"พริษฐ์" เผย “ปชน.”มีมติไม่ส่งชิงเก้าอี้รองปธ.สภาฯ รอตั้ง
“ผู้นำฝ่ายค้าน” หลังแถลงนโยบาย หวังคนใหม่มีประสิทธิภาพโปร่งใส สานต่องาน
“หมออ๋อง”
วันที่
11 กันยายน 2567 เวลา 09.30 น.ที่รัฐสภา
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส. บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน ให้สัมภาษณ์ว่า
พรรคประชาชนจะไม่ส่งบุคคลเข้าชิงเก้าอี้รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
ไม่ว่ารองประธานสภาฯที่จะเลือกวันนี้เป็นใคร
แต่ก็หวังให้การทำงานในสภามีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเรื่องของการพิจารณากฎหมายที่ค้างอยู่ในวาระการประชุม
ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งประชาชนคาดหวังรอคอย นอกจากนี้ต้องโปร่งใส
ประชาชนมีส่วนร่วม ในการเสนอกฎหมาย อยากให้รองประธานคนใหม่สานต่องานที่นายปดิพัทธ์
สันติภาดาทำไว้ ส่วนการตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ
ต้องรอให้ครม.ลงตัวก่อนเชื่อว่าไม่นาน เพราะต้องดูว่าพรรคไหนอยู่ฝ่ายรัฐบาลบ้าง
ขณะนี้ชัดเจนแล้วว่ามีพรรคการเมืองใดประกอบเป็นรัฐบาลบ้าง
อะไรที่เห็นต่างต้องแข่งขันเชิงความคิด อะไรที่เห็นตรงก็ต้องร่วมมือกัน
สำหรับการให้ความช่วยเหลือปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือ
ของรัฐบาลในขณะนี้ นายพริษฐ์ กล่าวว่า
ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาให้ประชาชนโดยเร็วที่สุด
พรรคประชาชนติดตามสถานการณ์น้ำท่วมเมื่อคืนด้วยความเป็นห่วง เรามีสส.
เขตอยู่ในพื้นที่ประสบภัย ประสานช่วยเหลือเท่าที่ทำได้ ในภาพรวมมี 2-3 อย่างที่รัฐบาลต้องเร่งทำคือ
เร่งรักษาความปลอดภัยให้ประชาชนในพื้นที่ ทั้งความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
เป็นปัญหาที่เร่งด่วนที่สุด นอกจากนี้ต้องมองเรื่องการเยียวยา
และความพยายามมองพื้นที่อื่นรอบข้างที่จะได้รับผลกระทบ
ต้องมีกระบวนการรับมือป้องกันปัญหา ที่อาจจะเกิดโดยเร็ว
ซึ่งเรื่องของน้ำท่วมเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย เนื่องด้วยสภาพแปรปรวนทางภูมิอากาศ
ภาพรวมต้องเร่งแก้ปัญหา
ในส่วนของการอภิปรายนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา
วันที่ 12-13
ก.ย. นี้ นายพริษฐ์ ย้ำว่า มีทุกประเด็นที่ประชาชนสนใจ
โดยพรรคประชาชนวางตัวผู้อภิปรายไว้ มอง30 คน 2 วันเต็มจะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ที่สุด ขอให้มองบริบทการอภิปรายก่อนว่า
เราจะรับฟังคำแถลงนโยบายของรัฐบาล ที่มีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี
ดังนั้นสส.พรรคประชาชนจะต้องแบ่งเป็น 2 ส่วนคือตรวจการบ้านของปีที่ผ่านมา
ตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน เคยสัญญา กับประชาชนในการแถลงนโยบายเมื่อปีที่แล้ว
ได้ดำเนินการไปแค่ไหน นโยบายตรงจุดมากน้อยแค่ไหน ส่วนที่ 2 คือการมองไปข้างหน้าว่านโยบายที่ถูกเขียนในคำแถลงของนโยบายน.ส.แพทองธาร
ชินวัตร มีประเด็นอะไรที่ยังตกหล่นหรือไม่ตอบโจทย์สามารถเสนอแนะ
เพื่อประโยชน์ของประชาชนไม่ว่าจะเป็นเรื่องกระตุ้นเศรษฐกิจดิจิทัลวอลล็ต
โครงการซอฟพาวเวอร์ เรื่องน้ำ เรื่องที่ดินทำกิน
เรื่องการสื่อสารจะมีการพูดถึงทั้งหมด
นายพริษฐ์ยังกล่าวถึงเรื่องแก้รัฐธรรมนูญที่เหมือนจะถูกเอาออกจากนโยบายเร่งด่วน
ว่า เป็นการเปลี่ยนหมวดหมู่จากนโยบายเร่งด่วนเป็นนโยบายระยะกลางและระยะยาว
และมีการเปลี่ยนข้อความด้วยเช่นกัน แต่ในภาพรวมเป็นการใช้ข้อความที่กว้าง
ว่าเร่งจัดทำรัฐธรรมนูญโดยเร็วที่สุด
ซึ่งตนมองว่าเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องเดิน 2 เส้นทางคู่ขนาน
เส้นทางที่ 1.การเดินหน้าจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยเร็วที่สุด
เกิดคำถามว่าตกลงแล้วรัฐบาลวางกรอบเวลาไว้อย่างไร
เพื่อให้เกิดการบังคับใช้ทันก่อนการเลือกตั้งครั้งต่อไป
และหากจะเดินหน้าทำประชามติ 3 ครั้ง
คำถามประชาติรอบแรกที่พรรคประชาชนเคยทักท้วงไปอาจจะก่อปัญหาได้
จะมีการทบทวนหรือไม่ และในส่วนขององค์คณะที่จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
หรือส.ส.ร.ก็ต้องถามรัฐบาลว่าจะมาจากการเลือกตั้งร้อยเปอร์เซ็นต์หรือไม่
ส่วนแนวทางที่
2 คือการแก้รายมาตรา พี่อาจจะต้องอาศัยเวลา ที่เราสามารถแก้รายมาตรา
ในกรณีที่จำเป็นเร่งด่วน ซึ่งในวันที่ 25 กันยายนนี้จะมีการ
พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา เรื่องการลบล้างผลพวงรัฐประหารอย่างน้อย 3
ร่าง ดังนั้น ท่าทีของรัฐบาลจะสนับสนุนแนวทาง
การแก้ร้ายมาตราอย่างไร
ส่วนนี้ก็คาดหวังที่อยากจะฟังจากนายกฯคนใหม่และรัฐบาลชุดใหม่เช่นกัน