารีตเดิมคือ “พรรคประชาธิปัตย์”
นิด้าโพล เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน "คนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคนใต้" |
แต่พรรคการเมืองในโพลครั้งหลังนะ “พรรคประชาธิปัตย์” แนวโน้มที่จะได้ส.ส.แบ่งเขต 27.49% และส.ส.บัญชีรายชื่อ 27.64% อันนี้ก็เรียกว่าคนภาคใต้สนับสนุน “พรรคประชาธิปัตย์” แต่ว่าคนที่เป็นนายกฯ หรือคนที่เป็นผู้นำที่อยากได้เป็น พล.อ.ประยุทธ์
นิด้าโพล เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน "คนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคนใต้" |
ดิฉันอยากจะเรียนว่า
“ภาคใต้ (ไม่รวม 3 จังหวัดภาคใต้)” ในการเลือกตั้งปี 2554 มาถึง 2562
ความคิดทางการเมืองไม่ได้เปลี่ยน ยังอยู่ฝั่งจารีต อำนาจนิยม แต่เมื่อ
“ประชาธิปัตย์” ประกาศไม่หนุนฝ่ายรัฐประหารตอนการเลือกตั้งปี 2562 ด้วยหรือเปล่า?
คือกลายเป็นว่าเขาเลือกที่จะเลือก “พลังประชารัฐ” เลือกนายกฯ ที่มาจาก 3ป มากกว่า
เขาไม่ได้มาแบ่งคะแนนให้ “พรรคเพื่อไทย” นะ ในการเลือกตั้งปี 2562 เพราะฉะนั้น
ความคิดทางการเมืองของภาคใต้จาก 2554 – 2562 เหมือนเดิม ยิ่งหนักกว่าเดิมอีก!
แต่พอมาถึงโพลตอนนี้มันน่าสังเกตว่าโหวตให้
“เพื่อไทย” มากขึ้นถึงประมาณถึงประมาณ 15% “พรรคก้าวไกล” 12% เอา 15+12 = 27 พอ ๆ กับ “ประชาธิปัตย์” เลย
ในขณะที่ “พรรคพลังประชารัฐ” ประมาณ 11.89%
ดังนั้น
แม้นดิฉันจะถอดใจว่าภาคใต้เป็นจารีตนิยม อำนาจนิยม ไปหมดแล้ว แต่ว่าถ้าโพลของนิด้าโพลพอจะน่าเชื่อถือได้
ก็แสดงว่าความนิยมจากความคิดการเมืองเดิมก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ระดับหนึ่ง
นี่คือภาคใต้ (มีความเป็นเสรีนิยม เลือกฝ่ายต่อต้านรัฐประหารมากขึ้น)
ถ้าเรามาดูโพลภาคเหนือ,
ภาคอีสาน และรวมทั้งกทม. แนวโน้มของแนวคิดฝ่ายเสรีนิยมจะอยู่ในฐานะที่เหนือกว่า
ซึ่งในสามพื้นที่นี้ โดยเฉพาะภาคอีสานที่มีสัดส่วนของที่นั่งส.ส.สูง ถึง 132
ที่นั่ง ดังนั้น ถ้ามองภาคเหนือ, ภาคอีสาน, กทม. กลุ่มฝ่ายเสรีนิยม โดยเฉพาะกทม. ที่ก่อนหน้านี้
“ประชาธิปัตย์” ได้พื้นที่เยอะ แต่ว่าเมื่อครั้งเลือกผู้ว่าฯ เลือก “คุณชัชชาติ”
มันก็แสดงให้เห็นว่าคนกลาง ๆ จำนวนหนึ่งที่เคยเลือก “ประชาธิปัตย์”
ก็หันมาเทคะแนนให้ “คุณชัชชาติ” แล้วคนที่เลือก “ก้าวไกล” และ “เพื่อไทย”
ก็มาเทให้ “คุณชัชชาติ” หมด จึงเกิดแลนด์สไลด์ในกรุงเทพฯ! เพราะว่าคุณชัชชาติทิ้งห่างจากคนอื่นมาก
แต่ในการเลือกตั้งใหญ่
กรุงเทพฯ “เพื่อไทย” จะแลนด์สไลด์หรือเปล่า? เราไม่รู้ เพราะว่าสัดส่วนจากโพลทั้ง
“ก้าวไกล” กับ “เพื่อไทย” พอ ๆ กัน แต่ทิ้งพรรคอื่นห่าง ดังนั้นโอกาสที่จะได้ทั้ง
“เพื่อไทย” และ “ก้าวไกล” ในฟากฝ่ายเสรีนิยมก็ยังมีอยู่สูงในสามพื้นที่คือในกรุงเทพฯ
ในภาคเหนือ กับในภาคอีสาน ซึ่งตรงนี้แนวโน้มของความคิดทางการเมือง
ในภาคอีสานนั้นชัดเจนที่สุด แล้วไม่เคยเปลี่ยน แต่รอบที่แล้วในการเลือกตั้งนั้น
ภาคอีสานคะแนนของ “พรรคเพื่อไทย” น้อยลง แต่ไม่ได้น้อยมาเพื่อแบ่งให้ “ก้าวไกล” นะ
เพราะภาคอีสาน “ก้าวไกล” ได้น้อยมาก แต่ไปได้ในบัญชีรายชื่อ “ก้าวไกล”
ครั้งที่แล้วดูเหมือนภาคอีสานจะได้ 1 ที่นั่ง ที่ไปแบ่งให้ก็คือ “พลังประชารัฐ”
ซึ่งมาจากผู้สมัครที่ย้ายจาก “เพื่อไทย” ไป “พลังประชารัฐ”
อันนี้ก็แสดงว่า
“พรรคเพื่อไทย” ก็ประมาทไม่ได้ แม้นดูประหนึ่งว่าในภาคอีสานอาจจะเกิดแลนด์สไลด์ได้
แต่ว่ามันก็มีส.ส.จำนวนหนึ่งซึ่งอาจจะใช้ทรัพยากรหลายอย่างและความไว้เนื้อเชื่อใจ
การพึ่งพิงในระบบอุปถัมภ์ดั้งเดิมก็ดึงคนไปได้จำนวนหนึ่ง เพียงแต่สถานการณ์
“พปชร.” วันนี้มันไม่เหมือนกับวันก่อน ส.ส.เพื่อไทยย้ายไปอยู่จำนวนหนึ่ง
หวังว่าอาจจะมีผลเกี่ยวกับคดีความหรือเปล่า? แต่นาทีนี้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม
การเมือง ก็เรียกว่ามันไม่เหมือนเดิม เพราะฉะนั้น โอกาสที่ “เพื่อไทย” จะได้ถึงกว่า
80% ของที่นั่งในภาคอีสานก็มีความเป็นไปได้สูง
สำหรับดิฉัน
ภาคอีสาน, ภาคเหนือ
ชัดเจนในเรื่องแนวคิดทางการเมืองที่อยู่ในฐานะจะเรียกว่าครอบงำก็ได้ ในฐานะเด่น
นั่นก็คืออยู่ฝ่ายเสรีนิยม ฝ่ายประชาธิปไตย
เพราะเป็นภูมิภาคที่มีความรู้สึกว่าเป็นผู้ถูกปกครองมายาวนาน
ซึ่งเรื่องการเมืองแบบนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจเรื่องการเมืองของผู้ถูกกดขี่
กับการเมืองของผู้ปกครอง
เราจะเห็นความแตกต่างชัดเจนระหว่าง
ภาคเหนือ-อีสาน กับภาคใต้ (ยกเว้น 3 จังหวัดใต้)
ก็คือคนละสุดขั้วความคิดทางการเมืองเลย
แต่กลายเป็นว่าภาคใต้กำลังแปรเปลี่ยนส่วนหนึ่ง ในขณะที่ภาคเหนือ ภาคอีสานนั้นไม่ได้แปรเปลี่ยนและกลับมาเพิ่มมากขึ้น
ภาคเหนือ ภาคอีสานนั้น ก็ยังอยู่ในฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ไม่สนับสนุนการทำรัฐประหาร
ดิฉันดูแล้วภาพรวมเสียงของภาคอีสานและภาคเหนือ
ดิฉันคิดว่าฝ่ายเสรีนิยม “เพื่อไทย” และ “ก้าวไกล”
ได้กระแสที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นและในกรุงเทพฯ
อย่างชัดเจนที่เห็นชัดตอนหลังจากคุณชัชชาติได้คะแนนเสียงและในภาคใต้จำนวนหนึ่ง
พูดง่าย ๆ ว่าการแปรเปลี่ยนทางความคิดที่ไม่สนับสนุนฝ่ายจารีต อำนาจนิยมนั้น
มันมีมากกว่า มันกำลังเป็นกระแสบวก
ดังนั้น
จาก 400 เสียงในส.ส.เขต ดิฉันมีความเชื่อว่าฝ่ายเสรีนิยมจะได้ไม่ต่ำกว่า 200
ที่นั่ง เป็นความเชื่อที่มีเหตุผล เพราะว่าตอนปี 2554 “เพื่อไทย” ได้ ส.ส.เขตถึง
204 ที่นั่ง และบัญชีรายชื่อ 61 ที่นั่ง แต่ในปี 2562 “เพื่อไทย” ได้ ส.ส.เขต 136
ที่นั่ง แต่บัญชีรายชื่อเป็น 0
มาในปี
2566 ดิฉันคิดว่ากระแสบวกมากขึ้น บัญชีรายชื่อไม่ว่าจะเป็นฝ่ายประชาธิปไตย มี
“ก้าวไกล” บวก “เพื่อไทย” ควรได้ไม่ต่ำกว่า 50 ที่นั่ง ดิฉันเชื่ออย่างนั้น
อาจจะเกิน เพราะฉะนั้นดิฉันมองขึ้นต่ำ 250 ที่นั่ง
อันนี้ก็ดูเหมือนจะเป็นข่าวดี
แต่มันก็ประมาทไม่ได้ เพราะคุณอย่างลุงตู่ไม่ธรรมดา ใช้วิชามาร วิทยายุทธทุกรูปแบบ
ตอนทำรัฐประหารก็บอกว่าอีกไม่นาน ทั้งแต่งเพลงเยอะแยะ แต่เอาจริง ๆ
สิ่งที่พูดตรงข้ามกับสิ่งที่คิด ไม่ได้ตรงไปตรงมา
แล้ววิทยายุทธที่ทำทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นการเขียนรัฐธรรมนูญ
การทำประชามติของรัฐธรรมนูญ การมีพรรคการเมืองและการบริหารรัฐบาลท่ามกลางความยากลำบาก
เขาก็สามารถมีวิทยายุทธที่ลากมาจนถึงบัดนี้ได้ โดยที่ไม่แคร์ ไม่สนใจ
และไม่ต้องไปพูดถึงนิยามคนดี ในความคิดของดิฉันนะ แต่วิทยายุทธนี่เอามาใช้ได้ทั้งหมด
ดังนั้นก็ประมาทไม่ได้ว่า
เสียงฝ่ายเสรีนิยม จะเป็น “พรรคเพื่อไทย” “พรรคก้าวไกล” หรือ “พรรคเสรีรวมไทย”
ซึ่งจากในโพลนั้น น่าเชื่อได้ว่ารวมกันแล้วอย่างน้อย 250 ที่นั่ง
เพราะว่ายังมีบัญชีรายชื่อ แต่ใครจะไปรู้ ยังมีเวลา
จนบัดนี้รายละเอียดในการเลือกตั้ง “กฎหมายลูก” มันก็ยังตกลงกันไม่ได้
บัญชีรายชื่ออาจจะ “คว่ำ” ในที่สุดหรือเปล่า มีทำรัฐประหารอีกทีหรือเปล่า
เอาแน่ไม่ได้กับผู้ชายที่ชื่อ “ประยุทธ์ จันทร์โอชา” คำถามก็คือว่า
ถ้ามันไม่มีการเลือกตั้ง ถ้าหากว่ามันไม่มีระบบการเลือกตั้งตามที่คิดกันเอาไว้
ก็คือมีบัญชีรายชื่อ (จากหาร 100) 100 ที่นั่ง ถามว่าสังคมไทยจะยอมหรือเปล่า
แล้วนี่ยังมีวุฒิสมาชิกอยู่นะคะ
ในทัศนะของดิฉัน ต้องมีการเลือกตั้ง ต้องมีการทำประชามติเพื่อเขียนรัฐธรรมนูญใหม่โดยใช้ส.ส.ร. โมเดลแบบที่นปช. ตอนดิฉันเป็นประธาน เสนอมานานแล้ว คือ ส.ส.ร. ที่มาจากการเลือกตั้งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ แก้ไขกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมทั้งปวง และไม่สอดคล้องกับหลักการของสิทธิมนุษยชนและกติการะหว่างประเทศของโลก และธรรมนูญกรุงโรม นี่เป็นสิ่งที่ต้องทำและเป็นข้อเรียกร้องต่อพรรคการเมืองในระหว่างรณรงค์หาเสียงในขณะนี้ด้วย เพื่อทวงความยุติธรรมให้กับประชาชนที่ล้มตายไปในปี 2553 จะได้ไม่ต้องล้มตายอีก ต้องมีคนรับผิดชอบ ไม่ใช่เป็นนายกฯ มาเกิน 8 ปี แล้วจะอยู่ต่ออีก 2 ปี เป็นนายกฯ คนละครึ่งกับคนที่ชื่อ “ป้อม” ดิฉันคิดว่ามันเกินไป
นี่ประมาณว่าโลกสวยนะว่าจะมีการเลือกตั้งในปี
2566 แต่มันไม่ใช่การเลือกตั้งอย่างเดียว เพราะนับจากบัดนี้ นอกจากจะต้องมีการเลือกตั้งแล้ว
ประชาชนต้องขับเคลื่อนได้
และขับเคลื่อนอย่างดีเพื่อที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำแบบเดิมอีกต่อไป
และนี่ก็เป็นทางที่ดีที่สุด สันติที่สุดแล้วค่ะ
#ธิดาถาวรเศรษฐ #วิเคราะห์ผลการเลือกตั้งปี66
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์
นิด้าโพล เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน "คนที่ใช่ พรรคที่ชอบ" ของคนเหนือ, คนอีสาน, คนกทม.