แถลงจัดงาน 6 ตุลา ‘กระจกส่องสังคมไทย’ 48 ปี ที่การแก้ไขปัญหายังไม่สมเจตนารมณ์วีรชน ส่งจดหมายเชิญนายกฯ - รมว.กลาโหมร่วมงาน
เมื่อวันที่ 17 กันยายน เวลา 10.30 น. ที่ห้องจารุพงษ์ ทองสินธุ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ มีการแถลงข่าวจัดงานรำลึกครบรอบ 48 ปี 6 ตุลาฯ 2519 ในชื่อ 6 ตุลาฯ ‘กระจกส่องสังคมไทย’ โดย เครือข่ายนักศึกษาจัดงานรำลึกครบรอบ 48 ปี 6 ตุลาฯ 2519 และ ชมรมโดมรวมใจ
นายสุเทพ สุริยะมงคล อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2517 กล่าวว่า งานนร้เป็นงานครบรอบ 48 ปี 6 ตุลา 2519 ในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 19 ในประเด็น 6 ตุลา กระจกส่องสังคมไทย สังคมไทยในช่วงบรรยากาศนี้ มองว่ามันมีอะไรแปลกๆ เรื่องที่เป็นข่าวเป็นประเด็นมามีหลายเรื่องที่ อยากจะพูดถึง
เรื่องแรกก็คือก่อนหน้านี้เคยมีข่าวว่า รองนายกฯท่านหนึ่ง ไปคุมกลาโหมโดนฟ้องว่า ไม่มีจริยธรรม เพราะหนีเข้าป่าไป แต่ไม่มีการพูดถึงว่าทำไมถึงต้องเข้าป่า และการเข้าป่า คนที่ทำให้เขาป่ามีจริยธรรมหรือเปล่า
เรื่องที่ 2 ที่เป็นประเด็นร้อน อาจารย์ท่านหนึ่งทำงานด้านวิชาการ วันดีคืนดี กอ.รมน. ก็ ออกมาบอกว่าเป็นหนังสือต้องห้าม ประมาณว่าในเชิงวิชาการทำไม่ถูกต้อง ทั้งที่หนังสือเล่มนี้ออกมาตั้งแต่ปี 64 แต่มาแปลเป็นภาษาไทยในปีนี้
อีกเรื่องหนึ่งก็เป็นเรื่องที่แปลกเหมือนกัน สังคมไทยเราจะอยู่กันอย่างไร ในเมื่อ พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง นำเสนอนโยบายและเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นที่เสนอนโยบายไปคุยในสภา แต่ก็ถูกข้อหาเซาะกร่อนบ่อนทำลาย นี่คือเรื่องที่แปลก
เหตุการณ์ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา สังคมไทยได้รับความเสียหาย เกิดความแตกแยกกันมาก เพียงขอให้มีที่ยืนของคนคิดต่าง แต่ปรากฏว่าที่ผ่านมาคนที่คนรุ่นใหม่เห็นและก็ชื่นชม ให้รางวัล คนพวกนี้กลายเป็นผู้ต้องหา บางคนต้องลี้ภัยไปอยู่ที่อื่น นี่คือประเด็นที่สำคัญที่อยากจะให้สังคมไทยทบทวนว่า ทำไมคนรุ่นใหม่กับคนที่มีอำนาจในปัจจุบันนี้ ช่างคิดต่างกันเสียสิ้นดี วันนี้น้อง ๆ ที่มาร่วมงาน ก็มีทั้งสภานักศึกษาฯ ทางชมรมโดมรวมใจ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ร่วมเป็นเจ้าภาพ ในฐานะที่ได้รับผลกระทบโดยตรง และยังมีอีกหลายมหาวิทยาลัย ที่ได้รับผลกระทบและมาร่วมในการจัดงานครั้งนี้
นายนัสรี พุ่มเกื้อ ประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในนามเครือข่ายนักศึกษาจัดงานรำลึก 48 ปี 6 ตุลา โดยเนื้อหาหลักของงานที่เราต้องการจะถ่ายทอดซึ่งใช้ชื่อว่า 6 ตุลา กระจกส่องสังคมไทย ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเหตุการณ์ 6 ตุลา นั้นรุนแรงมาก ผ่านมา 48 ปี เราอยากให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นกระจกที่สะท้อนถึง ในช่วงตั้งแต่ปี 2510 เป็นต้นมา มีการต่อสู้มีความฝันอะไรบ้าง ทั้งในเรื่องของความเท่าเทียมความเสมอภาค ความยุติธรรม นี่คือสิ่งหนึ่งที่เราอยากให้เห็นว่า ช่วงเวลานั้นมีการต่อสู้อะไรเกิดขึ้นบ้าง และสะท้อนถึงปัญหาที่ดำเนินเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของปัญหาความอยุติธรรมเชิงโครงสร้าง เรื่องปัญหาปากท้อง และบางเรื่องเหตุการณ์ 6 ตุลาคมก็ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นยกตัวอย่างเช่นการเพิ่มโทษมาตรา 112 ถึงได้นำเรื่องราวเหตุการณ์ปัญหาใน 6 ตุลาคมมาเป็นกระจกสะท้อนผ่านการเสวนาผ่านการฉายภาพยนตร์ การจัดกิจกรรมต่างๆ
โดยในปีนี้จะมีการจัดกิจกรรม 2 วันคือ 5-6 ตุลาคม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์
สำหรับกิจกรรมช่วงเช้า วันที่ 6 ตุลาคม 2567 ประกอบด้วยกิจกรรมรำลึกวีรชนผู้เสียชีวิต พิธีสงฆ์ และการวางพวงมาลาดอกไม้ไว้อาลัย, ปาฐกถาประจำปีในหัวข้อ "48 ปี 6 ตุลาคม 2519 ประจำปีการศึกษา 2567 : การสถาปนา 6 ตุลาคมในสังคมไทย โดย รศ.ดร. กนกรัตน์ เลิศชูสกุล และการมอบรางวัล “จารุพงษ์ ทองสินธุ์ เพื่อประชาธิปไตย” และรางวัล “สิทธิมนุษยชนคนธรรมดา”
โดยช่วงเที่ยงจะมีการกล่าวรำลึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์และแสดงความอาลัยต่อวีรชนที่หอประชุมศรีบูรพา รวมถึงการเสวนา"คนเดือนตุลาหลังเดือนตุลา : การเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ทางการเมืองของคนเดือนตุลาหลังทศวรรษ 2520" และวงเสวนาจาก 21 ถึง 67 แนวทางนิทรรศการประชาชน
จากนั้น 16.30-18.30 กิจกรรม Walking Tour ร่วมฟังเรื่องราวจากบุคคลจริงและสถานที่จริงในเหตุการณ์
และหลังจาก 18:00 น จะมีการปราศรัยรำลึกการต่อสู้จากรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่ปราศรัยโดยรังสิมันต์ โรม, ศรีไพร นนทรี, เสกสิทธิ์ แย้มสงวนศักดิ์, รวมถึงการแสดงงิ้วล้อการเมือง แสดงโดยอุปกรณ์จีนล้อการเมือง และจุดเทียนรำลึก วงดนตรีโดยสามัญชนและปิดท้ายด้วยวง H3F
ด้านทนายกฤษฎางค์ นุตจรัส กล่าวเชิญชวนประชาชามาร่วมงานทั้ง 2 วัน 5-6 ตุลาคม 2567 ระบุว่าเหตุการณ์ผ่านมา 48 ปีแล้วแต่สังคมไทยยังไม่ได้นำปัญหาเหล่านั้นมาแก้ไข ผู้จัดการจึงเลือกใช้คำว่ากระจกส่องสังคมไทย ในนิทรรศการจะบอกเลยว่า เหตุการณ์ 6 ตุลาคมนั้นส่องสังคมไทยอย่างไร เช่นทำไมจะยกเลิก 112ไม่ได้ ว่าเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม เดิมหลังจากสังหารหมู่นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 10 กว่าวัน หัวหน้าคณะรัฐประหาร แก้ไข 112 ให้มีโทษมากขึ้น เขาแก้ได้ทำไมเราจะแก้ไม่ได้ 6 ตุลา กับ 112 เป็นเรื่องเดียวกัน
และอีกเรื่องที่จะส่งให้เห็นคือเรื่องนิรโทษกรรม หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคมที่ 10 นิสิตนักศึกษาถูกจับไป 3,000 กว่าคน 18 คนถูกดำเนินคดี 112 มีคนถูกดำเนินคดีกบฏ ก่อการร้าย สังหารคนตาย ทำไมนิรโทษกรรมได้ รวมทั้งนิรโทษกรรมคนที่สังหารนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 19 ก็ได้ด้วย เพราะฉะนั้นการนิรโทษกรรมคดี 112 จึงเป็นเรื่องปกติทำไมจะทำไม่ได้ นิทรรศการภายในงานที่จะจัด 48 ปี 6 ตุลาจะบอกทุกอย่างให้ทราบ
คนไทยรวมทั้งคนที่เคยอยู่ในเหตุการณ์ 6 ตุลา แล้วมีอำนาจ ได้นำมาแก้ไขปัญหาสมกับเจตนารมณ์วีรชน 6 ตุลา ที่เสียชีวิตแล้วหรือไม่ นายกฤษฎางค์กล่าวทิ้งท้าย
#UDDnews #ยูดีดีนิวส์ #รำลึก48ปี6ตุลา #6ตุลากระจกส่องสังคมไทย #6ตุลา19