“ศิริกัญญา” อัดคำแถลงนโยบายแพทองธาร เลื่อนลอย เจือจาง ห่างไกลคำหาเสียง ชี้ปัญหาไม่รู้ใครเป็นตัวจริงกำหนดนโยบาย แนะทำ 4 เรื่องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ปฏิรูประบบราชการโจทย์ใหญ่วัดฝีมือรัฐบาลเพื่อไทย
วันที่ 12 กันยายน 2567 ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อพิจารณาเรื่องด่วน คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน อภิปรายภาพรวมนโยบายเศรษฐกิจในคำแถลงของรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร โดยใช้กรอบแนวคิด GPS (Government Policy Statement) เพื่อบอกว่ารัฐบาลกำลังพาประเทศไปทางไหน ด้วยวิธีการใด ต่างจากที่เคยสัญญากับผู้ร่วมเดินทางหรือไม่ และจะถึงเป้าหมายเมื่อไร
ศิริกัญญากล่าวว่า ก่อนหน้านี้รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย เคยผิดคำพูดไปแล้ว 1 รอบเพื่อจะจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว มีโอกาสบริหารประเทศมาแล้ว 1 ปี แต่ยังไม่สามารถส่งมอบนโยบายตามที่หาเสียง ดังนั้นนายกฯ ควรใช้โอกาสนี้เป็นกลไกกู้คืนความเชื่อมั่นและศรัทธาของประชาชน ด้วยการให้สัญญาที่หนักแน่นชัดเจน เพราะคำสัญญาที่เป็นรูปธรรมเท่านั้นจึงจะแสดงถึงความรับผิดชอบต่อประชาชน ประชาชนสามารถติดตามตรวจสอบความสำเร็จในการดำเนินนโยบายได้
แต่เมื่อเปรียบเทียบคำแถลงนโยบายของรัฐบาลแพทองธารกับการแถลงนโยบายของผู้นำคนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา หรืออดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มีการระบุกรอบเวลา เป้าหมาย และตัวชี้วัดชัดเจน แต่ของรัฐบาลแพทองธาร ไม่ได้ต่างจากรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน มากนัก แม้จะลงรายละเอียดในมาตรการย่อยมากกว่า แต่ยังคงเป็น GPS ที่พาเราหลงทาง ใช้คำกว้างๆ ลอยๆ ไม่บอกว่าทำอย่างไร
“ไม่เข้าใจว่าไล่คนเขียนคำแถลงนโยบายของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ออกไปทำไม ในเมื่อเขียนให้ชัดก็เขียนได้ เคยเขียนมาแล้ว ทำไมรอบนี้ไม่ยอมเขียน”
เช่น มีการใช้คำว่าเร่งรัด แต่ไม่ได้บอกว่าจะเสร็จเมื่อไหร่ ใช้คำว่าส่งเสริมถึง 37 ครั้งแต่ไม่รู้วิธีการเป็นอย่างไร ใช้คำว่ายกระดับ 17 ครั้งแต่ไม่รู้ว่ายกไปแล้วเพิ่มขึ้นเป็นเท่าไหร่ การกำหนดเป้าหมายก็ยังไม่ชัดเจน บอกเพียง “สร้างโอกาสอย่างเท่าเทียม ให้คนไทยมีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี” แต่ก็ไม่ได้บอกว่า มีกินคืออะไร มีใช้คืออะไร มีเกียรติคืออะไร มีศักดิ์ศรีคืออะไร
และแม้คำแถลงนโยบายครั้งนี้ไม่ค่อยมีคำว่า “เหลื่อมล้ำ” แต่การมีท่อนว่า “สร้างโอกาสอย่างเท่าเทียม” ก็แสดงว่านายกฯ มองเห็นประเด็นความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสที่เป็นผลมาจากความเหลื่อมล้ำด้านอื่น และหวังว่าท่านจะมองเห็นว่าการเข้าถึงโอกาสนั้น หมายถึงการเข้าถึงการศึกษาที่ดี มีงานทำที่ดี ก้าวหน้าในอาชีพโดยไม่ต้องพึ่งพาเส้นสาย ไม่ว่าจะเกิดในครอบครัวแบบไหน พ่อแม่เป็นใคร หรือที่บ้านมีฐานะอย่างไร อย่างไรก็ดี ถ้อยความนอกจากนี้ยังไม่ช่วยให้ประชาชนเห็นเป้าหมายร่วมกัน
ศิริกัญญากล่าวว่า ปัญหาของการเขียนคำแถลงนโยบายกว้างๆ คือเมื่อประชาชนกลับมาตรวจสอบว่าท่านได้ทำตามสัญญาไว้หรือไม่ ก็จะเถียงกันไม่จบว่าตกลงทำแล้วหรือยัง ทำเสร็จหรือยัง แต่โชคดีที่เรามี digital footprint ของพรรคเพื่อไทย จะได้เห็นว่านโยบายตอนหาเสียง ที่มีการระบุรายละเอียดไว้ชัดเจน วันนี้นโยบายเหล่านั้นถูกทำให้จางไปมากแล้ว
ไม่ว่าจะเป็น ตอนหาเสียงบอกว่า “พักหนี้เกษตรกร 3 ปี รายได้เพิ่ม 3 เท่า” พอเป็นรัฐบาลเศรษฐาเหลือแค่ “พักหนี้ตามความเหมาะสม รายได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ” หรือตอนหาเสียงบอกว่า “ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท” พอเป็นรัฐบาลเหลือแค่ “ค่าแรงขั้นต่ำเป็นธรรม” หรือตอนหาเสียงบอกว่า “เงินเดือน 25,000 บาท” พอเป็นรัฐบาลเหลือแค่ “เงินเดือนเป็นธรรม”
แต่เมื่อเทียบกับรัฐบาลแพทองธาร กลับยิ่งเจือจางกว่า พักหนี้เกษตรกรไม่มีแล้ว ค่าแรงขั้นต่ำหายไปเลย ไม่รู้ว่า 600 จะได้เมื่อไหร่ ส่วนเงินเดือนปริญญาตรีซึ่งขึ้นมาแล้ว 1 รอบ 10% เหลือรอบสองอีก 10% จะทำให้ถึง 25,000 บาทหรือไม่ ต้องขอความชัดเจน
อีกอย่างหนึ่งที่ตกใจมากคือโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยดิจิทัลวอลเล็ต เดิมจะเขียนชัดเขียนครบ แต่ในการแถลงรอบนี้คำว่า 10,000 บาทหายไป หรือที่เพิ่มขึ้นมาอย่างรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย แปลงร่างเป็น “ค่าโดยสารราคาเดียวตลอดสาย” ทำให้นโยบายไม่ค่อยเหมือนตอนที่หาเสียงไว้ แต่กลับเหมือนที่อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เคยพูดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2567 เนื้อหาตรงกันประมาณ 11 จาก 14 ประเด็น รายละเอียดเหมือนกันมาก ซึ่งไม่ได้เป็นปัญหาเรื่องการครอบงำ แต่เป็นปัญหาคือเรื่องความรับผิดรับชอบ
“การที่ไม่รู้ว่าตกลงใครเป็นคนเขียน ใครเป็นคนคิด ใครเป็นคนวางนโยบาย ทำให้การตรวจสอบทำได้ยากมาก ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้กำหนดนโยบายตัวจริง ไม่รู้ว่าพอมีปัญหาต้องไปถามใครหรือเชื่อใครกันแน่ แบบนี้ต่อไปการประชุมคณะรัฐมนตรีอาจเป็นแค่พิธีกรรมเพราะเรื่องใหญ่ๆ สำคัญๆ อาจไม่ได้ถูกตัดสินใจบนโต๊ะประชุม ครม. แต่ถูกตัดสินใจมาแล้วจากที่อื่น และเราไม่มีทางรู้เลยว่าใครคือตัวจริง”
“อีกประเด็นที่เป็นปัญหา คือทั้งที่คำพูดเหมือนกัน ถ้อยคำเหมือนกัน แต่ฟังแล้วก็รู้ว่าสร้างผลกระทบไม่เหมือนกัน เราอยากเห็นนายกรัฐมนตรีที่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือ สร้างความมั่นใจให้ประชาชนได้ ว่าท่านจะเป็นคนดำเนินนโยบายที่แถลงได้เองจริงๆ วันนี้ขอให้ท่านมาตอบด้วยตัวเองในรายละเอียดต่างๆ เล่าให้ฟังว่าจะทำอย่างไร เพราะเราอยากเห็นนายกรัฐมนตรีที่มีแสงสว่างในตัวเอง เป็นดาวฤกษ์ไม่ใช่ดาวเคราะห์”
ศิริกัญญากล่าวต่อว่า มาถึงการตรวจการบ้าน 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นต่อการวางแผนงานในปีต่อไป ตนเห็นอินโฟกราฟิกของพรรคเพื่อไทยแสดงผลงาน 3 เดือน 6 เดือน 10 เดือน 12 เดือน อ่านแล้วก็ตั้งคำถามว่าหลายข้อไม่ควรเรียกว่าผลงาน
เช่น เจรจาการค้าระหว่างประเทศ ก็เป็นงานประจำของหน่วยราชการ มีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศทำเรื่องนี้โดยเฉพาะอยู่แล้ว หรือการประกาศแก้หนี้นอกระบบ-ในระบบครบวงจร ก็เป็นแค่ “ประกาศ” ยังทำไม่เสร็จ ส่วนการเจรจาความร่วมมือกับกองทัพอากาศ ให้คืนสนามกอล์ฟขยายรันเวย์ ก็น่าแปลกทั้งที่ตัวนายกฯ เองมีอำนาจเต็ม คุมทั้ง ครม. มี รมว.กลาโหม ควรจะสั่งได้ ไม่ใช่มาเจรจา ในขณะที่ “การลงพื้นที่” สามจังหวัดชายแดนใต้ก็ถูกนับเป็นผลงานด้วย แม้แต่มาตรการที่หมดอายุแล้ว เช่น ลดค่าน้ำมัน ซึ่งลดจริง แต่ตอนนี้ราคากลับมาแพงกว่าช่วงก่อนคุณเศรษฐาจะเป็นนายกฯ ด้วยซ้ำ ก็ยังเคลมเป็นผลงาน
ส่วนนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ตนอภิปรายครั้งล่าสุดเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ว่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาหลายรอบ ล่าสุดเปลี่ยนเป็นรอบที่ 7 เช่น แหล่งที่มาของเงินกลายเป็นว่าจะใช้งบกลางปี 67 มีเท่าไหร่เอามาแจกก่อนเป็นเงินสด ส่วนที่เหลือพยายามจะเบ่งงบปี 68 ด้วยการกู้เพิ่ม ตัดลดงบที่ใช้ชำระหนี้ธนาคารรัฐ ทำขนาดนี้ก็ยังได้เงินไม่พอที่จะจ่ายให้ครบ 45 ล้านคน จึงบอกว่าจะแบ่งจ่ายเป็น 2 งวด ถ้าระบบชำระเงิน openloop เสร็จทัน จะแจกเป็นเงินดิจิทัลแต่ถ้าไม่ทันจะจ่ายเป็นเงินสด ซึ่งตนขอยังไม่เชื่อและอยากรู้ว่าสุดท้ายโครงการนี้จะไปจบที่ตรงไหน
เป็นเช่นนี้คงต้องตั้งคำถามว่าพวกท่านพาโครงการเรือธงขนาดนี้ มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ตนเดาว่ามี “มือที่มองไม่เห็น” ที่คอยมาสั่งอย่างเดียว จะเอาให้ได้ แต่ไม่รู้ว่าหน้างานเป็นอย่างไร กฎหมายเปลี่ยนไปขนาดไหนจากเมื่อ 20 ปีก่อน ฐานะการคลังของประเทศรับได้แค่ไหน สักแต่ว่าจะทำให้ได้ เจ๊งไม่ว่าเสียหน้าไม่ได้
“ตอนนี้เหมือนอาการเมาหมัด เงินมีอยู่เท่าไหร่แจกไปก่อน ที่เหลือไปตายดาบหน้า สุดท้ายเครดิตจะไม่เหลือ และหลายครั้งก็ชี้นิ้วมาที่ฝั่งฝ่ายค้านว่าทำให้ต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ทำให้ล่าช้าเละเทะ แต่อย่าอ้างเลยว่าเพราะท่านฟังความเห็นต่างเลยต้องเปลี่ยนตาม เพราะสิ่งที่เราพูดคือข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย”
“ตอนนี้ไม่ใช่แค่รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องที่เสียเครดิต แต่ข้าราชการผู้บริหารในกระทรวงใหญ่ๆ ก็ต้องเสียผู้เสียคนเพราะต้องออกมาแก้ต่างแทนรัฐบาล กลายเป็นหนึ่งปีที่สูญเปล่าสุดท้ายเงินยังไม่ได้ เสียเวลา เสียสมาธิ เสียโอกาสที่จะใช้งบกลางไปกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านอื่น พอไม่ออกมาตรการอื่นๆ ระหว่างทาง แทนที่ประชาชนจะได้รับความช่วยเหลือก็ไม่ได้ พายุหมุนทางเศรษฐกิจตอนนี้อ่อนกำลังลงไปเรื่อยๆ พร้อมกับเครดิตและความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล ซึ่งจะกู้กลับคืนมาไม่ได้ง่ายๆ ”
ศิริกัญญากล่าวต่อว่า ในเมื่อพายุหมุนอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ตนก็ขอฟังชัดๆ จากรัฐบาลว่า สรุปแล้วผลต่อเศรษฐกิจสำหรับโครงการนี้เป็นเท่าไหร่กันแน่ เราจะได้คาดการณ์ไปในอนาคตว่าจะกระตุ้นจีดีพีได้เท่าไหร่ แต่ตนขอดักคอไว้ก่อนเลยว่า ครึ่งปีหลังของปี 67 เศรษฐกิจจะฟื้นตัวดีตามอัตภาพ เนื่องจากฐานจีดีพีในปีที่แล้วต่ำ แม้ไม่มีดิจิทัลวอลเล็ต เศรษฐกิจไตรมาสสามก็โตเกือบ 3% ไตรมาสสี่เกือบ 4% ตลอดทั้งปีน่าจะอยู่ที่ 2.5-2.6% ดังนั้นไม่ควรเคลมว่าเศรษฐกิจโตเพราะฝีมือรัฐบาล
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเห็นว่าไม่ควรเอาเงินไปลงกับนโยบายนี้เพื่อจะทำให้เศรษฐกิจโต 5% เพราะแม้ไปถึงก็อยู่ได้ไม่นาน จะกลับมาโตร้อยละ 3 อีกครั้ง ตราบใดที่ท่านไม่เพิ่มศักยภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งพอมาดูว่านโยบายรัฐบาลเขียนไว้อย่างไร ตนก็ดีใจที่เราเริ่มเห็นตรงกันว่าเราต้องเร่งปรับโครงสร้างของเศรษฐกิจ เพราะในการแถลงนโยบายครั้งก่อนไม่มีคำนี้เลย อย่างไรก็ตาม ไม่แน่ใจว่าในรายละเอียดเห็นตรงกันหรือไม่ แต่ต้องบอกว่ามี 4 เรื่องที่รัฐบาลต้องทำเพื่อ “เพิ่มศักยภาพ” เศรษฐกิจไทย
(1) ยกระดับทักษะแรงงาน ต้องทำกับแรงงานทั้งระบบ ไม่ใช่แค่อุตสาหกรรมเป้าหมายหรือซอฟต์พาวเวอร์ เพราะแรงงานทั้งประเทศมีอยู่ 40 ล้านคน ประมาณ 40% เป็นกลุ่มคนที่จบการศึกษาต่ำกว่ามัธยมต้น เราไม่สามารถทำให้ศักยภาพเศรษฐกิจโตได้ถ้าแรงงานส่วนใหญ่มีทักษะในระดับนี้
(2) ต้องโฟกัสที่การดึงดูดเทคโนโลยี ไม่ใช่แค่การดึงดูดเม็ดเงินลงทุน เราต้องเลือกว่าจะไปอยู่ในห่วงโซ่การผลิตของเทคโนโลยีใด เราไม่อยากเป็นผู้รับจ้างผลิต รับจ้างประกอบ รับเศษเงินค่าแรงอีกต่อไป
(3) มุ่งกระจายความเจริญ ไม่ใช่กระจุกแค่กรุงเทพฯ เรายังมีศักยภาพในพื้นที่อื่น ถ้าระเบิดศักยภาพได้โดยการกระจายอำนาจ จะทำให้ศักยภาพทางเศรษฐกิจเติบโตได้ดีกว่าเดิม
(4) การปฏิรูประบบราชการ ซึ่งรัฐบาลเขียนในคำแถลงว่าเรามีรัฐราชการรวมศูนย์ที่อุ้ยอ้ายซับซ้อนไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลรู้ซึ้งกว่าเราแน่นอน เพราะอดีตนายกฯ เศรษฐา ออกข้อสั่งการเกือบ 200 ข้อสั่งการ แต่มีหน่วยงานสนองกลับมาแค่ 10 ข้อ
แต่พอไปดูทางออกที่รัฐบาลระบุ กลับเป็นการพูดถึงเรื่องพื้นฐาน แค่ต้องลดขนาด ต้องใช้งบให้มีประสิทธิภาพ แต่ไม่ได้พูดถึงการแก้ไขปัญหาที่ต้นตอ เช่น การกระจายอำนาจ ไม่ได้พูดถึงการแก้ไขกฎหมายบริหารราชการแผ่นดิน หรือการปรับเปลี่ยนการเป็นนิติบุคคลของกรมและจังหวัด ไม่ได้พูดถึงการจัดความสัมพันธ์ที่ซ้ำซ้อนกันระหว่างรัฐส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ทั้งที่เหล่านี้คือปัญหาเชิงโครงสร้างที่แท้จริงของความอุ้ยอ้ายซ้ำซ้อนและไร้ประสิทธิภาพของระบบราชการ
ดังนั้น ขอให้รัฐบาลกลับมาคิดและให้ความสำคัญกับ 4 เรื่องนี้ ถ้าไม่แก้ที่รากฐาน ศักยภาพของเศรษฐกิจไทยก็คงไม่เปลี่ยนไปจากเดิม และนี่จะเป็นบทพิสูจน์สำคัญของรัฐบาลชุดนี้ ว่าจะสามารถอ้างเครดิตจากสิ่งที่เคยทำในอดีตได้อีกต่อไปหรือไม่ แต่เท่าที่ดูจากคำแถลงนโยบายก็ยังไม่เห็นความหวัง
ศิริกัญญากล่าวต่อว่า มาถึงการตรวจการบ้าน 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นต่อการวางแผนงานในปีต่อไป ตนเห็นอินโฟกราฟิกของพรรคเพื่อไทยแสดงผลงาน 3 เดือน 6 เดือน 10 เดือน 12 เดือน อ่านแล้วก็ตั้งคำถามว่าหลายข้อไม่ควรเรียกว่าผลงาน
เช่น เจรจาการค้าระหว่างประเทศ ก็เป็นงานประจำของหน่วยราชการ มีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศทำเรื่องนี้โดยเฉพาะอยู่แล้ว หรือการประกาศแก้หนี้นอกระบบ-ในระบบครบวงจร ก็เป็นแค่ “ประกาศ” ยังทำไม่เสร็จ ส่วนการเจรจาความร่วมมือกับกองทัพอากาศ ให้คืนสนามกอล์ฟขยายรันเวย์ ก็น่าแปลกทั้งที่ตัวนายกฯ เองมีอำนาจเต็ม คุมทั้ง ครม. มี รมว.กลาโหม ควรจะสั่งได้ ไม่ใช่มาเจรจา ในขณะที่ “การลงพื้นที่” สามจังหวัดชายแดนใต้ก็ถูกนับเป็นผลงานด้วย แม้แต่มาตรการที่หมดอายุแล้ว เช่น ลดค่าน้ำมัน ซึ่งลดจริง แต่ตอนนี้ราคากลับมาแพงกว่าช่วงก่อนคุณเศรษฐาจะเป็นนายกฯ ด้วยซ้ำ ก็ยังเคลมเป็นผลงาน
ส่วนนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ตนอภิปรายครั้งล่าสุดเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ว่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาหลายรอบ ล่าสุดเปลี่ยนเป็นรอบที่ 7 เช่น แหล่งที่มาของเงินกลายเป็นว่าจะใช้งบกลางปี 67 มีเท่าไหร่เอามาแจกก่อนเป็นเงินสด ส่วนที่เหลือพยายามจะเบ่งงบปี 68 ด้วยการกู้เพิ่ม ตัดลดงบที่ใช้ชำระหนี้ธนาคารรัฐ ทำขนาดนี้ก็ยังได้เงินไม่พอที่จะจ่ายให้ครบ 45 ล้านคน จึงบอกว่าจะแบ่งจ่ายเป็น 2 งวด ถ้าระบบชำระเงิน openloop เสร็จทัน จะแจกเป็นเงินดิจิทัลแต่ถ้าไม่ทันจะจ่ายเป็นเงินสด ซึ่งตนขอยังไม่เชื่อและอยากรู้ว่าสุดท้ายโครงการนี้จะไปจบที่ตรงไหน
เป็นเช่นนี้คงต้องตั้งคำถามว่าพวกท่านพาโครงการเรือธงขนาดนี้ มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ตนเดาว่ามี “มือที่มองไม่เห็น” ที่คอยมาสั่งอย่างเดียว จะเอาให้ได้ แต่ไม่รู้ว่าหน้างานเป็นอย่างไร กฎหมายเปลี่ยนไปขนาดไหนจากเมื่อ 20 ปีก่อน ฐานะการคลังของประเทศรับได้แค่ไหน สักแต่ว่าจะทำให้ได้ เจ๊งไม่ว่าเสียหน้าไม่ได้
“ตอนนี้เหมือนอาการเมาหมัด เงินมีอยู่เท่าไหร่แจกไปก่อน ที่เหลือไปตายดาบหน้า สุดท้ายเครดิตจะไม่เหลือ และหลายครั้งก็ชี้นิ้วมาที่ฝั่งฝ่ายค้านว่าทำให้ต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ทำให้ล่าช้าเละเทะ แต่อย่าอ้างเลยว่าเพราะท่านฟังความเห็นต่างเลยต้องเปลี่ยนตาม เพราะสิ่งที่เราพูดคือข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย”
“ตอนนี้ไม่ใช่แค่รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องที่เสียเครดิต แต่ข้าราชการผู้บริหารในกระทรวงใหญ่ๆ ก็ต้องเสียผู้เสียคนเพราะต้องออกมาแก้ต่างแทนรัฐบาล กลายเป็นหนึ่งปีที่สูญเปล่าสุดท้ายเงินยังไม่ได้ เสียเวลา เสียสมาธิ เสียโอกาสที่จะใช้งบกลางไปกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านอื่น พอไม่ออกมาตรการอื่นๆ ระหว่างทาง แทนที่ประชาชนจะได้รับความช่วยเหลือก็ไม่ได้ พายุหมุนทางเศรษฐกิจตอนนี้อ่อนกำลังลงไปเรื่อยๆ พร้อมกับเครดิตและความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล ซึ่งจะกู้กลับคืนมาไม่ได้ง่ายๆ ”
ศิริกัญญากล่าวต่อว่า ในเมื่อพายุหมุนอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ตนก็ขอฟังชัดๆ จากรัฐบาลว่า สรุปแล้วผลต่อเศรษฐกิจสำหรับโครงการนี้เป็นเท่าไหร่กันแน่ เราจะได้คาดการณ์ไปในอนาคตว่าจะกระตุ้นจีดีพีได้เท่าไหร่ แต่ตนขอดักคอไว้ก่อนเลยว่า ครึ่งปีหลังของปี 67 เศรษฐกิจจะฟื้นตัวดีตามอัตภาพ เนื่องจากฐานจีดีพีในปีที่แล้วต่ำ แม้ไม่มีดิจิทัลวอลเล็ต เศรษฐกิจไตรมาสสามก็โตเกือบ 3% ไตรมาสสี่เกือบ 4% ตลอดทั้งปีน่าจะอยู่ที่ 2.5-2.6% ดังนั้นไม่ควรเคลมว่าเศรษฐกิจโตเพราะฝีมือรัฐบาล
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเห็นว่าไม่ควรเอาเงินไปลงกับนโยบายนี้เพื่อจะทำให้เศรษฐกิจโต 5% เพราะแม้ไปถึงก็อยู่ได้ไม่นาน จะกลับมาโตร้อยละ 3 อีกครั้ง ตราบใดที่ท่านไม่เพิ่มศักยภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งพอมาดูว่านโยบายรัฐบาลเขียนไว้อย่างไร ตนก็ดีใจที่เราเริ่มเห็นตรงกันว่าเราต้องเร่งปรับโครงสร้างของเศรษฐกิจ เพราะในการแถลงนโยบายครั้งก่อนไม่มีคำนี้เลย อย่างไรก็ตาม ไม่แน่ใจว่าในรายละเอียดเห็นตรงกันหรือไม่ แต่ต้องบอกว่ามี 4 เรื่องที่รัฐบาลต้องทำเพื่อ “เพิ่มศักยภาพ” เศรษฐกิจไทย
(1) ยกระดับทักษะแรงงาน ต้องทำกับแรงงานทั้งระบบ ไม่ใช่แค่อุตสาหกรรมเป้าหมายหรือซอฟต์พาวเวอร์ เพราะแรงงานทั้งประเทศมีอยู่ 40 ล้านคน ประมาณ 40% เป็นกลุ่มคนที่จบการศึกษาต่ำกว่ามัธยมต้น เราไม่สามารถทำให้ศักยภาพเศรษฐกิจโตได้ถ้าแรงงานส่วนใหญ่มีทักษะในระดับนี้
(2) ต้องโฟกัสที่การดึงดูดเทคโนโลยี ไม่ใช่แค่การดึงดูดเม็ดเงินลงทุน เราต้องเลือกว่าจะไปอยู่ในห่วงโซ่การผลิตของเทคโนโลยีใด เราไม่อยากเป็นผู้รับจ้างผลิต รับจ้างประกอบ รับเศษเงินค่าแรงอีกต่อไป
(3) มุ่งกระจายความเจริญ ไม่ใช่กระจุกแค่กรุงเทพฯ เรายังมีศักยภาพในพื้นที่อื่น ถ้าระเบิดศักยภาพได้โดยการกระจายอำนาจ จะทำให้ศักยภาพทางเศรษฐกิจเติบโตได้ดีกว่าเดิม
(4) การปฏิรูประบบราชการ ซึ่งรัฐบาลเขียนในคำแถลงว่าเรามีรัฐราชการรวมศูนย์ที่อุ้ยอ้ายซับซ้อนไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลรู้ซึ้งกว่าเราแน่นอน เพราะอดีตนายกฯ เศรษฐา ออกข้อสั่งการเกือบ 200 ข้อสั่งการ แต่มีหน่วยงานสนองกลับมาแค่ 10 ข้อ
แต่พอไปดูทางออกที่รัฐบาลระบุ กลับเป็นการพูดถึงเรื่องพื้นฐาน แค่ต้องลดขนาด ต้องใช้งบให้มีประสิทธิภาพ แต่ไม่ได้พูดถึงการแก้ไขปัญหาที่ต้นตอ เช่น การกระจายอำนาจ ไม่ได้พูดถึงการแก้ไขกฎหมายบริหารราชการแผ่นดิน หรือการปรับเปลี่ยนการเป็นนิติบุคคลของกรมและจังหวัด ไม่ได้พูดถึงการจัดความสัมพันธ์ที่ซ้ำซ้อนกันระหว่างรัฐส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ทั้งที่เหล่านี้คือปัญหาเชิงโครงสร้างที่แท้จริงของความอุ้ยอ้ายซ้ำซ้อนและไร้ประสิทธิภาพของระบบราชการ
ดังนั้น ขอให้รัฐบาลกลับมาคิดและให้ความสำคัญกับ 4 เรื่องนี้ ถ้าไม่แก้ที่รากฐาน ศักยภาพของเศรษฐกิจไทยก็คงไม่เปลี่ยนไปจากเดิม และนี่จะเป็นบทพิสูจน์สำคัญของรัฐบาลชุดนี้ ว่าจะสามารถอ้างเครดิตจากสิ่งที่เคยทำในอดีตได้อีกต่อไปหรือไม่ แต่เท่าที่ดูจากคำแถลงนโยบายก็ยังไม่เห็นความหวัง